Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่4การป้องกันและช่วยเหลือเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุ, นางสาวปรียารัตน์…
บทที่4การป้องกันและช่วยเหลือเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุ
การจมน้ำ
Drowning
ผู้ที่เสียชีวิตจากการจมน้ำ
Near-Drowning
ผู้ที่จมน้ำแต่ไม่เสียชีวิตทันที
บางรายอาจเสียชีวิตในเวลาต่อมา
การจมน้ำเค็ม
ทำให้เกิดภาวะ pulmonary edema
ปริมาตรที่ไหลเวียนในร่างกายลดลง
เกิดภาวะ hypovolemia
ระดับเกลือแร่ในร่างกายสูงขึ้น
หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจวาย อาจช็อกได้
การจมน้ำจืด
จะซึมผ่านเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตของปอดอย่างรวดเร็ว
เกิด hypervolemia ทำให้ระดับเกลือแร่ในเลือดลดลง
หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวาย
อาจเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกhemolysis
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ไม่ถูกหลัก
อุ้มเด็กพาดบ่าแล้วเขย่ากระทุ้งบริเวณหน้าท้อง
เด็กอาจเกิดอาการช้ำจากแรงกระแทกเนื่องจากน้ำที่ออกมาเป็นน้ำกระเพาะ ไม่ใช่น้ำที่เด็กสำลักเข้าไป
วิธีช่วยเด็กจมน้ำที่ดีที่สุด
กรณีที่เด็กรู้สึกตัว
รีบเช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า ใช้ผ้าคลุมตัวให้เกิดความอบอุ่น ให้นอนท่าตะแคงกึ่งคว่ำและรีบนำตัวส่ง รพ. ให้เร็วที่สุด
กรณีที่เด็กหมดสติ
เช็กว่ายังมีลมหายใจอยู่ไหม หัวใจเต้นไหม
ถ้าไม่ ให้โทรเรียกรถพยาบาลหรือหน่วยกู้ภัยด่วน
ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานโดยนวดหัวใจสลับกับการช่วยหายใจ
ภาวะสำลักสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ
ปัญหาที่เกิดตามหลังการสำลัก
ทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น อันตรายต่อชีวิต
เกิดการอุดกั้นของหลอดลมส่วนปลาย ทำให้เกิดภาวะปอดแฟบ ปอดพอง หอบหืด
เกิดการอุดกั้นการระบายของเสมหะในทางเดินหายใจ เกิดปัญหาการอักเสบ ติดเชื้อตามมา
ทำอย่างไรเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจเด็ก
เด็กอายุน้อยกว่า1ขวบ
วางเด็กคว่ำลงบนแขนและวางแขนลงบนหน้าตักโดยให้ศีรษะของเด็กอยู่ต่ำ
เคาะหลัง5ครั้งติดต่อกันโดยเคาะแถวๆกึ่งกลางกระดูกสะบักทั้ง2ข้าง
จากนั้นพลิกเด็กให้หงายบนแขนอีกข้าง วางบนหน้าตักโดยให้ศีรษะอยู่ต่ำ แล้วกดหน้าอกโดยใช้2นิ้ว ระหว่างหัวนมทั้ง2ข้างลงมา1ความกว้างมือ
ทำซ้ำจนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา
หากเด็กหมดสติ ให้ทำการประเมินการหายใจ ให้การช่วยเหลือการหายใจสลับกับการเคาะหลังและกดหน้าอก
เด็กที่มีอายุมากกว่า1ปี
กระตุ้นให้เด็กไอเอง
ถ้าเด็กไม่สามารถพูดหรือมีอาการหนักอย่างใดอย่างหนึ่งให้ทำการกดท้อง โดยยืนด้านหลังและยื่นแขนทั้ง2ข้างกดบนกึ่งกลางหน้าท้องเหนือสะดือเด็ก
ทำซ้ำจนกว่าสิ่งแปลกปลอมจะหลุดออกมา
หากเด็กหมดสติ ให้ประเมินการหายใจ การเต้นของชีพจรและให้การช่วยเหลือการหายใจสลับกับการกดท้อง
การกดท้องในเด็กหมดสติทำโดยให้เด็กอยู่ในท่านอนราบ นั่งคร่อมตัวเด็ก วางสันมือบนท้องเด็กสูงกว่าสะดือเด็ก กดเข้าด้านในเฉียงขึ้น กด5ครั้งแล้วเปิดปากดูว่ามีสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมาหรือไม่
ความแตกต่างระหว่างการกดหน้าอกในแต่ละช่วงอายุ
เด็กโต
100-120 ครั้ง/นาที
ตำแหน่งกึ่งกลางท่อนล่างกระดูกหน้าอก
ลึก 5 ซม.(1/3ความหนาของทรวงอก)
กดโดยใช้มือเดียว อีกข้างให้เปิดทางเดินหายใจ
เด็กทารก
ตำแหน่งกึ่งกลางท่อนล่างกระดูกหน้าอก
ลึก 4 ซม.(1.5นิ้ว1/3ความหนาของทรวงอก)
กดโดยใช้นิ้วมือสองนิ้วมืออีกข้างให้ทำการเปิดทางเดินหายใจ
100-120 ครั้ง/นาที
ผู้ใหญ่
100-120 ครั้ง/นาที
ตำแหน่งกึ่งกลางท่อนล่างกระดูกหน้าอก
ลึก 5-6 ซม.(2-2.4นิ้ว)
กดโดยใช้สองมือ
กรณีผู้ช่วยเหลือ1คน
การกดหน้าอกสำหรับผู้ใหญ่ เด็กโตและเด็กทารก อัตราส่วนการกดหน้าอกและการช่วยหายใจ=30.2
ตำแหน่งและอัตราความเร็วจะกดเหมือนกัน
ความลึกและลักษณะการใช้มือในการกดจะแตกต่างกัน
กรณีผู้ช่วย2คนขึ้นไป
อัตราส่วนการกดหน้าอกและการช่วยหายใจสำหรับเด็กเล็ก=15.2
คำแนะนำเพื่อป้องกันการสำลักสิ่งแปลกปลอม
เลือกชนิดและขนาดของอาหารที่เหมาะสม
ไม่ควรป้อนอาหารเด็ก ในขณะที่เด็กกำลังวิ่งเล่นอยู่
เลือกชนิด รูปร่างและขนาดของของเล่นให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก
จัดเก็บสิ่งของที่อาจเป็นอันตราย
สารพิษ
สารเคมีที่มีสภาพของแข็ง ของเหลวหรือก๊าซ สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ทำให้เกิดอันตรายต่อโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย อันตรายขึ้นอยู่กับชนิด ปริมาณของสารพิษและทางที่ได้รับสารพิษ
สารพิษจำแนกตามลักษณะการออกฤทธิ์
ชนิดที่กระตุ้นระบบประสาท
ทำให้เกิดอาการเพ้อคลั่งใบหน้าและผิวหนังแดง ชีพจรเต้นเร็วช่องม่านตาขยาย
ยาอะโทรปีน
ลำโพง
ชนิดที่กดระบบประสาท
ทำให้หมดสติ หลับลึก ปลุกไม่ตื่น ม่านตาหดเล็ก
มอร์ฟีน
พิษจากงูบางชนิด
ฝิ่น
ชนิดทำให้ระคายเคือง
ทำให้เกิดอาการปวดแสบ ปวดร้อนและอาการอักเสบในระยะต่อมา
ฟอสฟอรัส
สารหนู
อาหารเป็นพิษ
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ชนิดกัดเนื้อ
ทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายไหม้ พอง
น้ำยาฟอกขาว
กรดและด่างเข้มข้น
การประเมินภาวะการได้รับสารพิษ
คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง น้ำลายฟูมปาก รอยไม้บริเวณริมฝีปาก มีกลิ่นสารเคมีบริเวณปาก
เพ้อ ชัก หมดสติ อัมพาตบางส่วนหรือทั่วไป ขนาดช่องม่านตาผิดปกติอาจหดหรือขยาย
หายใจขัด หายใจลำบาก เสมหะมาก เขียวปลายมือปลายเท้าหรือบริเวณริมฝีปาก ลมหายใจมีกลิ่นสารเคมี
ตัวเย็น เหงื่อออกมาก มีผื่นหรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางปาก
ทำให้สารพิษเจือจาง ให้นม
นำส่งโรงพยาบาล เพื่อล้างท้องเอาสารพิษออกจากจากกระเพาะอาหาร
ทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเพื่อเอาสารพิษออกจากอาหาร
ข้อห้าม
ได้รับสารพิษชนิดกัดเนื้อ
รับประทานสารพิษพวก น้ำมันปิโตรเลียม
หมดสติ
ให้สารดูดซับสารพิษในระบบทางเดินอาหาร เพื่อลดปริมาณการดูดซึมสารพิษเข้าสู่ร่างกาย
Activated charcoal ใช ้1 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำ1แก้ว
หรือใช้ไข่ขาว 3-4 ฟอง ตีให้เข้ากัน
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารกัดเนื้อ
กรด ด่างเป็นสารเคมีที่พบในชีวิตประจำวัน
กรดซัลฟริก
กรดไฮโดรคลอริก
โซเดียมคาร์บอเนต
อาการและอาการแสดง
ไหม้พอง
ร้อนบริเวณริมฝีปาก ปาก ลำคอ และท้อง
คลื่นไส้ อาเจียน
กระหายน้ำ
ภาวะช็อค
ผิวหนังเย็นชื้น
ชีพจรเบา
การปฐมพยาบาล
ถ้ารู้สึกตัวดีให้ดื่มนม
รีบนำส่งโรงพยาบาล
อย่าทำให้อาเจียน
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพวกน้ำมันปิโตรเลียม
ได้แก่ น้ำมันก๊าด เบนซิน ยาฆ่าแมลงชนิดน้ำมัน
อาการและอาการแสดง
แสบร้อนบริเวณปาก
คลื่นไส้ อาเจียน
อาจสำลักเข้าไปในปอดทำให้หายใจออกมาเป็นกลิ่นน้ำมันหรือน้ำมันปิโตรเลียม
อาจมีอาการขาดออกซิเจน เขียวตามปลายมือปลายเท้า
การปฐมพยาบาล
ระหว่างนำส่งโรงพยาบาล ถ้าผู้ป่วยอาเจียน ให้จัดศีรษะต่ำเพื่อป้องกันการสำลักน้ำมันเข้าปอด
ห้ามทำให้อาเจียน
รีบนำส่งโรงพยาบาล
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับยาแก้ปวด ลดไข้
อาการและอาการแสดง
ยาแอสไพริน
หูอื้อ
การได้ยินลดลง
เหงื่อออกมาก
เหมือนมีเสียงกระดิ่งในหู
ปลายมือปลายเท้าแดง
ชีพจรเร็ว
คลื่นไส้อาเจียน
หายใจเร็ว ใจสั่น
ยาพาราเซตามอล
เบื่ออาหาร
สับสน
ความดันโลหิตต่ำ
เหงื่อออกมาก
ง่วงซึม
คลื่นไส้ อาเจียน
ดูดซึมเร็วมาก
การปฐมพยาบาล
ทำให้สารพิษเจือจาง
ทำให้อาเจียน
ให้สารดูดซับสารพิษ ที่อาจหลงเหลือในระบบทางเดินอาหาร
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางการหายใจ
ก๊าซที่ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน วิงเวียนหน้ามืด เป็นลมหมดสติ อาจตายได้
คาร์บอนมอนนอกไซด์
คาร์บอนไดออกไซด์
ไฮโดรเจน
ไนโตรเจน
ก๊าซที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ คอ หลอดลม และปอด รับมากอาจตายได้
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ก๊าซที่ทำให้อันตรายทั่วร่างกาย
ก๊าซอาร์ซีน ไม่มีสีกลิ่นคล้ายกระเทียมพบได้ในโรงงานอุตสาหกรรมใช้ทำแบตเตอรี่ ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ปัสสาวะเป็นเลือด ดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง
การปฐมพยาบาล
กลั้นหายใจและรีบเปิดประตูหน้าต่าง
นำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่เกิดเหตุไปยังที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์
•ประเมินการหายใจและการเต้นของหัวใจถ้าไม่มีให้ผายปอดและนวดหัวใจ นำส่งโรงพยาบาล
การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีถูกผิวหนัง
อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี
ล้างด้วยน้ำสะอาดนานๆอย่างน้อย15นาที
บรรเทาอาการปวดและรักษาช็อค
ปิดแผล แล้วนำส่งโรงพยาบาล
การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าตา
ล้างตาด้วยน้ำนานอย่างน้อย15นาที โดยการเปิดน้ำก๊อกไหลรินๆ
อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี เพราะความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยา ทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
บรรเทาอาการปวดและรักษาช็อค
ปิดตาแล้วนำส่งโรงพยาบาล
บาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
เกิดจากอุบัติเหตุ ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อยจะปวดแสบปวดร้อนพอทนได้และหายไปเองถ้าเป็นมาก จะกินบริเวณกว้างและแผลมีขนาดลึกทำให้ทุพพลภาพหรือเสียชีวิตได้
สาเหตุ
ไฟ
วัตถุที่ร้อน
น้ำร้อน
น้ำมันร้อนๆ
กระแสไฟฟ้า
สารเคมี
รังสี
การเสียดสีอย่างรุนแรง
อาการแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ขนาดความกว้างของบาดแผล
พื้นที่บาดแผลที่มีขนาดใหญ่ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ โปรตีนและเกลือแร่ เกิดช็อกได้ และอาจมีโอกาสติดเชื้อ
แผลขนาด 1 ฝ่ามือของผู้ป่วย เท่ากับ 1% ของผิวหนังทั่วร่างกาย
ตำแหน่งของบาดแผล
ที่มือหรือตามข้อพับต่างๆ อาจทำให้ข้อนิ้วมือและข้อพับต่างๆ มีแผลเป็นดึงรั้ง ทำให้เหยียดออกมาไม่ได้
ถ้าบาดแผลที่ใบหน้าอาจทำให้เป็นแผลเป็น
ความลึกของบาดแผล
ระดับที่1 ผิวหนังที่มีการทำลายของเซลล์หนังกำพร้าชั้นผิวนอกเท่านั้น
ระดับที่2
ชนิดตื้น บาดแผลที่มีการทำลายของหนังกำพร้าชั้นผิวนอกและชั้นในสุดและหนังแท้ส่วนที่อยู่ตื้นๆใต้หนังกำพร้า
ชนิดลึก บาดแผลที่มีการทำลายของหนังแท้ส่วนลึก ไม่ค่อยมีตุ่มพอง แผลเป็นสีเหลืองขาว แห้ง ไม่ค่อยปวด อาจเกิดแผลเป็นได้แต่ไม่มาก
ชนิดที่3 บาดแผลที่มีการทำลายของหนังกำพร้าและหนังแท้ทั้งหมด รวมทั้งต่อมเหงื่อ ขุมขนและเซลล์ประสาท อาจกินลึกถึงชั้นกระดูกและกล้ามเนื้อ
การพยาบาล
ล้างแผลและแช่แผลด้วยน้ำสะอาดและใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าแห้งสะอาดปิดแผลไว้
แผลที่เป็นตุ่มใสไม่ควรเอาเข็มไปเจาะเพื่อระบายเอาน้ำออก อาจทำให้ติดเชื้อได้ถ้าเข็มไม่สะอาด
ถ้าบาดแผลเกิดมีขนาดกว้าง อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะช็อกได้รวดเร็วหรือมีบาดแผลที่ใบหน้า อาจทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบาก ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
การรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
ยาปฏิชีวนะทาเฉพาะที่ ที่นิยมกันมากที่สุดคือ 1%
ซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีน เพราะมีฤทธิ์กว้าง
ถ้าผู้ป่วยมีบาดแผลกว้าง แพทย์จะให้สารน้ำ ริงเกอร์แลกเตท
สำหรับแผลที่หายโดยใช้เวลามากกว่า3อาทิตย์หรือแผลที่หายหลังจากการปลูกถ่ายผิวหนัง แนะนำให้ใส่ผ้ายืดเพื่อป้องกันการเกิดแผลเป็นนูนหนา
กระดูกหัก
การมีรอยแยก รอยแตกหรือมีความไม่ต่อเนื่องกันของเนื้อกระดูก ส่วนใหญ่มักเกิดจากอุบัติเหตุที่มีแรงมากระทำมากจนเกินไปทำให้กระดูกหักและเกิดอาการเจ็บปวด เคลื่อนไหวไม่ได้หรือเคลื่อนไหวผิดปกติ
แบ่งตามบาดแผล
กระดูกหักชนิดไม่มีแผลหรือแผลไม่ถึงกระดูกที่หัก
จะมีอาการกระดูกหักเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีบาดแผลที่ผิวหนัง
กระดูกหักแบบแผลเปิดหรือแผลลึกถึงกระดูกที่หัก
จะมีบาดแผลลึกถึงกระดูกหรือกระดูกที่หักอาจทิ่มทะลุออกมานอกเนื้อ อาจทำให้ตกเลือดรุนแรง เส้นประสาทถูกทำลายหรือติดเชื้อได้ง่าย อาจทำให้เกิดการสูญเสียแขนและขา
แบ่งตามรอยที่มีการหักของกระดูก
กระดูกหักทั่วไป
กระดูกแตกออกเป็นสองชิ้น
กระดูกหักยุบเข้าหากัน
ภาวะที่กระดูกทั้งสองด้านได้รับแรงกด ส่งผลให้กระดูกแตกทั้งสองด้าน เด็กเล็กมักเกิดกระดูกหีกฝังที่แขน
กระดูกเดาะ
กระดูกที่แตกเพียงด้านเดียว ส่วนกระดูกอีกด้านโก่งไปตามแรงกดที่ปะทะเข้ามา
การปฐมพยาบาลกระดูกหัก
ประเมินบริเวณที่บาดเจ็บ
ทำการปฐมพยาบาลด้วยวิธีซีพีอาร์(CPR)
ถ้ามีเลือดออกให้ทำการห้ามเลือดก่อนเสมอไม่ว้ากระดูกจะหักหรือไม่
ถ้าบาดแผลใหญ่หรือเลือดยังไม่หยุดไหลหรือ
ไหลรุนแรงให้หาสายรัดมาผูกรัดเหนือบาดแผลให้
แน่น ๆ ให้คลายสายรัดทุก ๆ 15 นาทีโดยคลายประมาณ30-60วินาที
ดามกระดูกที่หัก
ดามง่ายๆโดยใช้แผ่นไม้ พลาสติกแข็ง กระดาษแข็ง กล่องกระดาษ ทำเป็นเฝือกวางแนบกับส่วนที่หัก
ประคบน้ำเย็นตรงบาดแผล
เมื่อดามเสร็จแล้วถ้าเป็นไปได้ให้หาถุงน้ำแข็งมาประคบทันทีระหว่างที่รอรถพยาบาล
อย่าดึงข้อหรือจัดกระดูกให้เข้าที่ด้วยตนเอง บริเวณที่ดามจะต้องถูกวางให้สบายที่สุด
ถ้าส่วนที่หักเป็นแขนหรือมือให้ใช้ผ้าคล้องคอ
ถ้าส่วนที่หักเป็นนิ้วมือ ให้ใช้ไม้ไอศกรีมดามนิ้ว
หากกระดูกหักโผล่ออกมานอกเนื้อห้ามดึงกระดูกให้กลับเข้าที่ ควรใช้ผ้าที่สะอาดปิดปากแผลเอาไว้ใช้เฝือกดาม
ผู้ป่วยที่กระดูกหักตรงขาส่วนบน กระดูกสันหลัง ศีรษะหรือคอ อุ้งเชิงกรานหรือสะโพก ไม่ควรเคลื่อนไหวร่างกาย
งดให้ผู้ป่วยดื่มน้ำหรืออาหารจนกว่าจะไปพบแพทย์ เพราะผู้ป่วยบางรายอาจต้องผ่าตัด
หลังการใส่เฝือกหากปวดหรือมีอาการคับเฝือกมาก เขียว คล้ำ ซีมบวมหรือมีอาการชา ซ่าๆ เป็นต้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
นางสาวปรียารัตน์ แข็งขัน เลขที่ 64 612001065 รุ่น 36/1