Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจ รูป - Coggle Diagram
หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจ
สาเหตุ
โรคหัวใจ (Heart disease) โรคหัวใจในสตรีมีครรภ์หมายถึง สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจร่วมด้วยซึ่งอาจเป็นมาก่อนตั้งครรภ์หรือภายหลังตั้งครรภ์พบได้ประมาณร้อยละ 1 ของสตรีมีครรภ์ทั้งหมดโรคหัวใจที่พบมากที่สุดคือโรคลิ้นหัวใจ
-
ในขณะที่ตั้งครรภ์ปริมาตรเลือด (blood volume) จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งคงที่เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่สามในช่วงอายุครรภ์ 30-32 สัปดาห์ปริมาตรเลือดที่เพิ่มขึ้น ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจใน 1 นาที (Cardiac output) เพิ่มขึ้น เมื่อเข้าสู่ระยะคลอดการหดรัดตัวของมดลูกส่งผลให้ Cardiac Output เพิ่มขึ้น ขณะเบ่งคลอดก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นและในระยะหลังคลอดทางช่องคลอดทันทีพบว่า cardiac Output อาจเพิ่มขึ้น
อาการและอาการแสดง
- อาการหอบเหนื่อย (dyspneo)
- หายใจลำบากในตอนกลางคืน (paroxusmal nocturnal dyspnea) นอนราบไม่ได้ (progressive orthopnea)
- ไอเป็นเลือด (hemoptusis) เมื่อมีการคั่งของน้ำในปอดทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุปอดและมีการแตกของหลอดเลือดฝอยที่ปอดทำให้ไอมีเสมหะเป็นฟองสีชมพู (pink fronhy sputum) แต่ถ้ามีการแตกของหลอดเลือดจำนวนมากจะไอเป็นเลือด
-
-
- อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติอย่างรุนแรง (severe arrhythmia) และคลำบริเวณทรวงอกพบว่ามีการสั่นสะเทือน (thril) ซึ่งเกิดจากการตีบแคบของหลอดเลือดหรือลิ้นหัวใจผิดปกติ
- มีอาการเขียว (cyanosis) และนิ้วปุ่ม (clubbingof fingers)
-
การประเมินและการวินิจฉัย
- การซักประวัติเกี่ยวกับการเจ็บป่วยอาการและอาการแสดงของโรคหัวใจเช่นอาการใจสั่น เจ็บหน้าอก
- การตรวจร่างกายประเมินสัญญาณชีพอาจพบชีพจรเบาเร็วไม่สม่ำเสมอมีภาวะ tachycardia (> 100 ครั้ง / นาที) หรือ bradycardia (<60 ครั้ง / นาที) ตรวจพบอาการและอาการแสดงของโรคหัวใจ
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจค่า arterial blood gas เพื่อประเมินปริมาณออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดหรือภาวะกรด-ด่างในร่างกายซึ่งอาจทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ
- การตรวจพิเศษ เช่น การตรวจ electrocardiography เพื่อตรวจอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจขนาดของหัวใจและภาวะหัวใจขาดเลือด
แนวทางการรักษา
ระยะตั้งครรภ์
- หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับการดูแลร่วมกันระหว่างสูติแพทย์และแพทย์โรคหัวใจ
- รับการฝากครรภ์ในหน่วยเสี่ยงสูงโดยใน 28 สัปดาห์แรกให้มาตรวจครรภ์ทุก 2 สัปดาห์หลังจากนั้นให้มาตรวจทุกสัปดาห์ตามความรุนแรงของโรค
- การรับรักษาไว้ในโรงพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจ class | ควรรับไว้ในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนครรภ์ครบกำหนด class | | ควรนอนพักในโรงพยาบาลในไตรมาสสุดท้าย(รับไว้ตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์) ส่วน class 10 และ IV ควรรับไว้ในโรงพยาบาลตลอดการตั้งครรภ์สำหรับ class 1, U, ll ถ้าไม่มีอาการผิดปกติรุนแรงอนุญาตให้กลับบ้านได้บ้าง
- อาจพิจารณาให้ยุติการตั้งครรภ์หรือพิจารณาทำแท้ง
-
-
ระยะก่อนตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้วต้องได้รับคำปรึกษาก่อนการตั้งครรภ์ถ้าเป็นโรคหัวใจ class l หรือ clossll และไม่เคยมีภาวะหัวใจล้มเหลวมาก่อนอาจอนุญาตให้ตั้งครรภ์ได้และต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
รายที่เป็น class Ill, closs IV หรือ closs | | ที่เคยมีภาวะหัวใจล้มเหลวมาก่อนไม่แนะนำให้ตั้งครรภ์ส่วนในรายกำลังรอการผ่าตัดเพื่อการรักษาควรคุมกำเนิดไว้ก่อนเมื่อผ่าตัดเสร็จแล้วและอาการดีขึ้นจึงควรพิจารณาว่าควรให้ตั้งครรภ์ได้หรือไม่
ระยะเจ็บครรภ์คลอด
- การป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว
2 ติดตามสภาวะทารกในครรภ์ด้วย external fetal monitoring เนื่องจากเมื่อมดลูกหดรัดตัวจะทำให้เลือดและออกซิเจนไปสู่รกและทารกลดลงทารกอาจเกิดภาวะ acidosis หรือเสียชีวิตได้
- การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกัน bacterial endocarditis จะพิจารณาให้ในรายที่มีความเสี่ยงส่ง
ระยะหลังคลอด
- ป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวจากการมีเลือดไหลกลับเข้าสู่ระบบหัวใจในปริมาณมาก เช่น ใช้สายยาง (fourriquets) รัดที่ขาทั้งสองข้างและคลายออกสลับกัน (rotating touriquets)
- ให้มี early ambulation จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะ thromboembolic disorder ได้
- ให้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดต่อเนื่องอีก 6 สัปดาห์เพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด
- เฝ้าระวังภาวะติดเชื้อโดยให้ยาปฏิชีวนะต่อซึ่งอาจใช้ยาในกลุ่ม penicillin หรือ broad Spectrum
- การคุมกำเนิดไม่แนะนำให้ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดไม่แนะนำการใส่ห่วงอนามัยเนื่องจากเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
-