Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การป้องกันและช่วยเหลือเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุ, น.ส.พลอยไพริน กิมเฮียะ…
การป้องกันและช่วยเหลือเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุ
บาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก(Burns)
ข้อมูลทั่วไป
เกิดจากอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยในเด็กและผู้ใหญ่
เป็นเพียงเล็กน้อย มีอาการปวดแสบ ปวดร้อน พอทนได้ ค่อยๆหายไปเอง
เป็นมาก จะกินบริเวณกว้างและมีแผลลึก อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน จนเสียชีวิตได้
สาเหตุ
ความร้อน
ไฟ
วัตถุที่ร้อน
น้ำร้อน
กระแสไฟฟ้า
สารเคมี (กรด ด่าง)
รังสี
การเสียดสี
อาการตามขนาดความกว้างของแผล
หมายถึง บริเวณพื้นที่ของบาดแผล ถ้าขนาดใหญ่ อาจทำให้สูญเสียน้ำ เกลือแร่ เกิดภาวะช็อก และอาจติดเชื้อได้
แผลขนาด 1 ฝ่ามือของผู้ป่วย = 1%
ศีรษะ = 18%
หลัง = 18%
แขนข้างละ 9%
ขาข้างละ 13.5%
อวัยวะสืบพันธุ์ = 1%
ความลึกของแผล
ระดับที่ 1(First degree burn)
แผลที่มีการทำลายถึงเซลล์หนังกำพร้าชั้นผิวนอกเท่านั้น เจริญขึ้นใหม่ได้โดยเร็วและสนิท ไม่เกิดแผลเป็น
ระดับที่ 2(Second degree burn)
ชนิดตื้น (Superficial partialthickness burns)
มีการทำลายของหนังกำพร้าชั้นนอกและในสุด และหนังแท้ใต้หนังกำพร้า แต่สามรถเจริญทดแทนส่วนที่ตายได้
หายภายใน 2-3 สัปดาห์ ไม่เกิดแผลเป็น ขึ้นอยู่กับความลึกของบาดแผล
พุพองเป็นตุ่มน้ำใส ผิวหนังอาจหลุดลอกเป็นเนื้อสีชมพูหรือแดงมีน้ำเหลืองซึม รู้สึกปวดแสบร้อนมาก เพราะเส้นประสาทบริเวณผิวหนังยังไม่ถูกทำลาย
ชนิดลึก (Deep partialthickness burns)
มีการทำลายของหนังแท้ส่วนลึก
แผลเป็นสีเหลืองขาว แห้ง และไม่ค่อยปวด มีโอกาสเกิดแผลเป็น
หายภายใน 3-6 สัปดาห์ ใช้ยาปฏิชีวนะช่วยทำให้แผลไม่เกิดการติดเชื้อ
ระดับที่ 3(Third degree burn)
บาดแผลที่มีการทำลายของหนังกำพร้าและหนังแท้ทั้งหมด รวมทั้งต่อมเหงื่อ ขุมขน และเซลล์ประสาท และอาจกินลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อหรือกระดูก จึงไม่รู้สึกเจ็บที่แผลเนื่องจากเส้นประสาทถูกทำลาย
การพยาบาล
ให้ล้างแผล แช่แผลด้วยน้ำสะอาด แล้วใช้ผ้าแห้งปิดแผล
แผลที่เป็นตุ่มน้ำใส ไม่ควรเอาเข็มไปเจาะออก เพราะเข็มที่ใช้อาจไม่สะอาด เกิดแผลอักเสบหรือติดเชื้อบาดทะยักได้
ถ้าบาดแผลมีขนาดกว้าง อาจทำให้ผู้ป่วยช็อกได้ ควรรีบนำส่งรพ.ทันที
การรักษา
ยาปฏิชีวนะทาเฉพาะที่ นิยมใช้
Silver sulfadiazine
2-3 วันแรก จะให้สารน้ำRinger's lactate
แผลที่ใช้เวลา>3สัปดาห์ หรือแผลที่หายหลังจากการทำSkin graft แนะนำให้ใส่ผ้ายืด (Pressure garment) เพื่อป้องกันเกิดแผลเป็นนูนหนา
กระดูกหัก
(Bone fracture, Fracture, Broken bone)
คือ การมีรอยแยก รอยแตก ความไม่ต่อเนื่องของกระดูก เกิดจากอุบัติเหตุร้ายแรงมากจนกระดูกหักเกิดเจ็บปวด บวม เคลื่อนไหวไม่ได้หรือผิดปกติ
แบ่งตามบาดแผล
ชนิดไม่มีแผล(Closed fracture) : กระดูกหักเพียงอย่างเดียว กระดูกจะไม่โผล่ออกมานอกผิวหนัง
ชนิดแผลเปิด(Open fracture) : กระดูกที่หักทิ่มแทงทะลุออกมานอกเนื้อ เป็นชนิดร้ายแรง เพราะอาจตกเลือด เส้นประสาทถูกทำลาย ติดเชื้อได้ง่าย
แบ่งตามรอยที่มีการหักของกระดูก
กระดูกหักทั่วไป(Simple fracture) : กระดูกแตกเป็น 2 ชิ้น
กระดูกหักยุบเข้าหากัน(Impacted fracture) : กระดูกทั้ง 2 ด้านได้รับแรงกด มักหักฝังแขน
กระดูกเดาะ(Greenstick fracture) : กระดูกแตกเพียงด้านเดียว อีกด้านโก่งตามแรงกด
การปฐมพยาบาล
ประเมินบริเวณที่บาดเจ็บ
ทำการปฐมพยาบาลด้วยCPR
ถ้าเลือดออกให้ห้ามเลือดก่อนเสมอ ไม่ว่ากระดูกหักหรือไม่
เลือดไม่หยุดไหล ให้หาสายรัด มาผูกรัดเหนือบาดแผลให้แน่นๆ(คลายสายทุก 15 นาที ครั้งละ30-60 วินาที ) ถ้าไม่หยุดไหลให้รัดกระชับกว่าเดิม
ดามกระดูกที่หัก
โดยการใช้แผ่นไม้ พลาสติกแข็ง ไม้บรรทัด กิ่งไม้ หนังสือพิมพ์พับหลายๆชั้นเป็นเฝือกวางแนบกับส่วนที่หัก ให้ปลายทั้ง 2 ข้าง คลุมถึงข้อที่อยู่เหนือและใต้ส่วนที่หัก และควรมีสิ่งนุ่มๆรองผิวหนังของอวัยวะส่วนนั้นอยู่เสมอ แล้วรัดเข้าด้วยกัน โดยใช้ เทป เชือก ด้าย เป็นต้น
หลังการใส่เฝือก (ควรรีบไปพบแพทย์)
ปวดมากและคับเฝือกมาก
นิ้วมือ นิ้วเท้าข้างที่ใส่เฝือกเขียว ซีด มีอาการชา
ปวดแสบปวดร้อน
บวมแดงบริเวณรอบๆเฝือก
มีเลือด น้ำเหลือง หนอง ไหลซึมจากเฝือก
มีวัตถุแปลกปลอมเข้าไปในเฝือก
ประคบน้ำแข็งตรงบาดแผล
ควรใช้ผ้ามาพันรอบของเย็นก่อนเพื่อไม่ให้โดนน้ำแข็งกัด
ช่วยลดอาการปวด บวมอักเสบ และลดการไหลของเลือดได้
ประคบ 20 นาทีหรือจนกว่าจะรู้สึกชา
ข้อห้าม/คำแนะนำ
อย่าพยายามดึงข้อหรือจัดกระดูกด้วยตนเอง จัดท่าให้สุขสบาย
ส่วนที่หักเป็นปลายแขนหรือมือ ให้ใช้ผ้าคลองคอ
ส่วนที่หักเป็นนิ้วมือ ให้ใช้ไม้ไอศกรีมดามนิ้ว
ถ้ากระดูกโผล่มานอกเนื้อ ห้ามดึงกระดูกเข้าที่ เพราะอาจติดเชื้อได้ ควรใช้ผ้าปิดและดามไว้
กระดูกหักที่ขาส่วนบน กระดูกสันหลัง ศีรษะ คอ สะโพก ไม่ควรเคลื่อนไหวร่างกาย เพราะอาจทำให้กระดูกผิดรูปได้และเจ็บกว่าเดิม
งดดื่มน้ำและอาหาร จนกว่าจะพบแพทย์ เนื่องจากผู้ป่วยบางคนต้องผ่าตัด
สารพิษ(Poisons)
ทั่วไป
เป็นสารเคมีที่มีสภาพเป็นของแข็ง ของเหลว ก๊าซ
เข้าสู่ร่างกายโดย รับประทาน ฉีด หายใจ สัมผัสทางผิวหนัง
เกิดอันตรายต่อร่างกาย ด้วยปฏิกิริยาทางเคมี จะมากน้อยขึ้นอยู่กับ คุณสมบัติ ปริมาณ ทางที่ได้รับ
จำแนกตามลักษณะการออกฤทธิ์
กัดเนื้อ(Corrosive)
ทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายไหม้ พอง
ex. สารละลายกรดด่างเข้มข้น น้ำยาฟอกขาว
ทำให้ระคายเคือง(Irritants)
ทำให้เกิดอาการปวดแสบ ปวดร้อน อักเสบ
ex. ฟอสฟอรัส สารหนูซัลเฟอร์ไดออกไซด์
กดระบบประสาท(Narcotics)
ทำให้หมดสติ หลับลึก ปลุกไม่ตื่น ม่านตาหดเล็ก
ex. ฝิ่น มอร์ฟีน พิษจากงูบางชนิด
ประเมินภาวะการได้รับสารพิษ
คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง น้ำลายฟูมปาก มีรอยไหม้นอกริมฝีปาก มีกลิ่นสารเคมีบริเวณปาก
เพ้อ ชัก หมดสติ อัมพาตบางส่วนหรือทั่วไป ขนาดช่องม่านตาผิดปกติ
หายใจขัด หายใจลำบาก เสมหะมาก เขียวปลายมือปลายเท้าหรือริมฝีปาก ลมหายใจมีกลิ่นสารเคมี
ตัวเย็น เหงื่อออกมาก มีผื่น จุดเลือดออกตามผิวหนัง
การปฐมพยาบาล
ผู้ที่ได้รับสารพิษทางปาก
ทำให้สารพิษเจือจาง
นำส่งรพ.เพื่อล้างท้อง
ห้ามให้ผู้ป่วยอาเจียน
ข้อห้ามในการทำให้ผู้ป่วยอาเจียน
หมดสติ
ได้รับสารชนิดกัดเนื้อ กรดด่าง
อาการ ไหม้พอง ร้อนริมฝีปาก ปาก ลำคอและท้อง คลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำ อาการภาวะช็อก(ชีพจรเบา ผิวหนังเย็นชื้น)
การปฐมพยาบาล
ถ้ารู้สึกตัวให้ดื่มน้ำอุ่น
อย่าทำให้อาเจียน
รีบนำส่งรพ.
รับประทานสารพิษพวกน้ำมันปิโตรเลียม
ex. น้ำมันก๊าด เบนซิน ยาฆ่าแมลงชนิดน้ำมัน(DTT)
อาการ แสบร้อนปาก คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีอาการขาดออกซิเจน อาจรุนแรงถึงมีเขียวตามปลายมือปลายเท้า
การปฐมพยาบาล
รีบนำส่งรพ.
ห้ามทำให้อาเจียน
ระหว่างนำส่งรพ. ถ้าอาเจียนให้จัดศีรษะต่ำ เพื่อป้องกันสำลักน้ำเข้าปอด
ให้สารดูดซับสารพิษในระบบทางเดินอาหาร (ex.Activated charcoal)หรือใช้ไข่ขาว3-4 ฟอง ตีให้เข้ากัน
ยาแก้ปวด ยาลดไข้
ยาแอสไพริน จะมีอาการหูอื้อเหมือนมีกระดิ่งในหู การได้ยินลดลง เหงื่อออกมาก ปลายมือปลายเท้าแดง ชีพจรเต้นเร็ว คลื่นไส้อาเจียน หายใจเร็ว ใจสั่น
ยาพาราเซตามอล จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ง่วงซึม เหงื่ออกมาก ความดันโลหิตต่ำ สับสน เบื่ออาหาร
การปฐมพยาบาล
ทำให้สารพิษเจือจาง
ทำให้อาเจียน
ให้สารดูดซับสารพิษ ที่อาจหลงเหลือในระบบทางเดินอาหาร
ผู้ที่ได้รับสารพิษทางการหายใจ
อาการ
(ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน)วิงเวียน หน้ามืด หมดสติ ถึงแก่ความตายได้ ex.คาร์บอนมอนนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจน ไนโตรเจน
(ทำให้เกิดการระคายเคืองที่ คอ หลอดลม และปอด) ex.ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
(ทำให้อันตรายทั่วร่างกาย) เม็ดเลือดแดงแตก ปัสสาวะเป็นเลือด ดีซ่าน ตัวตาเหลือง ex.ก๊าซอาร์ซีนกลิ่นคล้ายกระเทียม พบในโรงงานแบตเตอรี่
การปฐมพยาบาล
กลั้นหายใจ รีบเปิดประตูหน้าต่าง เพื่อให้อาการถ่ายเท
นำผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุไปยังที่อากาศบริสุทธิ์
ประเมินการหายใจและการเต้นของหัวใจ ถ้าไม่มีให้ผายปอดและนวดหัวใจ รีบนำส่งรพ.
สารเคมีถูกผิวหนัง
ล้างด้วยน้ำสะอาดนานๆ >15 นาที
อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี เพราะความร้อนจากปฏิกิริยาอาจทำให้เกิดอันตรายได้
บรรเทาอาการปวดและรักษาช็อค
ปิดแผล นำส่งรพ.
สารเคมีเข้าตา
ล้างตาด้วยน้ำนาน 15 นาที โดยเปิดน้ำให้ไหลผ่านค่อยๆ
อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี เพราะความร้อนจากปฏิกิริยาอาจทำให้เกิดอันตรายได้
ปิดตา แล้วนำส่งรพ.
บรรเทาอาการปวดและรักษาช็อก
การจมน้ำ (Drowning)
แบ่งเป็น
Drowning : ผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ
Near-Drowning : ผู้ที่จมน้ำแต่ยังไม่เสียชีวิตทันที บางรายอาจเสียชีวิตต่อมาในช่วงสั้นๆ
ลักษณะ
การจมน้ำเค็ม (Salt-water Drowning)
ทำให้เกิดภาวะ pulmonary edema ปริมาตรน้ำที่ไหลเวียนในร่างกายลดลง เกิดภาวะ hypovolemia ระดบเกลือแร่ในร่างกายสูง หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจวาย ช็อก
การจมน้ำจืด (Freshwater-Drowning)
Hypotonic solution จะซึมผ่านเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตของปอดอย่างรวดเร็ว เกิด hypovolemia ทำให้ระดับเกลือแร่ในเลือดลดลง หัวใจวายเต้นผิดจังหวะ อาจเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกhemolysis
การปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาลที่ไม่ถูก
อุ้มเด็กพาดบ่าแล้วเขย่ากระทุ้งบริเวณหน้าท้อง อาจเกิดการช้ำจากแรงกระแทกได้
เมื่อนำเด็กขึ้นมาบนฝั่งแล้ว
หากเด็กรู้สึกตัว ให้รีบเช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า ทำให้เกิดความอบอุ่น จัดนอนท่าตะแคงกึ่งคว่ำ แล้วนำส่งรพ.ให้เร็วที่สุด
หากเด็กหมดสติ เช็คว่ายังมีลมหายใจหรือหัวใจเต้นอยู่หรือไม่ ถ้าไม่ ให้โทรเรียกหน่วยรถพยาบาลดดยด่วน จากนั้นช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
ภาวะสำลักสิ่งแปลกปลอม
ปัญหาที่เกิดหลังสำลัก
ทำให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก อาจอันตรายถึงชีวิตได้
เกิดการอุดกั้นของหลอดลมส่วนปลาย ทำให้เกิดภาวะปอดแฟบ ปอดพอง หรือหอบหืด
เกิดการอุดกั้นการระบายเสมหะในทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอักเสบติดเชื้อตามมา ex.ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ
หากมีสิ่งแปลกปลอมอุดตันทางเดินหายใจเด็ก
กรณีอายุ<1 ขวบ
วางเด็กคว่ำลงบนแขน และวางแขนนั้นลงบนหน้าตัก โดยให้ศีรษของเด็กอยู่ต่ำ
เคาะหลัง 5 ครั้งติดต่อกันโดยเคาะกึ่งกลางระหว่างกระดูกสะบักทั้งสองข้าง
จากนั้นพลิกตะแคงให้เด็กหงายบนแขนอีกข้างหนึ่ง วางบนหน้าตักโดยให้ศีรษะอยู่ต่ำเช่นกัน แล้วกดหน้าอกโดยใช้ 2 นิ้ว ของผู้ช่วย กดบนกระดูกหน้าอกในต่ำแหน่งที่ว่างเส้นลาก ระหว่างหัวนมทั้งสองข้างลงมา หนึ่งความกว้างนิ้วมือ
ทำซ้ำจนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา
หากเด็กหมดสติให้ทำการประเมินการหายใจ การเต้นชีพจร และให้การช่วยเหลือการหายใจสลับกับการเคาะหลัง และกดหน้าอก
กรณี>1 ปี
กระตุ้นให้เด็กไอเอง
ถ้าเด็กไม่สามารถพูดได้ หรือมีอาการหนัก (หายใจลำบาก ซีด เขียว) ให้ทำการกดท้อง โดยผู้ช่วยยืนด้านหลังเด็ก แล้วอ้อมแขนมาด้านหน้ากำมือเป็นกำปั้นแล้ววางกำปั้นด้านข้าง(ด้านหัวแม่มือ)บนกึ่งกลางหน้าท้องเหนือสะดือเด็ก กดโดยให้แรงมีทิศทางเข้าด้านใน และเฉียงขึ้นบน
กดซ้ำจนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา
หากเด็กหมดสติ ให้ประเมินการหายใจการเต้นของชีพจรและให้การช่วยเหลือการหายใจสลับการกดหน้าท้อง
การกดท้องในเด็กหมดสติ ทำโดยให้เด็กอยูท่านอนราบผู้ช่วยนั่งคร่อมตัวเด็ก วางสันมือบนท้องเด็กต่ำแหน่งสูงกว่าสะดือเด็ก กดในทิศทางเข้าด้านในและเฉียงขึ้น กด 5 ครั้งแล้วเปิดปากสำรวจดูว่ามีสิ่งแปลกปลอมออกมาหรือไม่
ความแตกต่างระหว่างการกดหน้าอก ในแต่ละช่วงอายุ
เด็กทารก
100-120 ครั้ง/นาที
ตำแหน่งกึ่งกลางท่อนล่างกระดูกหน้าอก
ลึก 4 ซม.(1.5 นิ้ว หรือ 1/3 ความหนาทรวงอก)
กดโดยใช้นิ้วมือสองนิ้ว มืออีกข้างให้ทำการเปิดทางเดินหายใจ
เด็กโต
100-120 ครั้ง/นาที
ตำแหน่งกึ่งกลางท่อนล่างกระดูกหน้าอก
ลึก 5 ซม. (1/3 ความหนาของทรวงอก)
กดโดยใช้มือเดียว อีกข้างให้เปิดทางเดินหายใจ
ผู้ใหญ่
100-120 ครั้ง/นาที
ตำแหน่งกึ่งกลางท่อนล่างกระดูกหน้าอก
ลึก 5-6 ซม.(2-2.4 นิ้ว)
กดโดยใช้ 2 มือ
ผู้ช่วยเหลือ
กรณี1 คน : อัตราส่วนการกดหน้าอกและการช่วยหายใจเท่ากับ 30.2 ตำแหน่งการกดเหมือนกัน ความลึกและลักษณะการใช้มือในการกดจะแตกต่างกันออกไป
กรณี2 คน : อัตราส่วนการกดหน้าอกและการช่วยหายใจสำหรับเด็กเท่ากับ 15:2
วิธี Heimlich
ให้ทำในท่านั่งหรือยืนโน้มตัว ไปด้านหน้าเล็กน้อย ผู้ช่วยเหลือเข้าทางด้านหลัง ใช้แขนสอดสองข้างโอบผู้ป่วยไว้ มือซ้ายประคองมือหวาที่กำมือวางไว้ใต้ลิ้นปี่ ดันกำมือขวาเข้าใต้ลิ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดแรงดันในช่องท้อง ดันเข้าใต้กระบังลมผ่านช่องทรวงอก เพื่อให้สิ่งแลกปลอมออกจากกล่องเสียง
การป้องกัน
เลือกชนิดและขนาดของอาหารให้เหมาะสมแก่เด็ก
เลือกชนิด และขนาดรูปร่างของเล่นให้เหมาะสม
น.ส.พลอยไพริน กิมเฮียะ รุ่น36/2 เลขที่ 3 (612001083)
อ้างอิง : หน่วยแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพ. (2562). การช่วยเหลือในกรณีเกิดการสำลัก. สืบค้น 1 พฤษภาคม 63, จาก
http://ems.bangkok.go.th/learning/mod/page/view.php?id=296
PAYAI TV. (2560). ขั้นตอนการกู้ชีพคนจมน้ำ รายการวัยอันตรายอย่าให้ตายก่อนโต. สืบค้น 1 พฤษภาคม 63, จาก
https://www.youtube.com/watch?v=WsSSeTcUI1M
.