Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การป้องกันและช่วยเหลือเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุ - Coggle Diagram
การป้องกันและช่วยเหลือเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุ
การพยาบาลเด็กจมน้ำ การจมน้ำ drowning
drowning เสียชีวิตจาการจมน้ำ
near-drowning จมน้ำแต่ยังไม่เสียชีวิต แต่อาจเสียชีวิตในเวลาต่อมา
การจมน้ำเค็ม (sallt-water drowning) ทำให้เกิดภาวะ pulmonary edema น้ำไหลเวียนในร่างกายลดลงเกิดภาวะ hypovolemia เกลือแร่ในร่างกายสูงขึ้น หัวใจเต้นผิดปติ หัวใจวาย ช็อก
การจมน้ำจืด (freshwater-drowning)จะเข้าสู่ปอดอย่างรวดเร็ว เกิด hypervolemia ทำให้เกลือแร่ในร่างกายลดลง หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจวาย อาจเกิดภาวะ hemolysis
การปฐมพยาบาลที่ดีที่สุดคือ
กรณีที่เด็กรู้สึกตัวให้รีบเช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า ใช้ผ้าคลุมตัวเพื่อให้เกิดความอบอุ่น จัดในนอนในท่าตะแคงกึ่งคว้ำ นำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
กรณีเด็กหมดสติ เช็กว่ายังมีลมหายใจไหม หัวใจเต้นหรือป่าว เรียกหน่วยพยาบาล,กู้ภัยโดยด่วน จากนั้นนวดหัวใจสลับกับการช่วยหายใจ
การพยาบาลเด็กสำลักสิ่งแปลกปลอม
ปัญหาที่เกิดหลังการสำลัก
1.เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น อาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต
เกิดการอุดกั้นที่หลอดลมส่วนปลาย ทำให้เกิดภาวะปอดแฟบ ปอดพอง หอบหืด
เกิดการอุดกั้นการระบายเสมหะในทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อตามมา ปอดอักเสบ
กรณีเกิดกับเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี
1.วางเด็กต่ำคว่ำบนแขนวางแขนบยหน้าตัก ให้ศีรษะต่ำ
เคาะหลัง 5 ครั้งติดต่อกันเคาะกึ่งกลางระหว่างกระดูกสะบักทั้ง 2 ข้าง
พลิกให้เด็กหงายบนแขนอีกข้าง วางบนตักให้ศีรษะอยู่ต่ำกดหน้าอกโดยใช้ 2 นิ้วของผู้ช่วยกดบนกระดูกหน้าอกในต่ำแหน่งระหว่างหัวนมทั้ง 2 ข้าง
ทำซ้ำๆจนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา
หากเด็กหมดสติให้ประเมินการหายใจ การหายใจสลับเคาะหลังและกดหน้าอก
กรณีเด็กอายุมากกว่า 1 ปี
1.กระตุ้นให้เด็กไอเอง
2.ถ้าเด็กไม่สามารถพูดได้หรือมีอาการหนัก เช่น หายใจลำบาก ปากซีด เขียว ให้ผู้ช่วยยืนด้านหลังเด็กแล้วอ้อมแขนมาด้านหน้า กำมือเป็นกำปั้นวางกำปั้นด้านข้างบนกึ่งกลางหน้าท้องเหนือสะดือเด็กและเฉียงขึ้นบน
กดซ้ำจนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา
4.หากเด็กหมดสติให้ประเมินการหายใจ ชีพจร ให้การช่วยเหลือหายใจสลับกับกดหน้าท้อง
5.กดท้องในเด็กที่หมดสติ ให้เด็กนอนในท่านอนราบ นั่งคร่อมตัวเด็กวางสันมือบนท้องเด็กสูงกว่าสะดือเด็ก กดในทิศทางเข้าด้านในและเฉียงขึ้น กด 5 ครั้งแล้วเปิดปากสำรวจดูว่ามีส่ิิงแปลกปลอมหลุดออกมาหรือไม่
ความแตกต่างของการกดหน้าอก
ผู้ใหญ่
ลึก 5-6 ซม. กดโดยใช้ 2 มือ
เด็กโต
ลึก 5 ซม. กดโดยใช้มือเดียว อีกข้างเปิดทางเดินหายใจ
ทารก
ลึก 4 ซม. กดโดยใช้นิ้วมือสองนิ้วมืออีกข้างให้เปิดทางเดินหายใจ
การพยาบาลเด็กไฟไหม้
บาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก Burns เป็นบาดแผลที่พบได้บ่อยทั้งเด็กและผู้ใหญ่
สาเหตุ
ไฟ เตาไฟ ตะเกียง พลุ ประทัด บุหรี่
วัตถุที่ร้อน เต่รีด จานชามที่ใส่ของร้อน
น้ำร้อน กระติกน้ำ กาน้ำ ไอน้ำ หม้อน้ำ
น้ำมันร้อนๆ สารเคมี รังสี แสงแดด
อาการขอแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
ขนาดของความกว้างของบาดแผล หมายถึงบาดแผลที่มีขนาดใหญ่อาจสูญเสียน้ำในร่างกายไป แผลขนาด 1 ฝ่ามือเท่ากับ 1% ของผิวหนังทั่วร่างกาย
ความลึกของบาดแผลมี 3 ระดับ
ระดับที่ 1 Fist degree burn หนังกำพร้าชั้นนอกถูกทำลายแต่หนังกำพร้าชั้นในไม่ถูกทำลาย มีโอกาสหายได้สนิทยกเว้นที่มีการติดเชื้ออักเสบ
ระดับที่ 2 Second degree burn แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
ชนิดตื้น เซลล์สามารถเจริญมาทดแทนส่วนที่ตายแล้วได้จะหายได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ ผิวหนังอาจเป็นสีชมพู มีน้ำเหลืองซึม มีตุ่มพอง
ชนิดลึก มีการทำลายในหนังแทส่วนลึก ไม่ค่อยมีตุ่มพอง แผลเป็นสีขาวเหลือง แห้ง ไม่บวม มีโอกาสเกิดแผลเป็นแต่ไม่มากมักหายใน 3-6 สัปดาห์
ระดับที่ 3 (Third deegree burn)มีการทำลายของหนังแท้และหนังกำพร้าทั้งหมด รวามถึงต่อมเหงื่อ รูขุมขน มักไม่รู้สึกเจ็บปวดเพราะเส้นประสาทที่ผิวหนังถูกทำลาย
การปฐมพยาบาล
1.ล้างแผลให้สะอาดแล้วใช้ผ้าก๊อสหรือผ้าแห้งปิดแผลไว้
2.แผลที่เป็นตุ่มน้ำใสไม่ควรเอาเข็มเจาะเพราะอาจทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อหรือเกิดแผลอักเสบได้
3.ถ้าเกิดแผลมีขนาดกว้างอาจทำให้ผู้ป่วยช็อคได้อย่างรวดเร็วหรือเกิดที่ใบหน้าอาจทำให้หายใจลำบากควรนำส่งโรงพยาบาลทันที
การพยาบาลเด็กกระดูกหัก
กระดูกหักมักเกิดจากอุบัติเหตุที่มีแรงมากระทำมากเกินไปจนทำให้กระดูกหัก บวม ปวด เคลื่อนที่ไม่ได้
แบ่งตามบาดแผล
กระดูกหักชนิดไม่มีแผล (closed fracture)แผลไม่ถึงกระดูกที่หัก จะมีอาการกระดูกหักอย่างเดียวไม่มีบาดแผลที่ผิวหนัง
กระดูกหักแบบแผลเปิด(open fracture) แผลลึกถึงกระดูกกระดูกหักทิ่มแทงออกมาทะลุออกมานอกเนื้อถือเป็นชนิดร้ายแรงทำให้ตกเลือดรุนแรง
แบ่งตามรอยที่มีการหักของกระดูก
กระดูกหักทั่วไป (simple fracture) คือกระดูกที่แตกออกกเป็น 2 ชิ้น
กระดูกหักยุบเข้าหากัน (impacted fracture) คือกระดูกได้รับแรงกดทำให้กระดูกแตกทั้ง 2 ด้านเด็กเล็กมักเกิดกระดูกหักฝังมี่แขน
กระดูกเดาะ (greenstick fracture) กระดูกแตกเพียงด้านเดียวกระดูกอีกด้านโก่งไปตามแรงกดที่ประทะเข้ามักเกิดกับเด็กเพราะเด็กมีความยืดหยุ่นมากกว่า
การปฐมพยาบาล
1.ประเมินบริเวณที่บาดเจ็บ
2.ทำการปฐมพยาบาลด้วยวิธี CPR
3.ถ้ามีเลือดออกให้ห้ามเลือดก่อนเสมอไม่ว่ากระดูกจะหักหรือไม่
4.ดามกระดูกที่หัก
5.ประคบน้ำแข็งตรงบาดแผล
ถ้ามีเลือดออกให้ห้ามเลือดก่อนเสมอไม่ว่ากระดูกจะหักหรือไม่
ถ้าแผลใหญ่หรือเลือดไหลไม่หยุดให้หาสายรัด เช่น เชือก สายไฟ ผ้าพันคอ มาผูกรัดเหนือบาดแผลแน่นๆ(ให้คลายสายรัดทุกๆ 15 นาที โดยคลายนานครั้งละ 30-60 วินาที )
การดามกระดูกชั่วคราวแบบง่ายๆ สามารถใช้แผ่นไม้ พลาสติกแข็ง ไม้บรรทัด กิ่งไม้ หนังสือพิมพ์หรือนิตยสารทับๆหลายๆชั้นแล้ววางแนบกับส่วนที่หัก ให้ปลายทั้ง 2 ข้างคลุมถึงข้อที่อยู่เหนือและใต้ส่วนที่หัก และควรมีสิ่งนุ่มๆรองกับผิวหนัง
ถ้าส่วนที่หักเป็นปลายแขนให้ใช้ผ้าคล้อง
ถ้าเป็นนิ้วมือให้ใช้ไม้ไอศกรีมดาม
ถ้ากระดูกโผล่ออกมาห้ามดึงกระดูกให้กลับเข้าที่เพราะจะทำให้เชื้อโรคจากภายนอกเข้าสู่บาดแผล
อย่าพยายามดึงข้อหรือจัดกระดูกด้วยตนเอง ต้องจัดท่าให้อยู่ในท่าที่สุขสบาย ควรดามในท่าที่เป็นอยู่
งดดื่มน้ำหรืออาหารจนกว่าจะพบแพทย์เนื่องจากผู้ป่วยบางรายต้องได้รับการผ่าตัด
การพยาบาลเด็กที่ได้รับสารพิษ
สารพิษจำแนกตามการออกฤทธิ์
1.ชนิดกัดเนื้อ (corrosive) ทำให้เนื้อเยื่อพอง ไหม้ คือ พวกกรดด่าง น้ำยาฟอกขาว
2.ชนิดทำให้ระคายเคือง ( irritants ) ทำให้ปวดแสบปวดร้อน คือ ฟอสฟอรัส สารหนู
3.ชนิดที่กดระบบประสาท ( nacrotics) ทำให้หมดสติ หลับลึก ปลุกไม่ตื่น คือ ฝิน มอร์ฟีน พิษจากงูบางชนิด
4.ชนิดที่กระตุ้นระบบประสาท ( dililants ) เกิดอาการเพ้อคลั่ง ใบหน้าและผิวหนังแดง ชีพจรเต้นเร็ว ช่องม่านตาขยาย คือ ยาอะโทรปืน ลำโพง
การประเมินภาวะการได้รับสารพิษ
การคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง น้ำลายฟูมปาก
เพ้อ ชัก หมดสติ ช่องม่านตาผิดปกติ
หายใจติดขัด หายใจลำบาก มีเสมหะมาก ปลายมือปลายเท้าเขียว หายใจมีกลิ่นสารเคมี
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางช่องปาก
ทำให้สารพิษเจือจาง ให้นมเพื่อล้างท้องเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหาร นำส่งโรงพยาบาล
ข้อห้ามในการทำให้ผู้ป่วยอาเจียน หมดสติ ได้รับสารพิษชนิดกัดเนื้อ เช่น กรด ด่าง รับประทานสารพิษพวกน้ำมันปิโตรเลียม เช่น น้ำมันก๊าด
ให้สารดูดซับสารพิษในทางเดินอาหารเพื่อลดการดูดซึมสารที่ใช้ได้ดีคือ Activated charcoal
การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับสารกัดเนื้อ
อาการและอาการแสดง
ไหม้พอง ร้อนบริเวณริมฝีปาก คลื่นไส้อาเจียน กระหายน้ำ
ถ้ารู้สึกตัวให้ดื่มนม
อย่าทำให้อาเจียน
รีบนำส่งโรงพยาบาล
การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับสารพวกน้ำมันปิโตรเลียม
อาการและอาการแสดง
แสบร้อนบริเวณปาก อาจสำลักเข้าปอดทำให้หายใจมีกลิ่นน้ำมัน อาจเกิด Cyanosis
ห้ามทำให้อาเจียน รีบส่งโรงพยาบาล
ถ้าผู้ป่วยอาเจียนให้จัดศีรษะต่ำเพื่อป้องกันการสำลักเข้าปอด
การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาแก้ปวดลดไข้
อาการและอาการแสดง
ผู้ที่ได้รับยาแอสไพริน หูอื้อ มีเสียงกระดิ่งในหู การได้ยินลดลง ชีพจรเร็ว
ผู้ที่ได้รับยาพาราเซตามอล ดูดซึมเร็วมากโดยเฉพาะในรูปของสารละลายทำให้คลื่นไส้อาเจียน ง่วงซึม เหงื่อออกมาก
ทำให้สารพิษเจือจาง ทำให้อาเจียน
ให้สารดูดซับสารพิษที่อาจหลงเหลือในกระเพาะอาหาร
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางการหายใจ
ร่างกายอาจขาดออกซิเจน วิงเวียน หน้ามืด อาจระคายเคืองต่อระบบหายใจ
กลั้นหายใจแล้วรีบเปิดประตูหน้าต่าง เพื่อให้อากาศถ่ายเท
นำผู้ป่วยออกมาจากบริเวณที่เกิดเหตุ ประเมินการหายใจและการเต้นของหัวใจ
การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีถูกผิวหนัง
ล้างน้ำด้วยน้ำสะอาดนานๆ อย่างน้อย 15 นาที
อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี เพราะความร้อนที่เกิดจากปฎิกิริยาอาจทำให้เกิดอันตรายมาก
บรรเทาอาการปวดและรักษาช็อค ปิดแผล นำส่งโรงพยาบาล
การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าตา
ล้างด้วยน้ำสะอาดนานๆ 15 นาที โดยเปิดน้ำก๊อกไหลรินค่อยๆ
อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี เพราะความร้อนที่เกิดจากปฎิกิริยาอาจทำให้เกิดอันตรายมาก
บรรเทาอาการปวดและรักษาช็อค ปิดแผล นำส่งโรงพยาบาล