Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย และสิทธิมนุษยชน, นางสาวญาณิศา มลาชู…
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย และสิทธิมนุษยชน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
ความหมายของกฎหมาย กฎหมาย หมายถึงคำสิ่งหรือข้อบังคับของรัฐ ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อ ใช้ควบคุมความประพฤติของบุคคล ซึ่งอยู่ในรัฐหรือในประเทศของตน หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ประพฤติปฏิบัติตาม ก็จะมีความผิดและถูกลงโทษ
ลักษณะของกฎหมาย
มาจากรัฏฐาธิปัตย์ หมายความว่า ผู้ที่จะออกฎหมาได้นั้นต้องเป็นผู้ที่มีอำนางสูงสุดในประเทศ
เป็นคำสั่งข้อห้าม ข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม หมายความว่ากฎหมายไม่ใช่คำขอร้อง หรือ
แถลงการณ์ เมื่อประกาศใช้แล้วประชาชนทุกคนต้องปฏิบัติตาม
ใช้ได้ทั่วไป หมายความว่า กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว จะมีผลใช้บังคับได้กับประชาชนทุกคน
4 ใช้ได้เสมอไป หมานความว่ากฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว จะมีผลใช้บังคับได้คลอดไป จนกว่าจะมีการยกเลิก
มีสภาพบังกับ หมายความว่า กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงโทษ
ระบบของกฎหมาย (Legal System)
แบ่งได้เป็น 4 ระบบ
ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law)
ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common Law)
ระบบกฎหมายประเทศสังคมนิยม (Socialist Law)
ระบบกฎหมายศาสนา (Religon Law)
ระบบกฎหมายของประเทศไทย
สําหรับประเทศไทย ในระยะแรกกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงสำเร็จการศึกษาวิชากฎหมายจากประเทศอังกฤษ ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมาย และนำเอาหลักกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษรมาใช้
ต่อมาได้มีการปรับปรุงการศาลยติธรรมและเปลี่ยนแปลงระบบกฎหมาย โดยมีการจัดทำ ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 เป็นฉบับแรก
จากน้ันก็มีการจัด ทำ ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์และประมวลกฎหมายอื่น ๆ จึงถือได้ว่า ประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร หรือระบบ ประมวลกฎหมาย
ประเภทของกฎหมาย
แบ่งได้หลายลักษณะตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
ใชเ้น้ือหาของกฎหมายเป็นหลักเกณ์การแบ่ง
1.2 กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารีตประเพณีต่างๆที่นำมาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความ
1.1 กฎหมายลายลักษณ์อักษรได้แก่ ตัวบทกฎหมายต่างๆที่บัญ ญตัิข้ึนเป็นลายลักษณ์อักษ
ใช้สภาพบังคับกฎหมายเป็นหัลกในการแบ่ง
2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ได้แก่ กฎหมายต่างๆที่มีโทษตามบัญญัติไวใ้นประมวลกฎหมายอาญา
2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง สภาพบังคับทางแพ่งมิได้มีบัญญตัิไว้ชัดเจนเหมือนสภาพบังคับทางอาญา
ใช้บทบาทของกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง
3.1 กฎหมายสารบัญญตัิ ไดแ้ก่ กฎหมายที่กล่าวถึงการกระทำ ที่เป็นองค์ประกอบของความผิดโดยทั่วไป
3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ ไดแ้ก่ กฎหมายที่กล่าวถึงวิธีการที่จะนำกฎหมายสารบญัญตัิไปใช้
ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง
4.1 กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนด้วยกัน โดยที่รัฐไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง
4.2 กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน
หลักการใช้กฎหมาย
การแปลความหมายของบทบัญญัติ
การใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริง มีสองประการ
การใช้กฎหมายในทางปฏิบัติเป็นเรื่องซึ่งหาหลักเกณฑ์ได้ยาก
การตีความกฎหมาย
การตีความกฎหมายคือ
การตีความกฎหมายต้องอาศัยหลักวิชา
การตีความตามลายลักษณ์อักษร
การตีความตามเจตนารมณ์
การอุดช่องว่างในกฎหมาย
เมื่อเกิดช่องว่างในกฎหมาย
การอุดช่องว่างโดยจารีตประเพณี
การอุดช่องว่างโดยเทียบเคียงกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง
การอุดช่องว่างโดยหลักกฎหมายทั่วไป
กฎหมายบางประเภท
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิขั้น พื้นฐานที่พึงมีโดยเสมอภาคกันเพื่อการดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรีมีโอกาสเท่าเทียมกันในการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่าง เต็มที่และสร้างสรรค์ดังนั้นจึงเป็นสิทธิที่ได้มาพร้อมกับการเกิดและ เป็นสิทธิติดตัวบุคคลนั้นตลอดไปไม่ว่า จะอยู่ในเขตปกครองใด หรือเช้ือชาติ ภาษา ศาสนาใด ๆ
ขอบเขตของสิทธิมนุษยชน (Categories of Human Rights)
สามารถจําแนกได้ครอบคลุมสิทธิ 5 ประเภท ได้แก่
1) สิทธิพลเมือง ได้แก่ สิทธิในชีวิตและร่างกาย เสรีภาพและความมั่นคงในชีวิต ไม่ถูกทรมาน ไม่ถูกทําร่ายหรือฆ่า สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
2) สิทธิทางการเมือง ได้แก่ สิทธิในการเลือกวิถีชีวิตของ ตนเองทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
3) สิทธิทางเศรษฐกิจ ได้แก่สิทธิในการมีงานทํา ได้เลือกงานอย่างอิสระและได้รับค่าจ้างอย่างเป็นธรรม
4) สิทธิทางสังคม ได้แก่ สิทธิในการได้รับการศึกษา สิทธิในการได้รับหลักประกันด้านสุขภาพ แม่และ
เด็กต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
5) สิทธิทางวัฒนธรรม ได้แก่ การมีเสรีภาพในการใช้ภาษาหรือสื่อความหมายในภาษาท้องถิ่นตน มี
เสรีภาพในการแต่งกายตามวัฒนธรรม
หลักการของสิทธิมนุษยชน (The Human Rights Principles)
เป็นสิทธิธรรมชาติ ติดตัวมนุษย์มาแต่เกิด (Natural Rights)
สิทธิมนุษยชนเป็นสากลและไม่สามารถถ่ายโอนกันได้ (Universality & Inalienability)
สิทธิมนุษยชนไม่สามารถแยกเป็นส่วนๆ ว่าสิทธิใดมีความสําคัญกว่าอีกสิทธิหนึ่ง (Indivisibility)
ความเสมอภาคและห้ามการเลือกปฏิบัติ (Equality and Non-Discrimination) -
ความหมายระหว่างสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพ
"สิทธิมนุษยชน" (Human Rights) หมายความถึง สิทธิที่มีตามธรรมชาติ ซึ่งติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด โดยมีความเป็นสากลและมีการรับรองไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หรือ กติกา อนุสัญญา ข้อตกลง ต่างๆ ระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ที่ทุกประเทศทั่วโลกให้การรับรอง
“สิทธิเสรีภาพ” (Rights and Liberties) หมายความถึง สิทธิที่มีการบัญญัติรับรองไว้ในกฎหมาย ของแต่ละรัฐ ว่าประชาชนจะมีสิทธิ และเสรีภาพ ในเรื่องใด มากนhอย แค่ไหน เพียงใด ขึ้นอยู่กับบริบทสังคมของประเทศนั้นๆ
นางสาวญาณิศา มลาชู รหัสนักศึกษา 613101026