Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 หลักการบริหารและพัฒนาองค์การ, นางสาวธัญญามาศ สร้อยระย้า เลขที่ 34…
บทที่ 3 หลักการบริหารและพัฒนาองค์การ
การบริหารงานบุคคล
ความสำคัญของการบริหารงานบุคคล
เพื่อสรรหาและเลือกสรร (recruitment and selection) ให้ได้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และความประพฤติดีเข้ามาทำงาน
เพื่อใช้ประโยชน์ (utilization) ของบุคคลอย่างเต็มกำลังในการทำงาน
เพื่อรักษาไว้ (maintenance) ซึ่งบุคคลให้ทำงานกับองค์การนานๆ
เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี (relationships) ของบุคคลกลุ่มต่างๆขององค์การ
เพื่อพัฒนาทักษะและเสริมสร้างความสามารถของบุคลากร (development)
ขั้นตอนการบริหารงานบุคคล
1.การสรรหาและการคัดเลือก
ขั้นตอนการสรรหา
1) กำหนดนโยบายการสรรหา (Recruiting Policies)
2) กำหนดแหล่งสรรหาบุคลากร (Source of recruitment)
การสรรหาภายในหน่วยงาน (In Sourcing)
วิธีการสรรหาภายในหน่วยงาน เช่น การโยกย้าย, โอนย้าย (Transfer) การเลื่อนตำแหน่ง(Promotion) การยกระดับฝีมือ การใช้ระบบอาวุโส(Seniority) การพิจารณาจากสมรรถนะ (Competency)
ข้อดี
ประหยัด
สร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากร
บุคลากรเป็นที่ยอมรับ
ข้อจำกัด
จำจัดโอกาสบุคคลภายนอก
เกิดการไม่พอใจเนื่องจากไม่ได้รับคัดเลือก
เสียเวลาในการสัมภาษณ์บุคคลภายใน เนื่องจากรู้จักกันดีอยู่แล้ว
มีความคิดแบบเดิมๆ
การสรรหาภายนอกหน่วยงาน (Out Sourcing)
วิธีการสรรหาคนจากภายนอกองค์การ
การประกาศรับสมัคร ผ่านสื่อโฆษณา สื่อหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต
ติดต่อสถาบันการศึกษา
ติดต่อสมาคมคนงาน/สหภาพ แรงงาน
ข้อดี
มีโอกาสคัดเลือกพนักงานได้หลากหลาย
ไม่เกิดปัญหาการขาดแคลน
มีโอกาสได้แนวคิดใหม่ๆมาใช้พัฒนางาน
ข้อจำกัด
สิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่าย
ปิดโอกาสความก้าวหน้าของพนักงานภายใน
อาจเกิดข้อขัดแย้งระหว่างพนักงานเดิม – พนักงานใหม่
แหล่งกำลังคนจากภายนอกองค์การ เช่น สถาบันการศึกษา บริษัทจัดหางาน บริษัทคู่แข่งขัน หน่วยงานของรัฐ
ระบบริหารงานบุคคล
ระบบอุปถัมภ์ Patronage system เป็นระบบที่อาศัยความสนิทสนมคุ้นเคยอาจจะเป็นเครือญาติ ผู้มีพระคุณ หรือ เพื่อนสนิท หรือเรียกว่าเป็นระบบพรรคพวก เช่น พรรคการเมือง
ระบบคุณธรรม Merit system เป็นระบบที่ยึดความรู้ ความสามารถ ความดีของบุคคลเพื่อบรรจุเข้าทำงาน โดยยึดหลัก 4 ประการ
หลักความเป็นกลางทางการเมือง
หลักความมั่นคง
หลักความสามารถ
หลักเสมอภาค
2.การพัฒนาบุคลากร
รูปแบบการพัฒนาบุคลากร
การฝึกอบรมทางด้านความรู้ (Knowledge Skill)
การฝึกอบรมทางด้านเทคนิค (Technical Skill)
การฝึกอบรมทางด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human Skill)
การฝึกอบรมทางด้านความคิด (Conceptual Skill)
ประเภทของการฝึกอบรม
การฝึกอบรมก่อนเข้าทำงาน เป็นการฝึกอบรมตั้งแต่อยู่ในโรงเรียน เช่น การฝึก Elective ของ นศ.พยาบาล
การอบรมปฐมนิเทศ (Orientation) เป็นการจัดเพื่อต้อนรับ/แนะนำพนักงานใหม่ให้รู้จักองค์กร
การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงาน (Skill training) ได้แก่ on the job training, การสอนงาน, การอบรมระยะสั้น การจัดวิชาการภายในหน่วยงาน
การพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพ (Career development) เป็นการพัฒนาศักยภาพการให้โอกาสศึกษาต่อเพื่อให้บุคลากรมีวุฒิการศึกษาที่สูงขึ้น ได้เลื่อนตาแหน่งและมีความก้าวหน้าตามบันไดวิชาชีพ
3.การธำรงรักษาบุคลากรการพยาบาล
โดยใช้การเสริมสร้างแรงจูงใจ
ประเภทของแรงจูงใจ
แรงจูงใจภายใน
เกิดจากความทะเยอทะยาน ในความต้องการก้าวหน้าในอาชีพ
ความสนใจ ที่ต้องการให้งานสำเร็จภายในเวลารวดเร็ว
มีความคาดหวัง คาชมเชย หรือ บำเหน็จรางวัล
แรงจูงใจภายนอก
เงินเดือน
ความมั่นคงต่อการทำงานและโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ
สถานที่ทำงานมีสิ่งอำนวยความสะดวก มั่งคง ปลอดภัยผู้ร่วมงาน
มีอิสระในการทำงาน การแสดงความคิดเห็นคาติชม รางวัล การทำโทษ
4.การประเมินผลการปฏิบัติงาน ( Performance Appraisal)
หลักการพิจารณา
การประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
การประเมินคุณลักษณะของผู้ปฏิบัติงาน เช่น ความร่วมมือในการทำงาน ความสามัคคี มนุษยสัมพันธ์ ความเสียสละ ความอดทน และการรักษาวินัย เป็นต้น
ขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงาน
กำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
กำหนดแบบและลักษณะของงานที่จะประเมิน เขียนแบบประเมินและแบบบันทึก
3.กำหนดผู้ประเมินและการอบรมผู้ทำการประเมิน เพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน
4.กำหนดวิธีการการประเมินผลงาน เช่น ประเมินพฤติกรรม ประเมินตามมาตรฐานของหน่วยงาน
วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน
วิธีการให้คะแนนตามมาตราส่วน (Graphic Rating Scales) คือการกำหนดรายการคุณลักษณะ เช่น ดีเยี่ยม ดีมาก ดี พอใช้ แย่
2.การประเมินตามค่าคะแนน (Point Rating Scales) ช่วงคะแนนแบ่งเป็น 5 ช่วง
3.การประเมินผลที่เน้นผลการปฏิบัติงาน แบ่งได้ 4 ประเภท
Self-Appraisal การประเมินตนเอง
Management by objective การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายที่กำหนดเป็นเกณฑ์
Psychological Appraisal/Competency Appraisal การประเมินผลเชิงจิตวิทยา มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่
Assessment Centers ศูนย์ประเมิน ใช้การประเมินหลายรูปแบบและมีผู้ประเมินหลายคน
การแจ้งผลประเมินการปฏิบัติงาน
แจ้งผลประเมินให้ลูกน้องทราบ
แจ้งเป้าหมายที่ต้องการให้ทำต่อไป
ชี้แจงข้อสงสัย รับฟังปัญหา/ข้อคิดเห็น
แสดงให้เห็นผลของการประเมินที่เป็นรูปธรรม
การบริหารพัสดุ
ความหมาย
พัสดุ หมายความว่า วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
วัสดุ หมายถึง สิ่งของที่มีลักษณะไม่คงทนถาวร ใช้แล้วสิ้นเปลืองหมดไปหรือสลายตัวไปในระยะสั้น เช่น เข็มฉีดยา สำลี
ครุภัณฑ์ หมายถึง สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร มีอายุการใช้งานยาวนาน ไม่เป็นของใช้สิ้นเปลือง เช่น เครื่องEKG เสาน้ำเกลือ
วัตถุประสงค์การบริหารพัสดุ
เพื่อควบคุมการใช้ทรัพยากรต่างๆ ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
เพื่อจัดหาพัสดุให้เพียงพอต่อการใช้อยู่ตลอดเวลา
เพื่อประหยัดงบประมาณหรือเงินบำรุงในการจัดซื้อพัสดุ
ประเภทของพัสดุ
พัสดุประเภทสำนักงาน เช่น เครื่องเขียน กระดาษ
พัสดุทางการแพทย์ เช่น เข็มฉีดยา สำลี
พัสดุวิทยาศาสตร์
พัสดุยานพาหนะ เช่น รถrefer
พัสดุงานบ้าน เช่น ไม้กวาด ไม้ถูพื้น
ขั้นตอนการบริหารพัสดุ
1.วางแผน / กำหนดโครงการ
กำหนดความต้องการ
จัดหา จัดซื้อ จัดจ้าง
การแจกจ่าย
การบำรุงรักษา
แบบป้องกัน
แบบแก้ไข
ุ6. การจำหน่าย
การบริหารงบประมาณ (Budget)
การวางแผนความต้องการด้านการเงินไว้ล่วงหน้าว่าจะทำกิจกรรมใด เมื่อใด และใช้โดยใคร มีระยะเวลาเงื่อนไขกำหนดหรือ การนำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายมาดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ซึ่งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบัญญัติ ระเบียบและวิธีการที่กำหนด
มาตรฐานการจัดการทางการเงิน
การวางแผนงบประมาณเริ่มจากการกำหนดแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน นำแผนกลยุทธ์มาจัดทำประมาณการรายจ่ายล่วงหน้า ระยะปานกลาง 3 ปี เป็นการคาดคะเนวงเงินที่จะใช้เป็นรายปี
การกำหนดผลผลิตและการคำนวณต้นทุน โดยหน่วยงานต้องระบุกิจกรรมและผลผลิตที่เกิดจากกิจกรรม โดยนำข้อมูลต้นทุนช่วยตัดสินใจเรื่องคุ้มค่ากับต้นทุน
การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง
การบริหารทางการเงินและ การควบคุมงบประมาณ
การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน
ุ6. การบริหารสินทรัพย์
การตรวจสอบภายใน (Internal Audit)
การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)
รูปแบบของการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงเชิงรุก (Proactive) เป็นการเปลี่ยนแปลงตนเองก่อน
การเปลี่ยนแปลงเชิงรับ (Reactive) เป็นการถูกเปลี่ยนแปลงโดยผู้อื่น
ความสำคัญของการบริหารการเปลี่ยนแปลง
องค์การที่มีการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดี จะปรับตัวได้ทันกับปัญหา
การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดีจะช่วยให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปโดยราบรื่น
การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดี จะช่วยให้องค์การได้ปรับปรุงตัวเองอย่างต่อเนื่องในด้านต่างๆ และจะช่วยให้มีการนำศักยภาพที่มีอยู่ในองค์การมาใช้ได้อย่างคุ้มค่า
องค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลงในองค์การ
เทคโนโลยี (Technology) ซึ่งหมายถึงอุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือ รวมถึงระเบียบกรรมวิธีปฏิบัติงานกับเครื่องจักร เครื่องมือเหล่านั้น มักจะต้องปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย เพื่อให้มีผลิตภาพในระดับที่จะแข่งขัน และอยู่รอดได้
ระเบียบสังคม (Social Order) ซึ่งหมายถึงการจัดระเบียบ โครงสร้างของกลุ่ม สถาบัน บรรทัดฐาน ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ
อุดมการณ์ (Ideology) ซึ่งหมายถึงความเชื่อ ค่านิยมสูงสุด ที่เป็นตัวกำกับทิศทางแบบแผนของพฤติกรรมในองค์การ ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า “จิตสานึก” เช่น จิตสานึกประชาธิปไตย หรือ จิตสานึกเพื่อส่วนรวม เป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
แรงต่อต้าน
ความกลัวว่าจะต้องสูญเสียประโยชน์ อำนาจ ความมั่นคง
การขาดความรู้ความเข้าใจที่ดีพอเกี่ยวกับแนวทาง วิธีการ และจุดหมายปลายทางของการเปลี่ยนแปลง
ความไม่เชื่อถือ ไว้วางใจ ไม่เชื่อใจกัน ซึ่งทำให้ขาดการสื่อสารสร้างความเข้าใจ
แรงเสริม
ความไม่พึงพอใจในสภาพปัจจุบันที่เป็นอยู่
ภาพลักษณ์ และการปฏิบัติตนของผู้นำที่แสดงถึงความมุ่งมั่น เอาจริงเอาจังต่อการเปลี่ยนแปลง
การได้ติดต่อสัมพันธ์กับภายนอกองค์การ ซึ่งทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์
การขั้นตอนการบริหารการเปลี่ยนแปลง
การวางแผนการเปลี่ยนแปลง (Planning for Change)
การนำแผนการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติ (Implementing Change)
การติดตามประเมินผล และรักษาผลการเปลี่ยนแปลง (Evaluating and Maintaining Change)
นางสาวธัญญามาศ สร้อยระย้า เลขที่ 34 (603101034)