Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลในระยะที่ 1 ของการคลอด - Coggle Diagram
การพยาบาลในระยะที่ 1 ของการคลอด
ในระยะแรกรับ
ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น เป็นมิตร สุภาพอ่อนโยน มารยาทเรียบร้อย มีความว่องไว กระฉับกระเฉง มั่นใจในตัวเอง
ซักประวัติด้วยท่าทีและคำพูดที่สุภาพบอกให้มารดา ทราบถึงการตรวจ เพื่อประเมินภาวะด้านร่างกาย และการเตรียมความสะอาดเพื่อรอคลอด
แนะนำสถานที่และเจ้าหน้าที่ที่จะให้การดูแล
ในระยะรอคลอด
พยาบาลต้องอยู่เป็นเพื่อนมารดาอย่างใกล้ชิด
ประเมินภาวะมารดาและทารกในครรภ์ ประเมินความก้าวหน้าของการคลอด ประเมินความวิตกกังวลของมารดาจากพฤติกรรมที่แสดงออก
ประคับประคองคํ้าจุนจิตใจมารดา ให้กำลังใจแก่มารดา เพื่อให้มารดามีความมั่นใจในตนเอง
ช่วยลดความเจ็บปวดโดยให้มารดาใช้เทคนิคการหายใจ ให้ความสุขสบายด้านร่างกาย
ป้องกันการขาดนํ้าและอาหาร ดูแลการขับถ่าย
ประเมินการสิ้นสุดของการคลอดระยะที่หนึ่ง และเตรียมมารดาเพื่อเบ่งคลอดในระยะที่สอง
การประเมินสภาวะผู้คลอด
การซักประวัติ
ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดครั้งก่อน
เคยคลอดปกติหรือผิดปกติ เช่น การตกเลือด
เคยมีประวัติล้วงรกหรือไม่
เคยมีประวัติแท้ง หรือขูดมดลูกหรือไม่ ถ้าเคยควรระวังเรื่องรกแน่นกว่าปกติ (Adherent placenta)
เคยมีประวัติผ่าตัดเอาเด็กออกทางหน้าท้องหรือไม่ถ้าเคย
ควรระวังเกี่ยวกับมดลูกแตก
ประวัติหลังคลอดในอดีต มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ หรือไม่ เช่น มีไข้ ตกเลือดหลังคลอด
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต ได้แก่ โรคปอด โรคไต โรคตับ เบาหวาน กามโรค โรคเลือด และการผ่าตัดต่าง ๆ เกี่ยวกับอวัยวะในอุ้งเชิงกราน
ประวัติการตั้งครรภ์ปัจจุบัน ซึ่งอาจมีผลต่อการคลอด
ตั้งครรภ์ครั้งนี้ครรภ์ที่เท่าไร อายุครรภ์เท่าไรโดยถามประวัติประจำเดือนครั้งสุดท้าย
อายุเท่าไร เกิน 35 ปีหรือไม่ ถ้าเกินอาจมี การคลอดล่าช้าจาก rigid cervix และ rigid perineum
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ เช่น PIH (Pregnancy Induced Hypertention) ภาวะโลหิตจาง (Anemia) เป็นเบาหวาน (Diabetes)
อาการผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ เช่น ประวัติมีเลือดออกทางช่องคลอด
ประวัติการเจ็บครรภ์ หรืออาการนำส่งโรงพยาบาลเพื่อให้ทราบว่าเข้าสู่ระยะคลอดหรือไม่
เริ่มเจ็บครรภ์จริงเมื่อไร เพื่อหาการเข้าสู่ระยะคลอด
มีสิ่งใดออกมาให้เห็นทางช่องคลอด เช่น มูก หรือมูกปนเลือด
ถุงนํ้าทูนหัว (membrane intact) ยังอยู่หรือแตกแล้ว (ruptured) หรือยัง
ประวัติการแพ้ยาและสารอาหารต่างๆ การผ่าตัด
ประวัติการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว
ข้อมูลส่วนบุคคล
การประเมินทางด้านจิตสังคม
อายุ
อาชีพ รายได้ การศึกษา หน้าที่การงาน ตำแหน่งทางสังคม
ศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อ
สถานภาพสมรส และความสัมพันธ์ของครอบครัวและการช่วยเหลือคํ้าจุน
ทัศนคติเกี่ยวกับการคลอด ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวคลอด
ความกลัวและความวิตกกังวล
ความต้องการมีบุตร การเตรียมตัวพร้อมเพื่อการคลอด ความคาดหวังในการตั้งครรภ์
การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายทั่วไป
ลักษณะรูปร่าง : ถ้ามารดามีความสูงน้อยกว่า 145 ซม อาจมีภาวะของ CPD (cephalopelvic disproportion) ดูลักษณะท่าเดินเพื่อค้นหาความพิการอาจมีผลต่อกระดูกเชิงกราน ทำให้เชิงกรานแคบหรือเชิงกรานบิดเบี้ยว ทำให้คลอดทางช่องคลอดไม่ได้
ลักษณะทั่วไป : จากการสังเกตสภาพมารดาจะทราบถึงสุขภาพอนามัยของมารดาได้ เช่น อาการซีด แสดงว่ามารดามีภาวะโลหิตจาง (Anemia) ถ้ามีหอบอาจจะแสดงว่ามารดาอาจมีภาวะโรคทางเดินหายใจหรือโรคหัวใจ
สัญญาณชีพ : ความดันโลหิต อุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ
น้ำหนัก : ถ้าอ้วนมากอาจทำให้คลอดยาก มีผลต่อท่าคลอด
อาการบวม (Edema)
การตรวจร่างกายเฉพาะที่
การตรวจหน้าท้อง หรือ การตรวจครรภ์
การดู (Inspection)
ดูขนาดหน้าท้องว่าใหญ่ผิดปกติหรือไม่ ถ้าใหญ่มากอาจ มีนํ้าครํ่ามาก (Polyhydramnios) เด็กใหญ่หรือครรภ์แฝด (Twin)
ลักษณะทั่วไปของท้อง มีท้องหย่อนหรือไม่ (Pendulus abdomen) หรือมีกล้ามเนื้อหน้าท้องแยกออกจากกัน (Diastasis recti) ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อหย่อนกำลัง ทำให้แรงเบ่งไม่มีในระยะคลอด
สีของผิวหนังหน้าท้อง และดูว่ามีรอยผ่าตัดหรือไม่
ลักษณะของมดลูกโตตามขวางหรือตามยาว เพื่อจะได้ทราบว่าเด็กอยู่ใน lie ใด
การคลำ
อายุครรภ์ หรือระยะเวลาของการตั้งครรภ์ (period of gestation)
แนวลำตัวเด็ก (presentation)
ส่วนนำของเด็ก (presentation)
ท่าของเด็ก (position)
การลงในอุ้งเชิงกรานของศีรษะเด็ก (engagement)
สภาพของเด็กในครรภ์ (condition)
การฟัง
จะฟังเสียงหัวใจเด็กได้เมื่อตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป
ตรวจดูว่าทารกยังมีชีวิตอยู่หรือไม่
วินิจฉัยการตั้งครรภ์แฝด
วินิจฉัยส่วนนำและท่าของเด็กในครรภ์
การตรวจทางช่องคลอด
ตรวจสภาพช่องคลอด
ตรวจสภาพปากมดลูก
ความหนาของปากมดลูก
การถ่างขยายของปากมดลูก
ตรวจสภาพของถุงนํ้าทูนหัว
ตรวจหาส่วนนำ
ดูว่าส่วนไหนของเด็กที่ลงมาในช่องเชิงกราน
คลำหาส่วนสำคัญของเด็กได้แก่ รอยต่อแสกกลาง ขม่อมหลัง ขม่อมหน้า
ตรวจหาระดับของส่วนนำ
ขนาดของ molding
การตรวจสภาพของช่องเชิงกราน
ตรวจหาสิ่งผิดปกติต่าง ๆ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ได้แก่ การตรวจปัสสาวะ โดยหานํ้าตาลและโปรตีนในปัสสาวะ และการตรวจเลือด
การเตรียมผู้คลอด
การเตรียมความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์
เป็นการทำความสะอาดบริเวณอวัยวะพันธุ์ภายนอก ซึ่งประกอบด้วยการชำระฟอกด้วยสบู่และโกนขนบริเวณหัวเหน่า รอบปากช่องคลอด บริเวณฝีเย็บและรอบทวารหนักแล้วล้างด้วยนํ้ายาฆ่าเชื้อโรค
การสวนอุจจาระเพื่อเตรียมคลอด
เพื่อให้มดลูกหดรัดตัวตามปกติ เพื่อความสะอาดระหว่างรอคลอดและขณะคลอด ป้องกันการติดเชื้อจากอุจจาระ เพื่อกระตุ้นความก้าวหน้าของการคลอด
ข้อห้ามในการสวนอุจจาระ
ครรภ์แรกปากมดลูกเปิดมากกว่า 7 เซนติเมตรและครรภ์หลังเปิดมากกว่า 5 เซนติเมตร เพราะอาจทำให้เกิดการคลอดในระหว่างเบ่งถ่ายอุจจาระได้
มีนํ้าเดินหรือถุงนํ้าครํ่าแตก
มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (Preterm labour)
มีเลือดออกทางช่องคลอด
มีโรคแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตสูง
การพยาบาลมารดาในระยะที่ 1 ของการคลอด
ด้านร่างกาย
พยาบาลต้องดูเกี่ยวกับ
สภาวะโดยทั่วไปของมารดา โดยการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด วัด Vital sings ทุก 4 ชั่วโมง หากพบความผิดปกติต้องรายงานแพทย์
เพื่อช่วยเหลือ
ท่านอน เกี่ยวกับท่านอนในระยะต้น ๆ ของการคลอดไม่จำกัดท่าแต่การยืนหรือเดินจะช่วยให้ A-P diameter ของ pelvic outlet ขยายกว้างขึ้นได้เล็กน้อย จากการแยกตัวของ Sacro-coccygeal ทำให้ศีรษะเด็กเคลื่อนตํ่าลงไปที่ส่วนล่างของมดลูกไปกดกลุ่มประสาทที่คอมดลูกกระตุ้นให้มดลูกมีการหดรัดตัว
ในรายที่ปากมดลูกเปิดมาก ให้มารดานอนในท่าตะแคงซ้ายไม่ควรให้นอนหงาย เพราะจะทำให้กดเส้นเลือด Inferior venacava ทำให้เกิด Supine hypotensive syndrome ได้
ในรายที่ได้รับยา Analgesic drug เพื่อลดความเจ็บปวด ให้มารดานอนพักบนเตียง
ดูแลความสุขสบายทั่ว ๆ ไป จัดสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่และสะอาด ในรายที่ถุงนํ้าแตกควรใส่ผ้าอนามัยเพื่อสังเกตลักษณะนํ้าครํ่า
และป้องกันติดเชื้อ
ในระยะ latent phase อาจให้รับประทานอาหารได้ในกรณีที่ไม่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด แต่เมื่อเข้าสู่ระยะ active phase ควรงดนํ้า และอาหารทางปากเพราะหากมารดามีความผิดปกติจะได้ทำการผ่าตัดได้ทันท่วงที (ต้องดมยาสลบ) หากมีภาวะprolong labour ต้องดูแลการได้รับสารนํ้าที่เพียงพอ
การดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่างทุก 2 ชั่วโมง เพื่อไม่ใช้ขัดขวางการเคลื่อนตํ่าของส่วนนำ
กระตุ้นให้ผู้คลอดปฏิบัติวิธีการผ่อนคลายความเจ็บป่วย
ควบคุมให้ผู้คลอดมีการหายใจบรรเทาความเจ็บปวดให้ถูกวิธีทุกครั้งที่ มดลูกมีการหดรัดตัวให้หายใจเข้าลึก ๆ ยาว ๆ ในระยะเจ็บครรภ์เล็กน้อย และหายใจเข้า ออกถี่ ๆ เมื่อเจ็บครรภ์มากขึ้น
สอนวิธีการลูบหน้าท้องตั้งแต่หัวเหน่า วนตามหน้าท้องเพื่อหันเหความเจ็บปวด ช่วยลดอาการปวดหลังโดยให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายงอเข่าเล็กน้อยและช่วยนวดบริเวณต้นขาและบริเวณกระดูกก้นกบให้ผู้คลอด
จัดกิจกรรมเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ
ด้านจิตสังคม
มีความเมตตา เป็นมิตร รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีท่าทางใจดี
ให้ความนับถือในความเป็นบุคคลแก่มารดาและญาติ
เมื่อจะทำการตรวจหรือปฏิบัติการพยาบาลใด ๆ ต้องบอกให้มารดาทราบ และปฏิบัติด้วยความสุภาพนุ่มนวล
อธิบายให้มารดาและญาติได้เข้าใจถึงกระบวนการคลอดโดยสังเขป
จัดบรรยากาศให้สงบเงียบ เป็นสัดส่วนให้มารดาได้ผ่อนคลาย
อยู่เป็นเพื่อนมารดาอย่างใกล้ชิด
ให้คำชมเชย แก่ผู้คลอดเพื่อให้เกิดความมั่นใจ
ประเมินความต้องการของมารดาและตอบสนองโดยเร็ว
เคารพในสิทธิและคำนึงถึงฐานะความเป็นบุคคล
ดูแลผู้คลอดด้วยความเท่าเทียมกัน
ในการปฏิบัติการพยาบาลจำเป็นต้องบอกเหตุผลในการตรวจทุกครั้ง
ไม่เปิดเผยร่างกายผู้คลอดขณะให้การพยาบาล
ใช้สรรพนามเรียกผู้คลอดด้วยวาจาสุภาพ
ช่วยให้ผู้คลอดคลายความวิตกกังวลและความกลัว
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถามและระบายความรู้สึกต่าง ๆ
ปลอบโยนให้กำลังใจ และเป็นที่ปรึกษาของผู้คลอดรับฟังและพร้อมที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ผู้คลอด
ให้โอกาสผู้คลอดพบปะญาติ และสามีในระยะที่ยังเจ็บครรภ์ไม่มากและไม่มีข้อห้ามและในกรณีที่พบปะญาติไม่ได้พยาบาลจะเป็นสื่อกลางในการแจ้งข่าวต่าง ๆ
นางสาวชัชชญา ทับทิมหิน เลขที่ 34 รหัสนักศึกษา 612401035