Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลสตรีที่มีโรคเลือดร่วมกับการตั้งครรภ์, 94442662_600936660513144…
การพยาบาลสตรีที่มีโรคเลือดร่วมกับการตั้งครรภ์
โรคโลหิตจางในสตรีมีครรภ์
ภาวะที่สตรีมีครรภ์ มีระดับความเข้มข้นของ Hb ต่ำกว่า10 กรัม/ดล.
โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
เป็นภาวะโลหิตจางที่พบบ่อยที่สุดในสตรีมีครรภ์ เกิดจากการรับประทานธาตุเหล็กไม่พอเพียง ธาตุเหล็กที่สะสมไว้ก่อนตั้งครรภ์มีน้อยการเสียเลือดเรื้อรังจากพยาธิปากขอหรืออื่นๆ
อาการและอาการแสดง
ซีดเล็กน้อย (mild) Hb>9 g/dL
ไม่แสดงอาการในภาวะปกติ แต่เมื่อทำกิจกรรมต้องใช้แรงมากอาจมีอาการใจสั่น หายใจเหนื่อยหอบ
ซีดปานกลาง (moderate) Hb7-9 g/dL
อ่อนเพลีย เหนื่อย ใจสั่น เหงื่อออกมาก และหายใจลำบาก
**อาการและอาการแสดง
ผลต่อมารดา
-หัวใจเต้นผิดปกติ - CHF - shock หรือไตล้มเหลว - Infection - รกลอกตัวก่อนกำหนด - Pre-eclampsia
ผลต่อทารก
-แท้ง -คลอดก่อนกำหนด -น้ำหนักน้อย -พิการแต่กำเนิด -เสียชีวิตในครรภ์ -ตายคลอด
การวินิจฉัย
ถ้าค่า serum ferritin ต่ำกว่า 10-15 μg/L สามารถวินิจฉัยได้แน่นอนว่าเป็นโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
การรักษา
กินเหล็กวันละ 200มก. 2.ไม่นิยมให้เหล็กทางหลอดเลือด 3.ให้เลือดเฉพาะกรณีที่ต้องการเพิ่ม Hb อย่างรวดเร็ว
โลหิตจางจากการขาดโฟเลต
การขาดโฟเลต (serum folate <2.5-3 μg/mL) เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของ megaloblastic anemia (MCV>100fL)
อาการและอาการแสดง
เหมือนการขาดเหล็ก เพิ่มมีอาการทางประสาท เนื่องจากการเสื่อมของเส้นประสาทไขสันหลัง (Degeneration at Lateral& Posterior column of spinal cord) ทำให้เกิดอาการชา สั่น กล้ามเนื้อไม่มีแรงเดินแล้วล้มง่าย
ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
ซีด ความดันโลหิตสูง รกลอกตัวก่อนกำหนด
ผลต่อทารก
เกิดผลกระทบน้อยเนื่องจากทารกสามารถดึงโฟเลตจากมารดาได้ดี
การรักษา
รับประทานหรือฉีดโฟเลตวันละ 1มก.ตอบสนองต่อการรักษาประมาณวันที่ 4-7 หลังให้ยา
การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดเหล็กและโฟเลต
ระยะตั้งครรภ์
1. อธิบายให้สตรีมีครรภ์และครอบครัวเข้าใจ 2.ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในเรื่องต่างๆ เช่นรับประทานอาหารให้ครบ5หมู่ มีธาตุเหล็กสูง โฟเลตสูง วิตามินซีสูง การพักผ่อน การรักษาความสะอาด การรับประทานยา และสังเกต S/E การนับการดิ้นของทารก
ระยะคลอด
1. ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะโลหิตจาง 2. จัดให้นอนศีรษะสูง 3. ดูแลให้ได้รับสารน้ำ 4. ดูแลบรรเทาความเจ็บปวด 5. ประเมินความก้าวหน้าของการคลอด 6. ประเมินFHSทุก 5 นาที 7. ประเมิน V/S ทุก 1-2 ชั่วโมง 8. ประเมินอาการผิดปกติอื่นๆ 9.ดูแลการคลอดให้ปลอดภัยและเสียเลือดน้อยที่สุด
ระยะหลังคลอด
1. เฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอดและภาวะช็อก 2. ประเมินสัญญาณชีพ 3. ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง 4. ดูแลการได้รับสารน้ำ 5. รายงานแพทย์เมื่อพบความผิดปกติ 6. ดูแลให้นอนพักในช่วง 12 ถึง 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด 7. ให้คำแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวแนะนำการเลี้ยงบุตรด้วยน้ำนม 8. แนะนำการวางแผนครอบครัว
โรคธาลัสซีเมียในสตรีมีครรภ์
เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal recessive เกิดจากความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้าง globin chain บนโครโมโซมคู่ที่ 11 หรือ/และคู่ที่ 16
ความผิดปกติของ Hb แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
1. ความผิดปกติเชิงปริมาณ
ทำให้มีการผลิต globin chain ชนิดใดชนิดหนึ่ง (หรือมากกว่าหนึ่งชนิด) ลดลง เรียกว่า thalassemia
สร้าง α-globin ลดลง โครโมโซมคู่ที่ 16 เรียกว่า α-thalassemia α มี gene 4 ต าแหน่ง α α / α α
สร้าง β-globin ลดลง โครโมโซมคู่ที่ 11 เรียกว่า β-thalassemia β- มี gene 2 ต าแหน่ง β/β
2. ความผิดปกติเชิงคุณภาพ
มีการเรียงของ amino acid บนpolypeptide chain ผิดปกติ ทำให้มี abnormal Hb ที่พบบ่อยและสำคัญในประเทศไทย คือ Hb E,Hb Contant Spring, Hb มหิดล, Hb สวนดอกHb ปากเซ
อาการและอาการแสดง
ชนิดรุนแรง
มีระดับHb <7.0 g/dL (Hct<20%) ซีดตัวเหลืองตับโต ม้ามโต มีใบหน้าแบบธาลัสซีเมีย
ชนิดรุนแรงปานกลาง
ระดับ Hb 7-9 g/dL (Hct 20-27%) ซีด ตัวเหลือง ตับโต ม้ามโต การเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามอายุ
ชนิดรุนแรงน้อย
ระดับ Hb >9 g/dL (Hct >27%) ซีดเล็กน้อยถึงปานกลาง ม้ามโตเล็กน้อยหรือไม่โต
ชนิดไม่มีอาการ/ธาลัสซีเมียแฝง
ระดับ Hb ปกติ หรือต่ำเล็กน้อย ไม่มีอาการทางคลินิก
ผลต่อมารดา
มารดาที่มีภาวะซีดมาก, เสี่ยงต่อการติดเชื้อง่าย, รกคลอกตัวก่อนกำหนด, ในรายที่ทารกเป็น Hb Bart’s hydrop fetalis ต้องเฝ้าระวังการเกิดภาวะ preeclampsia ซึ่งมักมีอาการรุนแรงคลอดยากจากภาวะทารกบวมน้ำ เสี่ยงต่อการคลอดติดขัดหรือตกเลือดหลังคลอดเพราะรกมีขนาดใหญ่ และมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
ผลต่อทารก
โรคสามารถถ่ายทอดสู่ทารก, ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์, น้ำคร่ำน้อย, คลอดก่อนกำหนด, เกิดfetal distress เสียชีวิตในครรภ์, ตายคลอด
Thalassemia : ตามความรุนแรง
Thalassemia Minor : ผู้เป็นพาหะโรคธาลัส
ซีเมีย(trait , heterozygous) จะไม่มีอาการทาง
คลินิกไม่ต้องรับการรักษาสุขภาพเหมือนคน
ปกติ แต่ถ่ายทอดยีนผิดปกติไปสู่ลูกหลานได้
2. Thalassemia Intermedia: กลุ่มที่มีอาการปานกลางไม่จำเป็นต้องเติมเลือดเป็นประจำเช่น ซีดปานกลาง Hb~8-10g/dl. ตาเหลือง อาจมีนิ่วในถุงน้ำดีกระดูกพรุน/บาง
เช่น Thalassemia/HbE(บางส่วน) AE Bart’ ,Homozygous Hb Constant Spring และ Hb H disease การรักษาที่เหมาะสม : การให้เลือด การตัดม้ามและการให้ยาขับเหล็ก(iron chelator)ในภาวะที่มีเหล็กเกิน
Hb H disease : อาการไม่รุนแรง โดยทั่วไปมีการเติบโตปกติ รูปร่างหน้าตาปกติ ทำงานได้ดี ตับม้ามโตไม่มาก~ 2-3 ซม. ปัญหาแทรกซ้อนที่สำคัญคือ Hemolytic crisis โดยเฉพาะจากโรคติดเชื้อ
3. Thalassemia Major : กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการ
รุนแรงที่พบในคนไทย
1. Hb Bart’s hydrops fetalis
ตายก่อนคลอด เด็กจะซีด บวมตับม้ามโต รกใหญ่ แม่ของเด็ก Hydrops fetalisมักจะมีอาการครรภ์เป็นพิษ(Toxemia of pregnancy)
2. Homozygous β-thalassemia
ซีดมาก Hb 3-4 g/dl ต้องได้รับเลือดประจำ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือด ร่างกายเติบโตช้า บวม อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
3. β-thalassemia/HbE(บางส่วน)
4. β-thalassemia/ β-thalassemia
การวนิจฉัย
การตรวจคัดกรอง
การตรวจค่าดัชนีเม็ดเลือดแดง
ผู้ป่วยและส่วนใหญ่ของผู้ที่เป็นพาหะธาลัสซีเมีย จะมีค่า MCV น้อยกว่า 80 fL (normal 80-100 fL)
DCIP precipitation test
One tube osmotic fragility test (OF Test)
นายอนุพงศ์ วิชัยวุฒิ เลขที่ 87 ชั้นปีที่ 3