Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเจาะเลือดจากสายสะดือทารก Cordocentesis, นางสาวภูริชญา จักรพรรดิ์แก้ว…
การเจาะเลือดจากสายสะดือทารก
Cordocentesis
การเจาะสายสะดือ
เป็นการดูดเลือดจากหลอดเลือดจากสายสะดือของทารก
สามารถทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 18 wks. ขึ้นไป
เป็นการใช้เข็มเจาะเลือดจากเส้นเลือดดำของสายสะดือตำแหน่งที่ไปเกาะรก (Placentaal cord insertion) โดยอาศัยการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงชี้นำปลายเข็ม
วัตถุประสงค์
ตรวจโครโมโซม
ตรวจหาความผิดปกติของสารชีวเคมีสําหรับ การตั้งครรภ์ที่มีประวัติความผิดปกติของสารชีวเคมีในครอบครัว
ตรวจหาโรคท่ีถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ ยีนเดี่ยว เช่น ธาลัสซีเมีย
ตรวจหาต่อมไร้ท่อทําางานผิดปกติสําหรับ การตั้งครรภ์ท่ีมารดามีภาวะพร่องไทรอยด์
ตรวจหาระดับสาร bilirubin สําาหรับการตั้งครรภ์ท่ีสงสัยทารกมีปัญหาซีด
ขั้นตอนการเจาะเลือดสายสะดือทารก
1.ให้คําาปรึกษาแนะนําา บิดาและมารดาลงนามในใบยินยอม
2.ตรวจสอบกลุ่มเลือด RhD และการติดเชื้อของมารดา
3.ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อประเมินจํานวน ทารก อายุครรภ์
ปริมาณน้ำคร่ำ ตำแหน่งรก การมีชีวิตของทารก
หากรกเกาะทางด้านหน้าให้เจาะบริเวณที่สายสะดือต่อเข้ากับรก
หากรกเกาะทางด้านหลังทารกจะบังตําาแหน่งท่ีสายสะดือต่อเข้ากับรก
บางครั้งอาจต้องรอให้ทารกเปลี่ยนตําาแหน่ง ขยับตำแหน่งทารกด้ว ยมือของแพทย์เองหรือเลือกบริเวณที่ลอยอยู่ในน้ําคร่ำหรือบริเวณท่ีเข้าสู่ทารกแทน
4.ทําความสะอาดบริเวณผนังหน้าท้องของมารดาที่จะทําาการเจาะ
5.ปูผ้าปลอดเชื้อเปิดหน้าท้องบริเวณที่จะทําการเจาะห่อหุ้มหัวตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเช่นเดียวกับการเจาะน้ำคร่ำ
6.ฉีดยาชาเฉพาะท่ีกรณีท่ีแพทย์คาดว่าจะทําการเจาะยากหรือนานเพื่อบรรเทาความเจ็บของมารดา
7.เลือกเข็ม spinal needle ขนาด 20-22 ดูดยากันเลือดแข็ง heparin ผ่านภายในเข็มก่อนใช้งาน เพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือดระหว่างที่ทําการดูดเลือด
8.แทงเข็มเข้าสู่หลอดเลือดสายสะดือ เมื่อเข็มแทงเข้าสู่หลอดเลือดสายสะดือถอนเข็มด้านในออกแล้วดูดเลือด
9.หลังจากดูดเลือดแล้ว ถอนเข็มออก ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงประเมินเลือดออกบริเวณที่เข็มแทงผ่านและการเต้นของหัวใจทารก
การให้คำแนะนำ
หลังทำให้สตรีมีครรภ์พักหน้าท้องประมาณ 1 ชม.และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน เช่น ถุงน้ำคร่ำแตก อาการเจ็บหน้าท้องเป็นพักๆ
งดทำงานหนัก 24-72 ชั่วโมงแรก
งดเพศสัมพันธุ์ประมาณ 10-14 วัน
อายุครรภ์ม > 28 wks.ให้ตรวจอัตราการเต้นของห้วใจทารกและการหดรัดตัวของมดลูกด้วยเครื่อง electronic fetal heart rate monitoring ทุก15 นาทีจนครบ 1 ชั่วโมง ถ้าปกติกลับบ้านได้
นัดมาฟังผลการตรวจประมาณ 1 wk.
นางสาวภูริชญา จักรพรรดิ์แก้ว 601101067
Biochemical assessment