Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 อุบัติเหตุที่เกิดในเด็ก, นางสาวณัฐพร พวงอ่อน รุ่น 36/1 เลขที่…
บทที่ 4
อุบัติเหตุที่เกิดในเด็ก
:green_cross:
การจมน้ำ
Drowning
ลักษณะ
Drowning เสียชีวิตจากการจมน้ำ
Near-Drowning ผู้ที่จมน้ำแต่ไม่เสียชีวิตทันทีบางรายอาจเสียชีวิตต่อมาในช่วงเวลาสั้นๆได้
การจมน้ำ
1.การจมน้ำเค็ม
( Salt-water Drowning)
ทำให้เกิดภาวะ pulmonary edema ปริมาตรน้ำที่ไหลเวียนในร่างกายลดลงเกิดภาวะ hypoglycemia ระดับเกลือแร่ในร่างกายสูงขึ้นหัวใจเต้นผิดปกติหัวใจวายช็อกได้
การจมน้ำจืด
(Freshwater-Drowning)
น้ำจืด (Hypotonic Solution) จะซึมผ่านเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้ระดับเกลือแร่ในเลือดลดลงหัวใจเต้นผิดจังหวะหัวใจวาย
การพยาบาล
กรณีที่เด็กรู้สึกตัว
ให้รีบเช็ดตัวเปลี่ยนเสื้อผ้าใช้ผ้าคลุมตัวเพื่อทำให้เกิดความอบอุ่นจัดให้นอนในท่าตะแคงถึงคว่ำแล้วนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
กรณีที่เด็กหมดสติ
เช็คว่ายังมีลมหายใจอยู่ไหมหัวใจเต้นหรือเปล่าถ้าไม่ ให้โทรเรียกหน่วยรถพยาบาลหรือหน่วยกู้ภัยโดยด่วนจากนั้นให้ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานโดยนวดหัวใจสลับกับการช่วยหายใจ
:green_cross:
ภาวะสำลักสิ่งแปลกปลอม
ปัญหาที่เกิดตาม
หลังการสำลัก
ทำให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนต้น
เกิดการอุดกั้นของหลอดลมส่วนปลายทำให้เกิดภาวะปอดแฟบปอดพองหรือหอบหืดได้
เกิดการอุดกั้นการระบายของเสมหะในทางเดินหายใจทำให้เกิดปัญหาการอักเสบติดเชื่อ
การพยาบาล
กรณีเด็กที่อายุน้อยกว่า1ขวบ
วางเด็กคว่ำลงบนแขนและวางแขนนั้นลงบนหน้าตักโดยให้ศีรษะของเด็กอยู่ต่ำ
เคาะหลัง5ครั้งติดต่อกันโดยเคาะแถวๆกึ่งกลางระหว่างกระดูกสะบักทั้งสองข้าง
จากนั้นพลิกเด็กให้หงายบนแขนอีกข้างวิ่งวางบนหน้าตักโดยให้ศรีษะอยู่ต่ำเช่นกัน
ทำซ้ำจนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมาหากเด็กหมดสติให้ทำการประเมินการหายใจการเต้นชีพจรและให้การช่วยเหลือการหายใจสลับกับการเคาะหลังและกดหน้าอก
กรณีเด็กที่อายุมากกว่า1ปี
กระตุ้นให้เด็กไอเอง
ถ้าเด็กไม่สามารถพูดหรือมีอาการหนักให้ทำการกดท้อง
กดซ้ำจนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา
หากเด็กหมดสติให้ประเมินการหายใจการเต้นของชีพจรและให้การช่วยเหลือการหายใจสลับกับการกดท้อง
คำแนะนำเพื่อป้องกัน
1.เลือกชนิดและขนาดของอาหารที่เหมาะสมให้แก่เด็กในวัยต่างๆ
2.เลือกชนิดรูปร่างและขนาดของของเล่นให้เหมาะสมกับวัยของเด็กรวมทั้งจัดเก็บสิ่งของที่อาจเป็นอันตราย
:green_cross:
ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก Burns
สาเหตุ
ความร้อนเช่นไฟ (เตาไฟตะเกียงพลุประทัดบุหรี่)
วัตถุที่ร้อน (เตารีดจานชามที่ใส่ของร้อน)
น้ำร้อน (กระติกน้ำกาน้ำไอน้ำหม้อน้ำ)
น้ำมันร้อน ๆ (ในกระทะ)
กระแสไฟฟ้า (ไฟฟ้าช็อต)
สารเคมีเช่นกรดด่างรังสีเช่นแสงแดด (แสงอัลตราไวโอเลต), รังสีโคบอลต์, รังสีเรเดียม, รังสีนิวเคลียร์, ระเบิดปรมาณูเป็นต้นการเสียดสีอย่างรุนแรง
อาการ
ขนาดความกว้างของบาดแผล
ตำแหน่งของบาดแผล
ความลึกของบาดแผล
แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ
ระดับที่ 1 (First degree burn)
บาดแผลที่มีการทำลายของเซลล์หนังกำพร้าชั้นผิวนอกเท่านั้น
ระดับที่ 2
(Second degree burn)
ชนิดตื้น (Superficial partial thickness burns) คือบาดแผลที่มีการทำลายของหนังกำพร้าทั้งชั้นผิวนอกและชั้นในสุดและหนังแท้ส่วนที่อยู่ตื้น ๆ
ชนิดลึก (Deep partial thickness burns) คือบาดแผลที่มีการทำลายของหนังแท้ส่วนลึกลักษณะบาดแผลจะตรงกันข้ามกับบาดแผลระดับที่ 2
ระดับที่ 3 (Third degree burn) บาดแผลที่มีการทำลายของหนังกำพร้าและหนังแท้ทั้งหมดรวมทั้งต่อมเหงื่อขุมขนและเซลล์ประสาทและอาจกินลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อหรือกระดูก
การพยาบาล
ให้ล้างแผลหรือแช่แผลด้วยน้ำสะอาดแล้วใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าแห้งสะอาดปิดแผลไว้
แผลที่เป็นตุ่มน้ำใสไม่ควรเอาเข็มไปเจาะเพื่อระบายเอาน้ำออก
ถ้าบาดแผลเกิดมีขนาดกว้างเช่นประมาณ 10-15%ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะช็อกได้อย่างรวดเร็วควรรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที
การรักษา
ยาปฏิชีวนะทาเฉพาะที่
การติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นหลังจากมีบาดแผล 2-3 วันไปแล้ว ถ้าบาดแผลมีขนาดกว้างก็จะมีโอกาสติดเชื้อรุนแรง
:green_cross:
กระดูกหัก
Bone fracture
แบ่งตามบาดแผล
กระดูกหักชนิดไม่มีแผล
ไม่มีบาดแผลที่ผิวหนัง
กระดูกไม่โพล่ออกมานอกผิวหนัง
กระดูกหักเพียงอย่างเดียว
กระดูกหักแบบแผลเปิด
บาดแผลลึกถึงกระดูก
กระดูกที่หักอาจทิ่มทะลุออกมานอกเนื้อ
แบ่งตามรอยหักของกระดูก
กระดูกหักทั่วไป
กระดูกหักยุบเข้าหากัน
กระดูกเดาะ
การพยาบาล
1.ประเมินบริเวณที่บาดเจ็บ
2.ทำการปฐมพยาบาลด้วยวิธี CPR
3.ถ้ามีเลือดออกให้ทำการห้ามเลือดก่อนเสมอไม่ว่ากระดูกจะหักหรือไม่
ประคบน้ำแข็งตรงบาดแผล
ดามกระดูกที่หัก
คำแนะนำ
มีเลือดออกให้ห้ามเลือดก่อนเสมอ
เลือดไหลรุนแรงหาสายรัด
ประคบน้ำแข็งเพื่อห้ามเลือดและลดบวม
อย่าดึงข้อหรือจับกระดูกด้วยตนเอง
หากส่วนที่หักเป็นปลายแขนหรือมือให้หาผ้าคล้องคอ
หากส่วนที่หักเป็นนิ้วให้ดามด้วยไม้ไอศกรีม
หากระดูกแทงนอกเนื้อ ห้ามดันเข้าจะทำให้ติดเชื้อ
หากหักที่คอ กระดูกสันหลัง เชิงกรานสะโพก ไม่ควรเคลื่อนไหวร่างกาย
งดให้น้ำหรืออาหารจนกว่าผู้ป่วยจะพบแพทย์
หากหลังใส่เฝือกมีอาการบวม คับ ชา ขาซีด ให้พบแพทย์ทันที
ห้ามโดนน้ำและเกา
:green_cross:
ได้รับสารพิษ
Poisons
ลักษณะการออกฤทธิ์
ชนิดกัดเนื้อ
สารละลายพวก กรดและด่างเข้มข้น น้ำยาฟอกขาว
ชนิดทำให้ระคายเคือง
ฟอสฟอรัส สารหนู อาหารเป็นพิษ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ชนิดที่กดระบบประสาท
ฝิ่น มอร์ฟิน พิษจากงูบางชนิด
ชนิดที่กระตุ้นระบบประสาท
ยาอะโทรปีน ลำโพง
ประเมินภาวะการได้รับสารพิษ
การคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง น้ำลายฟูมปาก หรืออาจมีรอยไหม่บริเวณริมฝีปาก
เพ้อ ชัก หมดสติ มีอาการอัมพาตบางส่วน
หายใจขัด หายใจลำบาก มีเสมหะมาก มีอาการเขียวปลายมือปลายเท้า
ตัวเย็น เหงื่อออก มีผื่น หรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง
การพยาบาล
สารพิษทางปาก
ทำให้สารพิษเจอจาง ทำให้ผู้ป่วยอาเจีย และนำส่งโรงพยาบาล
สารกัดเนื้อ
ถ้ารู้สึกตัวดีให้ดื่มนม อย่าทำให้อาเจียน รีบนำส่งโรงพยาบาล
สารพวกน้ำมันปิโตเลียม
รีบนำส่งโรงพยาบาล ห้ามทำให้อาเจียน ถ้าอาเจียนให้จัดศรีษะต่ำเพื่อป้องกันการสำลักน้ำมันเข้าปอด
ยาแก้ปวด ลดไข้
ทำให้สารพิษเจือจาง ทำให้อาเจียน ให้สารดูดซับพิษ ที่อาจหลงเหลือในระบบทางเดินอาหาร
สารเคมีถูกผิวหนัง
ล้างน้ำสะอาดนานๆ อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี บรรเทาอาการปวด ปิดแผลและนำส่งโรงพยาบาล
สารเคมีเข้าตา
ล้างตาด้วยน้ำนานๆ อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี บรรเทาอาการปวด ปิดตา และนำส่งโรงพยาบาล
นางสาวณัฐพร พวงอ่อน รุ่น 36/1
เลขที่ 39 รหัสนักศึกษา 612001040
อ้างอิง : เอกสารประกอบการสอนบทที่ 4 วิชาการพยาบาลเด็ก.
อาจารย์วิริยาภรณ์ แสนสมรส