Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะมีบุตรยาก( Infertility ) - Coggle Diagram
ภาวะมีบุตรยาก( Infertility )
ภาวะมีบุตรยากเเบบปฐมภูมิ
(Primary infertility)
การที่ฝ่ายหญิงไม่เคยตั้งครรภ์มาก่อนหลังจากพยามเเล้ว
ภาวะมีบุตรยากเเบบทุติยภูมิ
(Secondary infertility)
การที่ฝ่ายหญิงเคยตั้งครรภ์มาก่อนอาจสิ้นสุดโดยการเเท้งหรือคลอดก็ตาม
สาเหตุภาวะการมีบุตรยาก
ฝ่ายหญิง(Female infertility)
1.การทำงานของรังไข่ผิดปกติ
2.ท่อนำไข่
3.Endometriosis
4.Immunological
5.Other
ฝ่ายชาย(male infertility)
1.Sperm dysfunction เช่น เชื้ออสจิน้อย รูปร่างผิดปกติ หรือมีการเคลื่อนไหวน้อย
2.Sexual factors เช่น Electile dysfunction, Premature dysfunction
3.Other
4.ภาวะทางด้านจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล
ความสามารถในการมีบุตร
1.อายุฝ่ายหญิง 21-25 ปี ความสามารถในการมีบุตรได้สูง
2.อายุฝ่ายชาย >55 ปี จะมีความผิตปกติของอสุจิมากขึ้น
3.ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์ ความถี่ที่เหมาะสม 2-3ครั้งต่อสัปดาห์
การวินิจฉัยการมีบุตรยาก
ฝ่ายหญิง
ประวัติการมีประจำเดือน การผ่าตัด การเเต่งงาน การมีเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด การได้รับยา รังสี สารเคมี
ฝ่ายชาย
โรคคางคูม โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธุ์ โรคเบาหวาน โรคของต่อมไร้ท่อ การได้รับยา รังสี สารเคมี
การประเมินท่อนำไข่ มดลูก เเละอวัยวะในอุ้งเชิงกราน
สาเหตุ
ส่วนใหญ่ภาวะการมีบุตรยากเกิดจากการอุดตันของท่อนำไข่มักเกิดภายหลังการอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน ไส้ติ่งอักเสบ การทำเเท้ง ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติ
การวินิจฉัย
Hysterosalpingogram( HSG)
การฉีดสารทึบรังสีเเละเอ็กซ์เรย์
Endocopy การส่องกล้อง
Laparoscopy ตรวจในอุ้งเชิงกราน
Hysteroscopy ตรวจในโพรงมดลูก
รังไข่
เยื่อพังผืดในอุ้งเชิงกราน
ภูมิต้านทานตัวอสุจิ
PCT (postcoital test)
เต้านม
การตรวจความผิดปกติของการกไข่
การตรวจวัดระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในกระเเสเลือด ตรวจในช่วงประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนประจำเดือนมา
การตรวจปัจจัยด้านปากมดลูกหรือการทำงาน postcoital test
การตรวจวัด basal body temperature หรือ BBT chart tests
การทำ post coital test
เพื่อดูมูกที่ปากมดลูกเเละความสามารถของอสุจิที่ว่ายผ่านขึ้นไปสู่โพรงมดลูก
เป็นการประเมินเรื่องของการตกไข่ร่วมด้วยหากมูกสามารถยืดได้ยาวมากกว่าหรือเท่ากับ10 ซม.เเละหากปล่อยให้เเห้งจนตกผลึกเป็นรูปใบเฟิร์นจะเเปลผลว่ามีการตกไข่
ภาวะมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุ ( Unexplained infertility )
คู่สมรสมีบุตรยากที่ได้รับการตรวจหาสาเหตุของการมีบุตรยากเเล้วจนครบตามมาตรฐานเเล้วเเต่ไม่พบความผิดปกติ
การรักษาการมีบุตรยาก
การรักษาเเบบขั้นต้น
การกระตุ้นไข่
การกำหนดระยะเวลาในการมีเพศสัมพันธุ์
การผสมเทียม
คือ การใช้เครื่องมือฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปภายในอวัยวะสืบพันธุ์สตรีในช่วงที่ตกไข่
การฉีดน้ำอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง Intra-uterine insemination ( IUI)
คือ การนำน้ำอสุจิที่ได้รับการคัดเเยกเเล้วมาฉีดเข้าไปในโพรงมดลูกขณะที่มีไข่ตก
วิธีการนี้ไม่เหมาะสมกับ
ผู้หญิงที่มีปัญหาท่อนำไข่ตีบตันหรือมีพังผืด
ท่อนำไข่เสียหาย เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
ผู้ชายมีปัญหาเรื่องน้ำอสุจิ เช่น มีจำนวนน้อย เคลื่อนไหวผิดปกติ
วิทยาการการช่วยเหลือการมีบุตร
(assisted reproductive technologies : ART)
การกระตุ้นการตกไข่
การให้GnRH กระตุ้นการผลิตFSH เเละLH หรือใช้ยาซึ่งเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ไปกีดกันการทำงานของอีสโตรเจนไม่ให้ไปยับยั้งการทำงานของGnRH ทำให้มีไข่ตกมากกว่า 1 ใบเเละเลือกไข่ที่เเข็งเเรง มาใช้ในการปฎิสนธิภายนอกร่างกาย
การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
(Assisted Reproductive Technology หรือ ART)
IVF (In Vitro Fertilization)
-การทำคล้ายกับ GIFT เเต่ไข่เเละเชื้ออสุจิที่ผ่านการเตรียมเเล้วจะถูกนำมาผสมกันเพื่อให้เกิดการปฏิสนธินอกร่างกาย
-นำมาเพาะเลี้ยงในห้องปฎิบัติการจนเเบ่งเป็นตัวอ่อนในระยะ 4-8 เซลล์จากนั้นนำตัวอ่อนใส่เข้าไปในโพรงมดลูก
การเก็บสเปิร์ม
โดยการหลั่งภายนอกเลือกสเปิร์มที่เเข็งเเรงเท่านั้น
การเก็บไข่
เเทงเข็มผ่านทางช่องคลอดเข้าสู่รังไข่สามารถเห็นได้โดยผ่านอัลตราซาวด์หรือหน้าทาง
ZIFT (Zygote Intrafallopian Transfer)
นำไข่เเละเชื้ออสุจิที่ผ่านการเตรียมเเล้วมาผสมกันเเละนำมาเพาะเลี้ยงในห้องปฎิการ 1 วัน จนเกิดการปฏิสนธิกันเเล้วจะใส่ตวอ่อนเข้าทางท่อนำไข่
คล้ายกับการทำเด็กหลอดเเก้ว
GIFT(Gamete Intrafallopian Transfer)
-การนำไข่เเละเชื้ออสุจิไปใส่ในท่อนำไข่หลังจากกระตุ้นไข่เพื่อชักนำให้ไข่สุกเเละเจาะดูดไข่ออกมาผสมกับอสุจิภายนอกหลังจากผสมเสร็จฉีดเข้าทางท่อนำไข่ทันที
ข้อบ่งชี้
-ท่อนำไข่ตีบ
-มีเยื่อพังผืดในอุ้งเชิงกราน
-เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
-ความผิดปกติของปากมดลูก
-ความผิดปกติของการตกไข่
-สาเหตุจากฝ่ายชาย
-ภาวะมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุ
การตรวจร่างกาย
ฝ่ายหญิง
การตรวจต่อมไร้ท่อ
การตรวจร่างกายทั่วไป
เช่น Secondary sex โรคทางอายุรกรรมที่เป็นสาเหตุให้มีบุตรยาก
การตรวจเฉพาะระบบสืบพันธุ์สตรี
ตัวมดลูก ได้เเก่ PV , Hysterosalpingogram , Endometrium biopsy , Hysteroscopy U/S
เยื่อพรหมจารีเเละช่องคลอด ได้เเก่ PV,Wet smear,Culture
คอมดลูก ได้เเก่ PV ดูลักษณะทางกายวิภาค ตรวจมูกคอมดลูก
ท่อนำไข่ ได้เเก่ CO2 Insufflation หรือ Rubin test , Hysterosalpingogram , Laparoscope
ฝ่ายชาย
การตรวจร่างกายทั่วไปเเละการตรวจระบบสืบพันธุ์ เช่น
หนังหุ้มปลายองคชาต ลักษณะเเละรูเปิดของท่อปัสสาวะ ลักษณะรูปร่างอัณฑะ หลอดเลือดขอดในถุงอัณฑะ
การตรวจทางห้องปฎิบัติการ ได้เเก่
การตรวจเลือดทั่วๆไป การตรวจฮอร์โมน การตรวจน้ำอสุจิ
การตรวจอสุจิ
งดการมีเพศสัมพันธ์ 2-7 วัน
นำน้ำอสุจิส่งตรวจภายใน 1 ชั่วโมง
ใส่ภาชนะที่เตรียมเท่านั้น
ไม่เเนะนำให้มีเพศสัมพันธ์ก่อนเเล้วหลั่งข้างนอก
Micromanipulation
การใช้เข็มเล็กๆเจาะเปลือไข่เเล้วให้เชื้ออสุจิวิ่งผ่านรูที่เจาะหรือฉีดเชื้ออสุจิเข้าใต้เปลือกไข่หรือฉีดเชื้ออสุจิเข้าOoplasm โดยตรง
ICSI(Intracytoplasmic Sperm Injection)
เป็นการนำเชื้ออสุจิเพียง 1 ตัวเจาะใส่เข้า Ooplasm โดยตรง เหมาะสำหรับผู้ที่มีสเปิร์มน้อยมากๆ
ข้อบ่งชี้ของการทำ ICSI
ตัวอสุจิน้อยมาก (Oligozoospermia)
ตัวอสุจิเคลื่อนไหวไม่ดี (Asthenozoospermia)
ตัวอสุจิมีรูปร่างผิดปกติ (Teratozoospermia)
คู่สมรสที่ผ่านการทำการปฎิสนธินอกร่างกายเเล้วตัวอสุจิกับไข่ไม่สามารถปฎิสนธิกันได้
Retrograde ejeculation
Immunological factor