Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน - Coggle Diagram
สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน
การออกแบบการวิจัย
ความหมาย
คือการวางรูปแบบการวิจัย กำหนดกิจกรรมและรายละเอียดของแผนวิจัยเพื่อให้มาซึ่งคำตอบของคำถามวิจัย หนือทดสอบสมมติฐานการวจัย
จุดมุ่งหมายของการออกแบบการวิจัย
ได้คำตอบของการวิจัยที่ถูกต้องแนวคิด ทฤษฎี วิทยาศาสตร์มาจาการทบทวนวรรณกรรม การคิดและทบทวนซ้ำ
การควบคุมการแปรปรวนของตัวแปร
การวัดตัวแปรที่ถูกต้อง ตัวแปรคือสิ่งที่เราจะศึกษาให้ได้คำตอบ
การดำเนินการวิจัยเป็นระบบต้องระบุขั้นตอนในการดำเนินการที่ชัดเจน
หลักการออกแบบการวิจัย
ความตรง(Validity) สิ่งที่เราต้องการวัด จะต้องมีความตรงกับสิ่งที่เราต้องการจะศึกษา เช่นเอาแแตงโมไม่ให้ประชากรดู แล้วเขาตอบถูกว่าเป็นแตงโม แสดงว่าตรงกับสิ่งที่เราต้องการวัด
ความตรงจากวิธีการทางสถิติด
ความสัมพันธ์ของตัวแปรต้น ตัวแปรตาม เช่น คนมีความรู้เยอะ ผลสัมฤทธิ์ คือคะแนนสอบจะสูงกว่าคนที่มีความรู้
ความตรงภายใน
ตัวแปรอิระเป็นตัวแทนหรือคำตอบของการที่เราต้องการศึกษา
maturation คนที่มีความพ้องจะดีกว่า
testing การทดสอบ
instrument เครื่องมือมีความเหมาะสมคุณภาพดีจะทำให้ตัวแปรหรือผลมีความตรง
ความตรงภายนอก
กลุ่มตัวอย่าง ประชากร
ความตรงตามโครงสร้าง
กรอบแนวคิดจากการทบทวนวรรณกรรมมีนิยามศัพท์มีเครื่องมือที่เหมาะสมทำให้ตัวแปรที่เราต้องการวัดตรง
การควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน เป็นตัวแปรที่ไม่ต้องการศึกษา ซึ่งเป็นเหตุทำให้มีการคลาดเคลื่อนของข้อมูล ต้องมีการควบคุม
ตัวแปรแทรกซ้อนที่เป็นปัจจัยภายนอก เช่น สิ่งแวดล้อม เวลา ซึ่งมีผลต่อคำตอบ และระยะเวลาในการใช้นาน
ตัวแปรแทรกซ้อนภายในกลุ่มตัวอย่าง เป็นวิจัยกึ่งทดลองและทดลอง จะมีการจัดกระทำต่อกลุ่ม เช่น การสุ่ม การจับคู่
ตัวแปรแทรกซ้อนจากผู้ทดลองและกลุ่มตัวอย่าง เช่นผู้ร่วมวิจัยdouble-blindsingle-blind
จัยที่มีผลต่อการออกแบบการวิจัย
เลือกรูปแบบการวิจัย
ความเป็นไปได้ในการวิจัย
คำนึงถึงหลักการออกแบบการวิจัย
ระดีบของการอธิบายความเป็นเหตุเป็นผล
ไม่ขัดต่อหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
รูปแบบการวิจัย
รูปแบบการวิจัยแบ่งตามโครงสร้าง
การวิจัยแบบไม่ทดลอง
การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) เป็นการวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะหรือ สถานการณ์ หรือสภาพทั่วๆไป ด้วยการใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ใช้เทคนิคในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง
การวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive research) เป็นการวิจัยที่บรรยายเหตุการณ์ที่เกิด ว่าเป็นอย่างไร มีสภาพ คุณลักษณะ คุณสมบัติ ตลอดจนรายละเอียดของเหตุการณ์หรือสภาพการณ์นั้น
การวิจัยเชิงความสัมพันธ์ (Correlational research) เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย ใช้ความสัมพันธ์เหตุผลในการใช้กำหนดตัวแปรประกอบด้วย Correlational research เป็นการศึกษาที่ทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์หรือตัวแปร ๒ ตัว (ตัวแปรอิสระและเป็นตัวแปรตาม) Predictive research เป็นการศึกษาเพื่อมุ่งเน้นการคาดการณ์ หรือ ทำนายเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตPath analytic study (Model testing) เป็นการศึกษาเพื่อมุ่งทดสอบทฤษฏีโดยใช้
เทคนิควิเคราะห์เส้นทาง
การวิจัยแบบทดลอง
การวิจัยแบบก่อนทดลอง
การวิจัยแบบกึ่งทดลอง
การวิจัยที่เปรียบได้กับการวิจัยแบบทดลอง
การวิจัยแบบทดลองที่แท้จริง
รูปแบบการวิจัยแบ่งตามลักษณะของการเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิจัยเชิงปริมาณ
ใช้สถิติวิเคราะห์ด้วยตัวเลข แปรงข้อมูลเป็นตัวเลขแล้วนำมาวิเคราะห์
การวิจัยเชิงคุณภาพ
ศึกษาโดยมุมมองจากสถานการณ์ ผู้วิจัยอยู่ในกลุ่มตัวอย่าง
การวิจัยเชิงผสมผสานวิธี
รูปแบบการวิจัยแบ่งตามระยะเวลา
การวิจัยแบบตัดขวาง
เป็นการศึกษาย้อนหลังในอดีตใช้ศึกษาในเวลาสั้นๆ วัดซ้ำสั้นๆ
การวิจัยแบบระยะยาว
เป็นการศึกษาไปข้างหน้า มีการติดตามในระยะยาว
การออกแบบการวิจัย
การออกแบบการวัดค่าตัวแปร
กำหนดวัตถุประสงค์ของการวัดค่าตัวแปร
กำหนดโครงสร้าง และคานิยามของค่าตัวแปรแต่ละตัวที่ต้องการวัดให้ชัดเจน
กำหนดระดับการวัดของข้อมูล และ สร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้วัดค่าตัวแปร
ตรวจสอบคุณภาพที่จำเป็นต้องมีของเครื่องมือที่ใช้วัดค่าตัวแปร ได้แก่ความเที่ยงตรง (Validity) และความเชื่อมั่น(Reliability)
กำหนดวิธีการและขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ชัดเจน
กำหนดรูปแบบ วิธีวัดค่าตัวแปร หรือการควบคุมตัวแปรเกิน โดยวิธีการสุ่ม
การออกแบบการสุ่มตัวอย่าง
วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล
การเลือกใช้สถิติเชิงบรรยาย >>ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยะ
การใช้สถิเชิงอ้างอิง ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์ เลือกแบบเหมาะสมหรือไม่
ขั้นตอนการออกแบบวิจัย
การกำหนดรูปแบบการวิจัย
การวิจัยเชิงทดลองหรือไม่ทดลอง
การวิจัยแบบอื่นๆ
การกำหนดขอบเขตการวิจัย
กรอบประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ที่ศึกษา
ประเภทและจำนวนตัวแปรที่ศึกษา
เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา
ช่วงระยะเวลาที่ทำการศึกษา
พื้นที่ที่ต้องการศึกษา
การกำหนดแนวทางการวิจัย
การออกแบบตัวแปร
ศึกษาลักษณะตัวแปร
การออกแบบกลุ่มตัวอย่าง
นิยามประชากร วิธีการสุ่มตัวอย่าง กำหนดขนาดตัวอย่าง
การออกแบบวิเคราะห์ข้อมูล
วิธีการกระทำกับข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
การเขียนโครงร่างและรายงานการวิจัย
ความหมายโครงร่างการวิจัย
แบบแปลนหรือแผนงานที่เขียนขึ้นในการแสวงหาความรู้ โดยแสดงให้เห็นความสำคัญ และความเป็นไปได้ในการดำเนินการวิจัยให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายได้
วัตถุประสงค์ของการเขียนโครงร่างการวิจัย
เป็นแนวทางในการปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ในโครงร่างการวิจัยนั้น
นำเสนอต่อหน่วยงาน องค์กร สถาบัน บุคคล เพื่อขอรับทุนสนับสนุน หรือขออนุมัติ หรือขออนุญาตเพื่อทำการวิจัยหรือขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
นำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ (reviewer)หรือเพื่อนนักวิจัย (peer reviewer) เพื่อให้ข้อเสนอแนะช่วยเหลือปรับปรุง หรือแก้ไขข้อเสนอโครงร่างการวิจัยให้มีความชัดเจน เหมาะสมและดียิ่งขึ้น
เพื่อใช้เป็นแนวทางระหว่างผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยให้เข้าใจ และดำเนินการวิจัยไปในทิศทางเดียวกันตามที่ระบุในโครงร่างการวิจัย ได้แก่ วัตถุประสงค์ กิจกรรม ระยะเวลา งบประมาณ และการเขียนรายงาน
หลักการเขียนโครงร่างวิจัย
ชื่อเรื่องวิจัย (Research Topic or The Title)
เป็นส่วนดึงดูดความสนใจจุดแรกของโครงร่างการวิจัยทั้งโครงการ ควรตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ ทันต่อเหตุการณ์หลักในการตั้งชื่อเรื่อง ทำได้โดยใช้คำสำคัญของเรื่องที่จะทำวิจัย
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (Background and Significance of the Problem)
การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ควรเขียนพรรณนาให้ทราบว่าผู้วิจัยมีเหตุผลใดจึงเลือกปัญหาวิจัยนั้นๆ มาศึกษา โดยเขียนให้กระชับ ตรงประเด็น และควรอ้างอิงเอกสารหรือทฤษฏี เนื้อหาในแต่ละย่อหน้ามีความเชื่อมโยงกันซึ่งแต่ละย่อหน้าควรแสดงถึง สิ่งต่างๆ
สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นมีความเป็นมาอย่างไร
ผลกระทบของปัญหาที่เกิดขึ้น ความรุนแรงของผลกระทบต่อสังคม หน่วยงาน และประเทศ
อธิบายแนวคิดหรือทฤษฏีของตัวแปรตามที่นำมาศึกษา ระบุเหตุผลที่ใช้แนวคิดหรือทฤษฏี
ความจำเป็นที่ต้องศึกษาในประชากรกลุ่มที่ผู้วิจัยสนใจ รวมทั้งเหตุผลที่ต้องศึกษาประชากรจากแหล่งนั้นๆ (setting) มีช่องว่างของการศึกษาอย่างไร (Gap of knowledge) และเหตุผลความจำเป็นที่ต้องทำการวิจัยในครั้งนี้
คำถามของการวิจัย (Research Question (s)
คำถามของการวิจัย ควรเขียนในรูปประโยคคำถาม เขียนด้วยสำนวน ถ้อยคำที่กระชับชัดเจน และเหมาะสม
มีคำถามที่สำคัญที่สุด ซึ่งผู้วิจัยต้องการคำตอบมากที่สุดเพียงคำถามเดียว เรียกว่า คำถามหลัก (primary research question)
อาจกำหนดให้มีคำถามรอง (secondary research question(s)
อีกจำนวนหนึ่งก็ได้ ซึ่งคำถามรองนี้เป็นคำถามที่เราต้องการคำตอบเช่นเดียวกัน แต่มีความสำคัญรองลงมา
ผู้วิจัยอาจจำเป็นต้องแสดงเหตุผลเพื่อสนับสนุนการเลือกปัญหาการวิจัยดังกล่าว และเพื่อให้
โครงร่างการวิจัยนี้น่าสนใจมากยิ่งขึ้o
วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research Objectives)
การเขียนวัตถุประสงค์ควรเขียนในรูปประโยคบอกเล่าด้วยถ้อยคำและสำนวนที่กระชับ ชัดเจน ในกรณีที่วัตถุประสงค์มีหลายประเด็นให้เขียนแยกข้อ โดยเรียงตามลำดับของการค้นหาคำตอบ โครงร่างการวิจัยต้องกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการให้ชัดเจน เฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ
วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective)
จะกล่าวถึงสิ่งที่คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการวิจัยนี้เป็นการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด
วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective)
จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริงในงานวิจัยนี้โดยอธิบายรายละเอียดว่าจะทำอะไร โดยใครทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไรและเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญก่อนและหลัง
สมมติฐานของการวิจัย (Hypothesis)
การตั้งสมมติฐานเป็นการคาดคะเน (predict) หรือการทายคำตอบของปัญหาอย่างมีเหตุผล จึงมักเขียนในลักษณะการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ (independent variables) และตัวแปรตาม (dependent variable) สมมติฐานทำหน้าที่เสมือนเป็นทิศทางและแนวทางในการวิจัย
ขอบเขตการวิจัย (Scope of the study)
ขอบเขตการวิจัยควรเขียนระบุให้ครอบคลุมประเด็นที่ศึกษา ได้แก่ ประชากร กลุ่มตัวอย่าง และตัวแปรที่ศึกษา
คำนิยามศัพท์เฉพาะหรือคำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย (Operational Definitions)
การเขียนนิยามตัวแปรจะต้องเขียนในลักษณะนิยามเชิงปฏิบัติการ (Operational Definitions) คือ เป็นพฤติกรรม หรือการแสดง หรือการปฏิบัติที่สามารถสังเกตได้ รับรู้หรือประเมินได้ มีสาระครอบคลุมและสอดคล้องกับแนวคิดหรือทฤษฏีของตัวแปรที่ศึกษา
การให้นิยามตัวแปรที่ถูกต้องตามหลักการจะช่วยให้เครื่องมือที่นำมารวบรวมตัวแปรครอบคลุมแนวคิดทฤษฏีของตัวแปรที่ศึกษา
การให้นิยามตัวแปรจะมีความเฉพาะของงานวิจัยเรื่องนั้นๆ ดังนั้นแม้นว่าชื่อตัวแปรในงานวิจัยที่ศึกษาจะเหมือนกันกับงานวิจัยอื่นๆ แต่หากแนวคิดหรือทฤษฏีของตัวแปรมีความแตกต่างกัน หรือกลุ่มตัวอย่างต่างกัน การเขียนนิยามตัวแปรจะไม่เหมือนกัน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (Expected Benefits)
การเขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับต้องเขียนให้เห็นว่าผลที่ค้นพบนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
กรอบแนวความคิดหรือทฤษฏีในการวิจัย (Conceptual or theoretical Framework)
จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง นักวิจัยอาจจะได้ทฤษฏีที่ใช้อธิบายตัวแปรตัวแปรหรือให้แนวทางการสร้างเครื่องมือและนำไปใช้ในการอภิปรายผล โดยอาจเป็นทฤษฏีเดียวหรือหลายทฤษฏี
วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology)
การออกแบบการวิจัย/ รูปแบบการวิจัย (Research design)การออกแบบการวิจัยต้องมีรายละเอียดว่าเป็นการวิจัยแบบใด มีลักษณะอย่างไร ระบุเหตุผลความจำเป็นที่ต้องใช้แบบการวิจัยดังกล่าว พร้อมทั้งระบุวิธีการป้องกันความผิดพลาดเชิงระบบ
ประชากร (Population) และกลุ่มตัวอย่าง (Sample)ประชากรให้เขียนบรรยายลักษณะประชากรของงานวิจัยเป็นกลุ่มใด
การพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่างวิจัย (Ethical Considerations)การวิจัยในมนุษย์นักวิจัยต้องคำนึงถึงสิทธิของประชากร หรือกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา การปกปิดเป็นความลับ
เครื่องมือวิจัย (Research instrument)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ให้ระบุว่าเครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยอะไรบ้าง
การรวบรวมข้อมูล (Data collection)โดยให้รายละเอียดว่าจะเก็บข้อมูลอะไร จากแหล่งไหน (Source of data) เก็บอย่างไร ใครเป็นผู้เก็บ ใครเป็นผู้บันทึกข้อมูลที่เก็บได้บันทึกลงที่ไหน อย่างไร และกล่าวถึงการควบคุม
การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) งานวิจัยเชิงปริมาณให้ระบุสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ควรเขียนระบุเป็นข้อๆ โดยเรียงให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย ถ้าเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพให้ระบุวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย
รายการอ้างอิง หรือบรรณานุกรม (Reference and Bibliography)
รายการอ้างอิงและบรรณานุกรม หมายถึง รายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร สิ่งพิมพ์ทุกประเภท รวมถึงคำสัมภาษณ์ที่นำมาใช้ประกอบการทำวิจัย ซึ่งมีรูปแบบการเขียนหลายรูปแบบ เช่น ระบบแวนคูเวอร์ และ Formatted References เป็นต้น
งบประมาณ (Budget)
เขียนระบุรายการค่าใช้จ่ายตลอดโครงการ จำแนกตามหมวดหมู่ ได้แก่ หมวดค่าตอบแทน หมวดค่าใช้สอย หมวดค่าวัสดุ และหมวดอื่นๆ
การเขียนรายงานการวิจัย
รายงานการวิจัย หมายถึง เอกสารที่รายงานการดำเนินการวิจัยในแต่ละขั้นตอน และสรุปผลการวิจัยที่ค้นพบซึ่งเรื่องที่นำมาเขียนต้องเป็นข้อเท็จจริง หรือความรู้อันเกิดจากการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็น
วัตถุประสงค์ของรายงานการวิจัย
เพื่อเสนอข้อเท็จจริง หรือความรู้ที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ อันเป็นแนวทางในการเสนอข้อมูลทางวิชาการแนวใหม่ หรือปรับปรุงข้อมูลเดิม
เพื่อพัฒนาความคิด ด้านการคิดริเริ่ม การวิเคราะห์ และการประมวลความคิดอย่างมีระบบ ตลอดจนถ่ายถอดความคิดเป็นภาษาที่ชัดเจนสละสลวย
เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ในการรวบรวมข้อมูลประกอบการอ้างอิงอันเป็นวิธีการหาความรู้ด้วยตนเอง
หลักการเขียนรายงานการวิจัย
ความถูกต้องของรูปแบบ ต้องเขียนให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดของแหล่งทุน หรือสถาบันการศึกษากำหนดไว้
ความเหมาะสมด้านภาษา อาจใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศก็ได้ การเขียนให้ใช้สำนวนการเขียนและถ้อยคำที่สละสลวย กระชับและอ่านเข้าใจง่าย เรียบเรียงประโยคได้ถูกต้องตามหลักภาษา
ความถูกต้องตามคำสะกด การเขียนรายงานการวิจัยต้องเขียนตามคำสะกดให้ถูกต้อง
ความเรียบร้อยของรายงาน รายงานการวิจัยต้องพิมพ์ขนาดตัวอักษรที่ตรงตามข้อกำหนดของแหล่งทุนหรือสถาบันการศึกษากำหนดไว้
ความถูกต้องและความทันสมัยของเนื้อหา เนื้อหาในรายงานการวิจัยต้องมีความทันสมัยถูกต้องตามหลักวิชาการตรงตามข้อเท็จจริง เชื่อถือได้
ความมีจรรยาบรรณของนักวิจัย การเขียนรายงานการวิจัยควรคำนึงถึงจรรยาบรรณของนักวิจัย
รูปแบบของรายงานการวิจัย (Research Report Format)
ส่วนต้น
ส่วนเนื้อเรื่อง หรือเนื้อหารายงาน
ส่วนท้าย หรือส่วนอ้างอิง
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Literature reviews)
เนื้อหาในบทที่ ๒ เกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัย แนวคิดและทฤษฏีทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ศึกษา โดยนำเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้รวบรวมมาวิเคราะห์และสรุปอธิบายให้ผู้อ่านทราบถึงเหตุผลที่ผู้วิจัยเลือกแนวคิด ทฤษฏีของตัวแปรนั้นๆ มาศึกษา
วิธีดำเนินการวิจัย (Research methodology)
การออกแบบการวิจัย (Research design)
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
การพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่างวิจัย
การดำเนินการทดลอง ในกรณีที่การวิจัยเป็นแบบทดลองหรือกึ่งทดลอง การดำเนินการทดลองอย่างไร และในแต่ละขั้นตอนใช้ระยะเวลานานเท่าไร
การรวบรวมข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
เป็นการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยนำเสนอในรูปตาราง หรือแผนภูมิตาราง หรือกราฟ ตามความเหมาะสมของสาระที่นำเสนอ โดยมีคำอธิบายประกอบตารางที่นำเสนอด้วยข้อความที่กระชับและครอบคลุมสาระของข้อมูลที่นำเสนอ
สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
สรุปย่อสาระสำคัญต่างๆ ซึ่งครอบคลุม วัตถุประสงค์การวิจัย
สรุปผลการวิจัย โดยระบุผลการวิจัยที่พบเป็นลำดับขั้นตอน
อภิปรายผลการวิจัย ในอภิปรายผลการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องนำแนวคิดทฤษฏีและผลการวิจัยมาสนับสนุนการอภิปราย
ข้อเสนอแนะ เป็นการเขียนเสนอแนะว่าควรนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์กับกลุ่มใดและใช้ประโยชน์อย่างไร
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป เป็นการเขียนเสนอแนะว่าผลการวิจัยที่พบในงานวิจัยนี้ควรนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาวิจัยประเด็นใดบ้างเพื่อขยายขอบเขตของปัญหาการวิจัย
ส่วนท้าย หรือส่วนอ้างอิง
รายการอ้างอิง หรือบรรณานุกรม
ภาคผนวก ประกอบด้วย รายนามผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เอกสารยินยอมเข้าร่วมการวิจัย ซึ่งอาจแยกย่อยเป็นภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค เป็นต้น
ประวัติผู้วิจัย การเขียนประวัติผู้วิจัย ประกอบด้วย ชื่อ นามสกุล คำนำหน้า กรณีมีตำแหน่งทางวิชาการ ยศฐานันดรศักดิ์ เป็นต้น ให้ใส่คำนำหน้าไว้ด้วย รวมทั้งตำแหน่งงานและสถานที่ทำงานในปัจจุบัน