Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มดลูกปลิ้น (uterine inversion), ภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์, นางสาวเกตน์นิภา…
มดลูกปลิ้น
(uterine inversion)
ความหมาย
การที่ยอดมดลูกยุบตัวเข้าไปในโพรงมดลูก ทำให้ผนังด้านในของมดลูกปลิ้นออกมาเป็นด้านนอก
อาจพ้นปากมดลูกออกมา หรือโผล่มาถึงปากช่องคลอด หรือโผล่ออกมาทางแผลผ่าตัดมดลูก
กรณี C/S ทำให้เสียเลือด และเกิดภาวะช็อกตามมา
พบได้น้อยมาก 1 ใน 6,400 ราย
ชนิดของมดลูกปลิ้น
แบ่งเป็น 2 ชนิด
Complete uterine inversion (มดลูกปลิ้นชนิดสมบูรณ์)
ผนังมดลูกด้านในปลิ้นออกมาด้านนอก และโผล่พ้นนอกปากมดลูก หรือโผล่ออกมาจากช่องคลอด
ถ้ารกยังไม่คลอด จะเป็นรกที่ส่วนล่างของมดลูก
Incomplete uterine inversion (มดลูกปลิ้นชนิดไม่สมบูรณ์)
คลำพบร่องบุ๋มบริเวณยอดมดลูก
เมื่อเกิดมดลูกปลิ้นออกมา ปากมดลูกและมดลูก
ส่วนล่างจะหดรดรอบส่วนของมดลูกที่หย่อนตัวลงมา
บริเวณที่ถูกรัด ขาดเลือด เกิดการบวม
และมีเนื้อตาย และหลุดลอกออกมา
ผนังมดลูกด้านในปลิ้นออกมาด้านนอก แต่ไม่โผล่พ้นนอกปากมดลูก
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
สายสะดือสั้น โดยเฉพาะเมื่อใช้คีมช่วยคลอด
การล้วงรก
การเบ่งคลอดรก
การคลอดเฉียบพลัน
รกเกาะแน่น: placenta accrete, placenta increta
การหย่อนตัวของผนังมดลูก
การใช้แรงดันยอดมดลูกระหว่างการคลอด
มีพยาธิสภาพที่มดลูก เช่น ผนังมดลูกบางและยืด มีเนื้องอกที่ผนังมดลูก รกฝังตัวที่ยอดมดลูก
การทำคลอดรกไม่ถูกวิธี
อาการและอาการแสดง
มีภาวะช็อกจากเสียเลือดมาก และปวดท้องรุนแรง ถ้ารกไม่ลอกตัวหรือติดแน่น อาจเสียชีวิตได้
ในรายที่เป็นเรื้อรัง ผนังเยื่อบุมดลูกแห้งและเป็นแผล ทำให้เกิดตกขาว เลือดออกกะปริดกะปรอย อาจปวดหลังถึงอุ้งเชิงกราน ปัสสาวะขัด รู้สึกถ่วงที่ช่องคลอด
เจ็บปวดมาก โดยเฉพาะบริเวณท้องน้อย ถ้าเป็นชนิดปลิ้นสมบูรณ์ จะดึงอวัยวะต่างๆ ในช่องท้องออกมาด้วย
คลำหน้าท้องได้ร่องบุ๋ม ไม่พบมดลูก
เลือดออกมากหลังจากรกคลอดทันที
รู้สึกตุงในช่องคลอด
PV
ปลิ้นบางส่วน
เห็นยอดมดลูก มีเลือดออก
ปลิ้นหมด
เห็นยอดมดลูกอยู่นอกหนทางคลอด
ภาวะแทรกซ้อนต่อมารดา
ติดเชื้อ
ภาวะโลหิตจาง
Pain shock
ตัดมดลูก
ไม่สามารถมีบุตรได้อีก
Hypovolemic shock
อาจเสียชีวิตได้
การวินิจฉัย
อาการ และอาการแสดง
มีอาการตกเลือด ปวดท้องน้อยรุนแรง ช็อก
ตรวจหน้าท้อง
คลำไม่ได้ยอดมดลูก / มีรอยบุ๋ม
ตรวจภายใน
คลำได้ก้อนเนื้อที่ปากมดลูก/ในช่องคลอด/นอกช่องคลอด ถ้ารกไม่หลุดจะเห็นรกติดมา
การรักษา
กรณีรกยังไม่ลอกตัว แยกรกจากผนังมดลูกที่ปลิ้นออกมา ใช้ฝ่ามือส่วนปลาย หงายนิ้วขึ้น และดันมดลูกกลับคืนสู่ตำแหน่งเดิมตามแนวหนทางคลอด
เมื่อมดลูกกลับสู่ตำแหน่งเดิม ให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ระวังตกเลือดหลังคลอด และปลิ้นออกมาซ้ำ
ดันมดลูกกลับภายใต้การวางยาสลบ
เพื่อให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัว
ในรายที่ช็อก
แก้ไขภาวะช็อก
ดันมดลูกกลับ
ใช้ผ้าชุบน้ำเกลือคลุมและกดผนังมดลูกที่ปลิ้นออกมา
ไม่ให้เลือดไหลออกมาในขณะรักษาอาการช็อก และรอดันมดลูกกลับเข้าที่
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ตามแผนการรักษา
การพยาบาล
การป้องกันภาวะมดลูกปลิ้น
ประเมินและวินิจฉัยปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะมดลูกปลิ้นในหญิงตั้งครรภ์
ทำคลอดรกหรือช่วยคลอดรกอย่างถูกวิธี
ทำคลอดรกภายหลังรกลอกตัวสมบูรณ์แล้ว
คลึงมดลูกให้แข็งภายหลังรกคลอด
หลีกเลี่ยงการกระตุ้นที่มดลูกก่อนรกจะลอกตัว
เมื่อเกิดภาวะมดลูกปลิ้น
อธิบายให้ผู้คลอดและครอบครัวทราบเกี่ยวกับภาวะที่เกิดขึ้น + แผนการรักษา + การปฏิบัติตัว
ดูแลให้ IV fluid + เลือดทดแทน และออกซิเจนอย่างเพียงพอตามแผนการรักษา
ประเมินสัญญาณชีพทุก 5 นาที และประเมินอาการแสดงของภาวะช็อก
ใช้ผ้าชุบน้ำเกลืออุ่นๆคลุม และกดผนังมดลูกไว้
กรณียอดมดลูกโผล่ออกมานอกช่องคลอด ขณะแก้ไขภาวะช็อกและรอการดันมดลูกกลับ เพื่อลดการเสียเลือด
ประเมินปริมาณและลักษณะเลือดที่ออกทางช่องคลอด
ดูแลให้ได้รับยาต่างๆตามแผนการรักษา
ยาคลายตัวของมดลูก ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ยาปฏิชีวนะ ยาเสริมธาตุเหล็ก
แนะนำเทคนิคการบรรเทาความเจ็บปวดโดยไม่ใช้ยา
ถ้าผู้คลอดเจ็บปวดมากให้รายงานแพทย์เพื่อพิจารณาให้ยาแก้ปวด พร้อมทั้งสังเกต ภาวะแทรกซ้อนจากยา เช่น กดการหายใจ
ภายหลังการดันมดลูกกลับเข้าที่เดิม
ประเมินสัญญาณชีพเช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดปกติ + ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง
เตรียมผู้คลอดให้พร้อมสำหรับการผ่าตัด
ภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์
นางสาวเกตน์นิภา เกทะโล
รหัส 603901003 เลขที่ 2 นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3