Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Borderline Personality Disorder โรคภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง -…
Borderline Personality Disorder
โรคภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง
ความหมาย
ภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง เป็นความผิดปกติทางจิตที่ส่งผลต่อความคิดและความรู้สึกที่ผู้ป่วยมีต่อตนเอง
และผู้อื่นผู้ป่วยอาจมีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ อารมณ์รุนแรง
หุนหันพลันแล่น มีความคิดและนิสัยไม่คงที่ ซึ่งส่งผลให้มีปัญหาในการรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่นและการใช้ชีวิตประจำวันโดยมักพบได้ในวัยผู้ใหญ่และอาจมีอาการดีขึ้นเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น
https://www.pobpad.com/borderline-personality-disorde
สาเหตุ
จากการศึกษาพบว่าพันธุกรรมเป็นสาเหตุที่สำคัญและพบว่าโรคนี้มีความสัมพันธ์กับโรคอารมณ์แปรปรวน Impulse control disorders
มีพัฒนาการผิดปกติในวัยเด็กโดยเฉพาะเด็กที่ถูกประทุษร้ายร่างกายและทางเพศ รวมทั้งบิดามารดา มีเรื่องบาดหมางกัน ขาดบิดามารดาหรือถูกทอดทิ้ง
วินิจฉัยโรค
ผู้ป่วยมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 5 อย่าง
มีความคิดพฤติกรรมซึ่งแสดงว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่บ่อยๆ
อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
มีอาการขาดการควบคุมอารมณ์
มีความรู็สึกเงียบเหงาอยู่เสมอ
มีความสับสนเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของตน
มีอารมณ์หงุดหงิด โกรธง่ายอยู่เสมอ
มีมนุษย์สัมพันไม่ดีอย่างมาก
มีความคิดหวาดระแวงหรือมีอาการ Dissociation เมื่อมีความเครียด
พยายามหลีกเลี่ยงการถูกทอดทิ้ง
กรณีศึกษา
พยายามหลีกเลี่ยงการถูกทอดทิ้ง
มีความรู้สึกเงียบเหงาอยู่เสมอทนเหงาไม่ได้
มีความคิดพฤติกรรมซึ่งแสดงว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่บ่อยๆ
มีอาการขาดการควบคุมอารมณ์
มีมนุษย์สัมพันไม่ดี
อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
มีอารมณ์หงุดหงิด โกรธง่ายอยู่เสมอ
กิจกรรมการพยาบาล
กลุ่มอาการทางอารมณ์มากเกินไป
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษา เพื่อลดความรู้สึกหงุดหงิด ความรู้สึกไม่เป็นมิตร และพฤติกรรมรุนแรง
จัดสภาพแวดล้อม คำนึงถึงสิทธิความเป็นบุคคล สิทธิผู้ป่วย ความเสมอภาคเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้ถึงกฎเกณฑ์ทางสังคม
ฝึกทักษะการจัดการพฤติกรรมทางอารมณ์ที่มากเกินไป เช่น การบอกกล่าวถึงความต้องการของตนเองที่ชัดเจนอย่างตรงไปตรงมา
เฝ้าระวังพฤติกรรมรุนแรงโดยการสังเกตพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด หาวิธีการลดหรือป้องกันพฤติกรรมที่เป็น
อันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
แสดงการยอมรับนับถือในความเป็นบุคคลของผู้ป่วย
ตรวจสอบและจำกัดเครื่องใช้ที่ผู้ป่วยอาจนำมาเป็นอาวุธในการทำร้ายผู้อื่น โดยการตรวจเช็คจำนวนและจัดเก็บในที่ปลอดภัยหลังการใช้งานทุกครั้ง รวมถึงการตรวจสอบเพื่อป้องกันสารเสพติดที่ผู้ป่วยบางรายอาจนำมาใช้
จัดเตรียมบุคลากรให้พร้อมสำหรับการแก้ไขปัญหาจากพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน
กลุ่มพฤติกรรมกังวลกลัว
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมอย่างต่อเนื่อง
แนะนำหรือให้ความรู้วิธีการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ป่วยไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ของตนเองได้
เฝ้าระวังพฤติกรรการทำร้ายตนเองโดยการพูดคุยซักถาม และดูแลอย่างใกล้ชิด
ลักษณะอาการ
ทฤษฎี
มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น (Impulsivity) มีพฤติกรรมที่แสดงว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่ผู้ป่วยร้อยละ 10 ผู้ป่วย
มีอารมณ์แปรปรวนง่ายหงุดหงิดง่าย ช่างกังวล กลัวอย่างมากหรือท้อแท้สิ้นหวังการขาดมนุษยสัมพันธ์และรู้สึกเบื่อหน่ายอยู่เสมอ
ผู้ป่วยจะรู้สึกโกรธมากถ้าไม่ได้รับความสนใจหรือความรัก จากบุคคลที่หวังหากเกิดเหตุการณ์วิกฤตอาจมีอาการหวาดระแวงอยู่ชั่วคราวชีวิตในวัยเด็กมักพบว่า ถูกทำร้ายร่างกายหรือทางเพศ ขาดการดูแลเอาใจใส่ มีโรคทางจิตเวชพบร่วมคือ
อารมณ์แปรวน ติดสารเสพติด โรคบูลิเมีย โรคสมาธิสั้นและโรคทางจิตเวชเนื่องจากภยันตราย
ผู้ป่วยกลัวการถูกทอดทิ้งและต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวขาดการมีมนุษยสัมพันธ์อย่างรุนแรงอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายและรวดเร็วเปลี่ยนจากรักเชิดชูเป็นดูถูกและเกลียดมีความสับสนเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของตนทั้งที่เกี่ยวกับแนวความคิด อาชีพและเรื่องเพศ (Sexual identity) นอกจากนี้ยังเปลี่ยนกลุ่มเพื่อนไปอย่างรวดเร็ว
กรณีศึกษา
อารมณ์หงุดหงิดง่ายทนเหงาไม่ได้เรียกร้องความสนใจ เปลี่ยนกลุ่มเพื่อนบ่อยพยายามฆ่าตัวตายหลายครั้ง
การรักษา
สมภพ เรืองตระกูล .(2542) ตำราจิตเวชศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่6.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เรือนแก้ว.
ทฤษฎี
การรักษาด้วยยา (Psychopharmacology)
เป็นการรักษาตามอาการที่จำเป็นต้องควบคุม เช่น การให้ยาคลายกังวล(Anti- anxiety)เพื่อลดความวิตกกังวล
ยาลดอารมณ์เศร้า
(Antidepressant)และการให้ยาต้านโรคจิต (Antipsychotic)เพื่อลด
อาการรุนแรงและให้ผู้ป่วยควบคุมตนเองได้
Lorazepam 2 mg. 2 tab oral hs.
ขนาดของยา
ขนาดของยาชนิดนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของตัวยาว่าเป็น ยาเม็ด ยาน้ำ หรือยาฉีด ควรรับประทานยา Lorazepam ให้เท่ากับที่แพทย์ได้สั่งจ่ายมาให้ ยาเม็ด Lorazepam มีขนาด 0.5มิลลิกรัม 1 มิลลิกรัม และ 2 มิลลิกรัม
วิธีใช้ยา
ขนาดการใช้ยาลอราเซแพม ขึ้นอยู่กับสภาวะโรค อายุ และการตอบสนองต่อการรักษา สามารถรับประทานก่อนหรือหลังอาหารก็ได้
ผลข้างเคียงของยา Lorazepam
ลมพิษ หายใจลำบาก มีอาการบวมบริเวณใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น
ข้อควรระวัง
การรับประทานยาลอราเซแพมร่วมกับยาในกลุ่มโอปิออยด์ (Opioid) หรือกลุ่มยาแก้ปวดที่ไปยับยั้งสัญญาณความเจ็บปวดที่เข้าสู่สมอง เช่น Codeine, Hydrocodone อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงมาก รวมถึงการเสียชีวิต เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว แพทย์จะให้คุณรับประทานยาลอราเซแพมด้วยขนาดยาที่ต่ำที่สุด
ยาลอราซีแพม (Lorazepam) เป็นยาในกลุ่ม Benzodiazepines ออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง จึงยับยั้งการทำงานของเซลล์ประสาท ส่งผลให้ลดอาการวิตกกังวล ทำให้ง่วงหลับ ต้านอาการชัก คลายกล้ามเนื้อ และอาจเกิดภาวะเสียความจำชั่วขณะ จึงใช้ในการรักษาผู้ป่วยกระวนกระวาย โรควิตกกังวลและโรคชัก
จิตบำบัด (Psychotherapy)
เป็นการรักษาทางด้านจิตใจ โดยช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจตนเอง
เข้าใจ ปัญหารู้ถึงความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นหาวิธีการ
ที่จะปรับตัวให้เหมาะสมกับสังคม
และสิ่งแวดล้อมที่เผชิญอยู่
Connitive behavior therapy
การบำบัดปรับความคิดและพฤติกรรม การปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ความคิดความเชื่อ ที่ไม่ถูกต้องร่วมกับการฝึกทักษะทางสังคม และอาจใช้เทคนิคของพฤติกรรมบำบัดร่วมด้วย
พฤติกรรมบำบัด (Behavioraltherapy)
การใช้พฤติกรรมบำบัดเป็นการมุ่งเน้นทั้งสถานการณ์ความเครียดในปัจจุบัน
และประสบการณ์ด้านลบในวัยเด็กเรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนพฤตกิรรมของตนเองให้เกิดความสุขใน ชีวิตและเป็นที่ยอมรับในสังคม
นิเวศบำบัด
ผู้ป่วยต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวอยู่ในสังคมตามสภาพแวดล้อมของตน
การควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัย ข้อที่ 3
สัมพันธภาพับผู้อื่นบกพร่องเนื่องจากมีความคิดต่อเพื่อนในทางลบ
วัตถุประสงค์การพยาบาล
เพื่อให้ผู้ป่วยมีความคิดในทางบวกหรือในทางที่ดีขึ้น
เพื่อให้ผู้ป่วยมีสัมพันธภาพกับเพื่อนที่ดี
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยสามารถบอกข้อดีของเพื่อนได้
ผู้ป่วยสื่อสารกับเพื่อนได้อย่างเหมาะสม
ผู้ป่วยสามารถมองคนอื่นและเพื่อนในทางที่ดี
ข้อมูลสนับสนุน
S -
O: ผู้ป่วยมักคิดว่า “เพื่อนไม่ดี เปลี่ยนกลุ่มเพื่อนบ่อย มักทะเลาะกับแฟนบ่อย ถ้ามีเรื่องไม่พอใจจะรู้สึกโกรธมาก ทุกครั้งที่โกรธจะใช้มีดกรีดแขนตัวเอง พยายามฆ่าตัวตาย
กิจกรรมการพยาบาล
2.เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยบอกความคิดความรู้สึกที่มีต่อเพื่อน และสนับสนุนให้ผู้ป่วยวางแผนแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง
3.ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการแสดงออกของ พฤติกรรม อย่างเหมาะสม โดยจัดให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมบำบัดและมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นให้ผู้ป่วยเกิดสัมพันธภาพ ที่ดี
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอด้วยท่าทีเป็นมิตร ไม่คิดอคติ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ
4.แนะนำผู้ป่วยให้รู้จักการสื่อสารอย่างเหมาะสม สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยและให้แรงเสริมทางบวก เพื่อให้ผู้ป่วยสื่อสารกับคนอื่นได้เพิ่มมากขึ้น
ข้อวินิจฉัยข้อที่4 ผู้ป่วยมีวิธีการเผชิญปัญหาไม่เหมาะสมเนื่องจากความสามารถในการควบคุมอารมณ์ได้น้อย
วัตถุประสงค์การพยาบาล
ผู้ป่วยมีทักษะในการควบคุมอารมณ์โดยผู้ป่วยสามารถบอกสาเหตุของการเกิดอารมณ์ในขณะนั้นได้
ผู้ป่วยเห็นคุณค่าและยอมรับนับถือในตนเอง และดูแลช่วยตนเองได้
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยสามารถจัดการปัญาหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง
ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง
ข้อมูลสนับสนุน
S:-
O- ผู้ป่วยทะเลาะกับแฟนจะโกรธมากและจะใช้มีดกรีดแขนตัวเอง
กิจกรรมการพยาบาล
2.พยาบาลพยายามให้ผู้ป่วยได้พูดระบายความรู้สึกของผู้ป่วย และควรฟังอย่างตั้งใจ เพื่อให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกที่ขัดข้องในใจ
3.แนะนำให้ผู้ป่วยเห็นถึงผลกระทบที่เกิดจากความวิตกกังวล ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ผิดปกติของผู้ป่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมอย่างต่อเนื่อง
4.แนะนำให้ใช้เทคนิคการผ่อนคลายความวิตกกังวลกลัว เช่น เทคนิคการหายใจ เทคนิคการผ่อนคลาย กล้ามเนื้อ เทคนิคการฝึกสมาธิ
1.ซักถามผู้ป่วยว่ารู้สึกอย่างไร สามารถจัดการกับอารมณ์ที่ตนเองเป็นอยู่ได้หรือไม่
5.แนะนำหรือให้ความรู้วิธีการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ป่วยไปประยุกต์ใช้กับ สถานการณ์ของตนเองได้
ข้อวินิจฉัย ข้อที่ 2
เสี่ยงต่อการทำร้ายผู้อื่นเนื่องจากอารมณ์แปรปรวน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยมีอารมณ์คงที่ ไม่แปรปรวน
2.เพื่อให้ผู้ป่วยมีความคิดต่อผู้อื่นในทางที่ดีขึ้น
เกณฑ์การประเมิน
มีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นได้
มองคนอื่นในทางที่ดี
ควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตนเองได้
ข้อมูลสนับสนุน
S : -
O : ผู้ป่วยมีอารมณ์แปรปรวน เจ้าอารมณ์ หงุดหงิดง่าย มีพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ เมื่อพึ่งพาใครจะรู้สึกว่าคนนั้นดีมาก แต่ถ้ามีเรื่องไม่พอใจจะรู้สึกโกรธ ไม่เห็นความดีของคนนั้น
กิจกรรมการพยาบาล
4.ดูแลให้ได้รับยา Lorazepam 2 mg 2 tab oral hs. เป็นยากลุ่มคลายกังวล ลดกังวล ทำให้ผ่อนคลายและนอนหลับได้ดี
3.ส่งเสริมการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม เมื่อผู้ป่วยสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้และมีพฤติกรรมควบคุมผู้อื่นลดลง เพื่อให้ผู้ป่วยมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคลอื่น
ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยอย่างสมเหตุผล เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม:
5.แนะนำผู้ป่วยว่าต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาเอง เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
1.สร้างสัมพันธภาพที่ดีเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ
ข้อวินิจฉัยข้อที่5 มีโอกาสที่ผู้ป่วยไม่มีความรู้เกี่ยวกับการรับประทานยาLorazepam
ข้อมูลสนับสนุน
S:
O:ผู้ป่วยกระวนกระวายและวิตกกังวล
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้ป่วยสามารถอธิบายวิธีการรับประทานยาLorazepamได้ถูกต้อง
2.ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาLorazepamได้ถูกต้อง)
วัตถุประสงค์การพยาบาล
เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับการรับประทานยาLorazepamได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย)
กิจกรรมการพยาบาล
3.เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถามเมื่ออธิบายการใช้ยา
4.เพื่อประเมินความเข้าใจเกี่ยวกับการรับประทานยาLorazepam โดยให้ผู้ป่วยได้พูดทบทวนเกี่ยวกับการรับประทานยาอีกครั้ง
2.ให้ความรู้เรื่องการรับประทานยาLorazepam 2 mg. 2 tab oral hs. โดยอธิบายว่า Lorazepam 2 mg 2 เม็ดรับประทานทางปากก่อนนอน เมื่อผู้ป่วยรับประทานยาเข้าไปจะมีอาการเคลิ้มหรือผ่อนคลาย ผลข้างเคียงของยาคือ ง่วงซึมมึนศีรษะ อ่อนเพลีย ความดันโลหิตต่ำ ปัสสาวะคั่ง ท้องผูก ต้อกระจก และความคิดช้า อาการแพ้ยาไม่รุนแรง เช่น หายใจลำบาก ผื่นคัน มีอาการปวดที่บริเวณใบหน้า มีปัญหาที่เกี่ยวกับการมองเห็น เช่น
สายตาพร่ามัว ปวดตา หากมีอาการรุนแรงจะมีอาการหายใจช้า อาจมีอาการหายใจตื้น เวียนศีรษะผิดปกติ ง่วงนอนอย่างรุนแรง ตื่นนอนยาก
5..เมื่อผู้ป่วยมาตามนัดการรักษาครั้งต่อไปพยาบาลซักถามถึงอาการข้างเคียงและอาการแพ้ รวมทั้งอาการเสพติดยาเพื่อป้องกันการเสพติดยา
1.ประเมินความพร้อมในการเรียนรู้ของผู้ป่วย
ข้อที่1 เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองเนื่องจากขาดทักษะการจัดการทางอารมณ์
กิจกรรมการพยาบาล
2.เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกโดยพยาบาลไม่มีความคิดอคติต่อผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยพูดความรู้สึกในขณะนั้น เช่น ความรู้สึกโกรธ อิจฉา หรือเศร้า เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยนำความรู้สึก-เหล่านี้มาเก็บกดและแสดงออกมาในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม เช่นการฆ่าตัวตายหรือการพยายามทำร้ายผู้อื่น
3.จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยทำร้ายตัวเองหรือพยายามฆ่าตัวตายได้ โดยการหลีกเลี่ยงเฟอร์นิเจนที่ผลิตจากแก้ว พลาสติกที่แตกหักง่าย รวมทั้งวัสดุที่มีลักษณธแหลมคม
1.สร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยและพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจและให้ความร่วมมือในระหว่างการรักษา
4.สอนให้ผู้ป่วยควบคุมตนเอง เช่นการนับ1-10 การควบคุมการหายใจเข้า-ออกเมื่อผู้ป่วยมีอารมโกรธ
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมทำร้ายตนเองและพยายามฆ่าตัวตาย
ข้อมูลสนับสนุน
S: -
O:มีอารมณ์แปรปรวน เจ้าอารมณ์ หงุดหงิดง่าย เรียกร้องความสนใจ มักทะเลาะกับแฟนบ่อย ทุกครั้งที่ทะเลาะกับแฟนจะโกรธมาก มักใช้มีดกรีดแขนตัวเอง และมีประวัติพยายามฆ่าตัวตายอยู่หลายครั้ง
เกณฑ์การประเมิน
2.รอยบาดแผลจากการทำร้ายตนเองไม่เพิ่มขึ้น
3.ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมทำร้ายตนเองเพื่อเรียกร้องความสนใจ
1.ผู้ป่วยสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้
ข้อวินิจฉัยข้อที่ 6 ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองซ้ำ
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
ป้องกันผู้ป่วยทำร้ายตนเองซ้ำ
ข้อมูลสนับสนุน
S:-
O:ผู้ป่วยใช้มีดกรีด แขนตัวเอง พยายามฆ่าตัวตาย ทําหลายครั้งจนแฟนบอกเลิก
ผู้ป่วยพอมีเรื่องไม่พอใจจะรู้สึกโกรธมาก
หากผู้ป่วยเสียใจมาก จะพยายามฆ่าตัวตายอีกครั้ง
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยไม่มีความคิดวางแผนการฆ่าตัวตายและพยายามทำร้ายตัวเองซ้ำ ในระยะเวลา 3 สัปดาห์
ผู้ป่วยสามารถบอกวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้
ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล
กิจกรรมพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยยอมรับความเจ็บป่วยและให้ความร่วมมือในการรักษา มีความอดทนในการรับฟัง แสดงความเข้าใจ มีท่าทีเป็นมิตร
ประเมินระดับความซึมเศร้า จากสีหน้าที่เศร้า รับประทานอาหารได้น้อย และความเสี่ยงในการวาแผนฆ่าตัวตายจากคำพูด ท่าทาง การกระทำ ความคิด ความรู้สึกและสถานการณ์แวดล้อม เพื่อประเมินอาการผู้ป่วยและวางแผนการรักษา
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก ระบายความไม่สบายใจ ในสถานที่ที่มีความเป็นส่วนตัวไม่มีบุคคลอื่นรบกวน เพื่อให้ผู้ป่วยระบายความเครียดออกมา
ช่วยให้ผู้ป่วยมองสิ่งดีๆ เห็นคุณค่าในตัวเองโดยการสอบถามผู้ป่วยในการวางแผนอนาคตหรือพูดถึงสิ่งดีๆที่ผู้ป่วยเคยทำมาอย่างสม่ำเสมอ เช่นการช่วยเหลือคนอื่น การมีอาชีพที่น่ายกย่องนับถือเพื่อให้ผู้ป่วยรับรู้คุณค่าของตัวเอง
กระตุ้นให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยลดพฤติกรรมซึมเศร้า หรือ แยกตัว เช่นให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายในตอนเช้า เข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมต่างๆ
จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยทำร้ายตนเอง
จัดสิ่งแวดล้อมไม่ให้มีสิ่งรบกวน มีแสงสว่างเพียงพอ และอากาศถ่ายเทสะดวก
จัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องใช้ ที่ผู้ป่วยอาจใช้เป็นเครื่องมือหรืออาวุธในการำร้ายตนเอง เช่น ของมีคมทุกชนิด ของแตกหัก หรือ ของแข็งที่อาจใช้เป็นอาวุธ น้ำยาเคมี ยา
ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ถามไถ่ความต้องการของผู้ป่วย เพื่อป้องกันการทำร้ายตัวเองซ้ำ