Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความสัมพันธ์ของสภาพทางภูมิศาสตร์บนโลกกับความหลากหลายของไบโอม…
ความสัมพันธ์ของสภาพทางภูมิศาสตร์บนโลกกับความหลากหลายของไบโอม และยกตัวอย่างไบโอมชนิดต่าง ๆ เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน เขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ตรง กม.ที่ 42 ของถนนสายจอมทอง-ยอดดอย อินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
ไบโอม
ไบโอมบก
-
-
-
-
สะวันนา (Savanna)
เป็นทุ่งหญ้าที่พบได้ในทวีปแอฟริกาและพบบ้างทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ลักษณะของภูมิอากาศร้อน พืชที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นหญ้าและมีต้นไม้กระจายเป็นหย่อม ๆ ในฤดูร้อนมักเกิดไฟป่า
ทะเลทราย (Desert)
พบได้ทั่วไปในโลก ในพื้นที่มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยน้อยกว่า 25 เซนติเมตรต่อปี ทะเลทรายบางแห่งร้อนมากมีอุณหภูมิเหนือผิวดินสูงถึง 60 องศาเซลเซียสตลอดวัน บางวันแห่งมีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น พืชที่พบในไบโอมทะเลทรายนี้มีการป้องกันการสูญเสียน้ำ โดยใบลดรูปเป็นหนาม ลำต้นอวบ เก็บสะสมน้ำดี ทะเลทรายที่รู้จักกันโดยทั่วไป ได้แก่ ทะเลทรายซาฮารา (Sahara) ในทวีปแอฟริกา ทะเลทรายโกบี (Gobi) ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและทะเลทรายโมฮาวี (Mojave) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
ทุนดรา (Tundra)
เป็นเขตที่มีฤดูหนาวค่อนข้างยาวนาน ฤดูร้อนช่วงสั้น ๆ ลักษณะเด่นคือ ชั้นของดินที่อยู่ต่ำกว่าจากผิวดินชั้นบนลงไปจะจับตัวเป็นน้ำแข็งถาวร ทุนดราพบเพียงตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ และยูเรเซีย พบพพืชและสัตว์อาศัยอยู่น้อยชนิด ปริมาณฝนน้อยในฤดูร้อนช่วงสั้น ๆ น้ำแข็งที่ผิวหน้าดินละลาย แต่เนื่องจากน้ำไม่สามารถซึมผ่านลงไปในชั้นน้ำแข็งได้ในระยะสั้น ๆ พืชที่พบจะเป็นพวกไม้ดอกและไม้พุ่ม นอกจากนี้ยังพบสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ เช่น ไลเคนด้วย
ไบโอมน้ำ
ไบโอมแหล่งน้ำเค็ม
โดยทั่วไปประกอบด้วยแหล่งน้ำเค็ม ซึ่งได้แก่ ทะเลและมหาสมุทร ซึ่งพบได้ในปริมาณมากถึงร้อยละ 71 ของพื้นที่ผิวโลก และมีความลึกมากโดยเฉลี่ยถึง 3,750 เมตร ไบโอมแหล่งน้ำเค็มจะแตกต่างจากน้ำจืดตรงที่มีน้ำขึ้นน้ำลงเป็นปัจจัยกายภาพสำคัญ นอกจากนี้ยังพบช่วงรอยต่อของแหล่งน้ำจืดกับน้ำเค็มที่มาบรรจบกัน และเกิดเป็นแหล่งน้ำกร่อยซึ่งมักพบบริเวณปากแม่น้ำ
ไบโอมแหล่งน้ำกร่อย
คือช่วงรอยต่อของแหล่งน้ำจืดและน้ำเค็มที่มาบรรจบกัน ซึ่งมักจะพบตามปากแม่น้ำ การขึ้นลงของกระแสน้ำทีอิทธิผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าความเค็มของน้ำในแหล่งน้ำกร่อยเป็นอย่างมาก
ไบโอมแหล่งน้ำจืด
โดยทั่วไปประกอบด้วยแหล่งน้ำนิ่งซึ่งได้แก่ ทะเลสาบ สระ หนอง หรือบึง กับแหล่งน้ำไหล ได้แก่ ธารน้ำไหลและแม่น้ำ เป็นต้น
เส้นทางกิ่วแม่ปาน21จุด
ผาแง่มน้อย
“กิ่ว” ภาษาเหนือแปลว่าแคบ “กิ่วแม่ปาน” เป็นพื้นที่บนสันเขาส่วนที่แคบที่สุด ลาดเขาสองด้านเป็นป่าต่างชนิดกัน ฝั่งด้านนอกโดนแดดส่อง และลมปะทะแรงจะมีแต่ต้นไม้ขนาดเล็ก ส่วนฝั่งด้านในเป็นป่าชุ่มชื้น
กวางผา
ปลอดภัยในบ้านผาหิน กวางผาเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่รวมกันตามทุ่งหญ้าบนภูเขา และหน้าผาในเทือกเขาสูง ปัจจุบันกวางผาดอยอินทนนท์เป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว
-
กุหลาบพันปี
ปรับตัวเองให้อยู่ได้ในอากาศหนาวเย็น และลมแรง ใบเป็นแผ่น เหนียวหนา ลดการคายน้ำ กิ่งโปร่งลมผ่านสะดวก ดอกสีแดงเข้ม จะออกดอกในช่วงเดือนธันวาคม – มีนาคม
จุดชมทิวทัศน์
เป็นพื้นที่โล่ง มีระเบียงยื่นออก บางวันจะมองเห็นทะเลหมอกได้ที่บริเวณนี้ และวันที่ฟ้าเปิดจะมองเห็น อ.แม่แจ่มที่อยู่เบื้องหน้าได้ชัดเจน
กู๊ดเกี๊ยะ เฟิร์นทนไฟ
ขึ้นบริเวณทุ่งหญ้าเมืองหนาว เฟิร์นชนิดนี้มีใบหนาแข็ง ลดการคายน้ำ ซ่อนลำต้นไว้ใต้ดิน เมื่อมีไฟป่าใบที่อยู่พ้นดินจะไหม้ และจะงอกขึ้นใหม่อีกครั้งจากลำต้นที่อยู่ได้ดิน
ป่าร้อน ป่าหนาว
เชิงดอยอินทนนท์อากาศร้อนชื้น แต่ยอดดอยอากาศหนาว ลมพัดแรง และมีหมอกหนา ด้วยสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ป่าร้อนจะมีพันธุ์ไม้ใบกว้าง ชอบแดดจัด ทนแล้ง ส่วนป่าหนาวจะเป็นพันธุ์ไม้พุ่มเตี้ย ใบมัน
ทุ่งหญ้าเมืองหนาว
ปกติที่ความสูง 4000 เมตร จากระดับน้ำทะเลในเขตหนาว จะมีเฉพาะไม้ล้มลุก เรียกว่า “ทุ่งหญ้าอัลไพน์” แต่ที่ดอยอินทนนท์ ดอยผ้าห่มปก และ ดอยเชียงดาว เป็นภูเขาสูง 2,000-2,500 เมตร มีปรากฏการณ์พิเศษ มีไม้ล้มลุกปะปนกับไม้พุ่มขนาดเล็ก เรียกพงไม้นี้ว่า “ทุ่งหญ้ากึ่งอัลไพน์”
สายน้ำ
ยอดเขาสูงสุดของไทย ห้วยสายเล็กๆ ปกคุลมด้วยป่าดิบเขาอุดมสมบูรณ์มีฝนตกชุก อากาศชื้นมาก ต้นไม้คายน้ำได้น้อย ใบไม้ย่อยสลายช้า มีสภาพเหมือนผ้าห่มพร้อมซับน้ำฝน
ป่าสองรุ่น
ชอบน้ำแต่ทนแล้ง มอสมักขึ้นตามโคนไม้ และที่ชื้นฉ่ำ ช่วงแล้งก็พักตัวรอความชื้นก็ฟื้นกลับมา สามารถแพร่พันธุ์ด้วยสปอร์
เถาวัลย์
เป็นต้นไม้ที่ชอบแดดจัด โตเร็ว เลื้อยพันต้นไม้ใหญ่อย่างรวดเร็ว กระรอกและสัตว์หากินบนต้นไม้ใช้เป็นเส้นทางเดิน
สูงใหญ่แต่ล้มง่าย
ป่าเขาสูงชัน หน้าดินถูกน้ำฝนชะล้างจนมีความหนาเพียง 1-2 เมตร ส่วนด้านใต้เป็นชั้นหิน ต้นไม้สูงใหญ่มักไม่พบรากแก้ว เพราะไม่สามารถเจาะลงหินได้ เมื่อมีพายุใหญ่มาต้นไม้ก็ล้มได้ง่าย
ป่าซ่อมป่า
ป่าเมฆที่มีลมพัดแรง มักมีไม้หักโค่น ต้นไม้ใหญ่ที่ล้มทำให้เกิดแสงส่องลงมายังพื้นดิน ต้นไม้รุ่นใหม่จึงงอกมาซ่อมแซม เป็นวงจรการพื้นฟูตนเองของป่า
-
พืชพรรณไม้ป่าเมฆ
ต้นก่อ (ต้นโอ๊ค) ต้นทะโล้ ต้นหว่าอ่างกา (พืชเฉพาะท้องถิ่น) ในป่านี้เป็นต้นไม้เมืองหนาว มีการปรับตัวให้อยู่ได้ในป่าหนาวและชุ่มชื้นสูง
เสียงป่า
ลองหยุดนิ่งแล้วหลับตา จะได้ยินเสียงใบไม้หล่น เสียงลมพัด เสียงสายน้ำ นกร้อง เปรียบเสมือนวงดนตรีวงใหญ่
ป่าต้นน้ำ
กำเนิดสายธาร มีน้ำตกขนาดเล็ก ไหลมาเป็นลำห้วย ในยุคแรกน้ำตกไหลรุนแรง เกิดเป็นหลุมลึก และในยุคปัจจุบันสายน้ำเปลี่ยนทางไหล ปริมาณน้ำลดลง น้ำที่ไหลจากน้ำตกเป็นน้ำสะอาด มีธาตุอาหารสูง ปลายทางของน้ำจะไหลลงสู่แม่น้ำปิง
-
ป่าเมฆ
ป่าที่ถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกหลายเดือน อากาศหนาวชื้น ลมแรง ดินเป็นกรดสูง พันธุ์ไม้ที่ขึ้นได้บริเวณนี้ จะมีแต่กลุ่มไม้เมืองหนาว เช่น หว้า กุหลาบพันปี กุหลาบขาว กล้วยไม้ เฟิร์น มอส
เฟิร์นยุคโบราณ
บริเวณรอบๆ เป็นป่ามีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น มีแสงแดดรำไรส่งลงมา ช่วงอากาศแล้งเฟิร์นจะพักตัว ใบเหี่ยวแต่ไม่ตาย และจะฟื้นเขียวอีกครั้งเมื่อได้ละอองหมอก
มอส
ในป่ามีไม้หลายชนิด มีอายุ และความสูงไม่เท่ากัน บ่งบอกได้ว่าป่านี้ในอดีตเคยโค่นล้มจากพายุ แล้วมีต้นไม้รุ่นใหม่เกิดพร้อมกัน
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน เขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ตรง กม.ที่ 42 ของถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 43 ของถนนสายจอมทอง – ยอดดอยอินทนนท์ ใกล้กับพระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ ที่ระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จัดเป็นเส้นทางเดินที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาเดินป่า ศึกษาธรรมชาติ ได้ชมพันธุ์ไม้หายาก เช่น กุหลาบพันปี บีโกเนียป่า ฯลฯ และสัตว์สงวนกวางผา นอกจากนี้กิ่วแม่ปานยังเป็นชุดชมทะเลหมอก และพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงามสามารถมองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นที่ด้านหลังของ พระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-