Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสร้างเสริมสุขภาพของเด็กแต่ละวัย (วัยทารกแรกเกิดและทารก …
การสร้างเสริมสุขภาพของเด็กแต่ละวัย
(วัยทารกแรกเกิดและทารก วัยเดินหรือวัยเตาะแตะ)
การสร้างเสริมสุขภาพของเด็ก
วัยทารกแรกเกิดและทารก
แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพ
การส่งเสริมการนอนหลับ
แรกเกิด - 1 ½ เดือน นอน 20 - 22 ชม./วัน
1 ½ เดือน–6 เดือน นอน 14 - 16 ชม./วัน
6 เดือน–9 เดือน นอน 12 - 16 ชม./วัน
9 เดือน–12 เดือน นอน 12 - 14 ชม./วัน
การนอนมี 2 แบบ
การนอนแบบ Non Rapid Eye Movement (Non REM)
สำคัญมาก
ทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง ระบบการย่อยอาหารดี
การนอนแบบ Rapid Eye Movement (REM) เกิดภายใน 90 นาทีหลังจากนอน หายใจเร็ว ชีพจรเร็ว กล้ามเนื้อไม่ขยับ อวัยวะเพศ
แข็งตัว ถ้าตื่นช่วงนี้จะจำความฝันได้และปลุกตื่นง่าย
ปัญหาการนอน
นอนหลับไม่สนิทตลอดคืน/ไม่นอนตอนกลางคืน
ส่งเสริม
-เล่นกับเด็กในตอนกลางวัน
-ลดการให้นมในตอนกลางคืน
-ให้ความมั่นใจ มั่นคง
-สร้างบรรยากาศให้อบอุ่นในการนอน
การส่งเสริมการขับถ่าย
ทารกจะ
ขับถ่ายไม่เป็นเวลา ควบคุมไม่ได้
จำเป็นต้องดูแลทำความสะอาดภายหลังการขับถ่าย
อุจจาระ+ปัสสาวะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
การส่งเสริมการให้อาหาร
แรกเกิด – 6 เดือน ต้องการพลังงาน 115 Kcal/Kg/Day
อาหารที่เหมาะ คือ นมมารดา
นมมารดาประกอบด้วย
: Colostrum ในช่วง 3–5 วัน โปรตีน แร่ธาตุ วิตามิน น้ำ น้ำตาล ภูมิคุ้มกันโรค
.
ประโยชน์ของนมมารดา
: ป้องกันการติดเชื้อ, ย่อยง่าย, มีไขมันช่วยในการเจริญเติบโตของสมอง, มีโอกาสเกิด DM น้อย, สร้างBonding&attachment
วิธีการให้นมแม่ 4 ด
ดูดเร็ว 30 นาทีแรกเกิด
ดูดถูกวิธี
ดูดบ่อย ให้ทุก 2–3 ชั่วโมง
ดูดเกลี้ยงเต้า
การหย่านม
(การเลิกดูดนมมารดา หรือการเลิกดูดนมขวด)
ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องรีบร้อน ให้ความมั่นใจ
อาหารเสริม
หลักในการให้อาหารเสริม
เริ่มให้อายุ 6 เดือน
จากบดละเอียด ไป หยาบ
ให้ทีละชนิด และ สังเกตการแพ้อาหาร
ให้รู้รส 3-4 มื้อแล้วเปลี่ยนชนิดใหม่
บอกชื่ออาหารให้ทารกทราบทุกครั้งที่ให้อาหารเสริม
อายุ 6-7 เดือน อาหารเสริม 1 มื้อ
อายุ 8-9 เดือน อาหารเสริม 2 มื้อ
อายุ 10-12 เดือน อาหารเสริม 3 มื้อ
*ให้กัด เคี้ยว เมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป(ฟันขึ้น)
การส่งเสริมสุขวิทยาทั่วไป
อาบน้ำวันละ 2 ครั้ง สระผม 1-2 วัน/ครั้ง
*สะดือ ถ้ายังไม่หลุดเป็นแหล่งเพาะเชื้อ
เช็ดช่องปาก เหงือก กระพุ้งแก้ม และลิ้น เป็นประจำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น(ด้วยน้ำต้มสุกที่
เย็นแล้วบิดหมาดๆ)
ส่งเสริมการเล่น
แรกเกิด – 1 ปี : เป็นการเล่นใช้ประสาทสัมผัส
ควรเป็นของเล่นที่กระตุ้นการได้ยิน + การเคลื่อนไหว
จัดกิจกรรมการเล่นสำหรับวัยทารก
การส่งเสริมพัฒนาการ
ส่งเสริมโดยการเลือกของเล่นให้เหมาะสม
การมองเห็น สายตา
การได้ยิน รับรู้เสียงต่างๆ
ประสาทสัมผัส กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก
การส่งเสริมความปลอดภัย
ทารกควรได้รับการดูแลเรื่องความปลอดภัยตามระยะ
พัฒนาการ
การส่งเสริมสัมพันธภาพบิดา มารดา และทารก
สัมผัสนุ่มนวล ประสานสายตา
กลิ่น เสียง การเคลื่อนไหวของบิดามารดาที่นุ่มนวล
ความอบอุ่นใกล้ชิด
การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
ของทารกแรกเกิดและทารก
พัฒนาการด้านร่างกาย
:star:
ส่วนสูงของทารก
แรกเกิด ร่างกายยาว 50 ซม.
12 เดือน ร่างกายยาว 75 ซม.
:star:
น้ำหนักของทารก
แรกเกิดจะหนักประมาณ 3,000 กรัม
เมื่ออายุ 5 เดือนจะหนัก 2 เท่าของแรกเกิด
เมื่ออายุ 12 เดือนจะหนัก 3 เท่าของแรกเกิด
:star:
สัดส่วนของร่างกาย
แรกเกิด ความยาวของศีรษะต่อลำตัว 1 : 4
โตเต็มที่ ความยาวของศีรษะต่อลำตัว 1 : 8
:star:
พัฒนาการของโครงกระดูกและฟัน
ฟันน้ำนมจะขึ้นเป็นซี่แรกเมื่ออายุ 6 เดือน และจะขึ้นครบ 20 ซี่ เมื่ออายุ 24-30 เดือน
ฟันแท้จะเริ่มขึ้นเมื่ออายุ 6 ปี และขึ้นครบ 32 ซี่ เมื่ออายุ 17 – 25 ปี
:star:
พัฒนาการของระบบประสาท
ทารกใช้ช่วงเวลาปีแรกของชีวิตในการพัฒนาเซลล์สมอง
6 เดือนแรกของชีวิตพัฒนาได้ 50%
2 ปี พัฒนาได้ 75%
:star:
พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว
6 week จะยกศีรษะได้
พัฒนาการทางอารมณ์
:neutral_face: อารมณ์แรกของทารก คือ สงบและตื่นเต้น
:smiley: ต่อมาก็แยกเป็นอารมณ์สุขและอารมณ์ ทุกข์ (พอใจและไม่พอใจ)
:frowning_face: ตอนปลายวัยลักษณะการแสดงออกของอารมณ์ต่างๆ จะมีมากขึ้น
โกรธ
กลัว
เบิกบาน
รัก
ความอยากรู้อยากเห็น
พัฒนาการทางสติปัญญา
-
การพัฒนาการรับรู้ :
ทารกมีพัฒนาการด้านการรับรู้รวดเร็วมาก
-
วิธีการเรียนรู้ของทารก :
เรียนรู้จากการได้รับสิ่งเร้าและการลองผิดลองถูก
-
พัฒนาการด้านการรู้คิดของทารก :
เริ่มพัฒนาความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลขึ้นทางปฏิกิริยารีเฟลกซ์และประสาทสัมผัส
1 - 4 เดือน การเคลื่อนไหวโดยไม่มีจุดมุ่งหมายทำให้เกิดความพอใจแล้วจึงทำพฤติกรรมนั้นซ้ำอีกจนเป็นนิสัย
4 - 10 เดือน ทารกเริ่มสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวเอง
10 - 12 เดือน ทารกเริ่มมีจุดมุ่งหมายในการทำ และนำเอาพฤติกรรม
ต่างๆ ในอดีตมาประสมประสาน เพื่อให้เกิดผลที่ต้องการ
พัฒนาการทางสังคม
วัยทารกตอนต้น
2 - 3 เดือน แสดงออกโดยการ
สบตา การส่งเสียงอือออ บ่งบอกความต้องการติดต่อกับคนอื่นๆ พฤติกรรมที่แสดงออก ได้แก่ การอยากพบเห็นเข้าใกล้ สัมผัส เล่น และติดต่อด้วย
วัยทารกตอนปลาย
มีพฤติกรรมทางสังคมอีก 2 ประเภท คือ พฤติกรรมผูกพัน(แสดงความผูกพันกับคนใกล้ชิด) และภาษา(ร้องไห้เมื่อเห็นคนแปลกหน้า)
ความหมาย ลักษณะทางสรีระวิทยา ธรรมชาติ และปัจจัย
ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกแรกเกิดและทารก
ความหมายของทารกแรกเกิดและทารก
ทารกแรกเกิด : แรกเกิด – 28 วัน
ทารก : 28 วัน – 1 ปี
*อัตราการเจ็บป่วย อัตราตายสูงสุดกว่าเด็กวัยอื่น
*พึ่งพิงการเลี้ยงดูสูง
ลักษณะทางสรีรวิทยาที่สำคัญ
- ระบบทางเดินหายใจ :
หายใจไม่สม่ำเสมอ หยุดหายใจเป็นช่วงๆ ครั้งละไม่เกิน 15 วินาที RR 40 – 60 ครั้ง/นาที
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด :
ทารกแรกเกิดHR 120 – 160 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 80/50 mmHg
*ส่วนประกอบของเลือดมี Prothrombin complex ต่ำ ทำให้มีภาวะเลือดออกง่าย
- การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย :
อุณหภูมิ 37 +/-2 °c
*สูญเสียความร้อนได้ 4 ทางใหญ่ๆ
คือ การนำ การพา
การแผ่รังสี การระเหย
- ระบบทางเดินอาหาร :
กระเพาะอาหารมีความจุในสัปดาห์แรก : 10 - 20 ซีซี
*ถ่ายขี้เทา(Meconeum) ใน 24 ชั่วโมงแรกต่อมาจะเป็นสีเหลืองมีเนื้อปน
น้ำเมื่อได้รับนมมารดา
- ระบบขับถ่ายปัสสาวะ :
แรกเกิดเมื่อคลอดครบกำหนด ไตทำงานยังไม่สมบูรณ์
อาหารรสเค็มจัด อาจมีผลต่อไต
ธรรมชาติของทารก
กินอาหารได้ดี เจริญเติบโตรวดเร็ว เปลี่ยนแปลงพัฒนาการเร็ว
สื่อสารได้จำกัด
ปรับสภาพการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอกมาก
พึ่งพาผู้เลี้ยงดูสูง
ตนเองเป็นศูนย์กลาง
มีความต้านทานต่ำ ติดเชื้อง่าย
การทำกิจกรรมยังไม่สม่ำเสมอ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต
1. พันธุกรรม
2. การได้รับอาหาร
3. ฮอร์โมน
Growth H. – metabolism ขาดจะแคระ
Thyroid H. – มีผลต่อการออกฤทธิ์ Growth H.
Insulin – มีผลต่อการออกฤทธิ์ Growth H.
Cortisol – ช่วยให้ Hormone อื่นๆออกฤทธิ์
Sex H. – กระตุ้นการเจริญเติบโตของกระดูก
ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในวัยทารกแรกเกิดและทารกและ
บทบาทพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ
บทบาทของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ
1. การดูแลทางด้านร่างกาย
ทางเดินหายใจ
การควบคุมอุณหภูมิ
การป้องกันการติดเชื้อ/การสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน
ป้องกันภาวะเลือดออก
ดูแลให้ได้รับสารอาหาร
ังเกตอาการผิดปกติต่างๆ เช่น การติดเชื้อ ผื่น
2. การดูแลด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม
ส่งเสริม Bonding&Attachment ระหว่างบิดา มารดา และทารก
ตอบสนองด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม : สัมผัสด้วยความนุ่มนวล เบามือ การหยอกล้อ พูดคุยด้วยเสียงที่นุ่มนวล
การดูแลด้านพัฒนาการ : ความสว่าง ความดัง การจัดกิจกรรม
ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยและแนวทางแก้ไข/ป้องกัน
ภาวะตัวเหลือง
: เริ่มเหลืองที่ใบหน้าเข้าหาลำตัว แขน ขา และสุดท้ายที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า
สาเหตุ
:
ตับยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์
ภาวะตัวเหลืองจากนมแม่
การดูแล
งดนมมารดา 2-3 วัน
แม่งดอาหารแคโรทีนสูง
ภาวะตัวเย็นและภาวะอุณหภูมิกายสูง
ภาวะอุณหภูมิกายสูง
: หงุดหงิด หายใจเร็ว+แรง หรือหยุดหายใจ ซึม ผิวหนังอุ่นกว่าปกติ
สาเหตุ
พบบ่อยกว่าการติดเชื้อคืออยู่ในสวล.ที่ร้อนไป
การดูแล
เช็ดตัวด้วยน้ำที่มีอุณหภูมิ 35°c จนกว่า BT ปกติ
หากอุณหภูมิลดลงแล้วทารกยังซึมหรือมีไข้ ให้พาไปพบแพทย์
ภาวะตัวเย็น
: อุณหภูมิทวารหนักต่ำกว่า 36.8 °c มือเท้าเย็น ตัวซีด ผิวหนังลาย ซึม ดูดนมน้อยลง
สาเหตุ
อุณหภูมิห้อง/ฤดูหนาว
การดูแล
การดูแลให้ความอบอุ่น จนกว่า BT ปกติ
หากอุณหภูมิปกติแล้วทารกยังซึม ให้พาไปพบแพทย์
เยื่อบุนัยน์ตาอักเสบ
สาเหตุ
:
จากระคายเคืองสารเคมี
ติดเชื้อขณะคลอด
ภายหลังคลอด
การดูแล
การทำความสะอาดด้วยสำลีชุบน้ำกลั่นหรือน้ำต้มสุก
หากมีอาการตาแดง มีขี้ตามาก ให้พาไปพบแพทย์
การป้องกัน
ทารกแรกเกิดทุกคนจะได้รับการหยอด/ป้ายตาด้วย 1% silver nitrate หรือ 1% tetracycline ใน 1 ชั่วโมงหลังคลอด
สำรอก อาเจียน
สาเหตุ
:
การร้องไห้รุนแรงเป็นเวลานาน
มีลมในกระเพาะอาหาร กลืนลมหรือนมถี่ไป
น้ำนมแม่มาก+ไหลเร็ว
ได้รับนมมากเกินไป ให้นมทุกครั้งที่ร้องไห้
การดูแล
งดให้นมขวดตลอด 24 ชม.ให้ดูดน้ำต้มสุกหรือน้ำเกลือแร่ตามต้องการ
ถ้ามีอาการอาเจียนหลายครั้งมากกว่า 6 ชม. หรือมีภาวะขาดน้ำ ให้พาไปพบแพทย์
เชื้อราในช่องปาก
: พบแผ่นสีขาวคล้ายคราบนมติดอยู่ริฝีปาก ลิ้น เหงือก เพดานปาก หรือกระพุ้งแก้ม แผ่นติดแน่นกับเยื่อบุ เขี่ยออกยาก ทารกดูดนมได้น้อยลง หรือไม่มีอาการใดๆ
สาเหตุ
:
เกิดจากเชื้อรา Candidaที่ได้รับขณะคลอดหรือจุกนมที่ปนเปื้อนเชื้อรา
การดูแล
การรักษา 1% Gentian violet ป้ายต าแหน่งที่มีแผ่นขาว วันละ 3 ครั้งหลังดูดนม
สะอึก
:
สาเหตุ
:
พบได้บ่อย เนื่องจากการทำงานกล้ามเนื้อหน้าท้องและกระบังลมยังไม่สัมพันธ์กันดีเท่าที่ควร
การดูแล
อุ้มกอด ปลอบโยน
่ถ้ายังสะอึกต่อเนื่องนาน เป็นประจำ รบกวนการนอนหลับ/การหายใจ ให้พาไปพบแพทย์
ท้องผูก
: อุจจาระเป็นก้อนแข็ง ทุกครั้งที่ทารกถ่ายจะร้องไห้เสียงดังหรือมี เลือดปน
การดูแล
ให้น้ำผลไม้ประมาณ 20 มล. (น้ำผลไม้คั้นผสมน้ำต้มสุกเท่าตัว)
ถ้าไม่ได้ผลต้องสวนทวาร
ถ้าท้องผูกเกิน 3 วัน ท้องอืดโต ให้พาไปพบแพทย์
ท้องเสีย
: ถ่ายเหลวหรือเป็นน้ าบ่อยครั้งกว่าปกติ
สาเหตุ
:
การกินอาหารบางอย่างที่ร่างกายย่อยไม่ไหวหรือมีกากอาหารเกินกว่าทีเคยกิน
ความสะอาดของขวดนม
การดูแล
ถ้าท้องเสียนาน 6 ชม. มีเลือดปน หรือมีภาวะขาดน้ำ ให้พาไปพบแพทย์
ฝีจากวัคซีนวัณโรค
: ทารกแรกเกิดได้รับทุกคน ฝีเล็กๆและแห้ง ไม่ต้องรักษาใดๆ
การดูแล
บางคนฝีขนาดใหญ่ แตกและมีหนองไหล ดูแลโดยเช็ดแผลด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุก และเช็ดรอบแผลด้วย 70% alcohol วันละหลายๆครั้ง จนกว่าแผลจะแห้ง
ผื่นผ้าอ้อม
: ผื่นและเม็ดตุ่มพองขนาดเล็ก/ใหญ่
สาเหตุ
:
การอักเสบของผิวหนังจากการระคายเคืองของสิ่งที่มาสัมผัส
ความสกปรก เปียกชื้น จากอุจจาระ+ปัสสาวะ ที่หมักหมม
การแพ้สบู่หรือผงซักฟอกที่ใช้ซักผ้าอ้อม
การป้องกัน
ผิวหนังใต้ผ้าอ้อมควรดูแลให้แห้งและสะอาด อย่าปล่อยให้แช่อุจจาระ+ปัสสาวะ
เปลี่ยนผ้าอ้อม+ล้างให้สะอาด+เช็ดให้แห้ง
หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าอ้อมทั้งวัน
การรักษา
ทาผื่นด้วยขี้ผึ้ง 1% hydrocortisone ทุกครั้งที่เปลี่ยน
ผ้าอ้อม จนกว่าผื่นจะหาย
ให้ทารกไม่นุ่งผ้าอ้อมบ้าง
งดสวมผ้าอ้อมส าเร็จรูปจนกว่าผื่นจะหาย
หากพบผื่นนานเกิน 2 วัน หรือสงสัยว่าเกิดจากเชื้อรา(ร่วมกับลิ้นเป็นฝ้า) ให้พาไปพบแพทย์
ชันตุ
: ลักษณะเป็นสะเก็ดดำๆ น้ำตาลๆ หรือเหลืองๆบนบริเวณกลางกระหม่อมของทารก สกปรก ไม่สุขสบาย ติดเชื้อได้
สาเหตุ
:
แพ้ยาสระผม เช็ดศีระษะไม่แห้ง
การดูแล
สระผมทารกอย่างน้อยสัปดาห์สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
ถ้าเป็นแล้วใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันทาตัวสำหรับทารก (baby oil) ทาทิ้งไว้ 12-24 ชม.แล้วหวีออก สุดท้ายสระผมด้วยแชมพู/สบู่เด็กล้างออกห้สะอาด และท าบ่อยครั้งจนกว่าจะหาย
ถ้าชันตุขยายกว้างขึ้น ให้พาไปพบแพทย์
การสร้างเสริมสุขภาพของเด็ก
วัยเดินหรือวัยเตาะแตะ
การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
ของวัยเดินหรือวัยเตาะแตะ
พัฒนาการทางร่างกาย
อัตราการเจริญเติบโตลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับวัยทารก
ไม่หิวบ่อยและไม่เจริญอาหารเหมือนเด็กวัยทารก เริ่มมีความรู้สึกชอบและไม่ชอบอาหาร
ไม่ยอมนอน งอแง ดื้อดึงหรือต่อรองให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งก่อนถึงจะยอมนอน
เริ่มสามารถควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะได้
พัฒนาการทางอารมณ์
หงุดหงิดง่ายกว่าวัยทารก โกรธง่าย ดื้อรั้น เอาแต่ใจตัวเอง
เจ้าอารมณ์
(พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กขึ้นอยู่กับการอบรมเลี้ยงดู)
อารมณ์ของเด็กในวัยนี้
-กลัว
-อยากรู้อยากเห็น
-โกรธ
-รัก
-อิจฉา
-สนุกสนาน ร่าเริง ดีใจ
พัฒนาการทางสังคม
เริ่มแสวงหาเพื่อนร่วมวัย การคบเพื่อนร่วมวัยยังไม่ราบรื่นดีนัก เพราะยังต้องการให้ผู้อื่นสนใจตนมากกว่าสนใจคนอื่น
ยังไม่มีประสบการณ์การเข้าสังคม
ไม่รู้จักการรอมชอม
ยังไม่รู้จักการให้และการรับ
ทะเลาะเบาะแว้งกันเมื่อรวมกลุ่ม
พัฒนาการทางความคิด
ก้าวหน้าเป็นลำดับขั้นอย่างโดดเด่นจากวัยทารก
บอกความเหมือน ความต่างของสิ่งต่างๆได้
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กล้าแสดงออก
ไม่คล้อยตามผู้อื่นง่ายๆ
ชอบสัมผัสกับสิ่งเร้าใหม่ๆ
พัฒนาการทางภาษา
เห็นความหมายของเสียงที่เลียนแบบ
ยังไม่เข้าใจถึงความหมายที่แท้จริง และความหมายที่ถูกต้อง ความเข้าใจของเด็กมักเป็นไปตามสังคม วัฒนธรรม ประสบการณ์ในการได้ยินผู้อื่นพูด
ธรรมชาติของเด็กวัยเดินหรือวัยเตาะแตะ
(อายุ 1 – 3 ปี)
อัตราการเจริญเติบโตลดลงกว่าวัยทารก
ตนเองเป็นศูนย์กลาง Self – center
อยากเป็นตัวของตัวเอง วัยต่อต้าน
หัดเดิน หัดพูด เริ่มมีอารมณ์ (สนุก อยากรู้อยากเห็น กลัว โกรธ อิจฉา)
เริ่มออกนอกบ้าน เล่นกับเพื่อน เรียนรู้สังคม (นักสำรวจ)
เลียนแบบ
แนวทางการสร้างเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการ
1. การพัฒนาความเป็นตัวเอง
: การที่เด็กสามารถแสดงความเป็นอิสระเป็นตัวของ ตัวเองและเพิ่มพูนความสามารถที่จะควบคุมตนเองและสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น
แนวทางการสร้างเสริม
ผู้ดูแลเปิดโอกาสและส่งเสริมให้เด็กช่วยเหลือตนเอง
ให้อิสระเด็กในการทำกิจกรรมที่เด็กมีศักยภาพที่จะทำได้
สอนและฝึกหัดอย่างฉลาดและมีเหตุผล
ผู้ดูแลควรเรียนรู้ธรรมชาติของเด็กและมีการตอบสนองเด็ก
อย่างเหมาะสม
2. การเป็นนักสำรวจ
: คือสามารถใช้มือได้ดีขึ้น มีการหยิบจับถนัดขึ้น จึงทำให้เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้มากและรวดเร็ว
แนวทางการสร้างเสริม
จัดสิ่งแวดล้อมให้เด็กเกิดการอยากรู้อยากเห็น
เปิดโอกาสให้เด็กได้ศึกษาและทดลองด้วยตนเอง
ใช้คำว่า “
ต้อง
” ให้น้อยที่สุด หรือหลีกเลี่ยงคำว่า “
อย่า
”
3. การพัฒนาทางภาษา
: เป็นวัยที่มีพัฒนาการทางด้านภาษาเร็ว ทั้งในลักษณะจำนวนคำที่พูด
ได้ หรือความเข้าใจในคำหรือประโยคที่พูด
แนวทางการสร้างเสริม
ผู้ดูแลไม่ควรเร่งรัดเด็ก เพราะจะเป็นสาเหตุให้เด็กติดอ่างและหมดความเชื่อมั่นในตนเอง
ถ้าเด็กเปล่งสำเนียงไม่ชัดเจน ให้ช่วยแก้ไขโดยสอนสำเนียงที่ชัดเจน
ถ้าเด็กพูดไม่ชัด ไม่ควรพูดตามเด็ก
สอนการใช้คำต่างๆในชีวิตประจำวัน
กระตุ้นให้เด็กดูหนังสือภาพที่มีสีสัน
เมื่อเด็กต้องการสิ่งใด ควรกระตุ้นให้เด็กใช้คำพูดในการถามหาสิ่งต่างๆ
การบอกให้เด็กพูดซ้ำในคำพูดของผู้ดูแล
ถ้าเด็กไม่สามารถเข้าใจคำพูดของผู้ดูแล ควรพูดซ้ำและใช้คำที่เข้าใจง่าย
4. การพัฒนาการเล่น
: กิจกรรมที่เด็กกระทำโดยสมัครใจ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผ่อนคลายหรือความสุข ความสนุกสนานเพลิดเพลิน แล้วส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ หรือเกิดพัฒนาการด้านต่างๆ
การเล่น
ประโยชน์ของการเล่น
เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน
ได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานสำคัญ
ส่งเสริมการเจริญเติบโตและกระตุ้นพัฒนาการทางร่างกาย
ส่งเสริมการมีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
เรียนรู้การตัดสินใจ
เรียนรู้ทักษะทางสังคม การอยู่ร่วมกับผู้อื่น การอดทน การรอคอยและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่างๆ
เพิ่มความว่องไวคล่องตัว
บอกเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆ ว่าช้าหรือเร็ว
ฝึกสมาธิให้จดจ่ออยู่กับสิ่งที่กำลังทำได้
ขยายขอบเขตความอยากรู้อยากเห็น และความสามารถในการแก้ปัญหา
ลักษณะการเล่นของเด็กวัยเดิน
เล่นเพื่อสังคม
เล่นเพื่อพัฒนาสติปัญญา
ของเล่นที่เหมาะสมกับเด็กวัย 1-3 ปี
ของลากจูง
ตุ๊กตายาง ตุ๊กตาสัตว์ หรือของเล่นที่มีเสียง
ชิงช้า ไม้กระดก
บันไดสำหรับปีนและกระดานลื่น
เครื่องเล่นสำหรับเล่นทราย เล่นน้ า
บล็อกขนาดกว้าง ลูกบอลผ้า
หนังสือนิทาน หนังสือภาพ ภาพตัดต่อ
ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย
ไม่มีขอบคมหรือส่วนที่แหลม
ไม่มีส่วนประกอบมาก และไม่มีชิ้นส่วนเล็กๆ
ไม่มีเสียงดังเกินไป
ไม่มีเชือกหลุดลุ่ยหรือยาวพันคอเด็ก
ทำด้วยวัสดุที่มีความคุณภาพ คงทน มีความแข็งแรง
ไม่ติดไฟง่าย
ต้องไม่มีสารที่อาจเป็นอันตราย
การเล่านิทาน
ประโยชน์ของการเล่านิทาน
เพลิดเพลิน
สนุกสนาน
พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์
ความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหา
พัฒนาทักษะภาษา และการฟัง
การจับประเด็นเรื่องราว
ช่วยเสริมสร้างจินตนาการ
ลดความเครียด ความกลัว หรือความวิตกกังวล
บทบาทของพยาบาลในการส่งเสริมการเล่น
จัดสิ่งแวดล้อม อุปกรณ์ ของเล่นและเวลาในการเล่น
ปลอดภัย และความเหมาะสมกับอายุของเด็ก
ในขณะเล่น ควรช่วยเหลือให้คำแนะนำการเล่นแก่เด็กเมื่อเด็กต้องการ
ปล่อยให้เด็กสนุกสนานเพลิดเพลินและแสดงออกอย่างเสรี
จัดการเล่นและของเล่นที่เหมาะสมกับความเข้าใจของเด็ก
ไม่จัดอุปกรณ์ของเล่นที่มีมากชิ้นเกินไป
ไม่ควรคาดหวังว่าเด็กจะต้องเล่นได้ดีบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
การเตรียมความพร้อมก่อนการเข้าเรียนในระดับอนุบาล
เลือกโรงเรียนที่มีความเหมาะสม
พาเด็กไปดูสถานที่หรือโรงเรียนที่เด็กจะไปอยู่
พยายามทำให้เป็นประสบการณ์ที่มีความสุข
บอกให้เด็กรู้ว่าในระหว่างที่ผู้ดูแลกลับนี้จะไปทำอะไรและจะกลับมารับเด็กตอนไหนและควรมารับเด็กให้ตรงเวลาตามที่สัญญา
การดูแลได้รับอาหาร
พัฒนาความชอบ-ไม่ชอบอาหาร
เตรียมอาหารใหม่ ให้ชิมทีละน้อย
ให้เด็กได้รับประทานอาหาร ไม่บังคับ คะยั้นคะยอ
สร้างบรรยากาศในการกิน
ให้นั่งกินร่วมกับสมาชิกในครอบครัว
กินเมื่อหิว ปรับเวลาได้ (ยืดหยุ่น)
ให้เด็กหยิบจับอาหารกินเอง
บิดามารดาต้องยอมรับว่าเด็กกินอาหาร แต่ละมื้อไม่เท่ากัน
เตรียมรสชาติกลางๆ ไม่ให้หวานหรือเค็มมาก
การนอน
การต้องการนอน 1-2 ปี 12-14 ชม./วัน นอนกลางวัน 1-2 ช่วง(2-3ชม.)
การต้องการนอน 2-3 ปี 9-13 ชม./วัน นอนกลางวัน 1-2 ช่วง(1-3ชม.)
การสร้างสุขนิสัยการนอน
เข้านอนเป็นเวลา
สร้างบรรยากาศ อารมณ์การนอน ให้รู้สึกผ่อนคลาย
เวลาหลับหลีกเลี่ยง การรบกวนการนอน
ประโยชน์ของการนอนหลับ
ร่างกายได้พักผ่อน
ซ่อมแซมฟื้นฟูส่วนที่สึกหรอ
คงไว้ซึ่งการทำงานของเซลล์ของร่างกายตามปกติ
มีการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ที่เรียกว่า Somatotropic Hormone
เก็บพลังงานไม่ให้สูญเสียไป และจำกัดความต้องการใช้พลังงาน
ลดความกดดันจากสภาพแวดล้อม
สร้างความคิดและประสบการณ์ใหม่จากความฝัน
มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ที่ดี
ช่วยสร้างเสริมความต้านทานต่อเชื้อโรคของร่างกาย
ปัญหาการนอนหลับยาก :
ไม่ยอมเข้านอน ตื่นนอนในเวลากลางคืน เพ้อ ละเมอเดิน ฝันร้าย
สาเหตุ
: การแยกจาก กระวนกระวาย ตื่นเต้น วิตกกังวล ไม่มีระเบียบ กลัว ติดของ
แนวทางการแก้ไข
ให้ความอบอุ่นมั่นคง
สร้างบรรยากาศเตรียมตัวนอน เล่านิทาน สร้างความสุข จินตนาการ
หาสาเหตุที่เป็นความเครียด ฝันร้าย กลัวและหลีกเลี่ยง
รับฟัง ปลอบโยนด้วยความเข้าใจ
การตรวจสุขภาพ การรับภูมิคุ้มกันโรคและสุขภาพฟัน
ส่งเสริมสุขภาพฟัน:
สุขวิทยาช่องปาก—แปรงฟัน
ฝึกนิสัยการกิน ให้เคี้ยวกัด กินอาหารแข็ง รสไม่หวาน
เลิกนมขวด ให้ฟลูออไรด์ (มีในน้ำ ยาสีฟัน)
ตรวจสุขภาพฟันทุก 6 เดือน
การป้องกันอุบัติเหตุ
เริ่มเดิน วิ่ง
ผลัดตกบันได ของเล่น โต๊ะ เตียง รั้วบ้าน
จมน้ำ
ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก (ต้องสอนให้รู้ว่าร้อน)
สารพิษ พบมากอายุ 2 ปี (เก็บสารพิษให้สูง ไกลมือ แยกเก็บในภาชนะที่แตกต่าง)
สำลัก หยิบสิ่งแปลกปลอมเข้าปาก
ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยและแนวทางแก้ไข/ป้องกัน
การฝึกการขับถ่าย
แนวทางในการดูแล
เวลาที่เหมาะ คือ 18 – 24 เดือน โดยควรประเมินความพร้อมของเด็กก่อน
ฝึกให้เป็นเวลา สร้างบรรยากาศให้มีความสุข
ไม่ขู่ บังคับ
ฝึกควบคุมอารมณ์ : ต้องฝึกควบคุมอารมณ์เพราะเป็นวัยเจ้าอารมณ์
แนวทางในการดูแล
สร้างความมีเหตุผล ใจเย็นในการอธิบาย
สร้างการรอคอย
เบี่ยงเบนอารณ์
การปฏิเสธ/ต่อต้าน
แนวทางในการดูแล
ต้องเข้าใจ ให้แสดงความสามารถ ให้ค าชมเชย ไม่บังคับต่อต้าน
การอิจฉาน้อง : มักจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวดื้อดึง พฤติกรรมถดถอย พฤติกรรมที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร พฤติกรรมที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับการนอน พฤติกรรมความวิตกกังวลจากการพรากจาก พฤติกรรมแยกตัวและซึมเศร้า
แนวทางในการดูแล
มีส่วนร่วมในการเลี้ยงน้อง
สร้างให้เกิดความรักน้องตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์น้อง
ให้ความรักเอาใจใส่เช่นเดิม
ไม่ลำเอียง
เน้นการสร้างสัมพันธภาพระหว่างพี่น้องให้ดี
การดูดนิ้ว : เด็กจะได้รับความพึงพอใจจากการดูดนิ้วหัวแม่มือ คือ จะทำให้
เด็กคลายกังวล ทำให้เคลิ้มและมีความสุข และต่อไปเด็กจะเริ่มใช้ความพึงพอใจนี้ในขณะที่เผชิญกับภาวะบางอย่าง เช่น เบื่อ เหนื่อย หรือหวาดกลัว
แนวทางในการดูแล
ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ว่างๆ
จัดหาสถานที่และของเล่นที่น่าสนใจให้แก่เด็กได้เล่นอย่างมีความสุข
ไม่ดุว่า หรือห้ามปรามเด็ก
ควรให้กำลังใจ
ไม่สนใจและไม่พูดซ้ าเกี่ยวกับเรื่องการดูดนิ้วของเด็ก
ดูแลความสะอาดของนิ้ว
ความวิตกกังวลจากการพรากจาก : เด็กจะรู้สึกไม่ปลอดภัย ปั่นป่วน ว้าวุ่นใจ พฤติกรรมที่แสดงออก คือ ร้องไห้อย่างรุนแรงปานจะขาดใจ
แนวทางในการดูแล
บอกเด็กเมื่อคุณจะพรากจากเขา ไม่ควรหลบ จะทำให้เด็กไม่ไว้วางใจ
ให้บรรยากาศสบายๆ พูดกับเด็กด้วยท่าทีสงบ ราบเรียบ
ใช้วัตถุเป็นสัญลักษณ์ของบิดามารดา ตุ๊กตาที่เด็กรัก
อย่าทำให้การพรากจากในแต่ละครั้งเนิ่นนานเกินไป
ให้เวลาและเข้าใจเด็ก
น.ส.ปาจารีย์ วิเศษศักดิ์
UDA6280124