Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของโรค - Coggle Diagram
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของโรค
7.วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ (Poliomyelitis Vaccine)
1.วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดกิน(Oral Poliomyelitis Vaccine , OPV)
เป็นวัคซีนที่เตรียมจากเชื้อไวรัสโปลิโอที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันได้เร็วและอยู่ได้นานรวมทั้งทำให้เกิดภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ต่อเชื้อไวรัสโปลิโอที่เยื่อบุของลำไส้ ซึ่งจะช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อโปลิโอในธรรมชาติ (wild - type) ที่ก่อโรคได้
2 วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดฉีด (inactivated Poliomyelitis Vaccine , IPV)
เป็นวัคซีนที่ทำจากเชื้อที่ตายแล้ว มีความปลอดภัยสูงราคาสูง สามารถให้ในคนภูมิคุ้มกันผิดปกติ สามารถป้องกันตนเองไม่ให้เป็นโปลิโอได้แต่โอกาสที่เชื้อได้รับเข้าไปจะเพิ่มจำนวนในทางเดินอาหารและขับออกทางอุจจาระและแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ องค์การอนามัยโลกจึงไม่แนะนำให้ประเทศกำลังพัฒนาที่มีการแพร่กระจายของเชื้อตามธรรมชาติ คือทวีปแอฟริการและเอเชีย ใช้ IPV แทน OPV
ขนาดและวิธีการให้วัคซีนOPV ให้รับประทานครั้งละ 0.1 – 0.5 มิลลิลิตร (2 หยด) การให้วัคซีนชุดแรกจะให้ 4 ครั้ง เมื่ออายุ 2 , 4 , 6 เดือน และครั้งที่ 4 เมื่ออายุประมาณ 1ปี 6 เดือน การให้วัคซีน 3 ครั้งแรก ควรให้ห่างกันอย่างน้อย 6 สัปดาห์ เพื่อให้วัคซีนครั้งก่อนถูกขับออกจากร่างกายให้หมด และให้วัคซีน เสริมกระตุ้นอีกครั้งเมื่อเข้าโรงเรียน คือ อายุ 4 – 6 ปี ถ้าไม่ได้รับวัคซีนตามนัดสามารถให้วัคซีนครั้งต่อไปเลยไม่ต้องเริ่มใหม่ เด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนมาก่อนตามกำหนดให้เริ่มทันทีที่มีโอกาส
ปฏิกิริยาหลังให้วัคซีน พบน้อยมาก มีรายงานว่า OPV อาจทำให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนหรือผู้ที่สัมผัสกับผู้ที่ได้รับวัคซีนเป็นอัมพาต (Vaccine associated paralytic Poliomyelitis , VAPP)
8.วัคซีนป้องกันหัด (Measles virus vaccine – live : MVV-L)
วัคซีนป้องกันหัดเป็นวัคซีนมีชีวิต สามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันในระดับเดียวกับการเป็นโรคเอง
ขนาดและวิธีใช้ ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ขนาดที่แต่ละบริษัทกำหนดเอง โดยฉีด 2 ครั้ง เมื่ออายุ 9 – 12 เดือน และ 4 – 6 ปี
ปฏิกิริยาหลังฉีดวัคซีน อาจมีไข้ระหว่างวันที่ 5 – 12 หลังจากได้รับวัคซีน ไข้มักจะหายไปเองวันที่ 2 – 5 วัน เด็กที่มีประวัติชักจากไข้สูงอาจชักได้ บางรายมีผื่นพร้อมกับไข้เป็นผื่นแดงคล้ายหัด และหายเอง ภายใน 2 วัน บางรายอาจมีอาการคล้ายหวัดร่วมด้วย
ข้อควรระวัง
1.ไม่ควรให้วัคซีนนี้แก่หญิงตั้งครรภ์
2.ห้ามให้กับเด็กที่ป่วยเป็นวัณโรค นอกจากจะได้รับการรักษาแล้ว เพราะวัคซีนหัด อาจกดภูมิคุ้มกันได้ชั่วคราว ทำให้แพร่กระจายได้
3.เด็กที่เป็นไข้ ควรเลื่อนการฉีดไปจนกว่าไข้จะลดลง แต่ถ้าเป็นหวัดไม่มีไข้ให้ฉีดวัคซีนได้
4.เนื่องจากวัคซีนป้องกันหัด เตรียมโดยใช้ยา neomycin ดังนั้นไม่ควรให้วัคซีนนี้แก่เด็กที่มีประวัติแพ้ Neomycin
5.สำหรับผู้ที่แพ้ไข่ แม้จะมีการแพ้แบบรุนแรงก็สามารถให้วัคซีนได้ เพราะมีโอกาสเกิดปฏิกิริยาต่ำเนื่องจากในวัคซีนมีไข่ปนเปื้อนน้อยมาก แต่ต้องสังเกตอาการหลังฉีดวัคซีนอย่างน้อย 20 นาที
9.วัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน (Rubella virus vaccine –Live :RVV -L)
เตรียมจากเชื้อไวรัสrubella มีชีวิตที่ทำให้ฤทธิ์อ่อนลง
ขนาดและวิธีการใช้ ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ขนาด 0.5 มิลลิลิตร โดยฉีดได้ตั้งแต่อายุ 15 เดือนขึ้นไป
ปฏิกิริยาจากการฉีดวัคซีนประมาณร้อยละ 2 – 5 ของผู้รับวัคซีนอาจมีไข้ต่ำๆ ปวดตามข้อ ในวันที่ 8 -12 หลังจากฉีดวัคซีน อาการจะคงอยู่ประมาณ 24 ชั่วโมง แล้วหายไป บางรายอาจมีต่อมน้ำเหลืองบริเวณต้นคอโต และมีผื่นจางๆร่วมด้วย
ข้อควรระวังห้ามให้วัคซีนนี้แก่ผู้ที่แพ้ neomycin หรืออยู่ในระยะที่เจ็บป่วยอาการรุนแรง มีไข้สูง และห้ามให้วัคซีนป้องกันหัดเยอรมันแก่หญิงตั้งครรภ์ หรือหญิงที่อาจมีการตั้งครรภ์ในระยะ 3 เดือน ถ้ามีการฉีดยาโดยเข้าใจผิด ไม่ต้องทำแท้ง เพราะยังไม่มีหลักฐานหรือรายงานทารกที่ได้รับอันตรายจากการฉีดวัคซีนให้มารดา ส่วนผู้ที่มีความผิดปกติในภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือได้ยากดภูมิคุ้มกันไม่ควรรับวัคซีนนี้ ยกเว้นผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ยังไม่มีอาการ เช่นเดียวกับวัคซีนโรคหัด
วัคซีนป้องกันโรคหัด - คางทูม - หัดเยอรมัน
(Measles, Mumps, Rubella Vaccine, MMR)
วัคซีนป้องกันโรคหัด - คางทูม - หัดเยอรมัน เป็นวัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิตที่มีใช้ในประเทศไทย เช่น MMR II วัคซีนหัดและคางทูม ได้จากการเพาะเลี้ยงในเซลล์ตัวอ่อนของลูกไก่ ส่วนวัคซีนหัดเยอรมันเพาะเลี้ยงในเซลล์ diploid ของมนุษย์
ขนาดและวิธีการให้วัคซีน ฉีดครั้งละ 0.5 มิลลิลิตร เข้าใต้ผิวหนัง บริเวณต้นขาส่วนกลางด้านหน้า เยื้องออกไปด้านนอก หรือต้นแขน โดยฉีดในเด็กอายุ 9 – 12 เดือน และอายุ 4 – 6 ปี
ปฏิกิริยาจากการฉีดวัคซีน ปวด บวม บริเวณที่ฉีด มีไข้ ผื่นขึ้นตามตัว อาจมีอาการคล้ายแพ้ยา หายใจลำบาก
ข้อควรระวังเช่นเดียวกับวัคซีนหัด หัดเยอรมัน
วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบชนิดเจอี (Japanese Encephalitis Virus Vaccine :JE - VAX)
เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตายเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัสในสมองหนู แล้วนำสมองหนูมาบดและฆ่าเชื้อไวรัสด้วยฟอร์มาลีน แล้วแยกเชื้อที่ได้มาทำเป็นวัคซีนผลิตเป็น 2 รูปแบบคือ วัคซีนชนิดน้ำและวัคซีนชนิดผงแห้ง มี 2 สายพันธุ์ Nakayama และ Beijing ส่วนมากใช้สายพันธุ์ และในปัจจุบันได้มีการผลิตโดยการเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัสในเซลล์
ขนาดและวิธีการให้วัคซีน ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง บริเวณต้นแขนหรือต้นขา สายพันธุ์ Nakayama เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีฉีดครั้งละ 0.5 มิลลิลิตร ฉีดบริเวณกึ่งกลางต้นขาค่อนออกมาด้านหน้าค่อนไปด้านข้าง แต่ถ้าเป็นเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไปหรือผู้ใหญ่ให้ฉีดบนต้นแขนบริเวณกล้ามเนื้อเดลตอยด์ครั้งละ 1 มิลลิลิตร สายพันธุ์ ครั้งละ 0.25 มิลลิลิตร ถ้าเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ให้ฉีดบริเวณกึ่งกลางต้นขาค่อนออกมาด้านหน้าค่อนไปด้านข้างแต่ถ้าเป็นเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไปหรือผู้ใหญ่ให้ฉีดบนต้นแขนบริเวณกล้ามเนื้อเดลตอยด์ ครั้งละ 0.5 มิลลิลิตร เริ่มให้วัคซีนเมื่ออายุ 12 -18 เดือน ให้ 2 ครั้ง ห่างกัน 1 – 4 สัปดาห์ และฉีดเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มแรก 1 ปี
ปฏิกิริยาหลังฉีดวัคซีนอาจมีอาการปวด บวมคัน หรือ เจ็บบริเวณที่ฉีด อาจมีไข้ต่ำๆ หรือ ปวดศีรษะ และ ชัก ซึ่งพบได้น้อย ส่วนอาการที่รุนแรง การแพ้อย่างเฉียบพลันอาจเกิดจากการแพ้ เจลาตินที่เป็นส่วนประกอบของวัคซีน พบได้น้อยมาก อาการมักเกิดภายใน 1 ชั่วโมง หลังฉีด
ข้อควรระวัง ไม่ควรให้วัคซีนในกรณีที่เด็กมีไข้สูง มีประวัติชักภายใน 1 ปี ก่อนการให้วัคซีน มีประวัติแพ้วัคซีนชนิดนี้ หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคไต โรคตับ เบาหวาน หรือขาดสารอาหาร และเด็กที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว ต่อมน้ำเหลือง มะเร็งระยะกระจาย
12.วัคซีน ป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Haemophilus influenza type B :Hib)
วัคซีนป้องกันโรคจากเชื้อ Hib จากติดเชื้อเกิดเฉพาะในคน ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และ ปอดบวม พบว่าร้อยละ 50 ของโรคเกิดกับเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี อีกร้อยละ 50 เกิดในเด็กอายุ 1 – 4 ปี เป็นสาเหตุอันดับ 1 ของเยื่อหุ้มสมองในเด็กวัยก่อนเรียน จากการศึกษาพบว่าเด็กทารกที่ได้รับภูมิคุ้มกันจากมารดา พอจะป้องกันโรคได้ 2 – 3 เดือน จะเริ่มป่วยจากเชื้อนี้ และเมื่ออายุประมาณ 6ปี เด็กส่วนใหญ่จะมี protective antibody
ขนาดและวิธีให้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อขนาด 0.5 มิลลิลิตร ส่วนกำหนดการฉีดขึ้นอยู่กับอายุและชนิดของวัคซีน
ปฏิกิริยาจากการฉีดวัคซีน โดยทั่วไปพบว่ามีความปลอดภัยสูง มีปฏิกิริยาเพียงเล็กน้อย เช่น ไข้ ปวดบวมเฉพาะที่น้อยกว่าร้อยละ 6
การจัดเก็บ ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิระหว่าง 2 – 8 องศาเซลเซียส ห้ามแช่แข็ง วัคซีนที่ผสมแล้วต้องใช้ภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าไม่ผสมวัคซีนจะมีอายุ 2 – 3 ปี
ข้อควรระวัง ห้ามฉีดในผู้ที่แพ้ส่วนประกอบของวัคซีนได้แก่ aluminium hydroxide,thimerosal
หมายเหตุ การฉีดกระตุ้น แนะนำให้ฉีดตอนอายุ 12 -18 เดือน โดยต้องห่างจากเข็มสุดท้ายอย่างน้อย 2 เดือน การฉีดกระตุ้นในเด็กอายุมากกว่า 12 เดือน อาจไม่จำเป็นต้องฉีดกระตุ้นให้ในเด็กที่แข็งแรง ควรฉีดให้เด็กที่เสี่ยงต่อโรค Hib เช่น ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่มีม้าม หรือ ม้ามทำงานผิดปกติ และเด็กที่แข็งแรงอายุต่ำกว่า 2 เดือน หรือมากกว่า 4 ปี จะมีความเสี่ยงต่อโรคน้อยไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีน
13.วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่(enfluenza virus vaccine)
วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิดของไวรัสที่เป็นส่วนผสมของวัคซีนมีการเปลี่ยนแปลง เกือบทุกปี โดยองค์การอนามัยโลกจะเป็นผู้ทำการตรวจไวรัสจากหลายๆ ศูนย์กลางทั่วโลก เพื่อทำนายว่าปีหน้า variant ชนิดใดหรือ subtype ใดจะมีการระบาด แล้วแนะนำมายังบริษัทผู้ผลิตวัคซีนให้ทำการผลิต แนะนำให้ฉีดก่อนการระบาด ดังนั้นวัคซีนที่ผลิตขึ้นมักมีความจำเพาะต่อเชื้อที่ใช้เฉพาะเท่านั้น และภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นจะอยู่ได้ไม่นาน จึงจำเป็นต้องฉีดซ้ำทุกปี
ขนาดและวิธีใช้ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เด็กเล็กบริเวณต้นขาส่วนกลาง เยื้องออกมาด้านนอก เด็กโตหรือผู้ใหญ่บริเวณต้นแขน
ปฏิกิริยาหลังฉีดวัคซีน มีผลข้างเคียงน้อยไม่รุนแรง ได้แก่ ไข้ ปวดเมื่อย เจ็บปวดเฉพาะที่ ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ไข่แบบเฉียบพลัน
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (Human papillomavirus : HPV)
ปัจจุบันวัคซีนเอชพีวีมีเป้าหมายหลักในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกนั้น ได้รับการขึ้นทะเบียน ในประเทศไทย 2 ชนิด คือ 1) Quadrivalent vaccineชื่อการค้า Gardasil เป็นวัคซีนเชื้อตาย ประกอบด้วยโปรตีน L1 ของไวรัส เอชพีวีสายพันธุ์6, 11, 16 และ 18 ใช้เซลล์ยีสต์ในการผลิตและมีamorphous aluminum hydroxyphosphate sulfate เป็น adjuvant วัคซีนมีลักษณะเป็นน้ำแขวนตะกอน บรรจุขวด หรือหลอดพร้อมฉีด (prefilled syringe) ขนาด 1 โด๊ส ต่อขวด/หลอด ขนาดและวิธีการใช้: จำนวนครั้งที่ต้องได้รับวัคซีนขึ้นอยู่กับอายุของผู้ได้รับวัคซีน ขณะฉีดวัคซีน เข็มแรก ดังนี้ ก) หญิงที่ได้รับวัคซีนเข็มแรกเมื่ออายุระหว่าง 9-13 ปีฉีด 1 โด๊ส (0.5 มล.) เข้ากล้ามเนื้อ จำนวน 2 ครั้ง โดยเข็มที่สองห่างจากเข็มแรก 6 เดือน ข) หญิงที่ได้รับวัคซีนเข็มแรกเมื่อมีอายุตั้งแต่14 ปีขึ้นไป ฉีด 1 โด๊ส (0.5 มล.) เข้ากล้ามเนื้อ จำนวน 3 ครั้ง โดยเข็มที่สองห่างจากเข็มแรก 1-2 เดือน และเข็มที่สามห่างจากเข็มแรก 6 เดือน