Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงเมตาบอลิซึมในหญิงตั้งครรภ์ปกติ ในระยะตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของการใช้พลังงาน (metabolism) เพื่อให้ร่างกายของหญิงตั้งครรภ์มีกลโคสและสารอาหารต่างๆเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ในขณะที่หญิงตั้งครรภ์รับประทานอาหารหรือไม่ได้รับประทานอาหารการเปลี่ยนแปลงของเมตาบอลิซึมจะมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วง ดังนี้
ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ รกจะมีการสร้างเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้นมีผลกระตุ้นเบต้าเซลล์ของตับอ่อนให้หลั่งอินสุลินเพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลให้เกิดการสะสมกลัยโคเจนในเนื้อเยื่อมากขึ้นเพิ่มการสะสมไขมันในเนื้อเยื่อไขมันและลดการสลายไขมันเพื่อเป็นการเตรียมร่างกายมารดาสำหรับความต้องการกูลโคสและกรดอะมิโนของทารกในครรภ์ที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ครึ่งแรกของการตั้งครรภ์เปรียบเสมือนระยะ anabolism ไขมันระดับ fasting blood glucose ของหญิงตั้งครรภ์จะต่ำกว่าก่อนการตั้งครรภ์ประมาณ 10 – 15 มก. / ดล
ครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ เมื่อทารกในครรภ์มีขนาดใหญ่ทำให้ความต้องการกูลโคสเพิ่มขึ้นตับจะมีการสร้างกลูโคสเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15-30 โดยเพิ่มการสลายกลัยโคเจนของเนื้อเยื่อเพื่อสำรองปริมาณกลูโคสในกระแสเลือดให้เพียงพอในช่วงที่หญิงตั้งครรภ์ไม่ได้รับประทานเช่นขณะนอนหลับหรือภายหลังจากที่อาหารถูกดูดซึมไปแล้วระยะนี้ของการตั้งครรภ์เป็นระยะ diabetogenic state เนื่องจากมีระดับกลูโคสในเลือดสูงขึ้นตลอดในขณะที่ร่างกายมีการหลั่งอินสุลินเพิ่มขึ้น
-
-
-
-
ดูแลรักษา
class A1 (chemical DM) อาศัยการควบคุมอาหารอย่างเดียว การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม กำหนดเวลาคลอดที่เหมาะสมที่สุดคือ 40 สัปดาห์ class A1 ไม่จำเป็นต้องทดสอบสุขภาพทารกในครรภ์เป็นพิเศษแต่ควรเริ่มทดสอบเมื่ออายุครรภ์ 40 สัปดาห์
class A2 (Overt Diabetes) เป็นเบาหวานในระหว่างการตั้งครรภ์ที่ตรวจพบ fasting blood glucose มากกว่า 105 มก. / ดล. อย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป เบาหวานชนิดนี้มีผลแทรกซ้อนต่อมารดาและทารกอย่างชัดเจน
การดูแลรักษา
ในระยะคลอด
ระยะเวลาคลอดที่ดีที่สุดคือครรภ์ใกล้ครบกำหนดในรายที่ควบคุมเบาหวานได้ดีควรคลอดเมื่ออายุครรภ์ครบ 38 สัปดาห์
ในรายที่ผลการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์บ่งบอกว่าทารกอยู่ในภาวะอันตรายควรให้คลอดทันทีและในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนบางอย่างเช่น severe pre-eclampsia ต้องให้คลอดทันที
-
การควบคุมน้ำตาลในระยะคลอด ควรได้รับน้ำและน้ำตาลอย่างเพียงพอโดยให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อให้มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 80-120 มก. / ดล. ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทุก 1-2 ชั่วโมงและให้อินสุลินตามระดับน้ำตาลในเลือดโดยเปลี่ยนเป็น regular insulin หยดเข้าทางหลอดเลือดและหยุดให้อินสุลินเมือรกคลอด
-
ในระยะหลังคลอด
-
การคุมกำเนิด หลีกเลี่ยงยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีเอสโตรเจนสูง ควรใช้ที่มีโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว ยาฉีด ยาฝัง
-
-