Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัคซีน - Coggle Diagram
วัคซีน
- วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (Human Papillomavirus Vaccine : HPV)
รูปแบบ
- ชนิดที่มี 2 สายพันธุ์ (Bivalent) ชนิดสายพันธุ์ 16 และ 18
- ชนิดที่มี 4 สายพันธุ์ (Quadivalent) ชนิดสายพันธุ์ 16 และ 18 รวมกับไวรัสเอชพีวีสายพันธุ์ 6 และ 11
-
ขนาดและวิธีใช้
- ฉีดจำนวน 3 ครั้ง ในบุคคลที่มีอายุ 9-26 ปีโดยเน้นฉีดช่วงอายุ 11-12 ปี
- ใช้ฉีดครั้งละ 0.5 มล. เข้าชั้นกล้ามเนื้อ บริเวณต้นแขนหรือบริเวณตรงกลางของโคนขาด้านนอก
-
ข้อควรระวัง
ห้ามฉีดในบุคคลที่แพ้ยีสต์, แพ้ขนมปัง, หญิงตั้งครรภ์, มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ให้เคมีบ้าบัด(เนื่องจากจะกระตุ้นให้มีภูมิไม่ได้ผล)
คำแนะนำ
- หลีกเลี่ยงการให้วัคซีนในหญิงตั้งครรภ์
- หากเริ่มตั้งครรภ์ในระยะระหว่างการได้รับวัคซีน HPV การฉีดวัคซีนครั้งต่อไปจะต้องชะลอต่อไป จนกว่าสิ้นสุดการตั้งครรภ์
- สามารให้วัคซีนได้ ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- น้ำนมไม่ถูกปนเปื้อนด้วยเชื้อ HPV จากการได้รับวัคซีน
-
- วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (Measles Mumps and Rubella Vaccine
: MMR)
รูปแบบ
- เชื้อไวรัสหัดมีชีวิตอ่อนฤทธิ์ที่มีใช้ทุกสายพันธุ์ของแต่ละบริษัทได้มาจากไวรัสโรคหัดอ่อนฤทธิ์ สายพันธุ์เอ็ดมอนสตันของเอ็นเดอร์ (Ender’s attenuated Edmonston strain) และเจริญเติบโตในการเพาะเลี้ยงเซลล์เอมบริย์โอลูกไก่
- เชื้อไวรัสคางทูมมีชีวิตอ่อนฤทธิ์ที่ใช้ในวัคซีนมีอยู่ 3 สายพันธุ์แล้วแต่ผู้ผลิต
2.1 เชื้อคางทูมสายพันธุ์เจอริล ลินน์ (Jeryl Lynn B level) ที่อ่อนฤทธิ์ เจริญเติบโตโดยการเพาะเลี้ยงในเซลล์เอมบริโอลูกไก่
2.2 เชื้อคางทูมสายพันธุ์อูราเบ เอเอ็ม (Urabe-Am9) ที่อ่อนฤทธิ์ เจริญเติบโตโดยการเพาะเลี้ยงในเซลล์เอมบริโอลูกไก่
2.3 เชื้อคางทูมสายพันธุ์ Leningrad-Zagreb ที่อ่อนฤทธิ์ เจริญเติบโตโดยการเพาะเลี้ยงในเซลล์เอมบริโอลูกไก่
- เชื้อไวรัสหัดเยอรมันมีชีวิตเชื้อสายพันธุ์ Wister RA 27/3 ที่อ่อนฤทธิ์ เจริญเติบโตโดยการเพาะเลี้ยงใน humman diploid cell (WI-38)
ข้อบ่งใช้
- วัคซีนMMR เป็นวัคซีนใช้ป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน ฉีดครั้งละ 0.5 มล. เข้าใต้ผิวหนัง ฉีดครั้งแรกเมื่ออายุ 9-12 เดือน และครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 2-4 ปี แต่อาจให้ครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 2 ปี 6 เดือน ตามแผนปฏิบัติงานของ กระทรวงสาธารณสุข
- ตำแหน่งที่ฉีดในเด็กเล็กจะเป็นใต้ผิวหนังของหน้าขา ส่วนในเด็กโตจะเป็นบริเวณต้นแขน
อาการข้างเคียงหลังฉีด
อาจมีตั้งแต่เป็นน้อยจนถึงมาก ซึ่งอาการที่เป็นมากจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้
น้อยกว่า อาจมีไข้และผื่น หลังฉีดไป 6-12 วัน