Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การป้องกันเเละช่วยเหลือเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุเเละสารพิษ, อ้างอิง :…
การป้องกันเเละช่วยเหลือเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุเเละสารพิษ
การพยาบาลเด็กจมน้ำ (Drowning)
เเบ่งเป็น
การจมน้ำจืด
เกิดภาวะ hypervolemia
ทำให้ระดับเกลือเเร่ในเลือดลดลง
หัวใจเต้นผิดจังหวะ
หััวใจวาย
อาจเกิดภาวะเม็ดเลือดเเดงเเตก hemolysis
การจมน้ำเค็ม
เกิดภาวะ hypovolemia
ระดับเกลือเเร่ในร่างกายสูงขึ้น
หัวใจเต้นผิดปกติ
หัวใจวาย
ช็อก
เกิดภาวะ pulmonary edema
ปริมาตรน้ำที่ไหลเวียนในร่างกายลดลง
การปฐมพยาบาล
ไม่ถูกต้อง
อุ้มเด็กพาดบ่าเเล้วเขย่า/กระทุ้งบริเวณหน้าท้อง
น้ำที่ออกมานั้นเป็นน้ำในกระเพา ไม่ใช่น้ำที่มาจากปอด
อาจเกิดอาการช้ำจากเเรงกระเเทกได้
ถูกต้อง
กรณีเด็กรู้สึกตัว
รีบเช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า ใช้ผ้าคลุมตัว
เพื่อให้เกิดความอบอุ่น
จัดในนอนในท่าตะเเคงกึ่งคว่ำ
นำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
กรณีเด็กหมดสติ
เช็คว่ายังมีลมหายใจอยู่ไหม
หัวใจเต้นหรือเปล่า
โทรเรียกหน่วยรถพยาบาลหรือหน่วยกู้ภัยโดยด่วน
ช่วยชีวิตโดยการนวดหัวใจสลับกับการช่วยหายใจ
การช่วยเด็กฟื้นคืนชีพ(CPR)
3.การกดหน้าอก 30 ครั้ง
วางส้นมือของมือหนึ่งไว้กลางหน้าอกบริเวณครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก
กดหน้าอกโดยให้ยุบลงอย่างน้อย 5 ซม.
ทำติดต่อกันไป 30 ครั้ง ให้ได้ความถี่ในการกด 100-120 ครั้ง/นาที
2.เรียกหาความช่วยเหลือ
หากท่านอยู่เพียงคนเดียวให้ช่วยเด้กก่อน เเล้วค่อยไปโทรศัพท์ 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือ
4.เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
ดันหน้าผากเเละยกคาง
1.เรียกดูว่าหมดสติจริงหรือไม่
จัดให้นอนหงายราบบนพื้นราบเเข็ง
นั่งข้างตัวผู้ป่วย ตบที่ไหล่สองข้าง พร้อมเรียกด้วยเสียงดังๆ
5.การช่วยหายใจเเบบปากต่อปาก
ให้เลื่อนหัวเเม่มือเเละนิ้วชี้ของมือที่ดันหน้าผากอยู่มาบีบจมูกเด็กให้รูจมุูกปิดสนิท
สูดลมหายใจเข้าตามปกติเเล้วครอบปากผู้ช่วยเหลือเข้ากับปากผู้หมดสติ
ตาชำเลืองมองหน้าอกผู้หมดสติพร้อมกับเป่าลมเข้าไปจนหน้าอกของผู้หมดสติขยับขึ้น เป่านาน 1 วินาที
ถอนปปากออก ให้ลมหายใจของผู้หมดสติผ่านกลับออกมาทางปาก เป่า2ครั้ง เเล้วกลับไปกดหน้าอก
6.ใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ(AED)
7.ทำตามคำเเนะนำของเครื่องเออีดี กดหน้าอก ทำCPR อย่างต่อเนื่อง จนกว่าทีมกู้ชีพจะมาถึง
8.ส่งต่อผู้ป่วยให้กับทีมกู้ชีพ เพื่อนำส่งโรงพยาบาล
คำศัพท์
Drowning
ผู้ที่เสียชีวิตจากการจมน้ำ
Near-Drowning
ผู้ที่จมน้ำเเต่ไม่เสียชีวิตทันที
อาจเสียชีวิตต่อมาในช่วงเวลาสั้นๆ
สาเหตุของการจมน้ำ
ลักษณะสถานที่ที่เล่นน้ำ
เด็กเล็กอายุ 1-5 ปี
มักจมในสระว่ายน้ำ
ผู้ใหญ่
จมจากการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมผาดโผนทางน้ำ
เล่นน้ำในสระว่ายน้ำที่ไม่ได้มาตรฐาน
ทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี
จมน้ำขณะอาบน้ำในอ่างอาบน้ำสำหรับเด็ก
ปัญหาสุขภาพเเละการใช้ยา
อาการป่วยขณะเล่นน้ำ
โรคลมชัก หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหายใจเร็ว ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะตัวเย็นเกิน
การใช้สารเสพติดเเละเเอลกอฮอล์
อุณหภูมิน้ำ
การว่ายน้ำหรือเล่นน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส เสี่ยงทำให้เกิดภาวะตัวเย็นเกิน ส่งผลให่ว่ายน้ำไม่ได้เเละจมน้ำ
อาการจมน้ำ
ท้องพองขึ้น
เจ็บหน้าอก
ไอหรือสำลักน้ำ
หายใจสั้นๆ หรือหอบเหนื่อยมาก
หนาวหรือตัวเขียว
อาเจียน
ภาวะเเทรกซ้อนจากการจมน้ำ
เม็ดเลือดเเดงเเตก ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง
เกลือเเร่เเละสมดุลกรดด่างในร่างกายผิดปกติ
โพเเทสเซียมในเลือดสูง หรือเลือดเป็นกรด
ไตวายเฉียบพลัน
ติดเชื้อ
ปอดบวม หรือติดเชื้อในกระเเสเลือด
ได้รับการกระทบกระเทือนเกี่ยวกับระบบประสาท
โรคหลอดเลือดสมอง สมองขาดออกซิเจน สมองบวม
ประสบภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน
ประสบปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับปอด
ปวดบวม หรือปอดบวมน้ำ
สมองถูกทำลาย
การทำงานของหัวใจผิดปกติ
หัวใจหยุดเต้น หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ กล้ามเนื้อหัวใจตาย
ประสบภาวะเจ้าชายนิทราเเบบสภาพผักเรื้อรัง ในกรณีที่ผู้ป่วยจมน้ำเป็นเวลานาน
วิธีป้องกันการจมน้ำสำหรับเด็ก
ดูเเลเเละกั้นทางไม่ให้เด็กไปใกล้สระว่ายน้ำหรือบริเวณที่เป็นเเหล่งน้ำ เเละไม่ทิ้งของเล่นไว้ในบริเวณดังกล่าว
ควรให้เด็กหัดว่ายน้ำ โดยเริ่มเรียนว่ายน้ำเมื่ออายุประมาณ 4 ปี
ควรอยู่เป็นเพื่อนเด็กขณะที่เด็กเล่นน้ำหรือว่ายน้ำทุกครั้ง หรือลงเล่นน้ำกับเด็ก โดยให้เด็กอยู่ไม่ห่างจากตัวเกินหนึ่งช่วงเเขน
ภาวะสำลักสิ่งเเปลกปลอมในทางเดินหายใจ
มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี
เป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น สนใจชอบค้นคว้า ทดลองด้วยตนเอง จึงมักเอาสิ่งแปลกปลอมใส่ไปในช่องต่างๆของร่างกาย
ฟันกรามที่ยังขึ้นไม่ครบสมบูรณ์ทำให้ไม่สามารถบดเคี้ยวอาหารชิ้นโตให้ละเอียดเพียงพอ จึงอาจเกิดการสำลักในระหว่างรับประทานอาหาร เเละวิ่งเล่นไปด้วย
ปัญหาที่เกิดตามหลังการสำลัก
2.เกิดการอุดกั้นของหลอดลมส่วนปลาย ทำให้เกิดภาวะปอดเเฟบ ปอดพอง หรือหอบหืดได้
3.เกิดการอุดกั้นการระบายของเสมหะในทางเดินหายใจ ทำให้เกิดปัญหาการอักเสบติดเชื้อตามมา เช่น ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ
1.ทำให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนต้น
วิธีปฏิบัติเมื่อสิ่งเเปลกปลอมอุดตันทางเดินหายใจเด็ก
เด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ขวบ
2.เคาะหลัง 5 ครั้งติดต่อกันโดยเคาะเเถวๆกึ่งกลางระหว่างกระดูกสะบักทั้งสองข้าง
3.จากนั้นพลิกเด็กให้หงายบนเเขนอีกข้าง วางหน้าบนตักโดยให้ศีรษะอยู่ต่ำเช่นกันเเล้วกดหน้าอกโดยใช้2นิ้วของผู้ช่วยกดบนกระดูกหน้าอกในตำเเหน่งที่ลากเส้นระหว่างหัวนมทั้งสองข้างลงมา หนึ่งความกว้างนิ้วมือ
1.วางเด็กคว่ำลงบนเเขน เเละวางเเขนนั้นลงบนหน้าตัก โดยให้ศีรษะของเด็กอยู่ต่ำๆ
4.ทำซ้ำจนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา
5.หากเด็กหมดสติ ให้ทำการประเมินการหายใจ การเต้นชีพจรเเละให้ช่วยเหลือการหายใจสลับกับการเคาะหลัง เเละกดหน้าอก
เด็กที่อายุมากกว่า 1 ขวบ
1.กระตุ้นให้เด็กไอเอง
2.ถ้าเด็กไม่สามารถพูดได้ หรือมีอาการหนัก ให้ทำการกดท้อง โดยผู้ช่วยยืนด้านหลังเด็ก เเล้วอ้อมเเขนมาด้านหน้า กำมือเป็นกำปั้นเเละวางกำปั้นด้านข้างบนกึ่งกลางหน้าท้องเหนือสะดือเด็ก โดยกดให้เเรงมีทิศทางเข้าด้านใน เเละเฉียงขึ้นบน
3.กดซ้ำจนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา
4.หากเด็กหมดสติ ให้ประเมินการหายใจ การเต้นของชีพจรเเละให้การช่วยเหลือการหายใจสลับกับการกดท้อง
5.การกดท้องในเด็กหมดสติ ทำโดยให้เด็กอยู่ในท่านอนราบ ผู้ช่วยนั่งคร่อมตัวเด็ก วางสันมือบนท้องเด็กตำเเหน่งสูงกว่าสะดือ กดในทิศทางเข้าด้านในเเละเฉียงขึ้น กด 5 ครั้ง เเล้วเปิดปากสำรวจดูว่ามีสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมาหรือไม่
ความเเตกต่างระหว่างการกดหน้าอกในเเต่ละช่วงอายุ
เด็กโต
ตำเเหน่งกึ่งกลางท่อนล่างกระดูกหน้าอก
ลึก 5 ซม. (1/3 ความหนาของทรวงอก)
100-120 ครั้ง/นาที
กดโดยใช้มือเดียว อีกข้างให้เปิดทางเดินหายใจ
ผู้ใหญ่
100-120 ครั้ง/นาที
ตำเเหน่งกึ่งกลางท่อนล่างกระดูกหน้าอก
ลึก 5-6 ซม. (2-2.4 นิ้ว)
กดโดยใช้สองมือ
เด็กทารก
ตำเเหน่งกึ่งกลางท่อนล่างกระดูกหน้าอก
ลึก 4 ซม. (1.5 นิ้ว หรือ 1/3 ความหนาทรวงอก)
100-120 ครั้ง/นาที
กดโดยใช้นิ้วมือสองนิ้ว มืออีกข้างให้ทำการเปิดทางเดินหายใจ
วิธีของ Heimlich
ผู้ช่วยเหลือเข้าทางด้านหลัง ใช้เเขนสอดสองข้างโอบผู้ป่วยไว้
มือซ้ายประคองมือขวาเข้าใต้ลิ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดเเรงดันในช่องท้องดันเข้าใต้กระบังลมผ่านไปยังช่องทรวงอก เพื่อดันให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกจากกล่องเสียง
ทำในท่านั่งหรือยืนโน้มตัวไปทางด้านหน้าเล็กน้อย
ใช้ช่วยเหลือผู้ป่วยทั้งผู้ใหญ่ หรือเด็กโต
การป้องกันการสำลักสิ่งแปลกปลอม
1.เลือกชนิดเเละขนาดของอาหารที่เหมาะสมให้เเก่เด็กในวัยต่างๆ เพื่อป้องกันการสำลักอาหารเเละไม่ควรป้อนอาหารเด็กในขณะที่เด็กกำลังวิ่งเล่นอยู่
2.เลือกชนิด รูปร่างเเละขนาดของของเล่นให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก รวมทั้งจัดเก็บสิ่งของที่อาจเป็นอันตราย
การพยาบาลเด็กไฟไหม้น้ำร้อนลวก
ถ้าเป็นเล็กน้อย จะมีอาการปวดเเสบปวดร้อนพอทนได้ เเละค่อยๆหายไปเอง
ถ้าเป็นมาก(กินบริเวณกว้าง เเละแผลลึก) มักมีจะเเทรกซ้อน ทำให้ทุพพลภาพหรือตายได้
เป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยทั้งในเด็กเเละผู้ใหญ่
สาเหตุ
ไฟฟ้าช็อต
สารเคมี เช่น กรด ด่าง
ความร้อน ไฟ วัตถุที่ร้อน
รังสี เช่น เเสงอัลตราไวโอเลต รังสีเรเดียม รังสีโคบอลต์ ระเบิดปรมาณู
อาการ
ความลึก
บาดแผลดีกรีที่ 2
บาดแผลทำลายหนังกำพร้าตลอดทั้งชั้น เเละหนังเเท้ส่วนที่อยู่ตื้นๆ
ยังมีเซลล์ที่สามารถเจริญทดเเทนส่วนที่ตายได้เเละไม่เกิดแผลเป็น
เเต่ถ้าแผลมีลักษณะเเดงเเละพุเป็นตุ่มน้ำขนาดเล็ก เเละใหญ่ ผิวหนังอาจหลุดลอกเห็นเป็นเนื้อเเดงๆมีน้ำเหลืองซึม มีอาการเจ็บปวด อาจทำให้สูญเสียน้ำ โปรตีน เเละเกลือเเร่ เเละติดเชื้อได้ง่าย
บาดแผลดีกรีที่ 3
ผู้ป่วยมักไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดที่บาดแผล
ผิวหนังทั้งชั้นจะหลุดลอกเห็นเป็นเนื้อเเดงๆ หรือเเดงสลับขาว หรือเป็นเนื้อที่ไหม้เกรียม
บาดแผลที่มีการทำลายของหนังกำพร้าเเละหนังเเท้ทั้งหมด รวมทั้งต่อมเหงื่อ ขุมขนเเละเซลล์ประสาท
อาจเกิดภาวะขาดน้ำ หรือติดเชื้อรุนเเรงได้ แผลมักจะหายยาก
บาดแผลดีกรีที่ 1
เซลล์หนังกำพร้าชั้นผิวนอกเท่านั้น
หนังกำพร้าชั้นในยังไม่ถูกทำลาย สามารถเจริญขึ้นมาเเทนที่ส่วนผิวนอกได้
มีโอกาสแผลหายได้สนิทเเละไม่มีเเผลเป็น
ตำเเหน่ง
ถ้าถูกบริเวณตา อาจทำให้ตาบอดได้
เเผลที่มือเเละตามข้อพับต่างๆ อาจทำให้ข้อนิ้วมือเเละข้อต่างๆ มีแผลเป็นดึงรั้ง ทำให้เหยียดออกไม่ได้
บาดแผลบนใบหน้า อาจทำให้เป็นแผลเป็นเเละเสียโฉมได้มาก
ถ้าสูดควันไฟเข้าไปในปอด อาจทำให้เยื่อบุของทางเดินหายใจเกิดการอักเสบ กลายเป็นหลอดลมอักเสบ เเละปอดอักเสบ
ขนาด
เเผลที่มีขนาดใหญ่จะมีอันตรายกว่าแผลขนาดเล็ก
อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ โปรตีน เเละเกลือเเร่ เเละอาจเกิดภาวะช็อกได้
อาจมีโอกาสติดเชื้อถึงขั้นโลหิตเป็นพิษ ถึงตายได้
การพยาบาล
บาดเเผลดีกรีที่ 2
รีบใช้น้ำเย็นหรือน้ำเเข็งประคบิให้ผ้าสะอาดเช็ดให้เเห้ง เเล้วใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาดปิดไว้
ถ้าบาดแผลกว้างควรให้การช่วยเหลือเบื้องต้น
ถ้ามีกำไล เเหวน ควรถอดออก หากปล่อยไว้นิ้วหรือข้อมืออาจบวมทำให้ถอดออกได้
ถ้าผู้ป่วยกระหายน้ำ หรือใช้เวลามากกว่า 2 ชั่วโมง ในการเดินทางไปถึงสถานพยาบาล ควรให้ผู้ป่วยดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือเเร่ หรืออาจให้กินน้ำส้มคั้นใส่เกลือก็ได้ ควรให้ดื่มครั้งละ 1/4-1/2 เเล้ว ทุกๆ 15 นาที
ให้ยกส่วนที่มีบาดแผลไว้ให้สูงกว่าระดับหัวใจ
ควรใช้ผ้าสะอาดบางๆ คลุมร่างกายของผู้ป่วยทเเละให้ผู้ป่วยนอนยกเท้าสูงเล็กน้อย
เปลื้องเสื้อผ้าออกจากบริเวณที่ถูกไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก ถ้าถอดลำบากให้ตัดออกเป็นชิ้นๆ
ให้พาราเซตามอล 1-2 เม็ด เพื่อระงับปวด เเละอาจให้ไดอะซีเเพม ขนาด 5 มิลลิกรัม 1/2-1 เม็ด
บาดแผลดีกรีที่ 3
เนื่องจากเป็นบาดแผลลึกซึ่งมีอันตรายร้ายเเรงได้ จึงควรส่งไปปรึกษาที่โรงพยาบาลโดยเร็วทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าบาดแผลมีขนาดมากกว่า 10% (ในเด็ก) หรือ 15 % (ในผู้ใหญ่) ก่อนส่งโรงพยาบาล อาจให้การปฐมพยาบาลเช่นเดียวกับบาดแผลดีกรีที่ 1 เเละ 2
บาดแผลดีกรีที่ 1
2.ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ หรือผ้าสะอาด
3.ถ้ายังมีอาการปวดเเสบปวดร้อน หรือมีตุ่มใส ควรไปหาหมอ
1.รีบใช้น้ำเย็นหรือน้ำเเข็งประคบบริเวณที่มีบาดแผล เพื่อลดอาการปวดแสบปวดร้อน เเละป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อถูกทำลาย
การป้องกัน
อย่าวางกาน้ำร้อน หม้อน้ำเเกง กระตกน้ำร้อน ตะเกียง ไม้ขีดหรือวัตถุอื่นๆ ที่มีความร้อนไว้ใกล้มือเด็ก
อย่าวางบุหรี่ ตะเกียง ใกล้ผ้าห่ม มุ้ง หรือสิ่งที่อาจติดไฟได้ง่าย
อย่าให้เด็กเล็กเล่นในห้องครัว
การประเมินบาดแผล
ผู้ใหญ่
Perineum = 1%
Right leg = 18%
Left arm = 9%
Right arm = 9%
Back = 18%
Head = 9% (front and back)
Left leg = 18%
Chest = 18%
เด็ก
Chest = 18%
Perineum = 1%
Left arm = 9%
Right leg = 13.5%
Right arm = 9%
Back = 18%
Head = 18% (front and back )
Left leg = 13.5%
การพยาบาลเด็กกระดูกหัก
ชนิดของบาดแผล
เเบ่งตามการเกิดบาดแผล
กระดูกหักชนิดไม่มีแผล
ภาวะที่กระดูกหัก เเต่ผิวหนังภายนอกไม่ได้รับการบาดเจ็บใดๆ
กระดูกหักชนิดมีเเผล
กระดูกที่หักจนเเทงทะลุผิวหนังออกมา หรือมีแผลเชื่อมต่อกับบริเวณที่กระดูกหัก
เเบ่งตามรอยหักของกระดูก
กระดูกหักหรือร้าว เเต่ไม่เคลื่อนที่หรือเเยกจากกันเป็น 2 ท่อน
กระดูกที่หักเเละเคลื่อนไปจากที่เดิม
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
หากจำเป็นต้องถอดเสื้อผ้าออก ควรใช้กรรไกรตัดหรือฉีกผ้าส่วนนั้นออก ไม่ควรถอดออกด้วยวิธีปกติ เพราะอาจทำให้เด็กรู้สึกปวดมากขึ้น
หากเด็กกระดูกหักบริเวณเเขนหรือขาควรดามด้วยวัสดุที่เเข็งเเรง
ใช้ผ้าสะอาดห่อน้ำเเข็งเเละประคบบริเวณที่คาดว่ากระดูกหัก รวมทั้งยกอวัยวะส่วนนั้นให้สูง เพื่อลดอาการปวดเเละบวม เเต่ไม่ควรทำในเด็กทารก เพราะความเย็นอาจทำลายผิวหนังของเด็ก
ไม่ควรเคลื่อนย้ายเด็กที่ได้รับบาดเจ็บอย่างรุนเเรงที่ศีรษะ คอ เเละหลัง หรือกระดูกหักจนทะลุออกมาจากผิวหนังเองโดยพลการ
งดให้รับประทานอาหาร ดื่มน้ำ หรือยาทุกชนิดจนกว่าจะพบเเพทย์ เพราะเด็กบางรายอาจต้องเข้ารับการผ่าตัด
ความหมาย
การมีรอยเเยก รอยเเตก หรือมีความไม่ต่อเนื่องกันของเนื้อกระดูก พบได้บ่อยทั้งในเด็กเเละผู้ใหญ่
อาการเบื้องต้น
สีผิวบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป รู้สึกชาบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
เด็กไม่ยอมขยับส่วนที่ได้รับบาดเจ็บ ไม่ยอมเคลื่อนไหวหรือลงน้ำหนักบริเวณนั้นตามปกติ
มีอาการปวด บวม เเดง เกิดรอยฟกช้ำ หรือห้อเลือด
กระดูกบิดเบี้ยว ผิดรูปไปจากเดิม หรือโผล่ออกมาจากผิวหนัง
รู้สึกเจ็บเมื่อมีคนจับหรือเเตะโดน หากเป็นทารกหรือเด็กเล็กจะร้องไห้งอเเงมากกว่าปกติ
มีเสียงดังกร๊อบเเกร๊บของกระดูกขณะเกิดอุบัติเหตุ
การพยาบาลเด็กที่ได้รับสารพิษ
ช่องทางการเข้าสู่ร่างกาย
ทางปอด
โดยการหายใจเอาก๊าซหรือสารที่เป็นละอองเข้าไป เช่น ยาฆ่าเเมลงที่ใช้ฉีด เป็นต้น
ทางผิวหนัง
โดยการดูดซึมผ่านผิวหนัง
ทางปาก
พบมากที่สุด ส่วนใหญ่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ทางตา
ส่วนใหญ่ ได้เเก่ กรดเเละด่าง
การฉีด
อาจเป็นการฉีดเข้าหลอดเลือด กล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่เกิดจากการเเพ้ยา ได้ยาเกินขนาดหรือได้ยาผิด
การจำเเนกสารพิษ
ชนิดทำให้ระคายเคือง
ทำให้เกิดอาการปวดเเสบปวดร้อน เเละอักเสบในระยะต่อมา
เช่น ฟอสฟอรัส สารหนู อาหารเป็นพิษ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ชนิดที่กดระบบประสาท
ทำให้หมดสติ หลับลึก ปลุกไม่ตื่น ม่านตาหดเล็ก
เช่น ฝิ่น มอร์ฟืน พิษจากงูบางชนิด
ชนิดกัดเนื้อ
ทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายไหม้ พอง
เช่น สารละลายพวกกรด ด่างเข้มข้น น้ำยาฟอกขาว
ชนิดที่กระตุ้นระบบประสาท
ทำให้เกิดอาการเพ้อคลั่ง ใบหน้าเเละผิวหนังเเดง ชีพจรเต้นเร็ว ช่องม่านตาขยาย
เช่น ยาอะโทรปีน ลำโพง
ความหมาย
สารเคมีที่มีสภาพเป็นของเเข็ง ของเหลว หรือก๊าซ
การประเมินภาวะการได้รับสารพิษ
เพ้อ ชัก หมดสติ มีอาการอัมพาตบางส่วนหรือทั่วไป ขนาดช่องม่านตาผิดปกติ อาจจะหดหรือขยาย
หายใจขัด หายใจลำบาก มีเสมหะมาก มีอาการเขียวปลายมือปลายเท้า หรือบริเวณริมฝีปาก ลมหายใจมีกลิ่นสารเคมี
การคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง น้ำลายฟูมปาก หรือมีรอยไหม้นอกบริเวณริมฝีปาก มีกลิ่นสารเคมีบริเวณปาก
ตัวเย็น เหงื่อออกมาก มีผื่นหรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง
การปฐมพยาบาล
ได้รับสารกัดเนื้อ
กรด ด่าง เป็นสารเคมีที่พบในชีวิตประจำวัน
เช่น กรดซัลฟูริก กรดไฮโดรคลอริก โซเดียมคาร์บอเนต
อาการเเละอาการเเสดง
ไหม้พอง ร้อนบริเวณริมฝีปาก ลำคอ เเละท้อง คลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำ เเละมีอาการภาวะช็อก
การปฐมพยาบาล
ถ้ารู้สึกตัวดีให้ดื่มนม
อย่าทำให้อาเจียน
รีบนำส่งโรงพยาบาล
ได้รับสารพวกน้ำมันปิโตรเลียม
อาการเเละอาการเเสดง
เเสบร้อนบริเวณปาก คลื่นไส้ อาเจียน อาจสำลักเข้าไปในปอดทำให้หายใจออกมามีกลิ่นน้ำมัน อัตราการหายใจเเละชีพจรเพิ่ม อาจมีอาการขาดออกซิเจน มีอาการเขียวตามปลายมือปลายเท้า
การปฐมพยาบาล
รีบนำส่งโรงพยาบาล
ห้ามทำให้อาเจียน
ระหว่างนำส่งโรงพยาบาล ถ้าผู้ป่วยอาเจียนให้จัดศีรษะต่ำ เพื่อป้องกันการสำลักน้ำมันเข้าปอด
สารพวกนี้ ได้เเก่ น้ำมันก๊าด เบนซิน ยาฆ่าเเมลงชนิดน้ำมัน เช่น DDT
ได้รับสารพิษทางปาก
นำส่งโรงพยาบาล เพื่อทำการล้างท้องเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหาร
ทำให้ผู้ป่วยอาเจียน เพื่อเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหาร
ห้ามทำให้อาเจียนในผู้ป่วยที่หมดสติ ได้รับสารพิษชนิดกัดเนื้อ เช่น กรด ด่าง รับประทานสารพิษพวกน้ำมันปิโตรเลียม เช่น น้ำมันก๊าด เบนซิน
ทำให้สารพิษเจือจาง โดยการให้นม
ให้สารดูดซับสารพิษในระบบทางเดินอาหาร เพื่อลดปริมาณการดูดซึมสารพิษเข้าสู่ร่างกาย สารที่ใช้ได้ผลดี คือ Activated charcoal มีลักษณะเป็นผงถ่านสีดำ
ผู้ที่ได้รับยาเเก้ปวด ลดไข้
อาการของผู้ที่ได้รับยาเเอสไพริน
หูอื้อ เหมือนมีเสียงกระดิ่งในหู การได้ยินลดลง เหงื่อออกง่าย ปลายมือปลายเท้าเเดง ชีพจรเร็ว คลื่นไส้อาเจียน หายใจเร็ว ใจสั่น
อาการผู้ที่ได้รับยาพาราเซตามอล
คลื่นไส้อาเจียน ง่วงซึม เหงื่อออกมาก ความดันโลหิตต่ำ สับสน เบื่ออาหาร
การปฐมพยาบาล
ทำให้อาเจียน
ให้สารดูดซับสารพิษ ที่อาจหลงเหลือในระบบทางเดินอาหาร
ทำให้สารพิษเจือจาง
เมื่อสารเคมีถูกผิวหนัง
อย่าใช้ยาเเก้พิษทางเคมี เพราะความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาอาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
บรรเทาอาการปวดเเละรักษาภาวะช็อก
ล้างด้วยน้ำสะอาดนานๆ อย่างน้อย 15 นาที
ปิดแผล เเล้วนำส่งโรงพยาบาล
เมื่อสารเคมีเข้าตา
อย่าใช้ยาเเก้พิษทางเคมี เพราะความร้อนที่เกิดปฏิกิริยาอาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
บรรเทาอาการปวดเเละภาวะช็อก
ล้างตาด้วยน้ำนาน 15 นาที โดยการเปิดน้ำก๊อกไหลรินค่อยๆ
ปิดตา เเละนำส่งโรงพยาบาล
ได้รับสารพิษทางการหายใจ
ก๊าซที่ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน
เกิดอาการวิงเวียน หน้ามืด เป็นลมหมดสติ
เช่น คาร์บอนมอนนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจน ไนโตรเจน
ก๊าซที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ
เป็นอันตรายต่อคอ หลอดลม เเละปอด ถ้าได้รับปริมาณมากอาจทำให้ตายได้
เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ก๊าซที่ทำให้อันตรายทั่วร่างกาย
ทำให้เม็ดเลือดเเดงเเตก ปัสสาวะเป็นเลือด ดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง
เช่น ก๊าซอาร์ซีน ไม่มีสีกลิ่นคล้ายกระเทียม พบในโรงงานอุตสาหกรรมใช้ทำเเบตเตอร์รี่
การปฐมพยาบาล
นำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่เกิดเหตุไปยังที่มีอาการบริสุทธิ์
ประเมินการหายใจเเละการเต้นของหัวใจ ถ้าไม่มีให้ผายปอด เเละนวดหัวใจ นำส่งโรงพยาบาล
กลั้นหายใจเเละรีบเปิดประตูหน้าต่าง เพื่อให้อากาศถ่ายเท มีอาการบริสุทธิ์เข้ามาในห้อง ปิดท่อก๊าซ หรือขจัดต้นเหตุของพิษนั้นๆ
การป้องกัน
5.ถ้าต้องให้ยาเด็กในเวลากลางคืน อย่าหยิบยาโดยไม่เปิดไฟ เพราะจะผิดได้ทั้งชนิดเเละขนาดที่ให้
6.เมื่อได้รับยามาจากเเพทย์ควรอ่านสลากยาให้เข้าใจ เเละควรถามถึงลักษณะการเเพ้ยา หรือการได้รับยาเกินขนาด
4.อย่ากินยาให้เด็กเห็น เพราะเด็กชอบเอาอย่าง เเละเวลาให้ยาหลอกเด็กว่าเป็นขนม จะทำให้เด็กเข้าใจผิดภายหลังได้
7.ขณะที่ทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาด ถ้าจะต้องวางมือชั่วคราวให้เก็บของนั้นให้เรียบร้อยก่อน หรือไม่ก็เอาตัวเด็กไปกับเรา ไม่ควรปล่อยไว้คนเดียว
3.ไม่ควรเก็บอาหารเเละน้ำยาทำความสะอาดของในบ้านไว้ด้วยกัน
8.ควรจะต้องรู้การพัฒนาการของเด็กว่าทำอะไรได้ เช่น ถ้าคลานได้ก็ต้องระวังเรื่องสายไฟที่อยู่ต่ำ เก็บของไว้ที่สูง
2.เก็บยา ย้ำยาทำความสะอาด ยาฆ่าเเมลง น้ำมันก๊าซ เบนซินให้พ้นสายตา เเละมือของเด็ก หรือเก็บใส่ตู้กุญเเจ
ควรมีเบอร์โทรศัพท์ ญาติ เเพทย์ โรงพยาบาล สถานีตำรวจไว้ในที่หยิบง่าย เพราะเวลาเราตกใจจะนึกไม่ออก
1.อย่าปล่อยเด็กทารกเเรกเกิดจนถึงอายุ 5 ปีไว้คนเดียว
อ้างอิง : คณะเเพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2553). ภาวะสำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2563, จาก
https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=487
สมชาย สุนทรโลหะนะกูล. (2563). การได้รับสารพิษในเด็ก. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2563,
https://www.healthcarethai.com/การได้รับสารพิษในเด็ก-poisoning/
Pobpad. (2559). ความหมายจมน้ำ. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2563, จาก
https://www.pobpad.com/จมน้ำ
Pobpad. (2559). กระดูกหักในเด็ก เรื่องใกล้ตัวที่พ่อเเม่ควรระวัง. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2563, จาก
https://www.pobpad.com/กระดูกหักในเด็ก
เรื่องใกล้ตัวที่พ่อเเม่ควรระวัง
นางสาวภัทราภรณ์ ครโสภา เลขที่ 14 รุ่น 36/2