Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สนทนาเพื่อการบำบัด, ขั้นตอนในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดและเทคนิคการสื…
สนทนาเพื่อการบำบัด
หลักการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
การให้เกียรติ: ผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง ให้เกียรติ สุภาพ
การร่วมมือ: ให้ข้อมูลแจ้งวัตถุประสงค์
ความเชื่อถือได้: ใช้คำพูดที่เป็นจริงยึดมั่นหลักการและเหตุผล
การรู้จักกัน: สร้างความมั่นใจ ไว้วางใจ แนะนำตนเอง
การรักษาความลับ: จรรยาบรรณวิชาชีพ
การสร้างสัมพันธภาพเชิงวิชาชีพต้องคำนึงถึงลักษณะเฉพาะที่สำคัญ
Process dynamic
Action-oriented
Helping
Satisfaction gain
Goal directed
Terminated-relationship
การตั้งเป้าหมาย: ชัดเจน มีทิศทางเพื่อการบำบัด
ลักษณะเฉพาะของสัมพันธภาพ
การเข้ากันได้ (Rapport)
แสดงออกถึงความเห็นใจสนใจรับฟังและยอมฟัง
ให้เวลากับผู้ป่วย
ดำเนินการสนทนาอย่างเป็นกันเอง
สร้างความรู้สึกให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย
เป็นมิตรยิ้มแย้มประสานสายตากับผู้ป่วย
พยาบาลปฏิบัติกับผู้ป่วยในฐานะมนุษย์เท่าเทียมกัน
ความรู้สึกในแง่ดีและการยอมรับ
(Uncondition Positive Regard and Acceptance)
ยอมรับเป็นความเข้าใจแต่ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือต้องยอมตาม
ไม่ตำหนิหรือเคี่ยวเข็นให้ผู้ป่วยเปลี่ยนพฤติกรรม
มีความเต็มใจที่จะเข้าใกล้ผู้ป่วยพยายามมองในแง่ดีแม้ว่าผู้ป่วยจะมีกิริยาหยาบคายไม่น่าเป็นมิตร
ช่วยสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ต้องอยู่บนความจริงของสังคม
การเข้าถึงความรู้สึก (Empathy)
การเข้าถึงความรู้สึกของผู้ป่วย ตระหนักถึงความรู้สึกจริง ๆ
แต่ต้องแยกตนเองไว้ต่างหาก คือ ไม่ได้เกิดความรู้สึกกลัวโกรธหรือสับสนไปด้วย
การสร้างความไว้วางใจ (Trust)
มีความเชื่อมั่นที่จะต้องมีความผสมผสานระหว่างความรอบรู้ในเรื่องทั่วไป
มีความรู้ในทางวิชาชีพและความสามารถในการสดงออกอย่างธรรมชาติ
แสดงความมั่นใจในตัวเอง
ช่วยผู้ป่วยให้ผู้ป่วยได้พัฒนาความไว้วางใจต่อตนเองเพื่อเป็นบันไดให้สามารถไว้วางใจผู้อื่นได้
การเป็นผู้ที่มีความซื่อตรงและเสมอต้นเสมอปลายจะช่วยได้มากเพราะหากผู้ป่วยเกิดความมั่นใจแล้วผู้ป่วยจะเกิดความเชื่อมั่นในตัวเองและลดความวิตกกังวล
การตั้งเป้าหมายชัดเจน (Goal Formulation)
สัมพันธภาพเพื่อการบำบัดทางจิตจะต้องมีการตั้งเป้าหมายและปฏิบัติให้บรรลุตามที่ตั้งไว้
เช่น เป้าหมาย สร้างความรู้สึกคุณค่าในตนเอง / ลดความวิตกกังวล / พัฒนาทักษะการติดต่อสื่อสาร
ระยะที่ 3: ระยะสิ้นสุดสัมพันธภาพ (The Terminating Phase)
พยาบาลควรใช้ความเมตตา (Compassion) และทัศนคติที่ดีในการดูแล
ต่อให้มีแหล่งช่วยเหลือและกลับไปใช้ชีวิตครอบครัวได้ดีที่สุด
เป็นระยะที่พยาบาลประเมินผลการนำแนวทางในการแก้ปัญหาไปใช้
ควรระวังไม่ให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวลที่ต้องแยกจากกัน (Separation anxiety): วิตกกังวล โกรธ ไม่พอใจ มีพฤติกรรมถดถอย พฤติกรรมไม่เป็นมิตร
ระยะที่ 2: ระยะดำเนินการหรือระยะทำงาน (The Working phase)
การปฎิบัติ
ดำเนินการค้นหาปัญหาของผู้ป่วย โดยรวบรวมข้อมูลกำหนดปัญหา วินิจฉัย วางแผนช่วยเหลือ
สนับสนุนให้ผู้ป่วยเป็นตัวของตัวเองให้มากที่สุด
ประเมินผลให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
เป็นระยะที่ผู้ป่วยไว้วางใจ บอกความรู้สึกที่แท้จริงและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องให้ทราบ
เทคนิคในการสื่อสารเพื่อการบำบัด
เทคนิคที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยพูดระบายความรู้สึก
อธิบายความคิด ความเข้าใจ
Acknowledge the patient 's feeling เป็นการแสดงการรับรู้ความรู้สึกของผู้ป่วยและยอมรับเขา เช่น ผู้ป่วย“ ฉันเจ็บใจเขามากทำไมเขาต้องทำกับฉันแบบนี้ฉันอายคนอื่นเขา ” พยาบาล“ คุณรู้สึกว่าคุณกำลังโกรธ”
Open question คำถามเปิด“ เพราะอะไรจึงมาโรงพยาบาล”
Giving general lead เป็นการกล่าวนำเพื่อให้ผู้ป่วยพูดต่อ“ แล้วคุณคิดจะทำอะไรต่อไป”
-Using silence การใช้ความเงียบใช้อย่างถูกจังหวะ คือ การนั่งฟังโดยไม่แสดงความคิดเห็นหรือโต้ตอบจะช่วยให้ผู้ป่วยพูดระบายความคิดความรู้สึกออกมา
Using broad opening statement เป็นการใช้คำพูดในประโยคปลายเปิดเพื่อให้ผู้ป่วยตอบกว้าง ๆ “ คุณพอจะเล่าให้ดิฉันฟังได้ไหมว่าเมื่อวานนี้ก่อนมาโรงพยาบาลมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง"
Reflecting การสะท้อนให้ผู้ป่วยเข้าใจตนเอง ผู้ป่วย“ ฉันรู้สึกเหมือนอยู่คนเดียวในบ้านทั้งที่มีคนในบ้านมากมาย "พยาบาล“ คุณรู้สึกว่าคนในบ้านไม่มีใครสนใจคุณเลย”
Sharing observation เป็นการบอกสิ่งที่พยาบาลสังเกตเห็นจากการพูดหรือการแสดงออกของผู้ป่วย “ คุณมีสีหน้าเศร้าขณะที่พูดถึงคุณพ่อของคุณ"
Reflecting feeling การสะท้อนความรู้สึก ผู้ป่วย“ กลับไปบ้านครั้งนี้จะทำงานได้หรือเปล่าก็ไม่รู้ พยาบาล“ คุณคงรู้สึกกังวลไม่แน่ใจว่าจะกลับไปทำงานเดิมได้หรือไม่
เทคนิคที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
Clarifying การขอความกระจ่างในคำพูดที่ไม่ชัดเจนไม่แน่ใจว่าพยาบาลเข้าใจตรงกับผู้ป่วยหรือไม่ ” ที่คุณพูดมานั้นหมายความว่า ... . ใช่ไหมคะ”
Verbalizing implied thought and feeling ความคิด ความรู้สึกที่ซ่อนเร้นอยู่ลึก ๆ ในคำพูดที่ผู้ป่วยพูดเป็นนัย ๆ ผู้ป่วย“ ถ้าฉันไม่อยู่เสียคนหนึ่งทุกคนคงสบาย” พยาบาล“ คุณรู้สึกว่าคุณเป็นภาระให้ทุกคนต้องลำบากใช่ใหมคะ”
Exploring การสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมเป็นการสอบถามให้ลึกซึ้งและกว้างขวางขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยคิดไตร่ตรองเรื่องราวใหม่ “ คุณพอจะเล่าเหตุการณ์ที่บอกว่าคุณแม่รักน้องมากกว่าคุณให้ดิฉันฟังได้ไหม”
Validation การตรวจสอบความรู้สึกเพื่อยืนยันความเข้าใจของตนเองจากผู้ป่วยอีกครั้งหนึ่ง“ คุณรู้สึกสบายใจขึ้นบ้างไหมคะ”
Focusing การมุ่งความสนใจให้อยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ผู้ป่วยพูดบางประเด็นให้กระจ่าง มีโอกาสไตร่ตรองเรื่องราวและทำความเข้าใจให้ถูกต้องต่อไป ผู้ป่วย“ วันนี้ฉันรู้สึกไม่ค่อยดีเลย” พยาบาล“ อธิบายความรู้สึกที่ว่าไม่ค่อยดีให้ดิฉันฟังได้ไหมคะ”
Summarizing การสรุป “ คุณพอจะบอกได้ไหมคะว่าวันนี้สนทนาเรื่องอะไรบ้าง”
Restating การทวนซ้ำช่วยให้ผู้ป่วยรู้ว่าพยาบาลเข้าใจเป็นการตรวจสอบความถูกต้องในการฟัง ผู้ป่วย“ ผมรู้สึกแย่มากที่เทอมนี้คะแนนต่ำลงไปมากไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร" พยาบาล“ คุณไม่แน่ใจถึงสาเหตุที่การเรียนตกต่ำ”
Present reality การให้ความจริงแก่ผู้ป่วยประสาทหลอน หลงผิดแปลสิ่งเร้าผิด "ดิฉันไม่เห็นมีอะไรในห้องนี้เลยนะคะ”
Paraphrase การทวนความช่วยให้ผู้ป่วยรู้ว่าพยาบาลได้ยินในสิ่งที่เขาพูด
ระยะที่ 1: ระยะเริ่มต้น
Initiating phase)
การปฎิบัติ
ระบุระยะเวลาในการช่วยเหลือ
การรักษาความลับ
บอกวัตถุประสงค์ของการสร้างสัมพันธภาพ
การทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไว้วางใจและรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า
แนะนำตัวให้รู้จักซึ่งกันและกันสร้างความคุ้นเค
เทคนิคในการสื่อสารเพื่อการบำบัด
Accepting การยอมรับสิ่งที่ผู้ป่วยคิดพูดหรือแสดงพฤติกรรมออกมาด้วยท่าทีที่เต็มใจเข้าใจ ไม่โต้เเย้ง
Offering self การเสนอตัวเองให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยให้เขารับรู้ว่ายังมีคุณค่า“ ดิฉันจะนั่งเป็นเพื่อนคุณสักครู่
Giving information การให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย“ ดิฉันชื่อ ... เป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 จาก..."
Closed question คำถามปิดเพื่อรวบรวมข้อมูล
“ คุณมีพี่น้องกี่คน"
Giving recognition การกล่าวทักทาย การรู้จัก จำได้ เรียกชื่อเขาได้ถูกต้อง “ สวัสดีคะคุณ....”
ขั้นตอนในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดและเทคนิคการสื่อสารเพื่อการบำบัด