Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะแทรกซ้อน - Coggle Diagram
การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะแทรกซ้อน
Birth asphyxia
ซึ่งในกลุ่มเด็กที่รอดชีวิตพบว่าภาวะที่ร่างกายขาดออกซิเจนจะทำให้มีความผิดปกติของการท างานของระบบสมองและประสาท หรืออาจเกิดภาวะโรคอื่นๆเช่น โรคลมชัก สมองพิการ สมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียนรู้ ออทิสซึม
เด็กทารกแรกเกิดที่ขาดออกซิเจนระหว่างคลอดจะมีโอกาสเสียชีวิตสูง
ผลการประเมินลักษณะทางคลินิกของทารก
5 ประการ (APGARScore)
ในนาทีที่ 1 หรือนาทีที่ 5 หลังคลอด
Moderate Birth Asphyxia (Apgar Score 4-5)
Severe Birth Asphyxia (Apgar Score 0-3)
Mild Birth Asphyxia (Apgar Score 6-7)
ปัจจัยขณะที่ทำให้เกิดภาวะ Birth Asphyxia
ปัจจัยขณะตั้งครรภ์
มารดาได้รับยารักษาในการรักษาโรคบางอย่าง เช่น Magnesium,Adrenergic blocking agents
ติดยาเสพติดหรือสุรา
มารดาเป็นโรคเบาหวาน
มีประวัติการตายในระยะเดือนแรกของชีวิต (neonatal death) ในครรภ์ก่อนๆ
อายุก่อนกำหนดหรือเกินกำหนด
PIH /Chronic hypertension
Post term gestation
Oligohydramnios /Polyhydramnios
ตั้งครรภ์แฝด
ปัจจัยขณะคลอด
การคลอดโดยการผ่าตัดทางหน้าท้อง
Meconium stain amniotic fluid
มารดาได้รับ sedative หรือยาแก้ปวด
จังหวะหรืออัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ผิดปกติ
สายสะดือย้อย
การเจ็บครรภ์คลอดยาวนาน
การติดเชื้อ
ท่าก้นหรือส่วนน าผิดปกติ
อาการ
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อทารกขาดออกซิเจน ระยะแรกทารกจะหายใจเร็วขึ้นชั่วขณะแล้วจึงหยุดหายใจ
ระบบทางเดินหายใจ
ทารกจะมีอาการหายใจหอบ เขียว
ระบบการไหลเวียนโลหิต
ทารกจะมีหัวใจเต้นเร็ว ซีด หายใจเฮือกไม่สม่ำเสมอ (gasping) มี Metabolic acidosis และอุณหภูมิของร่างกายต่ำ
ทารกอาจมีอาการชักจากการเกิด
hypoglycemia, hypocalcemia และ hyperkalemia
ระบบไหลเวียนโลหิต
ความดันโลหิตต่ำ
การเปลี่ยนแปลงทาง Metabolic
ถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria) เนื่องจากการเกิดภาวะ Renal failure
ทารกจะมีปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ถ่ายปัสสาวะหรือ
ระบบประสาท
ทารกจะซึม หยุดหายใจบ่อย หัวใจเต้นช้า ม่านตาขยายกว้างไม่ตอบสนองต่อแสง กล้ามเนื้อไม่มีแรง มีการชักที่เรียกว่า subtle seizure คือการทำมุมปากขมุบขมิบ กระพริบตาถี่ ต่อมามีชักเกร็ง กระตุก และกระหม่อมหน้าโป่งตึงเล็กน้อยระดับความรู้สึกผิดปกติไป ถ้าอยู่ในขั้นหมดสติ ทารกมักเสียชีวิต
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ทารกจะมีปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ถ่ายปัสสาวะหรือ
ระบบทางเดินอาหาร
มีอาการท้องอืด และมีการทำลายของเยื่อบุลำไส้ทำให้เกิดลำไส้เน่าอักเสบชนิด NEC (Necrotizing enterocolitis)
การพยาบาลในระดับเล็กน้อย
ทั้งนี้การพยาบาลในระดับปานกลาง (Moderate Birth Asphyxia: Apgar Score4-5) และระดับรุนแรง SevereBirth Asphyxia: Apgar Score 0-3) จะขอกล่าวในหัวข้อถัดไป
การช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิด (Neonatal Resuscitation)
ภายหลังช่วยเหลือถ้าอาการดีขึ้นประเมิน Apgar’s score ที่ 5 นาที จะเท่ากับ 8 ถ้าไม่ดีขึ้น มีอัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 100 ครั้ง/นาที ตอบสนองช้าต้องให้การช่วยเหลือแบบ moderateAsphyxia
รายที่มารดาให้ยาแก้ปวดกลุ่มนาร์โคติค(Narcotic analgelsic) เช่น มารดาที่ได้ pethidine
ก่อนคลอดให้ Naloxone (Narcan) เพื่อลบล้างฤทธิ์ของยาดังกล่าว
รีบผูกและตัดสายสะดือ ให้ออกซิเจน โดยการให้ ออกซิเจน Mask ให้ออกซิเจน4-5 ลิตร/นาที ที่ผ่านความชื้นและอุ่น
กระตุ้นการหายใจด้วยการใช้นิ้วมือตีหรือดีดฝ่าเท้าทารก หรือโดยการใช้ผ้าถูหน้าอกทารกบริเวณSternum
ดูดเมือกจากปากจมูก และpharynx เพื่อป้องกันการหายใจเอาเมือกเข้าปอดในการหายใจครั้งแรก
เช็ดตัวให้แห้ง
การช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิด (Neonatal Resuscitation)
การประเมินและการช่วยเหลือทารกแรกคลอดที่มีภาวะขาดออกซิเจนระดับปานกลาง (Moderate BirthAsphyxia) มีดังนี้
Position the head และ Clear the airway
Stimulate breathing
ประเมินการหายใจของทารกและช่วยเหลือดังนี้
หายใจปกติ: ให้สังเกตการหายใจต่อไป ตามด้วยการตกแต่ง cordและส่งเสริม Breast Feeding
ประเมินทารกขณะช่วยหายใจ และช่วยเหลือดังนี้
หายใจไม่ปกติ (หายใจเฮือก หรือไม่หายใจ): ช่วยหายใจด้วย bagand mask (PPV) วาง mask บนปลายคางก่อนแล้วค่อยวางครอบปากและจมูกบีบอัตรา40 ครั้ง/นาทีนับดังๆขณะช่วยหายใจ
ประเมินทารกขณะช่วยหายใจ และช่วยเหลือดังนี้
หายใจปกติ: หยุดการช่วยหายใจ ให้สังเกตการหายใจต่อไป(หายใจมีเสียง grunting หรือ อกมี retraction) ตามด้วยการตกแต่ง cord และส่งเสริม Breast Feeding
หายใจไม่ปกติ (หายใจเฮือก หรือไม่หายใจ): ช่วยหายใจด้วย bagand mask (PPV) ต่ออีก 1 นาที
หลังจากช่วยหายใจ (PPV) ไป 1 นาที ทารกยังไม่หายใจ ให้ประเมิน
Heart rate โดยฟังชีพจรดยแนวทางการปฏิบัติมีดังนี้
HR ≥ 100 ครั้ง/นาที PPV ต่อไปจนกระทั่งพบว่าทารกหายใจเองได้ดี แล้วค่อยๆลดอัตราการบีบ bag ให้ช้าลง (HR > 100 ครั้ง/นาทีทารกหายใจเองได้ดีให้หยุดช่วยหายใจ)
HR < 100 ครั้ง/นาที ต้องใส่ท่อช่วยหายใจและให้ออกซิเจน หรือ
กดหน้าอก (Chest compression) และให้ยา (Medication)
ระดับรุนแรง (Severe Asphyxia)
สำหรับการประเมินและการช่วยเหลือทารกแรกคลอดที่มีภาวะขาดออกซิเจน
อาการไม่ดีขึ้น พิจารณาใส่ Endotracheal tube
ถ้า HR < 60/นาที ให้ท าchest compression สลับกับ PPV ในอัตรา 3:1
คือ กดน้าอก 3 ครั้ง ต่อ PPV 1 ครั้ง หรือใน 1 นาที กดหน้าอก 90 ครั้ง PPV 30 ครั้ง
ประเมินการหายใจ HR และ สีผิว
Chest compression กดนวดหัวใจ ทำได้ 2 วิธีคือ
Thumb finger technique
ใช้นิ้วหัวแม่มือ 2 ข้าง กดลงบนกระดูกกลางหน้าอก(Sternum) บริเวณระหว่าง Nipple line กับกระดูก Xyphoid process
นิ้วที่เหลือโอบประคองส่วนหลังของทารก ให้กดไปลึกประมาณ1/3 ของความหนาของทรวงอก แล้วปล่อยให้กระดูกเคลื่อนตัวกลับเอง
กดในอัตรา 100-120 ครั้ง/นาที โดยที่นิ้วมือยังวางอยู่ที่เดิมโดยไม่ต้องยกนิ้วออก
Two-finger technique
ให้ทำการนวดหัวใจสัมพันธ์กับการช่วยหายใจในอัตราการนวดหัวใจ 3 ครั้งสลับกับ PPV 1 ครั้ง โดย 1 นาที ควรท าการนวดหัวใจ 90 ครั้ง และ PPV 30ครั้ง
ใช้ปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางตั้งฉากลงบนกระดูกกลางหน้าอกบริเวณระหว่าง Nipple line กับกระดูก Xyphoid process อีกมือวางบนบริเวณหลังของทารกความลึกในการกดและวิธีกดเหมือนวิธีแรก
ในการปฏิบัติผู้ท าการกดหน้าอก พูด “หนึ่ง และ สอง และ สามและบีบ.......”
ถ้าทารกยังไม่ตอบสนองดีให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์เช่น ยา Epinephrine 1:10,000 ขนาด 0.1-0.3 ml/kg ทางหลอดเลือดด า หรือ 0.3-1ml/kg ทางท่อช่วยหายใจ อาจให้ซ้ าได้ทุก 3-5 นาที ตามความจำ/เป็น
ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารกทุก 30 วินาที เมื่อ HR ≥60 ครั้ง/นาที จึงหยุดการนวดหัวใจ
หลักการกู้ชีพทารกแรกเกิดจำเป็นต้องให้ความอบอุ่น
คำนึงถึงการจัดท่าและดูดเสมหะ ตลอดจนกระตุ้นทารกให้หายใจ
การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิด
เมื่อมีผู้ใกล้คลอด เตรียมผ้าปราศจากเชื้อ 2 ผืน ปูบนเครื่องแผ่รังสีความร้อน(Radian warmer) เพื่อท าให้ผ้าอุ่น พร้อมทั้งเปิดเครื่องและเตรียมผ้าห่อเด็กอีก 2 ผืน ปูไว้บริเวณภายใต้เครื่อง Warmer
เตรียมเครื่องมือเรียงตามลำดับดังนี้ Air way, Breathing, and Circulation
A: Open Air way หมายถึง ทำให้ทางเดินหายใจโล่ง
B: Initiate breathing หมายถึง การกระตุ้นให้ทารกหายใจ
C: Maintain circulation การรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ
Meconium aspiration syndrome
การพยาบาลทารกแรกเกิดกลุ่มที่มีปัญหาเรื่องพร่องออกซิเจน ทั้ง
ในภาวะ Birth asphyxia และ Meconium aspiration syndrome
ประเมินภาวะหายใจลำบาก เช่น ปีกจมูกบาน (Nasal flaring) หายใจมี
Sternal retraction หยุดหายใจ เป็นต้น
จัดทารกนอนหงาย คอแหงนเล็กน้อย หลีก เลี่ยงการจัดท่าของทารกโดยแหงนคอมากเกินไป (Hyperextension) เพราะจะทำห้เส้นผ่าศูนย์ กลางของ Tracheaมีขนาดเล็กลง
ดูดเสมหะเมื่อประเมินว่าพบทางเดินหายใจของทารกมีเสมหะหลีกเลี่ยงRoutine suction เพราะจะทำให้เกิดหลอดลมเกร็ง (Bronchospasm) ขาดออกซิเจนและความดันในกะโหลกศีรษะสูง (Increased intracranial pressure) ซึ่งอาจท าให้ทารกเกิดเลือดออกในสมองได้
หลีกเลี่ยงการจัดท่าศีรษะต่ำกว่าลำตัว (Trendelenburg position) เพราะจะทำให้เกิดความดันในกะโหลกศีรษะสูงได้ และความจุของปอดลดลงจากแรงโน้มถ่วงดึงรั้ง Diaphragm ไว้
ดูแลให้ทารกได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษา ติดตามประเมินระดับความ
อิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (O2 saturation) ให้อยู่ระหว่าง 88% - 95%
ให้ทารกได้พัก หลีกเลี่ยงการจับต้องที่เกินความจำเป็น (Over handling)เพราะจะท าให้อัตราการเผาผลาญของร่างกายสูงขึ้น ส่งผลให้ทารกต้องการใช้ออกซิเจนมากขึ้น โดยไม่จำเป็น
ดูแลให้ความอบอุ่นแก่ทารก ป้องกันภาวะ Cold stress
Birth injuries
ชนิดของการบาดเจ็บจากการคลอด
การบาดเจ็บที่ศีรษะ (Cranial injury)
Caput succedaneum
การคั่งของน้ำมีการบวมบริเวณ เนื้อเยื่อของหนังศีรษะ ขอบเขตไม่ชัดเจน กดบุ๋ม การบวมข้าม suture หายภายใน 36 ชั่วโมง
การพยาบาล: อธิบายให้พ่อแม่ของทารกเข้าใจเพื่อคลายความวิตกกังวลว่าอาการนี้จะค่อยๆหายไปได้เองภายใน 2-3 วันแรก
Cephalhematoma
หมายถึงการมีเลือดออกใต้ชั้นเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะ (subperiosteal hemorrhage) เลือดจะค่อยๆถูกดูดซึมภายใน 2-3 สัปดาห์ถึง 3เดือน ขึ้นอยู่กับขนาด สาเหตุจากศีรษะทารกถูกกด
การพยาบาล
1.อธิบายให้มารดาทราบถึงลักษณะการเกิดว่าเกิดจากการคลอดและสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษาเป็นพิเศษ จะค่อยๆหายไปเองได้ภายใน 3 เดือนไม่จำเป็นต้องเจาะเอาเลือดออกเพราะทำให้มี โอกาสติดเชื้อง่าย
2.ให้มารดาดูแลทารกในการป้องกันภาวะตัวเหลือง เพราะทารกจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นสูงถ้ามีอาการตัวเหลืองให้รีบมาพบแพทย์
3.สังเกตอาการซีด เจาะ hematocrit
4.หากมีรอยถลอกให้ดูแลอาการและรักษาความสะอาด
ให้ทารกนอนตะแคงด้านตรงข้ามกับก้อนโน เพื่อป้องกันการกดทับที่จะกระตุ้นให้เลือดออกมากขึ้น
เลือดออกในกะโหลกศีรษะ (Intra cranial hemorrhage)
คลอดก่อนกำหนด การได้รับอันตรายรุนแรงจากการคลอด trauma, ภาวะขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน CPD, Precipitate labor หรือการใช้เครื่องมือช่วยคลอดอาจทำให้เกิดเลือดออกในสมองได้ทั้งนี้อาการอารปรากฏทันทีหรือค่อยเป็นค่อยไปอาจพบอาการภายใน 2-3ชั่วโมงหลังคลอด จนถึง 2-3 วันหลังคลอด ได้แก่
อาการ
moro reflex น้อยหรือไม่มีเลย (Absent moro reflex)
ร่างกายอ่อนปวกเปียก (Poor muscle tone)
เซื่องซึม (Lethargy)
ร้องเสียงแหลม (High pitch city)
หายใจผิดปกติ (Abnormal respiration) เช่น apnea
กระหม่อมโป่งตึง (tense fontanelle)
ชัก (Convulsion)
ดูดกลืนไม่ดี อุณหภูมิร่างกายต่ า อาการที่แสดงว่ามีเลือดออกเพิ่มมากขึ้น คือ ซีดตัวเย็น ชีพจรเบา
การพยาบาล
ดูแลให้ได้รับการพักผ่อนเพียงพอ หลีกเลี่ยงการกระตุ้นและรบกวนทารกโดยจัดห้องทารกให้เงียบและอุ่นหรือให้อยู่ในตู้อบ
ดูแลทารกให้หายใจสะดวก และได้รับออกซิเจนเพียงพอ โดยจัดให้นอนราบ ศีรษะตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง อาจจัดศีรษะให้สูงกว่าระดับสะโพกประมาณ 2-3 นิ้วเพื่อลดความดันในกะโหลกศีรษะและให้ปอดขยายได้สะดวก ห้ามให้ทารกนอนศีรษะต่ำ
ดูแลให้ได้รับสารน้ำและอาหารเพียงพอ ตามความเหมาะสมและมีการบันทึกปริมาณน้ำและอาหารที่ทารกได้รับทุกครั้ง อาจให้อาหารทางสายยางเพื่อไม่ให้ทารกออกแรงในการดูดซึ่งเป็นการเพิ่มความดันในกะโหลกศีรษะ
ป้องกันอันตรายที่เกิดจากการชัก โดยดูแลให้ได้รับยาระงับชัก (Anticonvulsants)
ได้แก่ Phenobarbital ,Diazepam หรือ Chloralhydrate ตามแผนการรักษา
ป้องกันการติดเชื้อ โดยให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ดูแลทารกด้านจิตใจ โดยสัมผัสอย่างนุ่มนวล พูดด้วยน้ำเสียงไพเราะ อุ้มทารกเมื่ออาการดีขึ้น และให้บิดา มารดาเยี่ยมทารก เพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างทารกและครอบครัว
อธิบายให้บิดาและมารดาของทารกเข้าใจ และเกิดความอบอุ่นใจ แต่ควรแจ้งอาการในขณะนั้นให้ทราบตามจริง แม้ทารกจะมีอาการทรุดลงก็ตามการรักษา
การบาดเจ็บต่อกระดูก (Fracture)
มีดังนี้
กระดูกไหปลาร้าหัก (Clavicle Fracture): สามารถพบได้บ่อย แต่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการถ้ากระดูกไม่แยกจากกัน หรืออาการไม่รุนแรง แต่หากคล่ำพบว่ามีกระดูกแยกจากกันหรืออาจเกยกัน ทารกจะปวดและร้องกวนมาก ส่วนใหญ่เกิดจากการคลอดติดไหล่ หรือคลอดท่าก้น
กระดูกต้นแขนหัก (Humeral Fracture): เป็นการหักของกระดูกกลุ่ม Long bone สามารถพบในการคลอดแขนทารกที่คลอดท่าก้น
กระดูกต้นขา Femoral Fracture: มักพบไม่บ่อย ส่วนใหญ่พบในการคลอดท่าก้น
การพยาบาล
ในกรณีกระดูกไหปลาร้าหัก หากกระดูกไม่แยกจากกันไม่จำเป็นต้องทำอะไร เพราะกระดูกสามารถเชื่อมต่อเองได้ตามปกติภายใน 4-6 สัปดาห์ แต่หากพบว่ามีกระดูกหักแยกออกจากกันต้องเข้าเฝือกชั่วคราว หรือรัดไม่ให้แขนมีการเคลื่อนไหวแขนข้างนั้นได้ ส่วนในกรณีกระดูกต้นแขนหัก
ให้ตรึงแขนที่หักแนบกับลำตัวเพื่อไม่ให้แขนเคลื่อนไหว ประมาณ 1-2 สัปดาห์กระดูกจะสามารถติดกันเองได้เป็นปกติ :และในกรณีกระดูกต้นขาอาจต้องเข้าเฝือกนาน 3-4 สัปดาห์
การบาดเจ็บของเส้นประสาท (Nerve injury)
มีดังนี้
Erb – Duchene paralysis): เป็นการบาดเจ็บที่เกิดจากการยืดส่วนบนของBrachial Plexus (Upper roots)ส่วนใหญ่พบการบาดเจ็บของเส้นประสาทไขสันหลังระดับคอ ในระดับ C5-C6 ทำให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อ Deltoid และInterspinus ทำให้มีลักษณะแขนติดลำตัว
การรักษาพยาบาล
Facial nerve palsy: เป็นการบาดเจ็บของเส้นประสาทที่เลี้ยงใบหน้า (Facial nerve) อาจเกิดจากศีรษะทารกกดทับบริเวณกระดูก sacrum ของมารดาในระหว่างการคลอด หรือเกิดจากใช้คีมช่วยคลอด (forceps extraction) ส่วนใหญ่สามารถหายเองได้ภายใน 2-3 วัน
Brachial Plexus injury: เกิดจากการยืดของเส้นประสาทไขสันหลังระดับคอ(Cervical nerve) ในระหว่างการคลอดยาก โดยเฉพาะคลอดติดไหล่ หรือทารกตัวใหญ่ ท าให้เกิดความผิดปกติในรูปแบบต่างๆตามระดับของเส้นประสาทไขสันหลังระดับคอที่ได้รับบาดเจ็บ
Spinal injury: เป็นการบาดเจ็บที่เกิดจากการยืดของไขสันหลัง เช่นในรายที่คลอดท่าก้น หรือพบในรายที่มีการเคลื่อนหรือหักของกระดูกสันหลัง
พยายามให้ทารกไม่เคลื่อนไหวเป็นพักๆ ร้อยละ 80
จะดีขึ้นภายใน 3-6 เดือน ส่วนใหญ่จะหายเองภายใน 12 เดือนหลังคลอด แต่ในรายที่
เส้นประสาทขาดต้องได้รับการทำศัลยกรรมซ่อมประสาท (Neuroplast)
สาเหตุ
การคลอดท่าก้น (Breech presentation)
ส่วนน้าทารกมีขนาดใหญ่กว่าเชิงกราน (CPD)
การคลอดยาก (Dystocia)
ทารกตัวโต (Macrosomia)
ทารกคลอดเร็ว (Precipitate labor)
ผู้ทำคลอดไม่ชำนาญ
การใช้สูติศาสตร์หัตถการ เช่น forceps extraction, vacuum extraction
ภาวะ Birth injuries หรือภาวการณ์บาดเจ็บจากการคลอด
จัดทำโดย ธเนศ สวาสนา 604N46132