Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยโรคจิตเภท (Nursing Care for Person with Schizophrenia) -…
การพยาบาลผู้ป่วยโรคจิตเภท
(Nursing Care for Person with Schizophrenia)
กลุ่มโรคจิตเภท
Diagnostic and
Statistical Manual of Mental Disorders Fifth Edition (DSM-5)
delusional disorder
schizotypal personality disorder
brief psychotic disorder
schizophreniform disorder
schizoaffective disorder substance/medication-induced psychotic
disorder
psychotic disorder due to another
medical condition
other specified schizophrenia
spectrum and other psychotic disorder
unspecified schizophrenia spectrum and other psychotic disorder
โรคโรคจิตเภท (schizophrenia) โดยจำแนกกลุ่มโรคออกเป็น2กลุ่ม
กลุ่มโรคจิตเภท(Schizophrenia Spectrum)
ซึ่งเป็นกลุ่มของโรคที่มีความเกี่ยวข้อง และใกล้ชิดกับโรคจิตเภทอย่างมาก และ มีโอกาสพัฒนาเป็นโรคจิตเภทได้
กลุ่มโรคจิตชนิดอื่น (Other psychotic disorders)
ซึ่งเป็นกลุ่มของโรคที่มีอาการแสดง เป็นอาการโรคจิต (psychosis) คล้ายในโรคจิตเภท แต่ความเกี่ยวข้องกับโรคจิตเภทนั้นยังไม่ชัดเจน
อาการ
อาการหลงผิด (Delusion)
ความเชื่อใด ๆ ที่ไม่สามารถสั่นคลอนได้ แม้ว่าจะมีหลักฐานอย่างชัดเจนที่คัดค้าน ความเชื่อนั้น ๆ
Persecutory delusions เป็นลักษณะที่พบบ่อยที่สุด โดยหมายถึงลักษณะของอาการหลงผิดที่เชื่อว่าตนเองนั้น จะโดนปองร้าย ทำให้อับอาย หรือกลั่นแกล้งจากบุคคลอื่น ๆ
Referential delusions หมายถึง อาการหลงผิดที่เชื่อว่า ท่าทาง คำพูดของบุคคลอื่น หรือสภาพแวดล้อมต่าง ๆ นั้นมีความหมายสื่อถึงตนเอง
Grandiose delusions หมายถึง อาการหลงผิดที่เชื่อว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าผู้อื่นอย่างมาก หรือเป็นคนสำคัญและมีชื่อเสียงอย่างมาก
Erotomanic delusions หมายถึง อาการหลงผิดที่เชื่อว่ามีผู้อื่นมาหลงรักตนเอง
Nihilistic delusions หมายถึง อาการหลงผิดที่เชื่อว่ามีสิ่งเลวร้ายหรือหายนะนั้นได้เกิดขึ้น กับตัวเอง หรือจะต้องเกิดขึ้นกับตัวเอง
Jealousy delusions หมายถึง อาการหลงผิดที่เชื่อว่าคู่ครองนอกใจ
Somatic delusions หมายถึง อาการหลงผิดที่มีเนื้อหาเจาะจงกับอาการทางร่างกาย หรืออวัยวะใดๆ
Thought withdrawal หมายถึง อาการหลงผิดที่เชื่อว่าความคิดของตนเองนั้นถูกทำให้หายไปโดยพลังอำนาจบางอย่าง เช่น อำนาจสวรรค์ดูดความคิดให้หายไป
Thought insertion หมายถึง อาการหลงผิดที่เชื่อว่ามีพลังอำนาจบางอย่างใส่ความคิดที่ไม่ใช่ของตนเองเข้ามา เช่น มนุษย์ต่างดาวใส่ความคิดเข้ามาให้กระพริบตา
Thought Controlled หมายถึง อาการหลงผิดที่เชื่อว่าพลังอำนาจบางอย่างควบคุมความคิด และบงการให้ตนเคลื่อนไหวหรือคิดตามนั้น เช่น อำนาจบางอย่างสั่งให้ตนเองเดินไปตากผ้า
อาการประสาทหลอน (Hallucination)
มีการรับรู้ทางระบบประสาทใด ๆ ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งเร้า (external Stimuli) โดยส่วนใหญ่แล้วอาการหลอนที่มีความสำคัญทางคลินิกนั้นมักจะมีลักษณะที่ชัดเจนและผู้ป่วยมักจะไม่สามารถควบคุมอาการหลอนได้ อาการหลอนสามารถเกิดได้กับทุกระบบประสาทสัมผัส
กลุ่มโรคจิตเภทนั้นจะพบอาการหลอนเป็น หูแว่ว (auditory hallucination)
กระบวนความคิดและภาษาที่ยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ (Disorganized thinking/speech)
ผู้ป่วยตอบไม่ตรงคำถาม (irrelevant)
มีการพูดเปลี่ยนเรื่องไปเรื่อย (loose association)
พฤติกรรมการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติหรือยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ (Grossly disorganized or
abnormal motor behavior)
อาจจะเป็นพฤติกรรมที่เอาแต่ใจเหมือนเด็ก ซึ่งไม่เหมาะสมกับอายุอย่างมาก
อาจแสดงออกเป็นพฤติกรรมกระวนกระวาย
บางครั้งอาจแสดงออกเป็นพฤติกรรม catatonia
อาการด้านลบ (Negative symptoms)
เป็นอาการที่พบได้บ่อยในโรคจิตเภท แต่จะพบไม่บ่อยในโรคจิตชนิดอื่น ๆ
การแสดงอารมณ์ที่ลดลง (Decreased emotional expression) ซึ่งสังเกตจากการแสดงออกทางสีหน้า สำเนียงขึ้นลงของเสียง การใช้ภาษากายในการสื่อสาร
แรงกระตุ้นภายในที่ลดลง (Avolition/Amotivation) ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยอาจนั่งเฉย ๆ อยู่เป็นระยะเวลานาน ไม่แสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมใด ๆ และไม่สนใจที่จะทำสิ่งที่ก่อให้เกิด ประโยชน์หรือผลงานใดๆ
ปริมาณการพูดที่ลดลง (Alogia)
การมีความสุขจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยชอบหรือสนใจลดลง (Anhedonia)
การเข้าสังคมที่ลดลง (Asociality)
สาเหตุ
ความผิดปกติระดับโครงสร้าง
เนื้อสมองบางส่วนมีขนาดเล็กกว่าประชากรทั่วไป
ปริมาณใยสมองและความสมบูรณ์ของใยสมอง
ความผิดปกติระดับจุลภาคและระดับการทำงาน
ระดับการทำงานของสารสื่อประสาทเพิ่มขึ้นในmesocortical tract
ระดับ dopaminergic activity ลดลงใน mesocortical tract
สมองส่วน primary auditory cortex มีการกระตุ้นที่ผิดปกติ
ปริมาณ Synapse ลดลงมาก (synapse pruning)
และปริมาณแขนงของ dendrites น้อยลงใน
สมองส่วน prefrontal cortex และ hippocampus
ปัจจัยทางพันธุกรรมก็มีส่วนในการทำให้เกิดโรค
ปัจจัยที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ (perinatal factors)
ปัจจัยกระตุ้น
ความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ไม่ดี
ความสัมพันธ์ที่ใช้อารมณ์รุนแรง
เกณฑ์การวินิจฉัย
Brief psychotic disorder
A. ต้องมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 1 ข้อ (อย่างน้อยต้องมีอาการในข้อ A1, A2 หรือ A3)
A1. อาการหลงผิด
A2. อาการหลอน
A3. กระบวนความคิดและภาษาที่ยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ
A4. พฤติกรรมการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติหรือยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ โดยอาการข้างต้นต้องไม่สามารถอธิบายได้จากความเชื่อและวัฒนธรรม
B. อาการเป็นต่อเนื่องอย่างน้อย 1 วัน แต่ไม่เกิน 1 เดือนและผู้ป่วยสามารถกลับไปท าหน้าที่ด้านต่างๆได้เหมือนก่อน
C. อาการข้างต้นต้องไม่สามารถอธิบายได้ด้วยโรคทางจิตเวชอื่น ๆ เช่น major disorder หรือbipolar disorder ซึ่งมีอาการโรคจิตร่วมด้วย หรือ โรคจิตเภทหรือ catatonia หรืออาการต่าง ๆ เกิดขึ้นจากการใช้สาร (substance) หรือภาวะทางกาย (medical condition
Schizophreniform disorder
A. มีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อ (ต้องมีอาการข้อ A1, A2 หรือ A3) โดยอาการนั้นจะต้องเป็นอย่าง
ต่อเนื่องพอควรในช่วงระยะเวลา 1 เดือน (หากได้รับการรักษา อาการอาจเป็นต่อเนื่องสั้นกว่า 1 เดือนได้)
A2. อาการหลอน
A1. อาการหลงผิด
A3. กระบวนความคิดและภาษาที่ยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ
A4. พฤติกรรมการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติหรือยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ
A5. อาการด้านลบ
B. อาการเป็นต่อเนื่องอย่างน้อย 1 เดือน แต่น้อยกว่า 6 เดือน หากจะต้องวินิจฉัยโดยไม่รอการฟื้นของตัวโรค ควรระบุว่าเป็น “การวินิจฉัยชั่วคราว”
C. หาก schizophreniform disorder นั้นมีอาการทางอารมณ์ (mood symptoms) ร่วมด้วยอาการทางอารมณ์นั้นต้องเกิดขึ้นเป็นเพียงส่วนน้อยเมื่อเทียบกับระยะเวลาของอาการทั้งหมด
D. อาการข้างต้นต้องไม่เกิดขึ้นจากการใช้สาร หรือ โรคภาวะทางกาย
Schizophrenia
A. มีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อ (ต้องมีอาการข้อ A1, A2 หรือ A3) โดยอาการนั้นจะต้องเป็นอย่างต่อเนื่องพอควรในช่วงระยะเวลา 1 เดือน (หากได้รับการรักษา อาการอาจเป็นต่อเนื่องสั้นกว่า 1 เดือนได้)
A1. อาการหลงผิด
A2. อาการหลอน
A3. กระบวนความคิดและภาษาที่ยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ
A4. พฤติกรรมการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติหรือยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ
A5. อาการด้านลบ
B. หน้าที่การงาน หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือ การดูแลตนเองนั้นลดถอยลงอย่างชัดเจน
C. อาการเป็นต่อเนื่องมากกว่า 6 เดือนโดยมีอย่างน้อย 1 เดือนที่อาการเข้าได้กับเกณฑ์ A
D. อาการข้างต้นต้องไม่สามารถอธิบายได้ด้วยโรคทางจิตเวชอื่นๆ
E. อาการข้างต้นต้องไม่เกิดขึ้นจากการใช้สารหรือภาวะทางกาย
F. หากเคยมีปร ะวัติของ autism spectrum disorder หรือ communication disorder จะสามารถวินิจฉัยโรคจิตเภทได้เฉพาะเมื่ออาการหลงผิดหรืออาการหลอนนั้นเกิดขึ้นต่อเนื่องอย่างน้อย 1 เดือน
Schizoaffective disorder
A. มี major mood episode (major depressive episode หรือ manic episode) ร่วมกับมีอาการในข้อ A ตามเกณฑ์วินิจฉัยโรคจิตเภท
B. อาการหลอนหรืออาการหลงผิดคงอยู่ขณะที่ไม่มี major mood episode เป็นระยะเวลาอย่างน้อย2สัปดาห์
C. major mood episode นั้นคงอยู่เป็นส่วนใหญ่ของระยะการดำเนินโรค
D. อาการข้างต้นต้องไม่เกิดขึ้นจากการใช้สาร หรือ ภาวะทางกาย
Delusional disorder
A. มีอาการหลงผิดต่อเนื่องอย่างน้อย 1 เดือน
B. อาการไม่ครบเกณฑ์วินิจฉัยข้อ A ของโรคจิตเภท
C. นอกจากอาการในข้อ A แล้ว ต้องไม่มีพฤติกรรมที่แปลกประหลาด และหน้าที่ด้านต่าง ๆอาจเสียหายแต่ไม่มาก
D. หากมีอาการทางอารมณ์ร่วมด้วย อาการทางอารมณ์ต้องเกิดขึ้นเป็นสัดส่วนระยะเวลาที่ น้อยมากเมื่อเทียบกับอาการหลงผิด
E. อาการไม่ได้เป็นผลจากการใช้ยาหรือสาร และไม่สามารถอธิบายได้ด้วยโรคจิตเวชอื่น
การรักษา
การรักษากลุ่มโรคจิตเภทนั้นใช้การ
รักษาด้วยยาต้านโรคจิต (antipsychotics)
การทำจิตบำบัดด้วยวิธี (cognitive behavior therapy)
การทำจิตบำบัดแบบประคับประคอง (supportive psychotherapy)
การรักษาทางจิตสังคม (psychosocial treatment)
หลักการและแนวทางการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคจิตเภท
การให้ความช่วยเหลือและรีบรักษาในระยะแรกเริ่ม เน้นการสืบค้นการเจ็บป่วยในระยะแรกเริ่ม และส่งต่อผู้ป่วยไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตในเขตพื้นที่ใกล้บ้านเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างครอบคลุม
การรักษาในระยะเฉียบพลัน เน้นการอยู่ในโรงพยาบาลระยะสั้น สนับสนุนดูแลและแก้ปัญหาให้ผู้ป่วยเมื่อมีอาการวิกฤตทางจิตเวชรวมทั้งการดูแลช่วยเหลือเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านและในชุมชน
การส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพ ในระยะฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยควรได้รับการดูแลต่อเนื่องเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านในชุมชน และควรให้ผู้ป่วยจิตเภทช่วยทุกรายได้รับการบำบัดทางการรู้คิด-ปรับพฤติกรรม ให้การบำช่วยบัดรักษาช่วยเหลือต่างๆ
การพัฒนาระบบคุณภาพการดูแลผู้ป่วยจิตเภททุกระยะ ต้องมั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับการประเมินจากระบบการช่วยเหลือดูแลครอบคลุมผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาวิชาชีพ
สำหรับวิธีการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเภทที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการบำบัดรักษาที่ครอบคลุม
การรักษาทางชีวภาพ (biological treatments)
การรักษาด้วยยา (pharmacological interventions)
การรักษาด้านจิตสังคม (psychosocial treatments)
การจัดการรายกรณี
(case management)
การบำบัดโดยการให้ความรู้ในการจัดการตนเอง
(self-management education)
การบ าบัดโดยใช้ทักษะการแก้ปัญหา
(problem solving therapy)
การบำบัดการรู้คิด-ปรับพฤติกรรม (cognitive behavior therapy)
การให้การบำบัดกับครอบครัว (family interventions)
การฝึกทักษะทางสังคม (Social skills training)
ศิลปะบำบัด (arts therapies)
การบำบัดรูปแบบอื่นๆ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยจิตเภท ได้รับการศึกษาหรือความรู้เพิ่มเติมส่งเสริมความแข็งแรงของสุขภาพร่างกาย เน้นการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกายเคลื่อนไหว
และส่งเสริมการมีงานทำ
การบำบัดทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคจิตเภท
ขั้นตอนที่ 1 การประเมินสภาพปัญหา การค้นหาและประเมินสภาพปัญหาของผู้ป่วยครอบคลุมการซักประวัติผู้ป่วยและผู้ดูแล
1.1 การประเมินสภาพร่างกายโดยทั่วไปของผู้ป่วย
1.2 การประเมินความคิดของผู้ป่วย
1.3 การประเมินการรับรู้ของผู้ป่วย
1.4 การประเมินพฤติกรรมของผู้ป่วย เพื่อดูอาการทางจิตที่สามารถสังเกตได้
1.5 ประเมินด้านสัมพันธภาพ ประเมินผู้ป่วยด้านการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
1.6 ประเมินด้านอื่นๆ เช่น
ปัญหาที่มีความยุ่งยากซับซ้อนของผู้ป่วยและผู้ดูแล
ขั้นตอนที่ 2 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
การวินิจฉัยทางการพยาบาลจะสอดคล้องและสัมพันธ์กับอาการของผู้ป่วยจิตเภท และควรมีข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจน ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลในผู้ป่วยจิตเภท ควรพิจารณาทั้งด้านสภาพ ร่างกาย ความคิด การรับรู้ พฤติกรรมและสัมพันธภาพ
ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนการพยาบาล
3.1 การวางแผนระยะสั้น เน้นการช่วยเหลือในช่วงแรก
3.2 การวางแผนระยะยาว เป็นการกำหนดแผนการพยาบาลที่เน้นการดูแลระยะยาวและต่อเนื่อง
ขั้นตอนที่ 4 การปฏิบัติการพยาบาล
4.1 การบำบัดด้านร่างกาย ประกอบด้วย การรักษาด้วยยา การรักษาด้วยไฟฟ้า และการจำกัดพฤติกรรม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อม
4.2 การบำบัดค้านจิตสังคม เป็นส่วนที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการพัฒนา ส่งเสริมศักยภาพในการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภท เพื่อให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตในชุมชนได้ตามปกติ ลดการกลับเข้า
การดูแลและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยจิตเภทเรื่องการรักษาด้วยยา อาการข้างเคียงจากยา
สร้างสัมพันธภาพเชิงบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยเรียนรู้และฝึกทักษะการสร้างความไว้วางใจ กับผู้อื่นนำไปสู่การยอมรับตนเองและส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น
กลุ่มบำบัด มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ตามศักยภาพการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ทักษะการดำเนินชีวิตในสังคม การสร้างแรงจูงใจและส่งเสริมความมีคุณค่าในตนเอง การจัดการกับความเครียดและทักษะการผ่อนคลาย โดยเน้นให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีทักษะการดำเนินชีวิต ร่วมกัน
4.3 สิ่งแวดล้อมบำบัดมีความสำคัญและจำเป็น มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกไว้วางใจ ปลอดภัย และเชื่อมั่นต่อกระบวนการบ าบัดรักษาพยาบาล
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการพยาบาล
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการพยาบาล มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินว่าการวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อใดหรือปัญหาใดได้รับการแก้ไขแล้ว ผลเป็นอย่างไร ปัญหาใดยังคงมีอยู่ เนื่องจากเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ในการประเมินผลการพยาบาลผู้ป่วยโรคจิตเภท มีการนำข้อมูลของผู้ป่วยที่ประเมินได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนหลังให้การพยาบาลเสร็จสิ้นแล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินผลและมีการประเมินเป็นระยะทุกขั้นตอนของกระบวนการพยาบาล