Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปการเรียนรู้, นางสาวลลิตา วงศ์วิโรจน์รักษ์ รหัสนักศึกษา 613101073…
สรุปการเรียนรู้
-
บทที่5 การออกแบบการวิจัย
-
ประเภท/รูปแบบของการวิจัย
- แบ่งตามโครงสร้างของงานวิจัย
-
-
-
- แบ่งตามลักษณะของเก็บรวบรวมข้อมูล
2.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เป็นการศึกษาปรากฎการณ์ และบริบทที่เกี่ยวข้องเพื่ออธิบาย บรรยาย
2.3 การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method research) เป็นการวิจัยที่ผสานวิธีกันระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งจะช่วยให้นักวิจัยได้คำตอบที่ก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ในประเด็นที่ศึกษาอย่างกว้างขวาง
2.1 การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เป็นการวิจัยที่มีกระบวนการในการวิจัยอย่างเป็นระบบ มีวัตถุประสงค์ และรูปแบบอย่างชัดเจน (Burns & Grove, 2009)
3.1 การวิจัยแบบตัดขวาง (Cross-sectional research) เป็นการศึกษาระยะสั้นที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพียงครั้งเดียว หรืออาจเก็บข้อมูลหลายครั้งแต่ห่างกันในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
3.2 การวิจัยแบบระยะยาว (Longitudinal research/ Cohort study) เป็นการศึกษาระยะยาวที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างมากกว่าหนึ่งครั้ง มีการติดตามกลุ่มตัวอย่างเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์เป็นระยะ เช่น 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี
- แบ่งตามประโยชน์ของผลการวิจัยที่นำไปใช้
4.1 การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์ (Basic/pure research) เป็นการวิจัยที่มุ่งเสาะแสวงหาความรู้ใหม่เพื่อสร้างทฤษฎี สร้างสูตร หรือสร้างกฎ เป็นการเพิ่มพูนความรู้ในศาสตร์นั้นๆ ให้กว้างขวางและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
4.2 การวิจัยประยุกต์ (Applied research) การวิจัยเชิงปฏิบัติ (Action research) หรือ การวิจัยเพื่อหาแนวทางปฏิบัติ (Operational research) เป็นการวิจัยที่มุ่งเสาะแสวงหาความรู้ และนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ หรือเป็นการวิจัยเพื่อมุ่งแก้ไชปัญหาโดยตรง
4.3 การวิจัยและพัฒนา (Research & development: R & D) เป็นงานวิจัยที่มุ่งเน้นนำเอาผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์โดยตรงอย่างเป็นรูปธรรม เห็นผลชัดเจนในการพัฒนาตามเป้าหมายที่กำหนด
- แบ่งตามช่วงเวลาที่ศึกษาวิจัย
5.1 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical research) เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆ รวมทั้งเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต โดยใช้กระบวนการวิจัยที่มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ
5.2 การวิจัยร่วมสมัย (Contemporaneous research) เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาคันคว้าหาข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆรวมทั้งเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในสภาพปัจจุบัน โดยใช้กระบวนการวิจัยที่มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบตามขั้นตอนของกระบวนการวิจัย
5.3 การวิจัยเชิงอนาคต (Futuristic research) เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาถึงความต้องการ สภาพการณ์ในอนาคต หรือเพื่อทำนายอนาคตข้างหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้นเช่น การวิจัยเกี่ยวกับคุณลักษณะของพยาบาลในไทยอีก ๑๐ ปีข้างหน้า
การออกแบบการวิจัย
- การออกแบบการวัดค่าตัวแปร (Measurement Design) เป็นการกำหนดวิธีการวัดค่า หรือการสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้วัดค่าตัวแปร โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้
-
-
-
1.4 ตรวจสอบคุณภาพที่จำเป็นต้องมีของเครื่องมือที่ใช้วัดค่าตัวแปร ได้แก่ ความเที่ยงตรง (Validity)และความเชื่อมัน(Reliability)
-
1.6 กำหนดรูปแบบ วิธีวัดค่าตัวแปร หรือการควบคุมตัวแปรเกิน โดยวิธีการสุ่ม,
- การออกแบบการสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling Assignment) เป็นการดำเนินการเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีของประชากรในการนำมาศึกษา มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
2.1 กำหนดวิธีการสุ่มตัวอย่าง เป็นการกำหนดขอบเขต และเลือกวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่จะทำให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีของประชากรที่ศึกษา
2.2 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม เป็นการกำหนดขนาด/ จำนวนของกลุ่มตัวอย่างจากประชากรอย่างเหมาะสม และมีความเป็นไปได้โดยการใช้สูตรการคำนวณ หรือตารางเลขสุ่ม
- การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวางแผนในการดาเนินการกับข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะได้ใช้ในการตอบปัญหาการวิจัยตามจุดมุ่งหมายของการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมีดังนี้
3.1 การเลือกใช้สถิติเชิงบรรยาย (Descriptive Statistics) เป็นการเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมกับระดับของข้อมูล และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย เพื่อให้ได้ผลการวิจัยในการบรรยายลักษณะต่างๆ ที่ศึกษาได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน และนำเชื่อถือ หรือกล่าวได้ว่าผลการวิจัยมีความเที่ยงตรงภายใน
3.2 การเลือกใช้สถิตเชิงอ้างอิง (Inferential Statistics) เป็นการเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ที่เหมาะสมกับข้อตกลงเบื้องตัน (Basic Assumption) และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่ถูกต้อง ซัดเจน น่เชื่อถือ และสามารถใช้ผลการวิจัยในการสรุป อังอิงผลการวิจัย(Generalization)จากกลุ่มตัวอย่างไปยังประชากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ กล่าวได้ว่าผลการวิจัยมีความเที่ยงตรงภายนอก
การวางแผนแบบการวิจัย
- การกำหนดปัญหาการวิจัย คำถามการวิจัย และวัตถุประสงค์ของการวิจัย เป็นขั้นตอนของการพิจารณาปัญหาการวิจัยที่จะต้องมีความชัดเจนที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ใช้ภาษาง่ายๆ และสามารถหาคำตอบได้
- การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นขั้นตอนของการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนากรอบความคิดทฤษฎี (Theoretical Framework)
- การกำหนดข้อมูล และแหล่งข้อมูล เป็นขั้นตอนในการกำหนดตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้าง จัดประเภทของตัวแปรว่าเป็นตัวแปรต้น (สาเหตุ) ตัวแปรตาม (ผล) ตัวแปรแทรกซ้อนหรือตัวแปรสอดแทรกตามกรอบแนวคิดความคิดรวบยอดที่ต้องนำมากำหนดเป็นคำนิยามเชิงปฏิบัติการที่สามารถวัดและสังเกตได้
- การกำหนดเครื่องมือและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนในการกำหนดรายละเอียดเนื้อหาสาระวิธีการสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือ และกำหนดรายละเอียดขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูลตามประเภทของการวิจัย
- การกำหนดวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการวิจัย เป็นขั้นตอนการวางแผนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับว่าจะดำเนินการอย่างไร
-
-