Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ ๒ องค์ประกอบและกระบวนการบริหาร - Coggle Diagram
บทที่ ๒ องค์ประกอบและกระบวนการบริหาร
ความสำคัญและภาระหน้าที่ของการบริหารจัดการ
๑. ระบบงาน ซึ่งก็คือทรัพยากรที่ไม่มีชีวิต ได้แก่ ทรัพย์สิน เงินทุน เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์
๒. ระบบคน ก็คือ มนุษย์หรือทรัพยากรบุคคล ที่เป็นผู้ปฏิบัติงานโดยใช้ทรัพยากรต่างๆ หรือสิ่งของ
เพื่อที่จะก่อให้เกิดผลสำเร็จให้กับองค์การ
องค์ประกอบของการบริหาร (Management Component)
๒. มีปัจจัยในการบริหาร (Factor of Management) โดยทั่วไปแล้วปัจจัยในการบริหารที่เป็น
พื้นฐานมี ๕ ประการ คือ
๒.๒ เงิน หรือ งบประมาณ (Money) การบริหารเงิน จะจัดสรรเงินอย่างไรให้ใช้จ่ายต้นทุนน้อย
ที่สุดและให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล งบประมาณในการบริหารจัดการและตำเนินการ ได้แก่ ประเภทที่จ่ายประจำ เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าใช้สอย ค่าสาธารณูปโภค และ ประเภทที่ใช้ในการบำบัดรักษา คนไข้ เช่น ค่ายา และเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ค่ำอุปกรณ์ทางการแพทย์ และอื่นๆ เงินเป็นปัจจัยนำเข้าที่เพียงพอแก่การดำเนินการผู้บริหารต้องวางแผนการใช้เงินอย่างเหมาะสมคุ้มค่า
๒.๓ วัสดุอุปกรณ์ (Materials) เป็นปัจจัยนำเข้า วัสดุครุภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการบริหารการ
พยาบาล ได้แก่ ของใช้สำหรับการให้การพยาบาล เครื่องมือแพทย์ วัสดุสำนักงาน งานบ้านงานครัวและอุปกรณ์ทำความสะอาด ผู้บริหารต้องจัดหาให้พอกับความต้องการ และให้การพยาบาลเกิดคุณภาพที่แท้จริง การบริหารวัสดุในการดำเนินงาน ว่าจะทำอย่างไร้ให้สิ้นเปลืองน้อยที่สุด หรือเกิดประโยชน์สูงสุด
๒.๑ คน หรือ บุคลากร (Man) การบริหารกำลังคน จะใช้คนอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพ และ
ประสิทธิผลกับงานให้มากที่สุด ในการบริหารการพยาบาล ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเทคนิค พนักงานช่วยเหลือผู้ป่วย พนักงานทำความสะอาด และเจ้าหน้าที่อื่นๆ คนเป็นปัจจัยนำเข้า บุคลากรที่จะ
ปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องเป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม และมี
พฤติกรรมเหมาะสม ที่จะเป็นผู้นำด้านสุขภาพ
๒.๔ เทคนิควิธี (Method) การจัดการหรือเทคนิคในการบริหารจะใช้เทคนิควิธีการแบบใด ที่
สามารถสนับสนุนให้การบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒.๕ เครื่องมือ (Machine) หรือเครื่องจักรกล ในการบริหารงานจะใช้เครื่องมือ เครื่องจักร
ประเภทใด ขนาดไตหรือแบบใดที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารงาน
๓ ลักษณะของการบริหาร (Management Style) การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และทั้งศิลป์ที่ผู้บริหาร
จะต้องนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อองค์กร จนมีคำกล่าวที่ว่า "ที่ใดมีผู้นำที่ดี ที่นั่นก็จะมีความสำเร็จ
๑ มีเป้าหมาย (Goal) หรือวัตถุประสงค์ที่แน่นอนในการบริหารองค์การ ผู้บริหารจะต้องมีการ
กำหนดทิศทางหรือวัตถุประสงค์ของการทำงานไว้ขัดเจน
กระบวนการบริหารจัดการ (Management Process)การจำแนกหน้าที่การบริหารของผู้บริหารนั้น ได้มีนักบริหารจำแนกเอาไว้ ดังนี้
เฮนรี่ ฟาโย (Henry Fayol) จำแนกหน้าที่ของนักบริหารเอาไว้ ๕ ประการ หรือที่เรียกว่า หลักการบริหารแบบ POCCC ดังนี้
C คือ Commanding หมายถึง การบังคับบัญชา
C คือ Co-ordinating หมายถึง การประสานงาน
O คือ Organizing หมายถึง การจัดการองค์การ
C คือ Controlling หมายถึง การควบคุม
P คือ Planning หมายถึง การวางแผน
ลูเธอร์ กูลลิค (Luther Gulick) สาระสำคัญของแนวคิด คือ ประสิทธิภาพ เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด
ของการบริหาร และเพื่อให้การบริหารงานในทุกห น่วยงานมีประสิทธิภาพ ความเหมาะสมและความจำเป็น หรือความถนัดของคนงาน โดยแบ่งหน่วยงานออกตามกระบวนการวัตถุประสงค์ ลูกค้า และพื้นที่โดยทุกหน่วยงานจะต้องจัดรูปแบบองค์การเป็นรูปสามเหลี่ยมปิรามิด และได้จำแนกหน้าที่ของการบริการเอาไว้ ๗ ประการที่เรียกว่าเป็นแบบการบริหาร คือ"POSDCoRB" ซึ่งประกอบด้วย ดังนี้
๔. Directing การอำนวยการ เป็นภารกิจในการใช้ศิลปะในการบริหารงาน เช่น ภาวะผู้นำ(Leadership) มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) การจูงใจ (Motivation) และการตัดสินใจ (Decision
making)
๕. Coordinating การประสานงาน เป็นการประสานให้ส่วนต่าง ๆ ของกระบวนการทำงานมีความ
ต่อเนื่องกัน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและราบรื่น
๓. Staffing การจัดบุคลากรปฏิบัติงาน เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์องค์การ
นั่นเอง ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรมาปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการจัดแบ่งหน่วยงานที่กำหนดไว้
๖. Reporting การรายงาน เป็นกระบวนการและเทคนิคของการแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาตามชั้นได้
ทราบถึงผลการปฏิบัติงาน โดยที่มีความสัมพันธ์กับการติดต่อสื่อสาร (Communication) ในองค์การอยู่ด้วย
๒. Organizing การจัดองค์การ เป็นการกำหนดโครงสร้างขององค์การ โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับ
งาน เช่น การแบ่งงาน (Division of Work) เป็นกรม กอง หรือแผนก โดยอาศัยปริมาณงาน คุณภาพงาน หรือจัดตามลักษณะเฉพาะของงาน (Specialization)
๗. Budgeting งบประมาณ เป็นภารกิจที่เกี่ยวกับการวางแผนการทำบัญชีการควบคุมเกี่ยวกับ
การเงินและการคลัง
๑. Planning การวางแผน เป็นการวางเค้าโครงกิจกรรมซึ่งเป็นการเตรียมการก่อนลงมือปฏิบัติ
เพื่อให้การดำเนินการสามารถบรรลุเป้หมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
CHESTER BARNARD เห็นว่าการสื่อสารในองค์การเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างดุลภาพของความต้องการระหว่างบุคคลกับองค์การ โดยมีการกำหนดให้นักบริหารมีหน้าที่สำคัญ คือ
รักษาสมาชิกภายในและชักจูงสมาชิกใหม่
กำหนดเป้าหมายขององค์การ และตีความเพื่อแสดงให้สมาชิกในองค์การได้รับรู้
ดูแลติดต่อประสานงานภายในองค์การ
ใช้ศิลปะเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน
ทำงานด้วยความรับผิดชอบ โดยใช้หลักของศีลธรรม
ฮาลอร์ดดี คูลย์ (Haroled D.Knotz) ได้จำแนกหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติของนักบริหารเอาไว้เป็น กระบวนการ ดังนี้
๑. กระบวนการวางแผน (Planning)
ความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องวางแผน
๔. ช่วยให้การอำนวยการ การมอบหมายงาน การประสานงาน และการควบคุมประเมินผล
เป็นไปได้อย่างเหมาะสม
๕. ช่วยในการพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงาน
๓. ช่วยให้คาดการณ์ล่วงหน้าได้ถูกต้องหรือใกล้เคียง สามารถเผชิญกับปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น
๖. ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของงานได้ดี
๒. การปฏิบัติตามแผน ช่วยให้ปฏิบัติงานได้เร็ว และลดความผิดพลาดต่างๆได้
๗. ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ลดการทำงานซ้ำซ้อนรวมทั้งขจัดงานที่ไม่ก่อให้เกิด
ประโยชน์ออกไป
๑.ช่วยประหยัดทรัพยากร เวลาและแรงงาน
ประเภทของแผน
๓. แผนระยะยาวใช้เวลาตั้งแต่ ๑๐ปีขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการวางแผนและตัดสินใจของ
ผู้บริหารการพยาบาลในระดับสูงขององค์กร เช่น หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล
๑. แผนระยะสั้น ๑-๓ ปี เป็นการวางแผนในลักษณะของการกำหนดรายละเอียดของการทำงาน เช่น แผนการปฏิบัติงานประจำวัน
๔. แผนฉุกเฉิน ขึ้นอยู่กับความจำเป็นและสภาพแวดล้อม เช่น กรณีที่ผู้ป่วยฉุกเฉิน ผู้ป่วย
อุบัติเหตุ
๕. แผนโดยจำแนกลำดับขั้นของการจัดการ
๕.๑ แผนกลยุทธ์ (Stategic planning) เป็นการวางแผนในระยะยาว ซึ่งเกี่ยวข้อง
กับสภาพแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลง ไม่อาจควบคุมได้ เป็นการวางแผนในลักษณะการพิจารณาภาพรวมทั้งหมด
๕.๒ แผนโครงการ (Project planning) เป็นการวางแผนริเริ่มงานใหม่ เป็นโครงการที่อาจใช้เวลา ๑๕ปี จุดมุ่งหมายเพื่อให้มีสิ่งใหม่เกิดขึ้น สามารถช่วยยกระดับหรือปรับปรุงสิ่งเก่าให้ดีขึ้น
๕.๓ แผนปฏิบัติการ (Operational planning) การวางแผนระดับปฏิบัติการ
ส่วนมากผู้บริหารระดับตันเป็นผู้รับผิดชอบ จะเป็นแผนปฏิบัติตามหน้าที่งานต่างๆ พร้อมงบประมาณทุกด้าน
๒. แผนระยะกลาง ระยะเวลา ๕-ด๐ปี เป็นการวางเป้าหมายให้ครอบคลุมในระยะ ๕ปี เช่น
แผนพัฒนาบุคลากรในระยะ ๕ ปี
กระบวนการวางแผน (planning process)
๓. การวางแผน (planning) เป็นขั้นตอนการเสนอแผนให้ผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความ
เห็นขอบก่อนที่จะไปดำเนินการ
๑. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Setting the objective) วัตถุประสงค์จะต้องเขียนในลักษณะ
ผลลัพธ์ที่วัตได้ เพื่อสามาระใช้เป็นแนวทางสำหรับการประเมินผลต่อไป
๔. การดำเนินงานตามแผน (Execution of the plan) เมื่อแผนได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการได้ ผู้วางแผนต้องจัดเตรียมแผนให้พร้อมสำหรับการดำเนินการ โดยจัดเรียงลำดับกิจกรรมต่างๆ ในการ
ดำเนินการ
๕. การติดตามและปรับปรุงแผน (Monitoring of the plan) เทคนิคในการดำเนินการและ
ควบคุม ดังนี้ การจัดตารางการปฏิบัติงาน (schedules)เป็นวิธีการที่ง่ายในการจัดทำและกำกับติดตาม ตาราง แก็นท์ (GANTT CHART) เป็นพัฒนาการของการจัดตารางปฏิบัติงาน ในตารางแก็นท์จะระบุงานที่จะต้องกระทำทั้งหมด ซึ่งเป็นประโยชน์ในการควบคุมงานให้ดำเนินไปตามเวลาที่กำหนด
๒. การรวบรวมข้อมูล (Collecting data) วี้เคราะห์ทางเลือก โดยพิจารณาข้อมูลจากหลายๆ
ด้าน เพื่อประกอบการตัดสินใจในการวางแผน
๒. การจัดองค์การ (Organizing)Robbins and Coulter (๒๐๐๓) Stoner and Wankle (๑๙๘๖) Dessler (๒๐๐๔) Koontz and
Weihrich (๑๙๙๐) ได้ให้ความหมายของการจัดองค์การ คือ กระบวนการในการจัดโครงสร้างขององค์การซึ่ง
กระบวนการจัดองค์การ
๒.จัดทำแผนภูมิสายการบังคับบัญชาประจำหน่วยงาน
๓. ชี้แจงให้บุคลากรทราบสายการบังคับบัญชา
๔. มอบหมายการทำงาน
๕. จัดแบ่งประเภทผู้รับบริการออกเป็นประเภทต่าง ๆ
๑.จัดวิเคราะห์งานเพื่อกำหนดโครงสร้างองค์การ
๖.มอบหมายงานแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาตามความรู้ ความสามารถอย่างเหมาะสม
นอกจากนั้น Robbins (๑๙๙๘) ยังได้เสนอแนวติดว่า องค์ประกอบโครงสร้างองค์กรมี ๓ ประการ
๒. การสร้างแบบมาตรฐาน หมายถึง การที่องค์การใดองค์การหนึ่งกำหนดมาตรฐาน หรือ
กฎระเบียบตง ๆ และนำมาตรฐานหรือกฎระเบียบเหล่านั้นไปใช้ในการนำ
หรือการควบคุมพฤติกรรมของ
บุคลากรของตนให้ตำเนินไปในทิศทางที่ต้องการ
๓. หมายถึง การสั่งการ การควบคุม การนิเทศ และการติดตามประเมินผล ผู้บังคับบัญชาจะต้องสามารถกระตุ้นหรือจูงใจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีความกระตือรือร้นการทำงานให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ดังนั้น หน้าที่ของผู้บริหารจึงหมายรวมถึงความสามารถของการเป็นผู้นำ การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี และความสามารถในการจูงใจ (Motivation) ความสามารถในการวินิจฉัยสั่งการ (Decision) การมอบหมายอำนาจหน้าที่ (Delegation of Authority) ซึ่งเป็นหลักสำคัญยิ่งของการบริหารด้วย
๑. ความซับซ้อน ซึ่งหมายรวมไปถึงการจำแนกแยกแยะงานหรือภารกิจต่าง ๆให้ชัดเจน
หรือแบ่งงานกันทำ การจัดแผนกและการจัดขั้นสายการบังคับบัญชาขององค์การ
องค์กรในโรงพยาบาล
๑. องค์การแพทย์ (Medical Department)
๒. องค์การพยาบาล (Nursing Department)
๓. องค์การอื่น ๆ (Other Department )เช่น Laboratory, Radiography, Physiotherapy
๔. องค์การบริหารงานทั่วไปAdministrative and Lay Department)
๓. การอำนวยการ (Directing)
กระบวนการอำนวยการ
๒. จัดลำดับความสำคัญของงานก่อนหลัง
๓ มอบอำนาจหน้าที่กระจายหรือรวมอำนาจการบริหาร ออกคำสั่งด้วยวาจาหรือลายลักษณ์
อักษร
๑. จัดให้มีการประสานงาน ในสายงานการปกครอง บังคับบัญชา
๔. การพิจารณาใช้คนให้เหมาะกับงาน
ขอบเขตของการอำนวยการ
๒. การคุมงาน
๓. การติดตามงาน
๑. การสั่งการ
วิธีสั่งงาน
๒. การสั่งด้วยการเขียนใช้กรณีที่จะสั่งคำสั่งไปยังบุคคลหลายแห่ง ใช้เมื่อเป็นเรื่องสำคัญและ
เฉียบขาด ใช้เมื่อคำสั่งนั้นเป็นมาตรฐานในการกำหนดงานทั่วไป
๓. การสั่งด้วยกิริยา ท่าทาง
๑. การสั่งด้วยวาจาส่วนมากแล้ว มักนิยมที่เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีความสำคัญนักเป็นเรื่องที่ไม่ต้องมี
รายละเอียดจะให้จุดจำมาก
หลักสำคัญในการปฏิบัติงาน
๓. ต้องสั่งงานให้เป็นที่เข้าใจ และต้องมีความแน่ใจ
๔. ต้องสั่งงานให้ทันต่อเวลาหรือเหตุการณ์
๒. ต้องสั่งงานให้ตรงประเด็น
๕ จะต้องสั่งงานให้อยู่ในวิสัยที่จะปฏิบัติตามได้
๖. ต้องมอบหมายอำนาจให้เพียงพอแก่การปฏิบัติงาน
๑. ต้องรู้แจ้งในข้อเท็จจริงให้แน่ชัด
๗. ต้องกล้ารับผิดชอบ และยอมรับข้อผิดพลาดถ้าไม่เกิดผล
รูปแบบการสั่งการ
๒. แบบขอร้อง (Request) เป็นการสั่งงานที่มีลักษณะโน้มเอียงไปทางขอความช่วยเหลือ เพื่อ
เปิดโอกาสให้ผู้รับมอบหมายงานได้มีโอกาสใช้ดุลยพินิจในการทำงานบ้าง
๓. แบบเสนอแนะ (Sนgest) เป็นการสั่งงานในลักษณะที่ส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความติด
ริเริ่มในการทำงาน
๑. แบบออกคำสั่งโดยตรงหรือการออกคำสั่ง (Demand or Direct) เป็นการสั่งการต้องการให้
ผู้รับคำสั่งปฏิบัติทันที มักใช้ในกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
๔. แบบอาสาสมัคร (Volunteer) เป็นการสั่งงานที่นอกเหนือจากหน้าที่จะต้องปฏิบัติเป็นงานที่
อาศัยความเต็มใจ
๔. การประสานงาน Co (Co-ordination)
การประสานงานเกิดจากความต้องการให้งานที่ทำประสบผลสำเร็จ โดยผู้ปฏิบัติจะต้องมีความ
รับผิดชอบที่จะทำงานเหล่านั้นเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดมี 2 ลักษณะ
๑. การประสานงานอย่างเป็นทางการ หมายถึง การประสานงานแบบมีพิธีรีตองที่ต้องปฏิบัติ เช่น มีหนังสือติดต่อหรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือเสนอรายงานเป็นลำดับขั้น เป็นต้น
๒. การประสานงานอย่างไม่เป็นทางการ หมายถึง การประสานงานแบบไม่มีพิธีรีตองเพียงแต่ทำความ
ตกลงให้ทราบถึงการที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามจังหวะเวลาเดียวกันและด้วยจุดประสงค์เดียวกัน การดำเนินการต้องอาศัยความใกล้ชิตสนิทสนมเป็นส่วนตัว
วิธีประสานงาน
๑. การประสานงานภายในองค์การ
๑.๑ การประสานงานในทีมสุขภาพ
๑๒ การประสานงานในทีมการพยาบาล
๒. การประสานงานนอกองค์การ
ปัจจัยที่จะช่วยให้เกิดการประสานงานที่ดี
๒. มีความรู้สึกและเจตคติที่ตีต่อกันและต่องาน
๓. ความสามารถของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกันมีการติดต่อสื่อสารที่ดี
๑. มีแผนงานที่ดี มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่แน่นอน
๔. มีการประชุมพบปะหารือกันอยู่เสมอ
๕. ผู้บริหารหรือหัวหน้างานต้องเป็นผู้ที่เห็นคุณค่าของการประสานงานและเป็นผู้มองการณ์ไกล
ปัญหาและอุปสรรคในการประสานงาน
๒. การปฏิบัติงานที่ไม่มีแผน
๓. การขาดมนุษย์สัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน
๑. การจัดองค์การที่มีลักษณะซับซ้อนและเป็นองค์การที่ใหญ่มาก
๔. การมอบหมายงานที่ช้ำซ้อนและก้าวก่ายหน้าที่กัน
๕ การกำหนดหน้าที่ความรับผิตชอบไม่ชัดเจน
๗. สภาพแวดล้อมของหน่วยงานที่แตกต่างกัน
๖. ขาดการนิเทศที่ดี
๕. การควบคุม (Controlling)หมายถึง การกำกับดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนหรือแนวทางที่กำหนดไว้ เพื่อให้บรรลุ
เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะการควบคุมงาน
๑. การควบคุมภายใน คือ การควบคุมการปฏิบัติงานที่จัดให้มีในหน่วยงานนั้นๆ โดยอาศัย
เทคนิค เครื่องมือ และวิธีการต่าง
๒. การควบคุมภายนอก คือ วิธีการที่อยู่นอกเหนือความรับผิดขอบของหน่วยงาน แต่เป็นการ
ควบคุมโดยผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับผลจากการดำเนินงานของหน่วยงาน
ขั้นตอนการควบคุมงาน
๒. กำหนดเกณฑ์และมาตรฐานในการควบคุมงาน
๓. เปรียบเทียบผลงานกับเกณฑ์และมาตรฐานที่กำหนดไว้
๑. กำหนดเป้าหมายของการควบคุมงาน
๔. ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง
ประโยชน์การควบคุมงาน
๒. ประสีหริภาพการทำงานและการทำงานให้ประสบผลสำเร็จตามแผนงาน
๓. เกิดการค้นหาเทคนิคการควบคุมงานที่เหมาะสม น่าเชื่อถือใช้ประโยชน์ได้จริง
๑ ช่วยใช้ผู้ปฏิบัติงานมีความตื่นตัว มีความรู้ความเข้าใจในการทำงาน มีความรับผิดชอบ
ปัญหาในการควบคุมงาน
๒. หัวหน้าหน่วยงานไม่เห็นความสำคัญ
๓. ไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ปฏิบัติงาน
๔. ไม่มีหลักเกณฑ์และมาตรฐานการควบคุมงาน
๑. จัดระบบงานไม่ตี ละเลยการจัดระบบงาน