Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
major.neuro cognitive.disorder - Coggle Diagram
major.neuro cognitive.disorder
ความหมาย
ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่มีความบกพร่องทางสตปัญญาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลงเมื่อเปรียบเทียบกับความสามารถสมองเดิมของผู้สูงอายุรายนั้นมีสาเหตุมาจากการเสื่อมสลายของเซลล์สมองจากสาเหตุต่างๆ
ทำให้เกิดการสูญเสียของเนื้อสมองและส่งผลต่อการทำงานการทำหน้าที่ของสมองในหลายๆด้านโดยการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างถาวรและส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันและความสามารถในการอยู่ร่วมในสังคมของผู้สูงอายุ
พยาธิสภาพ
1.เกิดจากการสร้างและสะสมโปรตีนที่ผิดปกติบางชนิดในเซลล์สมองทำให้เซลล์สมองตายเช่นโรคอัลไซเมอร์โรคสมองเสื่อมจากLewy.bodyโรคสมองเสื่อมจากพาร์กินสัน Pick’s.disease
3.การได้รับสารพิษหรือการบาดเจ็บที่กระทบกระเทือนเซลล์สมองเช่นอุบัติเหตุกระแทกบริเวณศีรษะภาวะพิษจากแอลกอฮอลล์หรือสารเสพติด
2.เกิดจากภาวะหลอดเลือดไปเลี้ยงสมองที่ผิดปกติซึ่งเป็นได้จากทั้งการตีบแตกหรือตันโดยมากมักเกิดจากโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรังบางอย่างเช่นเบาหวานความดันโลหิตสูงอัมพาตอัมพฤกษ์การสูบบุหรี่เป็นต้น
ความแปรปรวนของระบบเมตาบอลิกบางอย่างเช่นภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อยเกินไป(hypothyroidism)
การรักษา
2.การดูแลอาการด้านประสาทจิตเวชศาสตร์
การรักษาแบบใช้ยามีหลายกลุ่มได้แก่ยารักษาโรคจิตยาRisperidoneเป็นยารักษาโรคจิตเภทที่มีอาการก้าวร้าวอารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็วยาต้านเศร้ายาTrazodone เป็นยาคลายเครียดรักษาอาการซึมเศร้า
และยาbenzhexol
1.การดูแลความผิดปกติด้านการรู้คิด (cognitive function)
การรักษาด้วยยายากลุ่มCholinesterase inhibitors(ChEIs)ใช้ในการรักษาภาวะสมองเสื่อมระดับเล็กน้อยถึงปานกลางมีฤทธิ์ยับยั้งcholinesteraseช่วยเพิ่มสารสื่อประสาทในสมองเพิ่มการรู้คิดเช่นยา Rivastigmine
3.การดูแลทั่วไป
การดูแลฟื้นฟูทั้งด้านร่างกายด้านการรู้คิดด้านจิตใจและอาชีพ
การดูแลผู้ดูแลผู้ดูแลทำให้เกิดความซึมเศร้าควรให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมให้คำปรึกษาแก่กลุ่มญาติหรือผู้ดูแลรับฟังความรู้สึกและแนะนำเทคนิคในการดูแลผู้ป่วย
การกระตุ้นกิจวัตรประจำวันพื้นฐานให้ผู้ป่วยได้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเอง
การดูแลสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย ทั้งด้านความปลอดภัยและความเหมาะสมและไม่ทำให้เกิดอันตราย
เกณฑ์การวินิจฉัย
1.มีความยากลําบากในการใส่ใจรับรู้ข้อมูลถูกดึงความสนใจได้ง่ายหรือไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่กําลังทํา(complex.attention)
3.ความจําและการเรียนรู้สิ่งใหม่บกพร่อง(learning.and.memory)
2.มีลักษณะความคิดในด้านการตัดสินใจการวางแผนการมองในลักษณะนามธรรมบกพร่องไป(executive .function)
4.มีความลําบากในการพูดสื่อสารหรือเข้าใจภาษา
5.ความสามารถในการทํากิจกรรมต่างๆที่คุ้นเคยมาก่อนบกพร่องทั้งๆที่การเคลื่อนไหวของร่างกายแขนขาปกติ(perceptual.motor)
6.มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับบริบทสิ่งแวดล้อมไม่คํานึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น(social.cognition)
หลักการพยาบาล
2.สัมพันธภาพทางสังคมบกพร่อง
-ไม่ตำหนิผู้ป่วยหากผู้ป่วยตัดสินใจหรือทำสิ่งใดผิดพลาด แต่ควรหาทางเลือกให้ผู้ป่วยในการทำกิจกรรมนั้น
ด้วยวิธีอื่นๆ เพื่อลดความเครียดและความวิตกกังวล
-แนะนำญาติหรือผู้ดูแลให้จัดเวลาในการทำกิจกรรมส่วนตัว มีเวลาพักผ่อนชั่วคราว โดยอาจมีลูกหลาน หรือ
ญาติคนอื่นมาดูแลผู้ป่วยแทน
1.การดูแลกิจวัตรประจำวันของตนเองบกพร่อง
จัดให้มีปฏิทิน นาฬิกา ทำป้ายเตือน หรือสิ่งช่วยจำเขียนรายการภารกิจประจำวันให้มองเห็นอย่างชัดเจนเพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมนั้นๆ
-ทำป้ายเตือน หรือสิ่งช่วยจำแสดงวิธีการใช้เครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ต่างๆในบ้าน วิธีการปิด เปิดประตู หน้าต่างให้ผู้ป่วยเห็นและฝึกทำเป็นประจำ
3.ความเสี่ยงที่จะเกิดพฤติกรรมรุนแรงเนื่องจากอาการหลงผิดหรือประสาทหลอน
-ผู้ดูแลควรรับฟัง สอบถามความรู้สึกของผู้ป่วย พูดคุยด้วยน้ำเสียงที่นุมมวลเพื่อให้ผู้ป่วยสงบลง ระมัดระวังการใช้เสียงสูง หรือน้ำเสียงที่ข่มขู่
-เก็บสิ่งของที่สามารถนำไปใช้เป็นอาวุธทำร้ายตัวเองและผู้อื่นให้พ้นจากมือผู้ป่วย
การวางแผนการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่3บกพร่องในการทำกิจวัตรประจำวันเนื่องจากความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองลดลง
เป้าหมาย
ผู้ป่วยได้รับการตอบสนองความต้องการด้านกิจวัตรประจำวันอย่างเหมาะสม
เกณฑ์การประเมินผล
1.ผู้ป่วยมีร่างกายที่สะอาด
ผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันได้
ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำเองได้
ข้อมูลสนับสนุน
SD = -
OD = 3เดือนก่อน ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันได้น้อยลง ไม่ค่อยออกไปไหนนอกบ้านเหมือนเคยบางครั้งชอบนั่งอยู่เฉยๆเป็นเวลานานอ่อนเพลียเบื่ออาหารน้ำหนักลด 2 กิโลกรัม
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วย เช่น การทำความสะอาดร่างกาย การใส่เสื้อผ้า เช็ดตัว การพลิกตะแคงตัว การรับประทานอาหาร เพื่อนำไปวางแผนการพยาบาลและให้การพยาบาลได้อย่างเหมาะสม
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองให้มากที่สุด เท่าที่ผู้ป่วยจะสามารถทำได้
เสื้อผ้าของผู้ป่วยควรสะดวกในการใช้ เช่น ไม่ควรใช้กระดุมหรือซิบ ซึ่งอาจจะยากเกินไปสำหรับผู้ป่วยเพื่อฝึกให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเอง
ควรติดป้ายบอกทางไปห้อง/บริเวณต่างๆให้ชัดเจน เช่น บอกทางไปห้องน้ำ ห้องนอน ห้องครัวเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยจดจำสถานที่ต่างๆได้
ช่วยเริ่มต้นกิจกรรมให้และให้ผู้ป่วยทำต่อจนจบเพื่อฝึกให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองได้เอง
จัดให้มีปฏิทิน นาฬิกา ทำป้ายเตือน หรือสิ่งช่วยจำเขียนรายการภารกิจประจำวันให้มองเห็นอย่างชัดเจนเพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมนั้นๆ
ทำป้ายเตือน หรือสิ่งช่วยจำแสดงวิธีการใช้เครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ต่างๆในบ้าน วิธีการปิด เปิดประตู หน้าต่างให้ผู้ป่วยเห็นและฝึกทำเป็นประจำ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่4มีความบกพร่องในการสื่อสารเนื่องจากมีความผิดปกติของการทำงานของสมอง
ข้อมูลสนับสนุน
SD =
OD = ญาติให้ประวัติ 1 ปีก่อน ผู้ป่วยบอกว่ามีอาการลืมง่าย วางของผิดที่จำไม่ได้ว่าวางแว่นตาไว้ที่ไหน
= ถามคำถามซ้ำหลายครั้ง บางครั้งนึกคำพูดบางคำไม่ออก
เป้าหมาย
-เพื่อให้ผู้ป่วยชอลอความเสื่อมของสมองให้นานที่สุด
เกณฑ์การประเมิน
-ผู้ป่วยสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
กิจกรรมทางการพยาบาล
เมื่อพบผู้ป่วยควรแนะนำตัว เรียกชื่อก่อนเริ่มสนทนา
ควรพูดช้าๆในประโยชน์ที่สั้น กระชับ ใช้คำที่เข้าใจง่าย และแบ่งเป็นช่วงๆไม่ใช้ประโยชน์ยาวๆ น้ำเสียงที่ใช้ควรแสดงออกถึงการยอมรับในตัวผู้ป่วย
ถ้าผู้ป่วยนึกคำไม่ออกไม่ควรถามซ้ำหรือพยายามให้ผู้ป่วยนึกให้ได้ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยวิตกกังวลมากขึ้น
ถ้าผู้ป่วยพูดถึงความคิดหลงผิดไม่ควรพยายามอธิบายข้อเท็จจริงหรือสอบถามรายละเอียด ควรเบี่ยงเบนไปสนทนาเรื่องอื่น
ถ้าผู้ป่วยป่วยแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวทั้งทางกายหรือคำพูดไม่ควรตำหนิผู้ป่วย และควรเปลี่ยนเรื่องสนทนา
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อที่2สัมพันธภาพทางสังคมบกพร่องเนื่องจากมีความผิดปกติของการรู้คิด
เป้าหมาย
-เพื่อให้ผู้ป่วยมีสัมพันธภาพที่ดีขึ้น
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยมีสัมพันธภาพที่ดีขึ้น
ข้อมูลสนับสนุน
SD = -
OD = ญาติให้ประวัติว่า 6 เดือนที่ผ่านมา บ่นว่ารำคาญเสียงในหู เห็นภาพญาติที่เสียชีวิตไปแล้ว ระแวงว่าจะมีคนมาทำร้ายตนเองและครอบครัว
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ข้อมูลกับญาติหรือผู้ดูแลให้เข้าใจเกี่ยวกับภาวะของโรค อาการแสดง และทักษะต่างๆ ในการปรับตัวกับโรคการปรับตัวนี้จะค่อยเป็นค่อยไปและใช้เวลานาน รวมถึงมีความซับซ้อนตามความรุนแรงของโรค เพื่อให้ญาติหรือผู้ดูแลเข้าใจ และยอมรับในการเจ็บป่วยของผู้ป่วย รวมทั้งมีทัศนคติที่ดีในการดูแลผู้ป่วย
สนับสนุนผู้ดูแลให้ทำหน้าที่ต่อไปอย่างดีที่สุด พูดคุยสนทนากันอย่างตรงไปตรงมา จะช่วยให้ผู้ดูแลผ่อนคลายลง และลดความอ่อนล้าทั้งกายและใจ จากการที่ต้องดูแลผู้ป่วยตลอดเวลาได้
แนะนำญาติหรือผู้ดูแลให้จัดเวลาในการทำกิจกรรมส่วนตัว มีเวลาพักผ่อนชั่วคราว โดยอาจมีลูกหลาน หรือญาติคนอื่นมาดูแลผู้ป่วยแทน
การมีกลุ่มหรือชมรมของผู้ดูแลเพื่อสนับสนุนการดูแลจะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ดูแลได้
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้ากลุ่มกิจกรรมต่างๆที่ไม่ซับซ้อน เช่น ร้องเพลง เล่นต่อคำ วาดภาพ ออกกำลังกาย ทำให้ผู้ป่วยมีกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่5นอนไม่หลับเนื่องจากความบกพร่องของระบบประสาท
ข้อมูลสนับสนุน
SD = -
OD = ญาติให้ประวัติ 2 วันก่อน เดินไปเดินมา นอนไม่หลับ
เป้าหมาย
-ไม่ตื่นบ่อยครั้งในช่วงกลางคืน โดยนอนหลับ 4 คืนจากทั้งหมด7คืน
-ตื่นด้วยความสดชื่นไม่มีอาการอ่อนเพลียระหว่างวัน
เกณฑ์การประเมิน
-ผู้ป่วยสามารถนอนหลับพักผ่อนได้เพียงพอ
กิจกรรมการพยาบาล
1.ไม่ควรให้ผู้ป่วยนอนในเวลากลางวัน ควรกระตุ้นให้ทำกิจกรรมต่างๆเช่น ออกกำลังกาย
2.จัดเวลานอนและตื่นให้เป็นเวลา
3.จัดสถานที่และห้องนอนให้สะอาด เงียบสงบ ไม่มีเสียงดังรบกวน มีแสงสว่างเพียงพอ มีอุณหภูมิไม่ควรร้อน/เย็นเกินไป
4.งดเครื่องดื่มที่มีคาแฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลมก่อนนอน
5.เปิดเพลงบรรเลงเพื่อให้นอนหลับดีขึ้น
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่1ความเสี่ยงที่จะเกิดพฤติกรรมรุนแรงเนื่องจากมีความคิดผิดปกติและการรับรู้ผิดปกติ
เป้าหมาย
ผู้ป่วยและญาติหรือผู้ดูแลปลอดภัย
-ผู้ป่วยไม่มีอารมณ์รุนแรงก้าวร้าวทำร้ายตนเองและผู้อื่น
เกณฑ์การประเมินผล
-ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมรุนแรงไม่เกิดอันตรายกับผู้ป่วยและญาติ
ข้อมูลสนับสนุน
SD
OD.ญาติให้ประวัติว่า 2วันก่อนมา รพ.สับสนว่าคิดว่าตนเองอยู่กับสามีที่เสียชีวิตไปนานแล้ว
หงุดหงิดมากขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
2.ผู้ป่วยมีอาการประสาทหลอนผู้ดูแลควรรับฟังสอบถามความรู้สึกของผู้ป่วยพูดคุยด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวลเพื่อให้ผู้ป่วยสงบลงระมัดระวังการใช้เสียงสูงหรือน้ำเสียงที่ข่มขู่
3.เก็บสิ่งของทีสามารถนำไปใช้เป็นอาวุธทำร้ายตนเองและผู้อื่นให้พ้นจากมือผู้ป่วย
1.ไม่ควรเปลี่ยนผู้ดูแลบ่อย/มีผู้ดูแลหลายคนเพราะผู้ป่วยอาจเกิดความหวาดระแวงรู้สึกไม่ปลอดภัยมากขึ้น
4.ค้นหาสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดพฤติกรรมรุนแรงหรืออาการวุ่นวายสับสนกระวนกระวาย
5.ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดเพื่อสังเกตอาการที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยที่มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรม
6.ถ้าผู้ป่วยมีอาการประสาทหลอนหลงผิดมากขึ้นหรือไม่ดีขึ้นควรรีบปรึกษาแพทย์