Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สายสะดือย้อย/ พลัดต่ำ (prolapsed of umbilical cord), ภาวะฉุกเฉินทางสูติศา…
สายสะดือย้อย/ พลัดต่ำ
(prolapsed of umbilical cord)
ความหมาย
ภาวะที่สายสะดือลงมาอยู่ข้างๆของส่วนนำของทารก หรืออยู่ต่ำกว่าส่วนนำของทารก หรือโผล่มานอกช่องคลอด
เกิดจากส่วนนำของทารกเข้าช่องเชิงกรานไม่เต็มที่ + ไม่แนบกับส่วนล่างของมดลูก
เกิดช่องว่างให้สายสะดือเคลื่อนผ่าน
และถูกกดระหว่างปากมดลูกกับส่วนนำ
ถ้าได้รับการวินิจฉัยล่าช้าและไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและถูกต้อง
ทารกอาจเสียชีวิต
มักเกิดขึ้นหลังการแตกของถุงน้ำคร่ำในระยะที่ 1 ของการคลอด
อุบัติการณ์เกิดขึ้นอยู่กับท่าและแนวของทารก โดยเฉพาะทารกอยู่ในแนวขวาง
ชนิดของสายสะดือย้อย/ พลัดต่ำ
Occult prolapsed cord
สายสะดืออยู่ต่ำกว่าระดับส่วนนำของทารก สายสะดือจะ
ถูกกดเมื่อศีรษะทารก เคลื่อนต่ำหรือมดลูกมีการหดรัดตัว
การวินิจฉัย พบ FHR มีอัตราการเต้นผิดปกติ/ ไม่สม่ำเสมอ
Forelying cord/cord presentation
สายสะดือย้อยต่ำกว่าส่วนนำ ถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก
อาจคลำการเต้นของเส้นเลือดแดงบนสายสะดือได้ผ่านปากมดลูกที่เปิดขยาย
Overt prolapsed cord / complete prolapsed cord
สายสะดือพลัดต่ำลงมาอยู่ต่ำกว่าส่วนนำของทารก
ไหลลงมาอยู่ที่ช่องคลอดหรือปากช่อง
คลอด พบเมื่อถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว
ปัจจัยส่งเสริม
ท่าผิดปกติ เช่น ท่าขวาง ท่าก้น หรือท่าส่วนนำร่วม เช่น มีศีรษะ และมือ
ครรภ์แฝด ที่มีถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด หรือภายหลังคลอดแฝดคนแรก
ครรภ์แฝดน้ำ น้ำคร่ำมาก ส่วนนำลอย เมื่อถุงน้ำแตกแล้วมีโอกาสเกิดสายสะดือพลัดต่ำได้
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนที่ส่วนนำจะลงช่องเชิงกราน
สายสะดือยาวกว่า 75 เซนติเมตร
ทารกพิการแต่กำเนิด
การทำหัตถการ
การเจาะถุงน้ำ ในรายที่ส่วนนำยังสูงอยู่
การทำ internal fetal monitoring
การหมุนเปลี่ยนท่าทารกภายนอก ภายใน
รกเกาะต่ำ
สายสะดืออยู่ใกล้ปากมดลูก
ทารกขนาดเล็ก เชิงกรานแคบ
ศีรษะทารกไม่สามารถผ่านลงช่องเชิงกราน
มีช่องว่าง เหลือให้สายสะดือเคลื่อนต่ำลงมา
การวินิจฉัย
ซักประวัติ
การดิ้นของทารก
การแตกของถุงน้ำคร่ำ
ตรวจร่างกาย
พบเสียงหัวใจทารกช้าลงขณะมดลูกหดรัดตัว
พบในสายสะดือพลัดต่ำชนิด ..............
พบรูปแบบ FHR variable deceleration…….....
มี fetal bradycardia FHR <…….
ตรวจทางช่องคลอด
คลำพบสายสะดือ หรือคลำได้ชีพจรของเส้นเลือดแดงของสายสะดือ
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
มารดา
ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้สูติศาสตร์หัตถการ
การฉีกขาดของช่องทางคลอด
PPH
ผลกระทบด้านจิตใจในกรณีที่ทารกเกดิภาวะ fetal distress หรือทารกในครรภ์เสียชีวิต
ทารก
ทารกขาดออกซิเจน
เสียชีวิต ถ้าได้รับการช่วยเหลือไม่ทัน
อาจได้รับบาดเจ็บจากการใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอด
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากปริมาณ
เลือดไหลเวียนไปสู่ทารกน้อยลงจากการเกิดสายสะดือพลัดต่ำ
มารดามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอด
การพยาบาล
การป้องกันภาวะสายสะดือพลัดต่ำ
แนะนำมาโรงพยาบาลทันทีเมื่อมีการแตกของถุงน้ำคร่ำ + สังเกตอาการผิดปกติ
ลักษณะน้ำคร่ำ
สิ่งที่ออกทางช่องคลอด
การดิ้นของทารก
ประเมิน FHS ทันทีภายหลังถุงน้ำคร่ำแตก และ PV
ประเมินภาวะสายสะดือพลัดต่ำ
ดูแลให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียงหลังถุงน้ำคร่ำแตก
โดยเฉพาะรายที่ส่วนนำยังอยู่สูงหรือยังไม่ลงช่องเชิงกราน
ประเมิน uterine contraction + FHS และการดิ้นของทารกเป็นระยะๆ
ในรายที่แพทย์ทำการเจาะถุงน้ำ
ช่วยเหลือแพทย์ในการเจาะถุงน้ำคร่ำอย่างถูกวิธี
เจาะถุงน้ำคร่ำเมื่อส่วนนำของทารกลงมาต่ำมากพอหรือส่วนนำลงสู่ช่องเชิงกรานแล้ว + เจาะขณะที่มดลูกคลายตัว
ป้องกันการไหลของสายสะดือตามน้ำคร่ำจากแรงดันในโพรงมดลูก
ประเมินเสียงหัวใจทารกทันทีหลังเจาะถุงน้ำ
เมื่อเกิดภาวะสายสะดือพลัดต่ำ
อธิบายให้ผู้คลอดและครอบครัวทราบเกี่ยวกับภาวะที่เกิดขึ้น + แผนการรักษา + การปฏิบัติตัว
ดูแลให้ผู้คลอดนอนในท่าที่ช่วยป้องกันส่วนนำของทารกลงมากดสายสะดือ
นอนในท่าศีรษะต่ำและก้นสูง
ท่า trendelenberg’s position
ท่า knee-chest position
ท่า elevated sim’s position
ลดการกดสายสะดือจากส่วนนำ โดยสอดมือเข้าในช่องคลอดแล้วดันส่วนำของทารกไว้ขณะมดลูกคลายตัว
เตรียมผู้คลอดและอุปกรณ์ให้พร้อมสำหรับการทำให้กระเพาะปัสสาวะโป่งตึง
เพื่อช่วยดันส่วนนำของทารกให้ลอยสูงขึ้นและลดความรุนแรงของการหดรัดตัวของมดลูก
ดูแลให้ผู้คลอดได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ โดยให้ออกซิเจน 10 lit/min ทาง face mask
ประเมินและบันทึกเสียงหัวใจทารกทุก 5 นาที หรือประเมินอย่างต่อเนื่องด้วย electronic fetal monitoring
NPO และดูแลให้ได้รับ IV fluid ตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับยาคลายตัวมดลูก (tocolytic drug) ตามแผนการรักษา
เตรียมอุปกรณ์ทำคลอด อุปกรณ์สำหรับการช่วยคลอด และอุปกรณ์การช่วยฟื้นคืนชีพทารกให้พร้อมใช้ + รายงานกุมารแพทย์
เตรียมผู้คลอดให้พร้อมสำหรับการช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการหรือการผ่าตัดคลอด
กรณีที่สายสะดือย้อยออกมาภายนอกช่องคลอด
ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นคลุมไว้ และไม่ควรใช้มือดันกลับเข้าไป เพราะอาจทำให้เกิด umbilical artery spasm
ทารกได้รับออกซิเจนลดลง
ภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์
นางสาวเกตน์นิภา เกทะโล รหัส 603901003 เลขที่ 2 นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3