Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะเลือดออกในโพรงเยื่อหุ้มปอด (Hemothorax), 8101.jpg_wh860, i9, 500_F…
ภาวะเลือดออกในโพรงเยื่อหุ้มปอด (Hemothorax)
สาเหตุ
ทรวงอกได้รับอันตรายจากอุบัติเหตุหรือถูกกระแทก
เกิดจากการถูกยิง ถูกแทง
มีการฉีกขาดของหลอดเลือดระหว่างซี่โครง
ข้อวินิจฉัยและการพยาบาล
การหายใจไม่เพียงพอ เนื่องจากปอดขยายตัวได้ไม่เต็มที่
ประเมินลักษณะการหายใจ สังเกตอาการขาดออกซิเจน
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างมีประสิทธิภาพ กรณีที่มีปัญหาการหายใจมากจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ดูแลการทำงานของเครื่องช่วยหายใจให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ดูแลให้ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ เพื่อให้เกิดความสมดุลของสารน้ำในร่างกาย
จัดท่านอนให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบาย:ท่านอนศีรษะสูง
มีภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจากการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง
ประเมินภาวะพร่องออกซิเจน ประเมินอัตราการหายใจ ชีพจรเบาเร็ว สีของเล็บ ปลายมือปลายเท้า เยื่อบุผิวหนังมีลักษณะซีดเขียว ความรู้สึกตัวลดลง อาการเหล่านี้แสดงถึงภาวะพร่อง O2 รายงานแพทย์
จัดท่านอนศรีษะสูง เพราะจะทำให้กระบังลมเคลื่อนต่ำลง ปอดขยายตัวได้เต็มที่ เพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซมากขึ้น
Absolute bed rest ช่วยลดการทำงานของออกซิเจน
วัด v/s ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อจะได้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
ประเมิน O2 Saturation ทุก 4 ชั่วโมง เพราะเป็นการวัดระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด เพื่อที่จะได้รับO2 อย่างเพียงพอกับร่างกาย
มีภาวะ shock เนื่องจากการเสียเลือด
วัดและบันทึกสัญญาณชีพ ทุก 15 นาที ถึง 1 ชั่วโมง เพื่อประเมินภาวะ shock
สังเกตและบันทึกสี ลักษณะ ปริมาณเลือดที่ออกจากท่อระบายทรวงอกออกมาเกิน 200 ml/hr ให้รายงานแพทย์
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำอย่างถูกต้องและครบถ้วน ตามแผนการรักษา
ให้เลือดตามแผนการรักษา
ให้ start dopamine
อาการและอาการแสดง
หายใจอย่างรวดเร็ว
แน่นหน้าอก หายใจลำบาก
หัวใจเต้นผิดปกติอย่างรวดเร็ว
ผื่นแดง เหี่ยวแห้ง
ความดันลดลง
ไข้สูงกว่า 38°c
เหงื่อออก
ตัวเย็น
hypovolemic shock
การประเมิน
ประวัติ
ประวัติได้รับอุบัติเหตุ
ถูกยิง
ถูกแทง
ตรวจร่างกาย
-MILD:MODERATE:SEVERE วัดจากระดับปริมาตรของเลิอดที่สะสมอยู่ระหว่างช่องเยื่อหุ้มปอด
Mild ≤ 300 ml. เป็นการเสียเลือดระดับเล็กน้อย อาจไม่มีอาการและอาการแสดง
Moderate > 300-1,400 ml. อาการและอาการแสงจะขึ้นกับปริมาณเลือดที่เสียไป และเลือดจะเข้าไปอยู่ช่องเยื่อหุ้มปอด จนอาจกดปอด ทำให้หายใจลำบากได้
Severe > 1,400 ขึ้นไป เป็นการเสียเลือดระดับรุนแรง อาจทำให้ช็อคได้
การตรวจทางห้องทดลองและการตรวจพิเศษ
ABG
CXR มุมคอสโตฟรีนิกไม่แหลมเหมือนปกติ (ถ้า bleed > 200 ml ขึ้นไป
การรักษา
การดูแลระยะแรกและการแก้ไขภาวะช็อก
ให้ออกซิเจน
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การรักษาทางเดินหายใจ
การใส่ท่อช่วยหายใจ
การจัดท่า
การผ่าตัดทรวงอก
การผ่าเข้าไปในอก เพื่อแก้ไขจุดที่เลือดออกในปอด Thoracotomy
ข้อบ่งชี้การผ่าตัด
เลือดออกอย่างรวดเร็ว มากกว่า 1,000 ml
เลือดออกอย่างต่อเนื่อง
มีอาการแสดงถึงภาวะช็อค
กระทบต่ออวัยวะภายใน เช่น หลอดลม หลอดอาหาร หลอดเลือดใหญ่
ใส่ท่อระบายทรวงอก (ช่องซี่โครง 7 หรือ 8 แนวกลางรักแร้)
การพยาบาลผู้ป่วยใส่ท่อระบาย
ประเมินอย่างใกล้ชิด ทุก 4ชั่วโมง : สัญญาณชีพ, อัตรา และลักษณะการหายใจ, ระดับความรู้สึกตัว, ค่าO2 sat, ABG
ประเมินการทำงานของท่อระบาย โดยดูแลให้อยู่ในระบบปิดตลอดเวลา
ความหมาย
การฉีกขาดของหลอดเลือดระหว่างซี่โครงทำให้เลือดออกมาในช่องเยื่อหุ้มปอด
คำแนะนำเมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน
ถ้ามีการหายใจลำบากแบบทันทีทันใด ให้มาพบแพทย์
หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก การออกกำลังหนัก หรือกิจกรรมที่เพิ่มอัตราและความลึกของการหายใจ เพราะจะทำให้เกิดการทะลุจากปอดกับโพรงเยื่อหุ้มปอด
หลีกเลี่ยงการกลั้นหายใจ เพราะเป็นการเพิ่มความดันในปอด
รับประทานยาให้ครบตามแพทย์สั่ง
หลีกเลี่ยงการดำน้ำ การขึ้นที่สูงๆ เพราะความกดอากาศเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดลมในโพรงเยื่อหุ้มปอด