Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่มอาการที่ได้รับบาดเจ็บ - Coggle Diagram
กลุ่มอาการที่ได้รับบาดเจ็บ
Abdominal injury
การบาดเจ็บของอวัยวะภายในช่องท้อง รวมทั้งผนังช่องท้องจากสาเหตุถูกกระทบกระแทกอย่างรุนแรงหรือจากของมีคม มีผลทำให้ผนังหน้าท้องหรืออวัยวะภายในช่องท้องได้แก่ กะบังลม หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ตับ ตับอ่อน ม้าม ไต หลอดเลือดในช่องท้อง อวัยวะสืบพันธุ์หญิงในช่องท้อง กระเพาะปัสสาวะ และทวารหนักได้รับบาดเจ็บ อาการของการบาดเจ็บอาจมีเพียงเล็กน้อยจนถึงรุนแรง ทำให้อวัยวะสูญเสียหน้าที่และผู้บาดเจ็บอาจเสียชีวิตในที่สุด
กลไกการบาดเจ็บ
การบาดเจ็บชนิดไม่มีบาดแผลฉีกขาด (Blunt injury) เกิดจากแรงกระแทกหรือแรงกระแทกหรือแรงกดได้แก่ จากอุบัติเหตุรถชน วัตถุมีน้ำหนักมากหล่นทับ ถูกกระทืบ ถูกตี ตกจากที่สูง เป็นต้น
การบาดเจ็บชนิดที่มีแผลเปิดหรือแทงทะลุ (Penetrating injury) เกิดจากวัตถุที่มีความคมทำให้มีแผลรูเปิดหรือทะลุ ได้แก่ การถูกยิง ถูกแทง ถูกสะเก็ดระเบิด เป็นต้น
พยาธิสรีรภาพการบาดเจ็บช่องท้อง
กลไกการบาดเจ็บชนิดมีแผลเปิดหรือแทงทะลุ(Penetrating injury)
การบาดเจ็บชนิดนี้ ลักษณะและความรุนแรงของบาดแผลขึ้นอยู่กับสาเหตุและลักษณะของของมีคมที่ทำให้เกิดบาดแผล ขนาด รูปร่าง ความลึก ความยาวของอาวุธที่ใช้แทง แนวทางของการแทงและอวัยวะที่ถูกแทง เช่น ถูกแทงแนวตรงบริเวณใต้ราวนมซ้าย อวัยวะที่บาดเจ็บน่าจะเป็นม้ามหรือตับอ่อนแต่ถ้าแทงแนวเฉียง
ขึ้นนอกจากบาดเจ็บม้ามแล้วอาจบาดเจ็บกะบังลม เยื่อหุ้มปอด ปอดข้างซ้ายหัวใจเป็นต้น ถ้าถูกยิงด้วยปืนลูกซองลูกกระสุนจะมีหลายเม็ดกระจายไปตามอวัยวะต่างๆภายในช่องท้อง แต่ถ้าเป็นอาวุธที่ใช้ในสงครามหรือสะเก็ดระเบิดแรงอาจสูงจะมีความรุนแรงมากทำให้อวัยวะต่างๆถูกทำร้ายอย่างรุนแรง หลอดเลือดขนาดใหญ่ฉีกขาด สูญเสียเลือดจำนวนมากและอวัยวะถูกทำลายหลายระบบเกี่ยวกับระบบหายใจ ทำให้ระบบหายใจล้มเหลว ถ้ามีการฉีกขาดของอวัยวะโดยเฉพาะทางเดินอาหารซึ่งมีแบคทีเรียจำนวนมาก ทำให้เกิดการติดเชื้อในช่องท้อง บางครั้งทำให้ติดเชื้อในกระแสโลหิตซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้บาดเจ็บเสียชีวิตได้
กลไกการเกิดบาดแผลฉีกขาด (Blunt injury)
การบาดเจ็บเกิดได้ตั้งแต่ผนังหน้าท้อง เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ไขมัน กล้ามเนื้อ และเยื่อบุภายใน การบาดเจ็บมีตั้งแต่เล็กน้อย ฟกช้ำทั่วไปจนรุนแรง เช่น อุบัติเหตุรถยนต์ ผู้ขับรถถูกพวงมาลัยอัดอย่างแรง ถูกทับร่างกาย ส่วนใหญ่มักบาดเจ็บที่ตับ ม้าม เพราะอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้าช่องท้อง หรืออาจมีการบาดเจ็บของระบบทางเดินหายใจร่วมด้วย การตกจากที่สูงทำให้ร่างกายกระแทกกับวัตถุที่อยู่นิ่งอย่างรุนแรงทำให้อวัยวะในช่องท้องแตกหรือฉีกขาดเนื่องจากมีความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมักมีอวัยวะส่วนอื่นของร่างกายบาดเจ็บร่วมด้วย การบาดเจ็บในลักษณะนี้อวัยวะในช่องท้องจะได้รับอันตรายอย่างรุนแรงมักเป็นอันตรายต่อชีวิตเนื่องจากวินิจฉัยได้ยาก
การประเมินผู้ป่วย
การตรวจร่างกาย
2.1 การประเมินสภาพเบื้องต้น(Primary assessment)
2.2 การประเมินอวัยวะหรือระบบต่างๆของร่างกายโดยโดยไปยังบาดเจ็บควรตรวจซ้ำเป็นระยะระยะและทำอย่างต่อเนื่อง
1.ซักประวัติ
เกี่ยวกับกลไกการบาดเจ็บจากตัวผู้ป่วย ญาติ หรือผู้นำส่งได้แก่ สาเหตุระยะเวลาตั้งแต่บาดเจ็บจนมาถึงโรงพยาบาล ชนิดของอาวุธ จำนวนรู/วิถีกระสุน จำนวนรูที่ถูกแทง ปริมาณเลือดที่ออก อาการปวดตำแหน่งที่ปวดอาการปวดร้าวไปยังอวัยวะอื่นหรือไม่
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การรักษา
1.การรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด
ข้อบ่งชี้ของการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด
4.ไม่มี Hollow viscus injury โดยทราบจาก การตรวจร่างกายและทำ CT scan
2.ผู้ป่วยมี Hemodynamic stable มีความดันเลือดและชีพจรอยู่ในเกณฑ์ปกติ
1.ตรวจพบพยาธิสภาพจากการทำ CT scan
3.ไม่มี Generalized peritonitis
หลักการรักษา
1.ให้นอนพัก (absolute bed rest) ในวันแรกๆ
2.งดรับประทานอาหารและน้ำ
3.ใส่สาย Gastric tube และสายสวนปัสสาวะ
4.ตรวจ Hematocrit ทุก 6 ชั่วโมง ใน 24 ชั่วโมงแรก และ ทุก 8 ชั่วโมงใน 24 ชั่วโมงต่อมา
5.ให้เริ่มรับประทานอาหารได้เมื่อลำไส้ทำงาน
6.ให้ผู้ป่วยค่อยๆเพิ่มกิจกรรม ทีละน้อยจนสามารถมีกิจกรรมได้เต็มที่ ประมาณ 6 สัปดาห์
2.การรักษาด้วยวิธีผ่าตัด
Spinal injuly
กลไกการเกิดการบาดเจ็บของไขสันหลัง
1.การบาดเจ็บปฐมภูมิ
(Primary spinal cord injury)
เกิดแก่ไขสันหลังโดยตรง
Blunt injury
Penetrating injury
จากแรงกระแทกจากอุบัติเหตุและจากชิ้นส่วนของกระดูกสันหลังที่แตกหักมากดทับ พยากรณ์ของโรคขึ้นกับความรุนแรงตั้งแต่แรกของการเกิดอุบัติเหตุ
2. การบาดเจ็บทุติยภูมิ
(Secondary spinal cord injury)
การเสียสมดุลของการส่งผ่านสารต่างๆ เข้าออกเซลล์
เช่น calcium ion sodium ion ผ่านการฉีกขาดหรือบาดเจ็บบริเวณเยื่อหุ้มเซลล์และจากภาวะไขสันหลังขาดเลือด
การบาดเจ็บที่ต่อเนื่องมาจาก การบาดเจ็บปฐมภูมิจากกลไกของการอักเสบ (inflammation)
สามารถป้องกันได้ด้วยการให้สารน้ำ ออกซิเจนอย่างเพียงพอ ให้หาสาเหตุและทำการแก้ไขภาวะช็อกที่เกิดขึ้นและการให้ยาบางชนิด เช่น methylprednisolone
อาการแสดง
1. การบาดเจ็บของไขสันหลังอย่างสมบูรณ์ (Complete spinal cord injury)
หากการบาดเจ็บเกิดที่ไขสันหลังระดับคอ
จะทำให้เกิด Quadriplegia
อัมพาตทั้งแขนและขาทั้ง 2 ข้าง (4 limbs)
ม่เหลือการทำงานของระบบประสาท ไม่ว่าจะเป็นรีเฟลกซ์ กำลังกล้ามเนื้อและการรับรู้สัมผัส ในระดับต่ำกว่าระดับไขสันหลังที่ได้รับบาดเจ็บ
ถ้าการบาดเจ็บเกิดขึ้นต่ำกว่าระดับคอ
เกิด Paraplegia คือการอัมพาตขาทั้งสองข้าง
ระดับความรุนแรง
Concussion
ประสาทได้รับความกระทบกระเทือนและเสียหน้าที่ไปชั่วคราว
ฟื้นสภาพได้รวดเร็ว ไม่พบพยาธิสภาพ
Contusion
ประสาทไขสันหลังบวมและมีเลือดออก
Compression
มีแรงกดจากชิ้นกระดูกไขสันหลังที่หัก ทำให้เกิด necrosis
ซึ่งการเกิดจะค่อย ๆเป็นไปอย่างช้า ๆ
Transection
ประสาทไขสันหลังถูกตัดขาด ซึ่่งจะมีอาการรุนแรงที่สุด ทำให้เกิดความพิการอย่างสมบูรณ์และถาวร อาจถึงแก่กรรมได้ โดยเฉพาะถ้ามีพยาธิสภาพบริเวณไขสันหลังระดับคอ
2. การบาดเจ็บของไขสันหลังอย่างไม่สมบูรณ์
(Incomplete spinal cord injury)
2.5 Mixed syndrome Normal
แสดงอาการผิดปกติของระบบประสาทในหลายรูปแบบร่วมกันและไม่สามารถจัดเข้าได้กับกลุ่มอาการใด
2.3 Central cord syndrome
spinal stenosis ในผู้สูงอายุ
อ่อนแรงของกล้ามเนื้อและชาที่ แขนมากกว่าขา
2.2 Posterior cord syndrome
การบาดเจ็บของไขสันหลังในลักษณะนี้พบได้น้อย แต่อาจพบร่วมกับการบาดเจ็บในรูปแบบอื่น เช่น เกิดร่วมกับส่วนหน้าและส่วนตรงกลา
การรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด (pain) อุณหภูมิ (temperature) และสัมผัส (touch) ยังเป็นปกติ
2.4 Brown–Sequard syndrome
อ่อนแรงของกล้ามเนื้อและสูญเสียการรับรู้การสั่นสะเทือนความรู้สึกการทรงตัวและการรับรู้ความรู้สึกภายในข้อของร่างกายซีกเดียวกับที่ไขสันหลังบาดเจ็บ
สูญเสียการรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด (pain) อุณหภูมิ (temperature) และสัมผัส (touch) ของร่างกายซีกตรงกันข้ามกับไขสันหลังที่ได้รับบาดเจ็บ
2.1 Anterior cord syndrome
การเสียการรับรู้ ความรู้สึกเจ็บปวด (pain) อุณหภูมิ (temperature) และสัมผัส (touch) ร่วมกับมีอาการอ่อนแรงแขนและขาทั้งสองข้าง
ยังเหลือ การรับรู้ความรู้สึกภายในข้อ (proprioception sense) การรับรู้แรงสั่นสะเทือน (vibration sense) และการรับรู้การทรงตัว (position sense) Anterior cord syndrome นั้นเป็นการบาดเจ็บของไขสันหลังอย่างไม่สมบูรณ์
การรักษา
2. ประเมิน Cervical spine clearance ด้วยเครื่องมือ NEXUS หรือ Canadian C-spine rule
หากผู้ป่วยไม่สามารถวินิจฉัยได้ชัดเจนว่าไม่มีกรดูกสันหลังส่วนคอบาดเจ็บ ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจมีการบาดเจ็บซ่อนอยู่ จึงจำเป็นต้องทำ C-spine protection และส่งตรวจทางรังสีเพิ่มเติม
Intravenous fluidadministration
อาจต้องใช้ยาในกลุ่ม vasopressor เช่น phenylephrine
hydrochloride,dopamine หรือnorepinephrine
isotonic solution ประมาณ 2000 ml. ทางหลอดเลือดดํา แล้วสังเกตการตอบสนอง หากผู้ป่วยที่มีneurogenic shock (ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเต้นช้า)
การให้สารน้ํามากเกินไปในผู้ป่วยที่มีภาวะ neurogenic shock อาจทําให้เกิดภาวะปอดบวม น้ํา (pulmonary edema) การใส่สายสวนปัสสาวะจะช่วยวัด urine output และป้องกัน bladder distention
Medications
Oxygenation การให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วยจะช่วยลดภาวะไขสันหลังขาดเลือด (spinal cord ischemia)จากsecondary spinal cord injury ได้
High-dose methylprednisolone การใช้ยาในกลุ่มนี้ทางหลอดเลือดดําเพื่อลด secondary spinal cord injury มีข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยไขสันหลังบาดเจ็บแบบ non-penetrating injury ที่ได้รับการ รักษาภายใน 8 ชั่วโมงแรก
Surgical treatment
การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บของไขสันหลังเฉียบพลันนั้น ส่วนใหญ่รักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด (nonoperative & medical treatment)
1.ช่วยเหลือชีวิตตามหลัก ABCD
Circulation with hemorrhage control
Airway maintenance with cervical spine protection
Disability : Neurologic status
Breathing and ventilation
การพยาบาล
Emergency room management
2.การประเมิน airway ควรทำเป็นระยะๆ เนื่องจากสามารถเกิด ascending neurologic dysfunction ได้จาก spinal cord hemorrhage or edema
3.การใส่ท่อช่วยหายใจควรใช้ endotracheal tube
with manual in- line assist เพื่อการ protect C –spine
1.ยึดการประเมินตามหลักมาตรฐาน ATLS
การซักประวัติ เมื่อกระทำได้จะช่วยบอกถึง mechanism of injury และบอกโอกาสที่จะมีการบาดเจ็บที่ตำแหน่งอื่นจากความรุนแรงของอุบัติเหตุที่ได้รับ
4.การให้สารน้ำอย่างเพียงพอเป็นเรื่องเร่งด่วนและสำคัญเพื่อให้มี adequate oxygenated blood perfusion ไปที่ spinal cord
การตรวจร่างกายและประเมินระบบประสาทตาม
การประเมินว่าผู้ป่วยเป็น complete or incomplete spinal injury
Prehospital management
อุปกรณ์ : rigid cervical collar, supportive block on backboard with strap
การพลิกตัวผู้ปุวยเป็นแบบ log roll
การ maintain airway ต้องทำวิธีที่รวดเร็วและปลอดภัย(เปิด airway ผู้ปุวยด้วยการจัดท่านอน jaw thrust) การบาดเจ็บที่
ตำแหน่งเหนือ C 4 ระวัง apnea เนื่องจากระบังลมเสียการควบคุม
การเคลื่อนย้ายต้อง strong imobilization C –spine
Shock จากสาเหตุต่างๆ การให้สารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดดำเพื่อหวังผลให้มี adequate tissue perfusion ไปที่ injury spinal cord
ยึดการประเมินตามหลักมาตรฐาน ATLS ให้ถือว่าผู้ป่วย trauma ทุกรายมี C-spine injury เสมอ
Head injury
สาเหตุ
มีวัตถุหล่นจากที่สูงลงมากระแทกศีรษะ
หกล้ม ตกจากที่สูง ศีรษะกระแทกพื้น
อุบัติเหตุการณ์จราจร
ถูกตีที่ศีรษะ
ความหมาย
การที่ศีรษะได้รับอันตรายจากแรงภายนอกมากระทบที่ศีรษะ เช่น วัตถุหล่นจากที่สูง หกล้มศีรษะกระแทกพื้น เป็นต้น ซึ่งทำให้มีพยาธิสภาพที่ศีรษะส่วนใดส่วนหนึ่ง อาจเป็นหนังศีรษะ (Scale) กะโหลกศีรษะ (Skull) เยื่อหุ้มสมองหรือส่วนต่างๆ ของสมอง รวมทั้งหลอดเลือดสมองแตก ทำให้มีเลือดออกในชั้นต่างๆ ของสมอง การบาดเจ็บที่ศีรษะนี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยพิการ หรือเสียชีวิตได้
การพยาบาล
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ โดยดูดเสมหะอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
ดูแลให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะความดันในสมองสูง โดยจัดให้นอนท่าศีรษะสูงประมาณ 30 องศา ไม่หนุนหมอน
วัดสัญญาณชีพและอาการทางระบบประสาททุก 1-2 ชั่วโมง
จัดท่าให้นอนศีรษะสูง เปลี่ยนท่าให้ทุก 1-2 ชั่วโมง
สังเกตอาการของภาวะความดันในสมองสูง เช่น อาการปวดศีรษะ ระดับความรู้สึกตัวลดลง ตาพร่ามัว เป็นต้น หากพบอาการผิดปกติรายงานให้แพทย์ทราบ
แนะนำให้หลีกเลี่ยงการไอ จาม การเบ่งถ่าย เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มความดันในช่องอก (Valsalva’s maneuver)
ให้พักผ่อนและควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ให้ยาลดความดันในสมองตามแผนการรักษา เช่น Mannitol, Furosemide เป็นต้น
อาการ
กะโหลกศีรษะแตกและมีบาดเจ็บที่สมอง
สมองฟกช้ำ (Brain contusion)หรือสมองฉีกขาด (Brain laceration)
หมดสติหลังบาดเจ็บทันที นานเป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นสัปดาห์ เป็นเดือน
อาจมีอัมพาตครึ่งซีก
ชัก เกร็ง
ระดับความรุนแรง
ไม่รุนแรงมักฟื้นคืนสติได้
รุนแรง อาจเสียชีวิตได้
เลือดออกในสมอง (Intracranial hemorrhage)
ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ซึมลงเรื่อยๆ แขนขาเป็นอัมพาต ชีพจรเต้นข้า หายใจตื้นขัด ความดันเลือดสูง คอแข็ง รูม่านตา 2 ข้างไม่เท่ากัน
สมองได้รับการกระทบกระเทือน (Brain concussion)
หมดสติไปเพียงชั่วครู่
เมื่อฟื้นแล้วจะรู้สึกมึนงง จำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้
อาการปวดศีรษะและหายได้เอง
การวินิจฉัยโรค
ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (Computed tomography scan; CT scan)
คลื่นแม่เหล็ก (Magnetic resonance imaging; MRI )
การรักษา
Craniectomy
ให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ
Chest Injury
การประเมินผู้บาดเจ็บทรวงอกในระยะฉุกเฉิน
การดู
ดูบริเวณทรวงอกแต่ละข้าง รูปร่างและการเคลื่อนไหวตรวจดูร่องรอยของการบาดเจ็บ เช่น รอยฟกช้า บาดแผลลักษณะบาดแผลที่ปรากฎ
ดูบริเวณหน้าและคอ : subcutaneous emphysema
cardiac tamponade
ดูบริเวณท้อง กรณีที่ผู้ป่วยมีบาดแผลบริเวณส่วนบนของ
ท้อง ต้องนึกถึงการบาดเจ็บทรวงอกด้วยเสมอ
การคลำ
การคลำบริเวณทรวงอก : ตา แหน่งที่มีความเจ็บปวดอาจคลา พบปลายกระดูกซี่โครงซึ่งหัก
การเคาะ
การเคาะบริเวณปอด ถ้าเคาะได้เสียงทึบจะแสดงว่ามี haemothorax หรืออาจมีpulmonary contusion ถ้าเคาะได้เสียงโปร่งกว่าปกติแสดงว่ามักจะมีภาวะ pneumothorax
การเคาะบริเวณหัวใจ ถ้าพบว่ามีเสียงทึบกว่าปกติอาจแสดงว่าผู้ป่วยมีภาวะ cardiac tamponade
การฟัง
เสียงหายใจ เป็นปกติเท่ากันทั้ง 2 ข้างหรือไม่
เสียงหัวใจเป็นปกติค่อยกว่าปกติหรือมีเสียงแทรก( murmur )
สาเหตุ
1.การบาดเจ็บจากแรงกระแทก (Blunt chest injury)
การบาดเจ็บที่เกิดจากการกระทบกระแทก เช่น การบาดเจ็บบนท้องถนน การตกจากที่สูง การโดนทารายร่างกาย เป็นต้น ซึ่งทาให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะภายในได้ ตั้งแต่การช้า (Contusion) รุนแรงจนกระทั่งทาให้เกิดการฉีกขาด(Tear)ของอวัยวะที่อยู่ภายใน
การบาดเจ็บที่มีแผลทะลุ(penetrating chest injury)
การบาดเจ็บที่เกิดจาก วัตถุ เช่น กระสุนปืน สะเก็ดระเบิด วัตถุปลายแหลม วัตถุมีคม เป็นต้น ที่ทะลุผ่าน (Perforating)ทาให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะที่วัตถุนั้นวิ่งผ่านไป
กลไกการบาดเจ็บ
(Open pneumothorax) ภาวะลมในโพรงเยื่อหุ้มปอดชนิดมีแผลเปิด
การพยาบาลเบื้องต้น
ปิ ดแผลนั้นให้สนิทด้วย วาสลิน ก๊อช และปลาสเตอร์ผ้ายืด หรืออาจปิ ดแผลด้วยวิธี Threesidedressing คือปิ ดแผลเพียง 3 ด้าน เปิ ดไว้1 ด้าน
เพื่อให้ช่วงหายใจเข้า ลมผ่านเข้าทางรูแผลไม่ได้แต่ช่วงหายใจออก ลมที่ค้างอยู่สามารถระบายออกมาได้บ้าง
เตรียมผู้ป่ วย และเตรียมอุปกรณ์เพื่อช่วยแพทย์ ใส่Intercostal closed drainage, ICD การใส่สายเข้าไปยังช่องเยื่อหุ้มปอด (pleural cavity) เพื่อระบายลม
อาการและอาการแสดง
Sucking sound on inspiration
Dyspnea
Chest pain
Penetrating wound to the chest
Hyperresonance
Cardiac Tamponade ภาวะหัวใจถูกบีบอัดเนื่องจากน้าหรือเลือดสะสม
อาการ
Hypotension ความดันโลหิตสูง , Distended or bulging veins เส้นเลือดตีบหรือโป่ง, -Weak pulse ชีพจรแรงเร็ว, Cyanosis, Severe anxiety or panic
การพยาบาลเบื้องต้น
ร่องรอยการบาดเจ็บที่เสี่ยงจะทาให้เกิดการบาดเจ็บต่อหัวใจอย่างใกล้ชิด
เตรียมอุปกรณ์เพื่อช่วยแพทย์ในการเจาะเข้าไปในถุงเยื่อหุ้ม
การเฝ้าระวังสังเกตอาการและอาการแสดงในผู้ป่วยที่มีประวัติ
Rib fractures กระดูกซี่โครงหัก
อาการและอาการแสดง
มีการบาดเจ็บ 1ตำแหน่ง
หายใจตื้น
มีอาการปวดมาก
ปอดแฟบ
การพยาบาลเบื้องต้น
ผู้ป่วยไม่มีบาดเจ็บอื่นร่วมรักษาโดยระงับความเจ็บปวดให้พอเพียงปกติ ความเจ็บปวดมากสุดในสัปดาห์แรกหลังจากนั้นจะค่อย ๆ ลดลงควรแนะนาให้ผู้ป่วยบริหารการหายใจไปพร้อมกันกระดูกซี่โครงที่หักจะหายเองประมาณ 3 สัปดาห์การระงับความเจ็บปวดโดยให้ยากินหรือฉีดระงับปวดสกัดกันเส้นประสาทซีโครง ฉีดยาระงับปวดเข้าช่องอีพิคูรัลช่องทรวงอก