Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะน้ำคร่ำอุดตันหลอดเลือดในปอด (amniotic fluid embolism: AFE),…
ภาวะน้ำคร่ำอุดตันหลอดเลือดในปอด (amniotic fluid embolism: AFE)
ความหมาย
ภาวะที่น้ำคร่ำรั่วเข้าสู่กระแสเลือดของมารดา
อุดกั้นบริเวณหลอดเลือดดำที่ปอด
รายที่ไม่เสียชีวิตทันทีจะมีภาวะผิดปกติของกลไกการแข็งตัวของเลือด (DIC)
เลือดออกผิดปกติ
ส่วนประกอบของน้ำคร่ำ เช่น ขนอ่อน ไข ผม หรือขี้เทาของทารก > ร่างกายมารดา เกิดปฏิกริยาต่อต้าน > ระบบหายใจ ระบบไหลเวยีนเลือดและหัวใจล้มเหลว
อุบัติการณ์ของภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอดพบได้ 1:500 ถึง 1:20,000 ของผู้คลอด
ส่วนใหญ่จะเกิดภายหลังถุงน้ำคร่ำแตก
พบในครรภ์หลงัมากกว่าครรภ์แรก
อาการจะเกิดขึ้นรวดเร็ว รุนแรง
หากได้รับการช่วยเหลือไม่ทันจะมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตทั้งมารดา และทารกสูงถึงร้อยละ 80
มารดาและทารกที่รอดชีวิตพบว่ามักมี neurological damage ตามมา
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
มดลูกหดรัดตัวถี่และรุนแรง หรือได้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกทำให้
ความดันในโพรงมดลูกมากขึ้น > น้ำคร่ำถูกดันเข้าสู่กระแสเลือดของมารดา
ถุงน้ำคร่ำแตก > เกิดช่องทางติดต่อในการที่น้ำคร่ำจะหลุดเข้ากระแสเลือด
ทารกตายในครรภ์เป็นเวลานาน > เปื่อยยุ่ย > หลอดเลือดเกิดการฉีกขาด
รกลอกตัวก่อนกำหนด > หลอดเลือดเกดิการฉีกขาด > น้ำคร่ำจึงหลุดเข้ากระแสเลือด
ปัจจัยอื่น เช่น น้ำคร่ำมีขี้เทา การคลอดเฉียบพลันรกเกาะต่ำ rupture of vasa previa มดลูกแตกมีการบาดเจ็บในช่องท้อง
อาการและอาการแสดง
กระสับกระส่าย หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก เกิดภาวะการหายใจล้มเหลว มีอาการ cyanosis
เกิดภาวะน้ำท่วมปอด ไอ และเสมหะเป็นฟองสีชมพู ความดันโลหิตต่ำอย่างเฉียบพลัน (hypotension)
รายที่ไม่เสียชีวิต จะมีภาวะผิดปกติของกลไกการแข็งตัวของเลือด (DIC)
ตกเลือดอย่างรุนแรง (จาก uterine atony)
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
มารดา
การหายใจล้มเหลว
เสียชีวิต
ตกเลือด > ช็อก
DIC
ทารก
ขาดออกซิเจน
เสียชีวิต
การวนิจฉัย
อาการและอาการแสดง
กระสับกระส่าย ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำ เหงื่อออก ตัวเย็น ซีด หายใจลำบาก หมดสติ อาการเขียว ระบบหายใจล้มเหลว
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
PT, PTT Plt. Fibrinogen level ผิดปกติ + Hb, Hct ลดลง รายที่เสียเลือดมาก
EKG > ภาวะหัวใจล้มเหลว
ABG พบออกซิเจนในเลือดต่ำ
CXR > น้ำท่วมปอด
การรักษา
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง ให้ออกซิเจน on ET tube
ให้สารละลายทางหลอดเลือด เพิ่มปริมาตรเลือด พลาสมา และไฟบริโนเจน แก้ภาวะ fibrinogen ต่ำลดการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวจากขาดเลือดไปเลี้ยง + ดูแลให้ fresh whole blood
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
ถ้าทารกยังไม่คลอด > ประเมินทารก และรีบให้การผ่าตัดคลอดอย่างเร่งด่วน
เตรียมยาในการช่วยชีวิตผู้คลอด > BP drop
ประเมินการเสียเลือดทางช่องคลอด
เจาะเลือดประเมินความเข้มข้นเลือด การแข็งตัวของเลือด
การพยาบาล
การพยาบาลเมื่อเกิดภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด (AFE)
ประเมินและบันทึกการหดรัดตัวของมดลูก และ FHS ตลอดเวลา โดย on electronic fetal monitoring
ดูแลให้ผู้คลอดได้รับยา เลือด หรือสารประกอบของเลือดตามแผนการรักษา
ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพ หรือ CVP และประเมินอาการและอาการแสดงของ AFE
ประเมิน และบันทึกปริมาณสารน้ำที่เข้าและออกจากร่างกาย
NPO ให้ IV fluid + oxygen ตามแผนการรักษา
ติดตามภาวะการแข็งตัวของเลือด ภาวะเลือดออกง่าย เช่น มีจุดจ้ำเลือดตามร่างกาย หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดในปริมาณมาก
จัดให้ผู้คลอดนอนท่าศีรษะสูง
เตรียมให้พร้อมสำหรับการช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการหรือการผ่าตัดคลอด
เตรียมอุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพของทั้งผู้คลอดและทารกให้พร้อมใช้
ระยะหลังคลอด > เฝ้าระวังภาวะตกเลือด + ดูแลมารดาต่อในหอผู้ป่วยหนัก เพื่อติดตามเรื่องระบบหายใจ และระบบไหลเวียนเลือด
อธิบายให้ผู้คลอด และครอบครัวทราบเกี่ยวกับภาวะที่เกิดขึ้น
แผนการรักษา และการปฏิบัติตัวเพื่อความร่วมมือในการรักษา
การป้องกันภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นหลอดเลือดในปอด
ประเมิน และวินิจฉัยปัจจัยเสี่ยงในผู้คลอดทุกราย
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกอย่างใกล้ชิด > ผู้คลอดที่ได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ประเมินสัญญาณชีพและอาการแสดงของ AFE > ภายหลังถุงน้ำคร่ำแตกเอง การเจาะถุงน้ำคร่ำ
หลีกเลี่ยงการตรวจทางช่องคลอด > ผู้คลอดที่มีภาวะรกเกาะต่ำหรือรกลอกตัวก่อนกำหนด
การป้องกัน
เจาะถุงน้ำอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ถูกปากมดลูก > ป้องกันเส้นเลือดฉีกขาด
ขณะเจ็บครรภ์คลอด > ไม่ควรกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวมากเกินไป
กรณีทารกตาย > ระมัดระวังการกระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์
ภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์
นางสาวเกตน์นิภา เกทะโล
รหัส 603901003 เลขที่ 2
นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3