Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลระยะที่ 1 ของการคลอด - Coggle Diagram
การพยาบาลระยะที่ 1 ของการคลอด
การประเมินสภาวะผู้คลอดในระยะแรกรับ
การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายทั่วไป
ลักษณะรูปร่างหากความสูงน้อยกว่า 145 เซนติเมตรอาจมีปัญหาเชิงกรานแคบท่าเดินที่ผิดปกติอาจบอกถึงความผิดปกติบริเวณสะโพกและกระดูกสันหลังอาจเสี่ยงต่อการคลอดผิดปกติได้
ลักษณะทั่วไปประเมินสภาพของผู้คลอดเช่นอาการซีดจากภาวะโลหิตจางอาการบวมจากความดันโลหิตสูงร่วมกับการตั้งครรภ์การหายใจหอบเหนื่อยจากโรคทางเดินหายใจหรือโรคทางเดินหายใจหรือโรคหัวใจ
สัญญาณชีพ-ความดันโลหิตอยู่ระดับ 110-120/70-80 mmHg, ถ้าสูงมากกว่าหรือเท่ากับ ๑๔๐ / ๕๐ มิลลิเมตรปรอทอาจจะเป็นภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
อุณหภูมิถ้าสูงอาจมีการติดเชื้อในร่างกายหรือขาดน้ำ
อัตราชีพจรถ้ามากกว่า 90 ครั้งต่อนาทีเบาเร็วแสดงว่ามารดาอาจมีการติดเชื้อขาดน้ำอ่อนเพลียเหนื่อยล้าหรือตกเลือด
การหายใจมีอาการหอบหรือไม่ซึ่งปกติควรอยู่ระหว่าง 16-20 ครั้งต่อนาที
น้ำหนักเพื่อประเมินภาวะบวมจากความดันโลหิตสูงร่วมกับการตั้งครรภ์หรือภาวะอ้วนถ้าอ้วนมากอาจทำให้คลอดยาก
อาการบวม (Edema) ประเมินดูว่ ามีการบวมตามส่วนใดของร่างกาย
ผลการตรวจเลือด: Hematocrit (Hct), Hemoglobin (Hb), VDRL, HBsAg และ Anti-HIV
ผลการตรวจปัสสาวะ: น้ำตาลและโปรตีนในปัสสาวะ
การจรวจร่างกายเฉพาะที่
การดู
ขนาดของท้องถ้าหน้าท้องมีขนาดใหญ่อาจมีการตั้งครรภ์แฝดหรือมีภาวะน้ำคร่ำมากว่า
ลักษณะมดลูกโตตามยาวหรือตามขวางเพื่อดูว่าทารกอยู่ในท่าหัวท่ากันหรือท่าขวาง
การเคลื่อนไหวของทารกลักษณะทั่วไปของท้องเช่นมีหน้าท้องย้อย (pendulus abdomen) หรือกล้ามเนื้อหน้าท้องแยกห่างกัน (diastasis recti)
การคลำ
ความสัมพันธ์ของระดับยอดมดลูกกับอายุครรภ์
ส่วนนำทารกระดับของส่วนนำการเข้าสู่เชิงกรานของส่วนนำทารก
การคาดคะเนน้ำหนักของทารก (EFW = HF X AC)
ความสูงของยอดมดลูกเมื่อครรภ์ครบกำหนดคลอดควรอยู่ระหว่าง 33-37 cms
การฟังเสียงหัวใจทารก
บริเวณสะบักซ้ายตำแหน่งของเสียงหัวใจที่ฟังได้ชัดขึ้นอยู่กับอายุครรภ์และท่าของทารกอัตราการเต้นของหัวใจทารกประมาณ 120-160 ครั้ง / นาที
การตรวจภายใน
สภาพปากมดลูก
ความบางของปากมดลูก (Cervical eitacement)
การบวมของปากมดลูก
ตำแหน่งของปากมดลูก
ตรวจหาส่วนนำ
ตรวจหาท่าของทารก (Position) และขม่อม (Fontanel)
ตรวจดูสภาพของน้ำทูนหัว (Bag of fore water)
ลักษณะถุงน้ำคร่ำ
การตรวจหาขนาดของก้อนโน (Capuf succedaneum) และการเกยกันของกระดูกศีรษะ (Molding)
การคาดคะเนเวลาการคลอด
การซักประวัติ
ประวัติจากอาการนำ
ที่ผู้คลอดมาโรงพยาบาล
การเจ็บครรภ์(Labor pain)
มูก(show)
มีนำ้เดินหรือถุงนำ้แตก(Rupture of membranes)
ประวัติการตั้งครรภ์
และการคลอดในอดีต
ประวัติการขูดมดลูกการแท้งผู้คลอดที่มีประวัติการแท้งและได้รับการขูดมดลูกหลายครั้งอาจทำให้รกเกาะแน่นกว่าปกติรวมทั้งการซักประวัติเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติอื่นๆเช่นการตั้งครรภ์นอกมดลูกการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก
ประวัติภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์เช่นความดันโลหิตสูงบวมชักตกเลือดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวอาจเกิดขึ้นอีกในการตั้งครรภ์ปัจจุบันประวัติการคลอด ได้แก่ จำนวนครั้งของการคลอดอายุครรภ์ขณะคลอดชนิดของการคลอด
ประวัติการตั้งครรภ์ปัจจุบัน
ลำดับการตั้งครรภ์
อายุครรภ์
ประวัติการแพ้ยาและสารอาหารต่างๆ การผ่าตัด
ประวัติการเจ็บป่วยภายในครอบครัว
การเตรียมผูู้คลอด
ด้านจิตใจ
อธิบายเกี่ยวกับการรับไว้เพื่อรอคลอดการแนะนำสถานที่และข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการรอคลอดการเยี่ยมและการติดต่อกับสามีและญาติสิทธิของผู้คลอด
เปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยการเตรียมผู้คลอด
การอธิบายให้ทราบเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์ผลการตรวจต่างๆการดำเนินการคลอดและกระบวนการคลอด
ด้านร่างกาย
การทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและฝีเย็บ
การสวนอุจจาระ
การทำความสะอาดร่างกาย
จัดให้พักผ่อนในห้องรอคลอดและดูแลอย่างใกล้ชิด
การบันทึกรายงาน
การประเมินความก้าวหน้าของการคลอด
การหดรัดตัวของมดลูก
การประเมินโดยใช้เครื่องอิเล็กโทรนิกคือการใช้เครื่อง electronic feto monitoring (EFM) ใช้ประเมินได้ทั้งการหดรัดตัวของมดลูก (uterine activity) และประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์
การประเมินโดยการวางฝ่ามือ
บนยอดมดลูก
ระยะเวลาการหดรัดตัวของมดลูก (duration)
ระยะห่างของการหดรัดตัวแต่ละครั้งของมดลูก (interval)
ความถี่ของการหดรัดตัวของมดลูก (frequeancy)
ความแรงของการหดรัดตัว (intensity)
การเปิดขยายและความบางของปากมดลูก
การเคลื่อนตำของส่วนนำ
และการหมุนของศีรษะทารก
ครรภ์แรก descent> 1 ซม. / ชม.
ครรภ์หลัง descent> 2 ซม. / ชม.
Sagittal suture ของศีรษะทารกหมุนมาอยู่ในแนว A-P diameter
ตำแหน่ง FHS
อัตราการเต้นของหัวใจทารกได้เลื่อนต่ำลงมาและเคลื่อนเข้าหาแนวกึ่งกลางลำตัวเมื่อส่วนนำเคลื่อนต่ำลงมาถึงช่องออกเชิงกรานตำแหน่งที่ฟังอัตราการเต้นของหัวใจทารกจะอยู่ที่บริเวณรอยต่อกระดูกหัวเหน่า (Symphysis pubis) ซึ่งแสดงว่าใกล้คลอด
มูก, ถุงน้ำคร่ำ, อาการผู้คลอด
การพยาบาลมารดาในระยะที่ 1
ด้านจิตใจ
มีความเมตตาเป็นมิตรรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรามีท่าทางใจดี
ให้ ความนับถือในความเป็นบุคคลแก่มารดาและญาติ
เมื่อจะทำการตรวจหรือปฏิบัติการพยาบาลใด ๆ ต้องบอกให้มารตาทราบและปฏิบัติด้วยความสุภาพนุ่มนวล
อธิบายให้มารดาและญาติได้เข้าใจถึงกระบวนการคลอดโดยสังเขป
อยู่เป็นเพื่อนมารดาอย่างใกล้ชิด
ประเมินความต้องกา รของมารดาและตอบสนองโดยเร็วต้านร่างกาย
ด้านร่างกาย
การสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดวัด Vital sings ทุก 4 ชั่วโมงหากพบความผิดปกติต้องรายงานแพทย์
ท่านอน ควรนอนตะแคงซ้าย
ดูแลความสุขสบายทั่ว ๆ ไปจัดสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่สะอาดใน ราย ที่ถุงน้ำแตกควรใส่ผ้าอนามัยเพื่อสังเกตลักษณะน้ำคร่ำและป้องกันติดเชื้อ
อาหารเมื่อเข้าสู่ระยะ active phase ควรงดน้ำ และอาหารทางปาก
การดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่างทุก 2 ชั่วโมง
การให้ผู้คลอดปฏิบัติวธี การผ่อนคลายความเจ็บป่วย
การส่งเสริมการเผชิญความเจ็บปวดระยะคลอด
วิธีจิตป้องกัน (psychoprophylaxis เป็นการสอนหญิงมีครรภ์ให้เข้าใจถึงกระบวนการทางด้านสรีรวิทยาและจิตวิทยาทั้งในระยะงครรภ์และระยะคลอดฝึกการออกกำลังกายเทคนิคการหายใจการผ่อนคลายการลูบหน้าท้องและการเพ่งจุดสนใจ
วิธีของ Dick-Readการเบี่ยงเบนความสนใจด้วยเทคนิคการผ่อนคลายและการหายใจ
วิธีการของ Bradley ทำให้ร่างกายสุขสบายผ่อนคลายปิดตาเหมือนกำลังหลับควบคุมการหายใจเน้นให้สามีมีส่วนร่วมซึ่งเรียกว่า Husband-Coached childbirth
เทคนิคการผ่อนคลาย (relaxation techniques)การเกร็งและคลายกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
เทคนิคการผ่อนคลาย (relaxation techniques)การเกร็งและคลายกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
เทคนิคการหายใจ (breathing techniques) เป็นเทคนิคที่จะช่วยเพิ่มจํานวนออกซิเจนส่งเสริมให้เกิด การผ่อนคลายทำให้ความเจ็บปวดและความเครียด
การจัดท่าที่เหมาะสม (positioning) ในท่ายืนและท่าเดินจะทำให้ความเจ็บปวดจากการหดรัดตัวของมดลูกลดลงทายืนหรือท่านั่งเอาลำตัวส่วนหน้าพิงและท่าคลานจะทำให้ความไม่สุขสบายจากการปวดหลังลดลงทำตอนตะแคงจะทำให้สุขสบายการไหลเวียนของโลหิตไปยังรกดีขึ้นท่าของผู้คลอดควรเปลี่ยนทุก 30-60 นาทีเพื่อเพิ่มความสุขสบายและลดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ
การบำบัดด้วยแรงดันน้ำ (jet hydrotherapy) หมายถึงการอาบน้ำจากฝักบัว
การใช้ความร้อนและความเย็น (hot and cold)แช่ในอ่างน้ำอุ่น
การเบี่ยงเบนความสนใจ (distraction)