Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะโลหิตจาง (Anemia) - Coggle Diagram
ภาวะโลหิตจาง (Anemia)
ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์หมายถึงหญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับความเข้มข้นของฮีโมโกลบินน้อยกว่า 10 g / dL
ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
สาเหตุ
เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอหรือธาตุเหล็กที่สะสมไว้ก่อนตั้งครรภ์ไม่มีเพียงพอ
พยาธิสรีรภาพ
ธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างฮีโมโกลบินธาตุเหล็กจะจับตัวอยู่กับ transferin แล้วถูกส่งไปยังตับม้ามและไขกระดูกซึ่งเป็นแหล่งสังเคราะห์ฮีโมโกลบินและสร้างเม็ดเลือดแดงเมื่อราเหล็กที่ร่างกายสะสมไว้ (depletion of iron stores) ลดลง
มักเกิดในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งคะหรือขาดธาตุเหล็กการสร้างเม็ดเลือดแดงในไขกระดูจะลดลงเม็ดเลือดแดงที่ถูกสร้างขึ้นมาจะมีขนาดเล็ก (microcytosis) และติดสีจางลง (hypochromic)
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลียเหนื่อยง่ายใจสั่นมีนงงปวดศีรษะเบื่ออาหารคลื่นไส้และอาเจียนซีดลิ้นเลี่ยน (glossitis)
แสบลิ้นมีแผลเปื่อยที่มุมปาก (cleilitis)
เล็บบางอ่อนคล้ายซ้อน (koilongchias)
ผลของการตั้งครรภ์ต่อภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
มีโอกาสเกิดภาวะโลหิตจางได้ง่าย
ทำให้อาการของโรคที่เป็นอยู่เดิมรุนแรงขึ้นเนื่องจากปริมาณเม็ดเลือดแดงที่ไม่สมดุลกับปริมาณพลาสมาที่เพิ่มขึ้นในระยะตั้งครรภ์
ทำให้เลือดมีความหนืดลดลงร่างกายจึงต้องการธาตุเหล็กเพื่อช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงมากขึ้น
ผลของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กต่อภาวะสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลต่อทารก
คลอดก่อนกำหนดน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าปกติมีภาวะโลหิตจางอาจพิการหรือเสียชีวิตในครรภ์รวมทั้งอัตราการตายของทารกแรกเกิดเพิ่มขึ้น
ผลต่อมารดา
ร่างกายอ่อนแอติดเชื้อได้ง่ายเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ preeclampsia มากกว่าหญิงตั้งครรภ์ปกติถึง 2 เท่าเสี่ยงต่อการแท้งหัวใจเต้นผิดปกติและตกเลือดได้ง่าย
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
เกี่ยวกับการเจ็บป่วยเช่นติดเชื้อหรือมีแผลเรื้อรังประวัติความเจ็บป่วยในครอบครัวและโรคทางกรรมพันธุ์
การตรวจร่างกาย
อาจตรวจพบอาการซีดของเยื่อบุตาเล็บชีพจรเร็วมากกว่า 100 ครั้ง / นาทีอาจพบต้นโตม้ามโต
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
องค์การอนามัยโลกใช้เกณฑ์ระดับฮีโมโกลบินน้อยกว่า 11 g / dL และค่าฮีมาโตคริตต่ำกว่า 33 g%
การตรวจ blood smear จะพบว่าเม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็กลง (microcytosis) และติดสีจางลง (hypochromic)
Serum iron น้อยกว่า 60 g / dL serum ferritin น้อยกว่า 15 g / dL
การป้องกันและการรักษา
การป้องกันการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ควรให้หญิงตั้งครรภ์ปกติได้รับธาตุเหล็กเสริมระหว่างตั้งครรภ์ประมาณ 30 mg / day
ferrus sulfate (30 mg) เพียงวันละ 1 เม็ดก็เพียงพอเนื่องจากธาตุเหล็กระคายเคืองต่อทางเดินอาหารอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
การรักษาภาวะซีดหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดควรได้รับธาตุเหล็กเสริมวันละ 200 mg หรือวันละ 3 เม็ดจะทำให้ reticulocyte count เพิ่มขึ้นภายใน 5-10 วัน
ภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟเลต
สาเหตุ
โฟเลตเป็นสารที่จัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบี 9 ที่ละลายน้ำพบมากในพวกผักใบเขียวเนื้อสัตว์และถั่วต่างๆร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ดังนั้นสาเหตุหลักของการขาดโฟเลตคือรับประทานอาหารที่มีโฟเลตน้อยอาจเนื่องมาจากการไม่รับประทานผักหรือเนื้อสัตว์
พยาธิสรีรภาพ
โฟเลตจะอยู่ในร่างกายในรูปของกรดโฟลิก (folic acid) สะสมอยู่ที่ดับโดยสะสมได้นานประมาณ 6 สัปดาห์ภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟเลตจะเกิดเมื่อขาดโฟเลตประมาณ 3 สัปดาห์
หากขาดโฟเลตประมาณ 18 สัปดาห์จะทำให้เกิดภาวะ megaloblastosis ในไขกระดูกเม็ดเลือดแดงจะมีขนาดใหญ่ (macro red blood cell)
ถ้ามีภาวะซีดรุนแรงมากอาจพบภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (leucopenia) หรือภาวะเกล็ดเลือดดำ (thrombocytopenia) ร่วมด้วยได้
อาการและอาการแสดง
เช่นเดียวกับอาการแสดงภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ได้แก่ ซีดอ่อนเพลียผิวหนังหยาบลิ้นเลี่ยนหรือลิ้นอักเสบ
ผลของการตั้งครรภ์ต่อภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟเลต
กระบวนการสังเคราะห์ DNA การแบ่งตัวของเซลล์การเจริญเติบโตของทารกและรกรวมทั้งการสร้างเม็ดเลือดแดงในไขกระดูกสตรีที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ต้องการโฟเลต 50-100 ug / day
ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์โฟเลตเองได้ดังนั้นหากร่างกายได้รับโฟเลตไม่เพียงพอหรือโฟเลตที่สะสมไว้ไม่เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นจะ
ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟเลตหรือทำให้อาการของโรคที่เป็นอยู่เดิมรุนแรงขึ้นได้
ผลของภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟเลตต่อภาวะสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลต่อมารดา
ซีดภาวะ preeclampsia และรกลอกตัวก่อนกำหนด
ผลต่อทารก
มักเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อทารกได้น้อยเนื่องจากทารกสามารถดึงกรดโฟลิกจากมารดาไปใช้ได้อย่างดี
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติ
ซักประวัติการเจ็บป่วยอาการใจสั่นเหนื่อยง่ายหน้ามืดเวียนศีรษะเป็นลมง่ายภาวะซีดเป็นต้นประวัติความเจ็บป่วยในครอบครัวและโรคทางกรรมพันธุ์
การตรวจร่างกาย
เดียวกับภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เจาะเลือดดูระดับโฟเลตในเลือดถ้าโฟเลตในเม็ดเลือดแดงมีค่าน้อยกว่า 150 nanogram / m. และค่า serum folate น้อยกว่า 3 nanogram / ml ถือว่าผิดปกติ
การตรวจ blood smear จะพบว่าเม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ขึ้น (macrocytic red b1000 cell) และมีลักษณะ large ovalocyte, hypersegmented neutrophis, leucopenia, thrombocytopeni
การป้องกันและการรักษา
การป้องกันการขาดโฟเลตในหญิงตั้งครรภ์คำแนะนำจาก American College of Obstetrician and Gynecologist (ACOG) ให้มารดาก่อนตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ได้รับกรดโฟลิกเสริมในปริมาณวันละ 400 ไมโครกรัมต่อวัน (0. 4 มิลลิกรัมต่อวัน)
การรักษาภาวะซีดหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดควรได้รับกรดโฟลิกเสริม 1 mg / day
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและโฟเลตระยะตั้งครรภ์
อธิบายให้หญิงตั้งครรภ์เข้าใจเกี่ยวกับภาวะโลหิตจาง
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในเรื่องต่างๆดังนี้
1 การรับประทานอาหารควรรับประทานอาหารที่มีคุณค่าครบ 5 หมู่อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
ตับเนื้อสัตว์ต่างๆไข่นมยีสต์เนยแข็งถั่วต่างๆผลและผักใบเขียว
2.2 การพักผ่อนควรพักผ่อนอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงในช่วงกลางคืนและนอนพักหลังรับประทานอาหารกลางวันวันละ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงโดย
แนะนำให้นอนท่าตะแคงหลีกเลี่ยงการนอนหงายเพื่อไม่ให้มดลูกกดทับเส้นเลือด inferior vena cava
3 แนะนำให้รับประทานยาตามแผนการรักษา
ยาเสริมธาตุเหล็กควรรับประทานในช่วงท้องว่างคือก่อนรับประทานอาหาร 1 ชั่วโมงหรือหลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมงเพราะเหล็กจะถูกดูดซึมได้ดีในภาวะที่เป็นกรด
ยาที่มีกรดโฟลิกควรรับประทานยาอย่างต่อเนื่องตามแพทย์สั่งหากมีอาการผื่นคันตัวแดงหรือหายใจลำบากควรปรึกษาแพทย์
ยาอื่นๆเช่นยาป้องกันการติดเชื้อเพราะภาวะโลหิตจางจะทำให้ภูมิต้านทานโรคต่ำเกิดการติดเชื้อได้ง่ายควรรับประทานยาจนครบตามที่แพทย์สั่งห้ามหยุดยาเอง
4 การรักษาความสะอาดของร่างกาย
5 การประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์
6 การสังเกตอาการผิดปกติเช่นซีดเหนื่อยง่ายอ่อนเพลียใจสันปวดศีรษะเป็นต้น
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและโฟเลตระยะคลอด
จัดให้นอนท่าศีรษะสูงเพื่อให้หายใจได้สะดวกเลือดไหลกลับเข้าหัวใจได้ดี
ดูแลให้ได้รับสารน้ำและอาหารตามแผนการรักษา
ประเมินความก้าวหน้าของการคลอด
ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารกและสภาพทารกในครรภ์เป็นระยะถ้าผิดปกติรีบรายงานแพทย์
ดูแลบรรเทาความเจ็บปวดในระยะคลอดโดยใช้เทคนิคการบรรเทาความเจ็บปวด
ประเมินสัญญาณชีพทุก 1-2 ชั่วโมงถ้าความดันโลหิตน้อยกว่า 100/60 มิลลิเมตรปรอทหรือชีพจรมากกว่า 100 ครั้ง / นาทีหรืออัตราการหายใจมากกว่า 24 ครั้ง / นาทีควรรายงานแพทย์เพื่อให้ออกซิเจน
ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะโลหิตจาง
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและโฟเลตระยะหลังคลอด
1.ให้การดูแลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดอย่างใกล้ชิดเช่นประเมินการหดรัดตัวของมดลูกสัญญาณชีพปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอดลักษณะแผลฝีเย็บดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่างเป็นต้น
2.ดูแลให้นอนพักในช่วง 12-24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
3.ให้คำแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวในระยะหลังคลอดเช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดปกติเน้นย้ำเรื่องการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กและยาบำรุงเพื่อให้มีการสร้างเม็ดเลือดมากขึ้นป้องกันการการสังเกตอาการแสดงของการติดเชื้อและภาวะเลือดออกง่ายรวมทั้งการมาตรวจตามแพทย์นัด
การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในรายที่อาการไม่รุนแรงสามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้
การวางแผนครอบครัวแนะนำให้เว้นระยะการมีบุตรอย่างน้อย 2 ปีและหลีกเลี่ยงการคุมกำเนิดโดยการใส่ห่วงเพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย