Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในอุตสาหกรรม - Coggle Diagram
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในอุตสาหกรรม
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การขึ้นทะเบียน การออกใบสําคัญ และการต่ออายุใบสําคัญ การขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ. 2552
ผู้ใดประสงค์จะผลิตหรือนําเข้าซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 และ 3 ให้ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย
ในกรณีที่จําเป็นต้องผลิตหรือนําเขาซึ่งตัวอย่างวัตถุอันตรายต้องยื่นคําขออนุญาตผลิตหรือนําเขาซึ่งตัวอย่างวัตถุอันตรายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาเอกสารและหลักฐานแล้ว (จากการยื่นตามข้อ 1) เห็นควรให้ขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ให้ออกใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย
ใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายให้ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินแห่งปีที่ 6 นับแต่ปีที่ออก
ผู้รับใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ให้ยื่นคําขอต่ออายุใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย
หากผู้รับใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายประสงค์จะขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบสําคัญการขึ้นทะเบียน แต่ไม่ให้ทําการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อวัตถุอันตราย สูตรเคมี อัตราส่วนและลักษณะของวัตถุอันตราย
การยื่นขออนุญาตตามประกาศกระทรวงนี้ให้ยื่นต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยสามารถยื่นคําขอผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้
การขอต่ออายุใบสําคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ให้ยื่นคําขอภายใน 90 วัน ก่อนวันที่ใบสําคัญการ
ขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายสิ้นอายุ
กฎกระทรวง กําหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ. 2550
ผู้ประกอบกิจการโรงงานจําพวกที่ 2 และ 3 ต้องมีแบบแปลนที่แสดงการติดตั้งระบบไฟฟ้าในโรงงานตามความเป็นจริง (as-built drawing) และรายการประกอบแบบแปลน โดยมีการรับรองจากวิศวกร
ในกรณีที่ระบบไฟฟ้าในโรงงานมีการปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลง ต้องดําเนินการแก้ไขแบบแปลนดังกล่าว ให้ถูกต้องและมีการรับรองจากวิศวกร
วัสดุ อุปกรณ์ และส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบไฟฟ้าในโรงงานต้องมีลักษณะและคุณสมบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตามกฎหมาย
การใช้งานระบบไฟฟ้าในโรงงานต้องดําเนินการให้เป็นไปตามหลักวิชาการหรือมาตรฐานที่ยอมรับกัน หรือ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกําหนด
ต้องมีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงานและรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงานเป็นประจําทุกปีโดยวิศวกรหรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีกําหนด
การตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงานและรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงานที่จัดอยู่ในประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารให้เป็นไป
ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ผู้ประกอบกิจการโรงงานตามประเภทหรือชนิดของโรงงานในบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้ต้องจัดให้มีบุคลากรประจําโรงงาน โดยต้องมีคุณสมบัติ จํานวน และหน้าที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกําหนด
ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดเก็บและรักษาแบบแปลนที่แสดงการติดตั้งระบบไฟฟ้าในโรงงาน เอกสารการตรวจสอบระบบไฟฟ้าและรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงานประจําปีและ
เอกสารอื่นใดตามกฎกระทรวงนี้ไว้ประจําโรงงาน
กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2554
ให้นายจ้างจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานกับไฟฟ้าอย่างปลอดภัยเพื่อเป็นคู่มือสําหรับลูกจ้าง
ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างที่ต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานกับไฟฟ้า
ให้นายจ้างจัดให้มีแผนผังวงจรไฟฟ้าที่ติดตั้งภายในสถานประกอบกิจการโดยต้องได้รับการรับรองจากวิศวกรหรือการไฟฟ้าประจําท้องถิ่น
ให้นายจ้างจัดให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอในบริเวณที่ต้องทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า
ให้นายจ้างจัดให้มีป้ายเตือนอันตรายจากกระแสไฟฟ้าที่มองเห็นได้ชัดเจนในบริเวณที่มีการทํางานกับไฟฟ้า
ห้ามให้ลูกจ้างที่ทํางานกับไฟฟ้าเข้าใกล้หรือนําสิ่งที่เป็นตัวนําไฟฟ้าที่ไม่มีการหุ้มฉนวนไฟฟ้าที่เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าเข้าใกล้สิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าน้อยกว่าระยะห่างตามที่กําหนดไว้
ห้ามให้ลูกจ้างที่สวมใส่ชุดที่เปียกหรือเป็นสื่อนําไฟฟ้าทํางานกับสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าเกิน 50โวลต์โดยไม่มีฉนวนไฟฟ้าหุ้ม
ให้นายจ้างจัดให้มีแผ่นภาพแสดงวิธีปฏิบัติเมื่อประสบอันตรายจากไฟฟ้า การปฐมพยาบาล และการช่วยชีวิตโดยการผายปอดและนวดหัวใจจากภายนอก พร้อมคําบรรยายติดไว้ในบริเวณทํางานที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ต้องมีการตรวจสอบและบํารุงรักษาระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งจัดทําบันทึกการตรวจสอบและบํารุงรักษาเก็บไว้ให้สามารถตรวจสอบได้
ในการติดตั้งบริภัณฑ์ไฟฟ้าให้ปฏิบัติตามมาตรฐานของการไฟฟ้าท้องถิ่น หากไม่มีให้ปฏิบัติตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ
ในกรณีที่มีการติดตั้ง ตรวจสอบ ซ้อมแซมบริภัณฑ์ไฟฟ้าให้ทําการปลดสวิตซ์และแขวนป้ายพื้นสีแดงที่มีข้อความ “ห้ามสับสวิตซ์” หรือใส่กุญแจป้องกันการสับสวิตซ์
ในกรณีที่มีการใช้เครื่องเป่าลมทําความสะอาดบริภัณฑ์ไฟฟ้า ต้องใช้ท่อและหัวฉีดที่เป็นฉนวนไฟฟ้า
บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าเกิน 50 โวลต์ ต้องจัดให้มีที่ปิดกั้นอันตรายหรือจัดให้มีแผนฉนวนไฟฟ้าปูไว้ที่พื้นเพื่อป้องกันอันตรายจากการสัมผัส
สถานที่ติดตั้งเครื่องกําเนิดไฟฟ้าต้องมีพื้นที่กว้างพอที่จะปฏิบัติงานได้จัดให้มีระบบระบายอากาศอย่างเพียงพอ จัดให้มีเครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าไหลเกิน และจัดให้มีเครื่องดับเพลิงที่เกิดจากไฟฟ้าและน้้ามันได้อย่างเพียงพอ
ต้องติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าไว้ที่อาคารหรือบริเวณที่เก็บวัตถุไวไฟตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ
ในกรณีที่มีเครื่องกําเนิดไฟฟ้าสํารองต้องมีเครื่องป้องกันการใช้ผิดหรือสวิตซ์สับโยกสองทางหรืออุปกรณ์อื่นเพื่อมิให้มีโอกาสต่อขนานกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าท้องถิ่น เว้นแต่ได้รับอนุญาต
ให้นายจ้างติดตั้งเต้ารับไว้ให้เพียงพอแก่การใช้งานเพื่อไม่ให้มีการต่อไฟโดยวิธีที่ไม่ปลอดภัย
ต้องติดตั้งระบบล่อฟ้าที่ปล่องควันซึ่งไม่อยู่ในรัศมีคุ้มกันของระบบป้องกันฟ้าผ่า โดยให้มีรัศมีที่พื้นดินเท่ากับความสูงของหลักล่อฟ้า
ประกาศกรมสวัสดิการและคุมครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีดําเนินการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการ ระยะเวลา และประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ 2550
นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับระดับความร้อนแสงสว่าง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ในการตรวจวัดระดับความร้อนบริเวณที่มีลูกจ้างปฏิบัติงานต้องตรวจวัดในเดือนที่มีอากาศร้อนที่สุดของปี
กรณีที่มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร กระบวนการผลิต วิธีการทํางาน หรืออื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการให้ทําการตรวจวัดเพิ่มเติมภายใน 90 วัน นับแต่วันที่มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง
วิธีการตรวจวัดระดับความร้อนให้ติ้ดตั้งเครื่องมือที่ระดับหน้าอกของลูกจ้าง ต้องตั้งเครื่องมือทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาทีก่อนเริ่มอ่านค่า
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัดระดับความร้อนต้องทําการปรับเทียบความถูกต้องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ก่อนเริ่มตรวจวัดความเข้มแสงสว่างต้องปรับให้อ่านค่าที่ศูนย์
การตรวจวัดความเข้มแสงสว่างบริเวณที่ลูกจ้างต้องทํางานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุด ให้ตรวจวัดในจุดที่สายตาตกกระทบชิ้นงาน
อุปกรณ์ตรวจวัดระดับเสียงต้องปรับเทียบความถูกต้องด้วยอุปกรณ์ตรวจสอบความถูกต้อง (Noise Calibrator) ก่อนการใช้งานทุกครั้ง
ในการตรวจวัดระดับเสียงให้ตั้งค่าเครื่องวัดเสียงที่สเกลเอ การตอบสนองแบบช้า
(Slow) และติดตั้งที่ระดับหูของลูกจ้างโดยมีรัศมีไม่เกิน 30 เซนติเมตร
หากบริเวณที่ลูกจ้างปฏิบัติงานมีระดับเสียงดังไม่สม่ําเสมอหรือต้องย้ายไปทํางานยังจุดต่าง ๆ ที่มีระดับเสียงแตกต่างกัน
ในการตรวจวิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงที่ลูกจ้างได้รับ ต้องมีการระบุสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจํานวนลูกจ้างที่สัมผัสกับอันตราย ตลอดจนมาตรการในการปรับปรุงแก้ไขและระยะเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จหากผลการตรวจวัดมีค่าเกินกว่ามาตรฐานที่กําหนดไว้