Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยโรคจิตเภท Schizophrenia and Nursing Care - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยโรคจิตเภท Schizophrenia and Nursing Care
1.กลุ่มโรคจิตเภท (Schizophrenia Spectrum) ซึ่งเป็นกลุ่มของโรคที่มีความเกี่ยวข้อง และใกล้ชิดกับโรคจิตเภทอย่างมาก และ มีโอกาสพัฒนาเป็นโรคจิตเภทได้
กลุ่มโรคจิตชนิดอื่น (Other psychotic disorders) ซึ่งเป็นกลุ่มของ โรคที่มีอาการแสดง เป็นอาการโรคจิต (psychosis) คล้ายในโรคจิตเภท แต่ความเกี่ยวข้องกับโรคจิตเภทนั้นยังไม่ชัดเจน ในทาง จิตเวชศาสตร์แล้ว “อาการโรคจิต” นั้นจะหมายถึงอาการ ด้านใดด้านหนึ่งจาก 5 ด้าน
4.พฤติกรรมการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติหรือยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ (Grossly disorganized or abnormal motor behavior)
3.กระบวนความคิดและภาษาที่ยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ (Disorganized thinking/speech)
อาการประสาทหลอน (Hallucination)
1.อาการหลงผิด (Delusion)
อาการด้านลบ (Negative symptoms)
สาเหตุ
ในปัจจุบันยังไม่ ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของกลุ่มโรคจิตเภท แต่มีหลักฐานจำนวนมากที่พบการเปลี่ยนแปลงของสมองในผู้ป่วยโรค จิตเภทเมื่อเทียบกับประชากรทั่วไปในระดับโครงสร้าง (structural level) ระดับการท างาน (functional level) และระดับจุลภาค (microscopic or histopathologic level)
ความผิดปกติระดับจุลภาคและระดับการทำงาน
ระดับการทำงานของสารสื่อประสาท
ระดับ dopaminergic activity ลดลง
สมองส่วน primary auditory cortex มีการกระตุ้นที่ผิดปกติ
ปริมาณ Synapse ลดลงมาก (synapse pruning) และปริมาณแขนงของ dendrites น้อยลงใน สมองส่วน prefrontal cortex และ hippocampus
ความผิดปกติระดับโครงสร้าง
เนื้อสมองบางส่วนมีขนาดเล็กกว่าประชากรทั่วไป
ปริมาณใยสมองและความสมบูรณ์ของใยสมอง ้นลดลงเมื่อเทียบกับประชากรทั่วไปและผู้ป่วยโรค
ปัจจัยกระตุ้น
ปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะมองว่าความสัมพันธ์ในครอบครัวนั้นน่าจะเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดความเครียดและส่งผล ทำให้อาการโรคจิตเป็นมากขึ้นและส่งผลให้โรคกำเริบ (relapse) บ่อยขึ้น
เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM-5
A. มีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อ อย่างต่อเนื่องพอควรในช่วงระยะเวลา 1 เดือน
A1. อาการหลงผิด
A2. อาการหลอน
A3. กระบวนความคิดและภาษาที่ยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ
A4. พฤติกรรมการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติหรือยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ
A5. อาการด้านลบ
B. หน้าที่การงาน หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือ การดูแลตนเองนั้นลดถอยลงอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับตอนก่อนมีอาการ
C. อาการเป็นต่อเนื่องมากกว่า 6 เดือนโดยมีอย่างน้อย 1 เดือนที่อาการเข้าได้กับเกณฑ์ A โดยที่ ระยะเวลา 6 เดือนนั้นให้นับรวมถึงช่วงที่มีอาการนำ (prodromal symptoms) หรืออาการที่หลงเหลือ (residual symptoms) จากการรักษา ซึ่งอาจจะเป็นเพียงแค่อาการด้านลบ
D. อาการข้างต้นต้องไม่สามารถอธิบายได้ด้วยโรคทางจิตเวชอื่น ๆ เช่น ต้องแยกวินิจฉัยจากโรค schizoaffective disorder และ major depressive disorder หรือ bipolar disorder ที่มีอาการโรคจิตร่วม ด้วย
E. อาการข้างต้นต้องไม่เกิดขึ้นจากการใช้สารหรือภาวะทางกาย
F. หากเคยมีประวัติของ autism spectrum disorder หรือ communication disorder จะ สามารถวินิจฉัยโรคจิตเภทได้เฉพาะเมื่ออาการหลงผิดหรืออาการหลอนนั้นเกิดขึ้นต่อเนื่องอย่างน้อย 1 เดือน
อาการและอาการแสดง
มีอาการโรคจิตที่รุนแรง เป็นอยู่เพียงช่วงระยะเวลา หนึ่ง จากนั้นอาการอาจอยู่ในระยะสงบได้เป็นเวลานาน โดยไม่มีความบกพร่องของความสามารถในการทำงาน และหน้าที่ด้านต่าง ๆ ผู้ป่วยโรคจิตเภทนั้นอาจแสดงพฤติกรรมที่ผิดแปลกและไม่สมเหตุสมผล เช่น
หัวเราะทั้งที่ไม่มีสิ่ง กระตุ้น
ผู้ป่วยอาจมีอาการวิตกกังวล phobia หรือมีอารมณ์ซึมเศร้าได้บ่อย
มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็ว
การแยกตัว
ไม่นอนช่วงกลางคืน
มีอาการหลอน หรือ หลงผิดได้บ่อย
การรักษา
รักษาด้วยยา
รักษาด้วยยาต้านโรคจิต (antipsychotics) เป็นหลัก ขนาดยาที่ใช้รักษาในผู้ป่วย brief psychotic disorder มักจะใช้ขนาดยาที่ไม่สูงมากและให้ในระยะเวลาที่ไม่ นานเกิน 1-3 เดือน เช่น haloperidol 5-10 มิลลิกรัมต่อ วันหรือ risperidone 2-4 มิลลิกรัมต่อวัน ในขณะที่ขนาดของยาที่ใช้ในการรักษาโรคจิตเภทนั้นอาจต้องสูงถึง haloperidol 10-20 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ risperidone 4-8 มิลลิกรัมต่อวัน และต้องให้ในระยะเวลาที่นาน ต่อเนื่องมากกว่า 1 ปีขึ้นไป
การบำบัด
การทำจิตบำบัดด้วยวิธี cognitive behavior therapy ใน schizophreniform disorder, schizoaffective disorder และโรคจิตเภท ร่วมกับการรักษาด้วยยาจะช่วยปรับความคิดของผู้ป่วยต่ออาการ หลอนหรืออาการหลงผิดได้
การทำจิตบำบัดแบบประคับประคอง (supportive psychotherapy) สามารถช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมความเครียดและอาจช่วยลดการกลับเป็นซ้ำได้ และเนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้มักมีอาการด้านลบ
การรักษาทางจิตสังคม
อาชีวบำบัด (occupational therapy) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยได้ฝึกฝนทักษะการทำงานเพื่อจะได้สามารถ กลับไปทำงานและประกอบอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง และการสอนทักษะทางสังคม (social skill training) ก็จะ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ดีขึ้น และสามารถเข้าสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การบำบัดทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคจิตเภท
พยาบาลใช้กระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอนในการบ าบัดทางการพยาบาลแก่ผู้ป่วยโรคจิตเภท
ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนการพยาบาล เป็นการน าข้อมูลที่รวบรวมได้มาวินิจฉัยการพยาบาลและ จัดล าดับความส าคัญของปัญหาเพื่อนำมาวางแผนให้การพยาบาลตามล าดับความเร่งด่วนของการดูแล ช่วยเหลือ แผนการพยาบาล ประกอบด้วย แผนการพยาบาลระยะสั้น แผนการพยาบาลระยะยาว การวางแผน การพยาบาลควรก าหนดวัตถุประสงค์ของการพยาบาล
ขั้นตอนที่ 4 การปฏิบัติการพยาบาล เป็นการใช้เครื่องมือของพยาบาลจิตเวชในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท โดยเฉพาะการใช้ตนเองเพื่อการบำบัดและสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด โดยบำบัดดูแลทั้งด้านร่างกาย จิตสังคม และสิ่งแวดล้อมบำบัด
ขั้นตอนที่ 2 การวินิจฉัยทางการพยาบาล โดยทั่วไปการวินิจฉัยทางการพยาบาลจะสอดคล้องและสัมพันธ์กับอาการของผู้ป่วย จิตเภท และควรมีข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจน ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลในผู้ป่วยจิตเภท ควรพิจารณาทั้งด้าน สภาพ ร่างกาย ความคิด การรับรู้ พฤติกรรมและสัมพันธภาพ
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการพยาบาล เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการพยาบาล มี วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินว่าการวินิจฉัยทางการพยาบาลข้อใดหรือปัญหาใดได้รับการแก้ไขแล้ว ผลเป็น อย่างไร ปัญหาใดยังคงมีอยู่
ขั้นตอนที่ 1 การประเมินสภาพปัญหา การค้นหาและประเมินสภาพปัญหาของผู้ป่วยครอบคลุมการ ซักประวัติผู้ป่วยและผู้ดูแล การตรวจสภาพจิต การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการและนำข้อมูล ดังกล่าวมาวิเคราะห์ระดับและสาเหตุของพฤติกรรม