Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่12 การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะแทรกซ้อน, หมายถึง, Annotation 2020-04…
บทที่12 การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะแทรกซ้อน
1.Birth asphyxia
เด็กทารกแรกเกิดที่ขาดออกซิเจนระหว่างคลอดจะมีโอกาสเสียชีวิตสูง ซึ่งในกลุ่มเด็กที่รอดชีวิตพบว่าภาวะที่ร่างกายขาดออกซิเจนจะทำให้มีความผิดปกติของการทำงานของระบบสมองและประสาท หรืออาจเกิดภาวะโรคอื่นๆเช่น โรคลมชัก สมองพิการ
ทั้งนี้การติดตามการดูแลเด็กทารกที่ขาดออกซิเจนหลังจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง จะทำให้สามารถค้นพบความผิดปกติและกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมได้ตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งจะเกิดคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้ป่วยเด็กและครอบครัวได้
ผลการประเมินลักษณะทางคลินิกของทารก 5 ประการ (APGARScore) ในนาทีที่ 1 หรือนาทีที่ 5 หลังคลอด มีคะแนนรวมต่ำกว่า 7ซึ่งมีผลทำให้ทารกเสี่ยงต่อภาวะพร่องหรือขาดออกซิเจน และควรได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน สามารถแบ่งตามความรุนแรงได้
ปัจจัยขณะที่ทำให้เกิดภาวะ
Birth Asphyxia
1.ปัจจัยขณะตั้งครรภ์
2.มารดาเป็นโรคเบาหวาน
3.PIH /Chronic hypertension
1.อายุก่อนกำหนดหรือเกินกำหนด
4.มารดาป่วยด้วยโรคบางอย่าง
5.ทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลง
ปัจจัยขณะคลอด
1.ท่าก้นหรือส่วนนำผิดปกติ
2.การเจ็บครรภ์คลอดยาวนาน
3.มารดาได้รับ sedative หรือยาแก้ปวด
4.จังหวะหรืออัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ผิดปกติ
อาการ
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อทารกขาดออกซิเจน ระยะแรกทารกจะหายใจเร็วขึ้นชั่วขณะแล้วจึงหยุดหายใจ มีอาการเขียวเนื่องจากออกซิเจนที่ไปกล้ามเนื้อหัวใจและสมองไม่เพียงพอ หัวใจเต้นช้า และความดันโลหิตต่ำ
1.ระบบทางเดินหายใจ: ทารกจะมีอาการหายใจหอบ เขียว
2.ระบบการไหลเวียนโลหิต: ทารกจะมีหัวใจเต้นเร็ว ซีด
3.ระบบไหลเวียนโลหิต: ความดันโลหิตต่ำ
4.ระบบทางเดินอาหาร: มีอาการท้องอืด และมีการทำลายของเยื่อบุลำไส้ทำให้เกิดลำไส้เน่าอักเสบชนิด NEC (Necrotizing enterocolitis)
3.Meconium aspiration syndrome
การพยาบาลทารกแรกเกิดกลุ่มที่มีปัญหาเรื่องพร่องออกซิเจน
1.จัดทารกนอนหงาย คอแหงนเล็กน้อย หลีกเลี่ยงการจัดท่าของทารกโดยแหงนคอมากเกินไป (Hyperextension)
2.ประเมินภาวะหายใจล าบาก เช่น ปีกจมูกบาน (Nasal flaring)
หายใจมี Sternal retraction หยุดหายใจ เป็นต้น
3.ดูดเสมหะเมื่อประเมินว่าพบทางเดินหายใจของทารกมีเสมหะหลีกเลี่ยง Routine suction เพราะจะทำให้เกิดหลอดลมเกร็ง (Bronchospasm) ขาดออกซิเจน
4.หลีกเลี่ยงการจัดท่าศีรษะต่ำกว่าลำตัว (Trendelenburg position) เพราะจะทำให้เกิดความดันในกะโหลกศีรษะสูงได้
5.ดูแลให้ทารกได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษา ติดตามประเมินระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (O2 saturation) ให้อยู่ระหว่าง 88% - 95%
6.ดูแลให้ความอบอุ่นแก่ทารก ป้องกันภาวะ Cold stress
ึึ7.ให้ทารกได้พัก หลีกเลี่ยงการจับต้องที่เกินความจำเป็น (Over handling)
2.การช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิด (Neonatal Resuscitation)
หลักการกู้ชีพทารกแรกเกิดจำเป็นต้องให้ความอบอุ่น คำนึงถึงการจัดท่าและดูดเสมหะ ตลอดจนกระตุ้นทารกให้หายใจ
1.การช่วยเหลือทารกแรกคลอดที่มีภาวะขาดออกซิเจนระดับปานกลาง (Moderate Birth Asphyxia)
2.Stimulate breathing
3.ประเมินการหายใจของทารกและช่วยเหลือดังนี้
หายใจปกติ ให้สังเกตการหายใจต่อไป ตามด้วยการตกแต่ง cord และส่งเสริม Breast Feeding
หายใจไม่ปกติ ช่วยหายใจด้วย bag and mask (PPV) วาง mask บนปลายคางก่อนแล้วค่อยวางครอบปากและจมูกบีบอัตรา 40 ครั้ง/นาทีนับดังๆขณะช่วยหายใจ
1.Position the head และ Clear the airway: ดูดเสมหะในปากและจมูกด้วยลูกสูบยางแดง หรือดูดเสมหะในปากและจมูกด้วยสายดูดและเครื่องดูดเสมหะ
4.ประเมินทารกขณะช่วยหายใจและช่วยเหลือ ดังนี้
หายใจไม่ปกติ ช่วยหายใจด้วย bag and mask (PPV) ต่ออีก 1 นาที
หายใจปกติ หยุดการช่วยหายใจ ให้สังเกตการหายใจต่อไปตามด้วยการตกแต่ง cord และส่งเสริม Breast Feeding
2.การประเมินและการช่วยเหลือทารกแรกคลอดที่มีภาวะขาดออกซิเจนระดับรุนแรง (Severe Asphyxia)
4.Chest compression กดนวดหัวใจ ทำได้ 2 วิธีคือ
2.Two-finger technique
3.ในการปฏิบัติผู้ท าการกดหน้าอก พูด “หนึ่ง และ สอง และ สาม และบีบ”
4.ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารกทุก 30 วินาที เมื่อ HR ≥ 60 ครั้ง/นาที จึงหยุดการนวดหัวใจ
2.ให้ทำการนวดหัวใจสัมพันธ์กับการช่วยหายใจในอัตราการนวดหัวใจ 3 ครั้งสลับกับ PPV 1 ครั้ง โดย 1 นาที ควรทำการนวดหัวใจ 90 ครั้ง และ PPV 30 ครั้ง
5.ถ้าทารกยังไม่ตอบสนองดีให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์
1.ใช้ปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางตั้งฉากลงบนกระดูกกลางหน้าอก
บริเวณระหว่าง Nipple line กับกระดูก Xyphoid process อีกมือวางบนบริเวณหลังของทารกความลึกในการกดและวิธีกดเหมือนวิธีแรก
1.Thumb finger technique
1.ใช้นิ้วหัวแม่มือ 2 ข้าง กดลงบนกระดูกกลางหน้าอก
(Sternum) บริเวณระหว่าง Nipple line กับกระดูก Xyphoid process
2.นิ้วที่เหลือโอบประคองส่วนหลังของทารก ให้กดไปลึกประมาณ 1/3 ของความหนาของทรวงอก แล้วปล่อยให้กระดูกเคลื่อนตัวกลับเอง
3.กดในอัตรา 100-120 ครั้ง/นาที โดยที่นิ้วมือยังวางอยู่ที่เดิมโดยไม่ต้องยกนิ้วออก
2.อาการไม่ดีขึ้น พิจารณาใส่ Endotracheal tube โดยแพทย์ และเตรียมอุปกรณ์ที่สำคัญ ได้แก่ Laryngoscope ประกอบด้วย handle, blade, light source พร้อมดูความสว่างของหลอดไฟ blade เบอร์0 และ Endotracheal tube
3.ถ้า HR < 60/นาที ให้ทำ chest compression สลับกับ PPV ในอัตรา 3:1คือ กดน้าอก 3 ครั้ง ต่อ PPV 1 ครั้ง หรือใน 1 นาที กดหน้าอก 90 ครั้ง PPV 30 ครั้ง
1.ประเมินการหายใจ HR และ สีผิว
การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิด
A: Open Air way หมายถึง ทำให้ทางเดินหายใจโล่ง
1.เตรียมลูกยางแดงเบอร์ 1 ใช้สำหรับเด็กคลอดครบกำหนด เบอร์ 0 ใช้สำหรับเด็กคลอดก่อนกำหนด และทดสอบว่าลูกยางไม่แตกหรือรั่ว
2.เตรียมสาย Suction
3.Laryngoscope ต่อเข้ากับ Blades NO. 0 ตรวจสอบว่าไฟสว่างพอใช้งานได้ตามปกติและควรส่งให้มือซ้ายของแพทย์ผู้ใส่เสมอ
4.เตรียม Endotracheal tube สำหรับทารกที่มีน้ำหนักต่อไปนี้
B: Initiate breathing หมายถึง การกระตุ้นให้ทารกหายใจ
1.เตรียม Ambubag ต่อกับ Reservoir และ Mask ไว้ให้แน่น (Mask มี 2 ขนาด เบอร์ 01 ใช้กับทารกครบกำหนด และเบอร์ 00 ใช้กับทารกก่อนกำหนด จากนั้นเปิดออกซิเจนไว้ที่ 5 ลิตรต่อนาที และทดสอบความพร้อมใช้งาน
2.เตรียม Stetoscope ในสภาพที่สะดวกในการใช้งาน
3.เตรียมเครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจน (Pulse oxymeter)
C: Maintain circulation การรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ
1.การนวดหัวใจ (Chest compression)
2.การให้ยากระตุ้นการทำงานของหัวใจ (Medications)
4.Birth injuries
อันตรายหรือการบาดเจ็บที่ทารกได้รับในระยะคลอด และในขณะทำการคลอด หรือเกิดจากการบาดเจ็บจากเครื่องมือ (mechanism trauma) ในการทำคลอด
สาเหตุ
ทารกตัวโต (Macrosomia)
การคลอดท่าก้น (Breech presentation)
ส่วนน้าทารกมีขนาดใหญ่กว่าเชิงกราน (CPD)
การคลอดยาก (Dystocia)
ชนิดของการบาดเจ็บจากการคลอด
1.การบาดเจ็บที่ศีรษะ (Cranial injury)
1.Caput succedaneum หมายถึง การคั่งของน้ำ มีการบวมบริเวณ เนื้อเยื่อของหนังศีรษะ ขอบเขตไม่ชัดเจน กดบุ๋ม การบวมข้าม suture หายภายใน 36 ชั่วโมง
การพยาบาล: อธิบายให้พ่อแม่ของทารกเข้าใจเพื่อคลายความวิตกกังวลว่าอาการ
นี้จะค่อยๆหายไปได้เองภายใน 2-3 วันแรก
2.Cephalhematoma: หมายถึงการมีเลือดออกใต้ชั้นเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะ (subperiosteal hemorrhage) เลือดจะค่อยๆถูกดูดซึมภายใน 2-3 สัปดาห์ถึง 3 เดือน ขึ้นอยู่กับขนาด สาเหตุจากศีรษะทารกถูกกด ทำให้เกิดการแตกของเส้นเลือดและมีเลือดมาขังอยู่บริเวณใต้เยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ
การพยาบาล: 1.อธิบายให้มารดาทราบถึงลักษณะการเกิดว่าเกิดจากการคลอดและสามารถหายได้เองโดย จะค่อยๆหายไปเองได้ภายใน 3 เดือน
ให้มารดาดูแลทารกในการป้องกันภาวะตัวเหลือง เพราะทารกจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นสูงถ้ามีอาการตัวเหลืองให้รีบมาพบแพทย์
สังเกตอาการซีด เจาะ hematocrit
เลือดออกในกะโหลกศีรษะ (Intra cranial hemorrhage)
การคลอดก่อนกำหนด ภาวะขาดออกซิเจนเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดเลือดออกในสมองได้อาจพบอาการภายใน 2-3ชั่วโมงหลังคลอด จนถึง 2-3 วันหลังคลอด ได้แก่
2.ร่างกายอ่อนปวกเปียก (Poor muscle tone)
3.เซื่องซึม (Lethargy)
1.moro reflex น้อยหรือไม่มีเลย (Absent moro reflex)
4.ร้องเสียงแหลม (High pitch city)
การบาดเจ็บบริเวณสันหลัง (Spine and spinal cord injury)
การบาดเจ็บไขสันหลังพบได้น้อย มักเกิดกับทารกที่คลอดท่าก้นแล้วติดศีรษะ และผู้ทำคลอดออกแรงดึงหมุนตัวทารกรุนแรงเกินไป
การพยาบาล
ห้ามขยับหรือเคลื่อนย้ายทารกเพราะกระดูกที่หักอาจไปกดเส้นประสาททำให้เป็นอัมพาต (paralysis) ในรายที่เป็นมากอาจเสียชีวิตหลัง
การบาดเจ็บของเส้นประสาท (Nerve injury)
การพยาบาล
พยายามให้ทารกไม่เคลื่อนไหวเป็นพักๆ ร้อยละ 80
จะดีขึ้นภายใน 3-6 เดือน ส่วนใหญ่จะหายเองภายใน 12 เดือนหลังคลอด
พบได้บ่อยดังนี้
1.Spinal injury: เป็นการบาดเจ็บที่เกิดจากการยืดของไขสันหลัง
2.Brachial Plexus injury: เกิดจากการยืดของเส้นประสาทไขสันหลังระดับคอ(Cervical nerve) ในระหว่างการคลอดยาก โดยเฉพาะคลอดติดไหล่
3.Erb – Duchene paralysis): เป็นการบาดเจ็บที่เกิดจากการยืดส่วนบนของBrachial Plexus (Upper roots)
4.Facial nerve palsy: เป็นการบาดเจ็บของเส้นประสาทที่เลี้ยงใบหน้า (Facial nerve) อาจเกิดจากศีรษะทารกกดทับบริเวณกระดูก sacrum ของมารดาในระหว่างการคลอด หายเองได้ภายใน 2-3 วัน
การบาดเจ็บต่อกระดูก (Fracture)
การพยาบาล
ในกรณีกระดูกไหปลาร้าหัก หากกระดูกไม่แยกจากกันไม่จำเป็นต้องทำอะไร เพราะกระดูกสามารถเชื่อมต่อเองได้ตามปกติภายใน 4-6 สัปดาห์ แต่หากพบว่ามีกระดูกหักแยกออกจากกันต้องเข้าเฝือกชั่วคราว
1.กระดูกไหปลาร้าหัก (Clavicle Fracture): สามารถพบได้บ่อย แต่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการถ้ากระดูกไม่แยกจากกัน หรืออาการไม่รุนแรง
2.กระดูกต้นแขนหัก (Humeral Fracture): เป็นการหักของกระดูกกลุ่ม Long bone สามารถพบในการคลอดแขนทารกที่คลอดท่าก้น
3.กระดูกต้นขา Femoral Fracture: มักพบไม่บ่อย ส่วนใหญ่พบในการคลอดท่าก้น
หมายถึง
หมายถึง