Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 ระยะเวลาการคลอดผิดปกติ :การคลอดยาวนาน (Prolong labor), ชื่อ นางสาว…
บทที่ 5 ระยะเวลาการคลอดผิดปกติ :การคลอดยาวนาน (Prolong labor)
หมายถึง การคลอดใช้เวลาตั้งแต่เจ็บครรภ์จริง
จนถึงคลอดทารกนานกว่า 24 ชั่วโมง
ลักษณะของการคลอดยาวนานสามารถ
แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ
1.2 การคลอดยาวนานในระยะเร่ง (active phase disorder) แบ่งได้ 2 ชนิด คือ
ปากมดลูกเปิดขยายล่าช้า (protracted dilatation) คือ ปากมดลูกเปิดขยายน้อยกว่า 1.2 เซนติเมตรต่อชั่วโมงในครรภ์แรก และน้อยกว่า 1.5 เซนติเมตรต่อชั่วโมงในครรภ์หลัง
ส่วนนำเคลื่อนต่ำล่าช้า (protracted descent) คือ ส่วนนำของทารกมีการเคลื่อนต่ำน้อยกว่า 1 เซนติเมตรต่อชั่วโมงในครรภ์แรก และน้อยกว่า 2 เซนติเมตรต่อชั่วโมงในครรภ์หลัง
1.3 การหยุดชะงักของการเปิดขยายของปากมดลูก
หรือการเคลื่อนต่ำของส่วนนำ (arrest disorder) แบ่งได้ 4 ชนิด คือ
การเปิดขยายของปากมดลูกหยุดชะงัก (secondary arrest of dilatation) คือ ปากมดลูกไม่มีการเปิดขยายเพิ่มขึ้นภายในเวลา 2 ชั่วโมง
การเคลื่อนต่ำของส่่วนนำหยุดชะงัก (arrest of descent) คือ ส่วนนำของทารกไม่มีการเคลื่อนต่ำเพิ่มขึ้นภายในเวลา 1 ชั่วโมง
การคลอดยาวนานในระยะ deceleration (prolonged deceleration phase) คือ ในระยะ deceleration phase ใช้เวลามากกว่า 3 ชั่วโมงในครรภ์แรก และมากกว่า 1 ชั่วโมงในครรภ์หลัง
ไม่มีการเคลื่อนต่ำของส่วนนำ (failure of descent) คือ ส่วนนำของทารกไม่มีการเคลื่อนต่ำลงมาแม้ว่าจะอยู่ในระยะ deceleration phase หรือระยะที่สองของการคลอดแล้วก็ตาม
1.1 การคลอดยาวนานในระยะปากมดลูกเปิดช้า (prolong latent phase) คือ ในระยะปากมดลูกเปิดช้าใช้เวลามากกว่า 20 ชั่วโมงในครรภ์แรก และมากกว่า 14 ชั่วโมงในครรภ์หลัง
สาเหตุหรือปัจจัยส่งเสริม
ผู้คลอดได้รับยาระงับความรู้สึกหรือยาระงับความเจ็บปวด
มากเกินไปในระยะปากมดลูกเปิดช้า
มดลูกหดรัดตัวน้อยกว่าปกติ
มีภาวะศีรษะทารกไม่ได้สัดส่วนกับช่องเชิงกราน
ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ ที่พบบ่อย คือ ท่าท้ายทอยอยู่ด้านหลังหรืออยู่ขวาง
ผลกระทบต่อผู้คลอดและทารก
ผู้คลอด
เสี่ยงต่อภาวะมดลูกแตก ตกเลือดหลังคลอด
มารดาอาจได้รับอันตรายจากการช่วยคลอด
ผู้คลอดอ่อนเพลีย มีภาวะขาดน้ำ
ทารก
อาจมีภาวะขาดออกซิเจน
ทารกอาจได้รับอันตรายจากการช่วยคลอด
แนวทางการรักษา
รายที่สามารถคลอดได้เองทางช่องคลอด ควรประเมินและเตรียมปากมดลูกให้พร้อม
ดูแลมดลูกให้หดรัดตัวดีโดยให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกร่วมกับการเจาะถุงน้ำคร่ำ
หากมีภาวะศีรษะทารกไม่ได้สัดส่วนกับช่องเชิงกรานมารดา ควรผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้อง
การพยาบาลผู้คลอดที่มีการคลอดยาวนาน
ประเมินอาการและอาการแสดง
ของภาวะมดลูกแตก
ดูแลให้ได้รับอาหารหรือสารน้ำ
ทางหลอดเลือดดำอย่างเพียงพอ
ติดตามความก้าวหน้าของการคลอด และส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าของการคลอด
อย่างเหมาะสม รวมทั้งประเมินสภาวะของทารก
ในครรภ์อย่างใกล้ชิด
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
เช่น ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ยาระงับความเจ็บปวด
ประเมินหาสาเหตุของการคลอดยาวนาน
และให้การพยาบาลเพื่อแก้ไขตามสาเหตุ
ชื่อ นางสาว จิราภรณ์ สนธิสัมพันธ์ เลขที่ 7
รหัสนักศึกษา 603901008