Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis), นางสาวจิราภรณ์ โกสายา เลขที่ 17 ห้อง A …
โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis)
กิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
ประยุกต์จากรูปแบบในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง (Continuum of care strategic plan model)
pre-entry phase ผู้ป่วยควรได้รับการประเมินปัญหาในระยะแรก และสนับสนุนให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม ทั้งการบริการและแหล่งประโยชน์
ผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาในระยะแรก
ควรเน้นคำแนะนำในการดูแลตนเองเกี่ยวกับการลด
หรือหลีกเลี่ยงปัจจัยส่งเสริมให้อาการของโรครุนแรงขึ้น
ออกกำลังกายให้เหมาะสม เช่น การเดิน การว่ายน้ำ ซึ่งการว่ายน้ำถือว่าเป็นกีฬาที่เหมาะสมในการบริหารข้อของผู้ป่วยโรคข้อเข่าและข้อสะโพกเสื่อม
การสวมใส่รองเท้าที่สบายและใช้ไม้เท้า (canes) จะช่วยให้ข้อเข่ารับน้ำหนักได้น้อยลง
ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน โดยการรับประทานอาหารให้ถูกหลัก เน้นอาหารที่มีกากใย รับประทานอาหารประเภทโปรตีน
ผักและผลไม้ มากกว่าอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและไขมัน
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
โดยเฉพาะในขณะที่รักษาด้วยยาลด
การอักเสบที่อยู่ในกลุ่ม NSAID
exit phase ส่งต่อการดูแลรักษาตามปัญหาของผู้ป่วย
ยังสถานบริการพยาบาล หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือญาติ
การจำหน่ายผู้ป่วย ประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย
ปัญหาที่จำเป็นต้องได้รับการส่งต่อในการรักษา/ดูแล
ควรได้รับการประสานอย่างต่อเนื่อง
ให้ญาติมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันในระยะแรก
(1-2 สัปดาห์ หรืออาจจะถึง 1 เดือน ขึ้นอยู่กับชนิดของข้อเทียมที่ใช้) ได้อย่างเต็มที่
สนับสนุนและกระตุ้นการฟื้นฟูสภาพข้อตามโปรแกรมการรักษา เพื่อให้ข้อเข่ากลับมาใช้งานได้ตามปกติ
entry phase เป็นระยะที่จะต้องจัดการ
ให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาตรงปัญหา
และสนองความต้องการของผู้ป่วย
เมื่อผู้ป่วยกลับมาตรวจตามนัด
ควรประเมินติดตามอาการเฉพาะเจาะจง
ของผู้ป่วยแต่ละราย จัดการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยได้รับ
การดูแลอย่างเหมาะสมกับอาการแสดงของโรคในระยะนั้นๆ
เมื่อผู้ป่วยมีอาการปวด แนะนำการใช้ยา NSAID ตามแผนการรักษาของแพทย์
การบริหารกล้ามเนื้อควอทไดรเซป
(quadriceps setting exercises)
เป็นการบริหารที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของข้อเข่า
ท่านี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดเข่า
นอนหงายบนเตียง เหยียดขาตรง เข่าตรง กดเข่าให้ชิดกับเตียง
เกร็งกล้ามเนื้อต้นขาหรือข้อเข่า 3-10 วินาที หรือนับ 1-10
หยุดเกร็งกล้ามเนื้อหรือพักอย่างน้อย 10 วินาที หรือนับ 1-20
เกร็งกล้ามเนื้อซ้ำอีก 10 ครั้ง (แต่ละครั้งปฏิบัติเหมือนข้อ 2-3)
ทำวันละ 3 ครั้ง (แต่ละครั้งปฏิบัติเหมือนข้อ 2-4)
ท่าบริหารนี้ทำในขณะนั่งบนเก้าอี้ได้ โดยขาเหยียดตรง กดส้นเท้าลงที่พื้น แล้วบริหารเหมือนข้อ 2-5
straight leg raise เป็นท่าบริหาร
ที่มีการเคลื่อนไหวของข้อเข่า
นอนหงายบนเตียง
ออกกำลังขาขวา ให้งอเข่าซ้าย โดยให้ฝ่าเท้าซ้ายแบนราบกับพื้น เพื่อป้องกันการบาดเจ็บต่อหลัง
เกร็งกล้ามเนื้อต้นขาขวา ยกขาขวาขึ้นช้าๆ โดยให้ขาเหยียดตรง ยกให้สูงที่สุด
ลดขาขวาลงช้าๆ จนถึงระยะสูงจากเตียงประมาณ 1/2 ฟุต ยกค้างไว้ที่ระดับนั้น 5 นาที
ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง ทำวันละ 2-3 เวลา
ท่าบริหารนี้สามารถทำขณะนั่งบนเก้าอี้ได้ โดยวางเท้าบนพื้นหรือบนที่รองรับ เพื่อไม่ให้ข้อเท้าพับมากหรือเป็นมุมฉาก ขณะเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาค่อยๆ ยกปลายขาขึ้นมาขนานกับพื้น ปลายขาอยู่ในแนวระดับเดียวกับต้นขา เกร็งกล้ามเนื้อต้นขา 5 วินาที แล้วปฏิบัติเช่นเดียวกับการบริหารข้อ 5-6
วางขาลง
หากผู้ป่วยมีอาการข้อติดแข็ง ช่วยประสานให้
ผู้ป่วยได้รับการบำบัดรักษาตามแผนการรักษา การทำกายภาพบำบัด และเวชศาสตร์ฟื้นฟู เช่น การประคบด้วยความร้อน-เย็น ความชื้น
การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า เป็นต้น
inpatient phase ประเมินการดูแลรักษาปัญหาเฉพาะ
ที่ให้บริการไปแล้ว ติดตามปัญหา อุปสรรค
และหากไม่ได้รับผลดีหาแนวทางอื่นในการแก้ไข
ติดตามประเมินผลการดูแลรักษา ประเมินปัญหาอุปสรรค
ที่ขัดขวางความสามารถในการดูแลตนเองหรือญาติเป็นระยะๆ หลังให้คำแนะนำ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น
รวมทั้งหาหนทางอื่นๆ
กระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้ป่วยหรือญาติมีพฤติกรรม
ในการแสวงหาความรู้ในการดูแลตนเอง
การเผชิญหน้ากับอาการของโรค มีความเข้าใจ
และเรียนรู้ในการที่จะอยู่กับอาการเรื้อรังของโรค
หากความรุนแรงของโรคไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้ผล
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเป็นวิธีสุดท้ายในการรักษาผู้ป่วย
ดังนั้นต้องประเมินอาการหรือปัญหาของผู้ป่วยที่จะเป็นอุปสรรคต่อการผ่าตัด
และการฟื้นหายของผู้ป่วย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน เป็นต้น
ให้การดูแลช่วยเหลือการทำกิจวัตรประจำวันในส่วนที่ผู้ป่วยทำไม่ได้
เฝ้าระวังและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุกับผู้ป่วย
ประเมินและป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด เช่น ปวดแผล ตกเลือด เกิดภาวะสับสนเฉียบพลัน (acute confusional state)
ซึ่งพบได้ค่อนข้างบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัด
pre-exit phase ประเมินปัญหาและความต้องการ
ของผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
การส่งเสริม early ambulation ในเวลาที่เหมาะสม
ภายหลังการควบคุมอาการปวดแผลผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพ
ประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
ช่วยประสานให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลแก้ไขปัญหาก่อนจำหน่ายผู้ป่วย
เน้นให้ผู้ป่วยได้ปฏิบัติตัวถูกต้องหลังการผ่าตัด เช่น การควบคุมน้ำหนัก เพื่อให้ข้อเข่าเทียมมีอายุการใช้งานนานขึ้น
ติดตามการรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพของข้อเป็นระยะ
การฟื้นฟูสมรรถภาพของข้อหลังการผ่าตัด
กลไกการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
การที่กระดูกอ่อนของข้อมีการเสื่อมสภาพทำให้กระดูกอ่อนไม่สามารถเป็นเบาะรองรับน้ำหนัก
และมีการสูญเสียคุณสมบัติของน้ำหล่อเลี้ยงเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหวของเข่าก็จะเกิดการเสียดสี
และเกิดการสึกหรอของกระดูกอ่อน ผิวของกระดูกอ่อนจะแข็ง ผิวไม่เรียบ เมื่อเคลื่อนไหวข้อเข่าก็จะเกิดเสียงดังในข้อ
เกิดอาการเจ็บปวด หากข้อเข่าที่เสื่อมมีการอักเสบก็จะมีการสร้างน้ำข้อเข่าเพิ่ม ทำให้เกิดอาการบวม ตึง และปวดของข้อเข่า
เมื่อมีการเสื่อมของข้อเข่ามากขึ้นข้อเข่าก็จะมีอาการโก่งงอ ทำให้เกิดอาการปวดเข่าทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว
และขนาดของข้อเข่าก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้น ในที่สุดผู้ป่วยต้องใช้เท้าช่วยเดินหรือบางคนจะเดินน้อยลง
ทำให้กล้ามเนื้อต้นขาลีบลง ข้อจะติดเหมือนมีสนิมเกาะ เหยียดขาได้ไม่สุด
เมื่อเกิดเข่าเสื่อมมากขึ้นกระดูกอ่อน (cartilage) จะมีขนาดบางลง ผิวจะขรุขระ
จะมีการงอกของกระดูกขึ้นมาที่เรียกว่า osteophytes เมื่อมีการอักเสบ
เยื่อหุ้มข้อก็จะสร้างน้ำหล่อเลี้ยงข้อเพิ่มขึ้น ทำให้ข้อเข่ามีขนาดใหญ่ เอ็นรอบข้อ
จะมีขนาดใหญ่ขึ้น กล้ามเนื้อจะลีบลง การเปลี่ยนแปลงของข้อจะเป็นไปอย่างช้าๆ
โดยที่ผู้ป่วยไม่ทราบ ในรายที่เป็นรุนแรงกระดูกอ่อนจะบางมาก
ปลายกระดูกจะมาชนกัน เวลาขยับข้อจะเกิดเสียงเสียดสีในข้อ
นางสาวจิราภรณ์ โกสายา เลขที่ 17 ห้อง A