Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้อาหารในการบำบัดโรค และการให้โภชนาศึกษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง,…
การใช้อาหารในการบำบัดโรค และการให้โภชนาศึกษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
โภชนบำบัด หรืออาหารบำบัดโรค หมายถึง การใช้อาหารช่วยในการรักษาโรคโดยการดัดแปลงอาหารธรรมดาให้เป็นอาหารที่เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่
กระบวนการทางโภชนบำบัด
1.วิเคราะะห์ภาวะโภชนาการของผู้ป่วย
การซักประวัติ เกี่ยวกับอาหารบริโภค เช่น ชนิดของอาหารที่บริโภคเป็นประจำ
การวัดขนาดร่างกายของผู้ป่วย หมายถึง การวัดส่วนสูง น้ำหนักและการวัดส่วนประกอบของร่างกาย เช่น ไขมัน กล้ามเนื้อ
การตรวจร่างกาย โดยใช้วิธีสังเกตและวิธีตตรวจร่างกายอย่างเป็นลำดับและเป็นระเบียบ
การตรวจทางชีวเคมี โดยการตรวจเลือดและปัสสาวะ
การวางแผนการให้โภชนบำบัด คือการกำหนดเป้าประสงค์และกิจกรรมที่จะแก้ปัญหาโภชนาการจนได้แผนโภชนบำบัด ควรดำเนินการ ดังนี้
เป้าประสงค์ คือ ผลลัพธ์ที่พึงปรารถนาสำหรับผู้ป่วยอย่างกว้างๆ เช่น ให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
วัตถุประสงค์ คือ ผลระยะสั้นแต่ละขึ้นตอนที่บรรลุเป้าประสงค์ เช่น ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 500 กรัม
ชนิดชองอาหารเพื่อโภชนบำบัด จะใช้อาหารชนิดใด จะจัดอย่างไร เพื่อให้พลังงานเพิ่มวันละ 500 แคลอรี
ขั้นการดำเนินการโภชนบำบัด เป็นขั้นที่นำแผนโภชนบำบัดมาดำเนินการให้ผู้ป่วยได้รับอาหารที่ต้องการรวมทั้งให้คำปรึกาาและให้โภชนศึกษาต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างแพทย์ พยาบาล นักกำหนดอาหาร
ขั้นการประเมินผลโภชนบำบัด เพื่อดูความก้าวหน้าของการรักษาผู้ป่วยและประสิทธิภาพของแผนโภชนบำบัดแล้วดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามผลที่ประเมินได้
การประเมิน สังเกตหรือสอบถามเกี่ยวกับการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเกี่ยงกับปริมาณอาหารที่รับประทานได้ ความพอใจของผู้บริโภค เพื่อจะได้นำมาปรับปรุงดัดแปลงแก้ไข
บุคคลที่เกี่ยวกับการให้โภชนบำบัด
1.แพทย์ เป็นผู้สั่งอาหารให้แก่ผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทใด โดยเฉพาะแพทย์จะเป็นผู้สั่งลงในคำสั่งการรักษาของผู้ป่วย
พยาบาล เป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยมากที่สุด ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างแพทย์นักกำหนดอาหารและผู้ป่วย
เป็นผู้คัดลอกคำสั่งของแพย์ ลงในใบอาหารเพื่อส่งไปยังหน่วยบริการอาหารใบสั่งอาหาร
หากผู้ป่วยมานอนป่วย โดยแพทย์ยังไม่ได้สั่งอาหารทางฝ่ายพยาบาลไมาสามารถติดต่อแพทย์ให้ส่งอาหาร
คอยช่วยเหลือดูแลคนไข้ระหว่างรับประทานอาหาร คอยสังเกตการรับประทานอาหารของคนไข้ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านอาหารกับผู้ป่วยโรคบางชนิด
นักกำหนดอาหาร บทบาทคือ - คิดคำนวณคุณค่าอาหารสำหรับผู้ป่วยตามที่แพทย์สั่ง
กำหนดอาหารและดัดแปลงอาหาร ให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและความพึงพอใจ
ควบคุมการจัดและการปรุงอาหารเฉพาะโรค
เยี่ยมผู้ป่วย เพื่อจะทราบผลการรับประทานอาหารของผู้ป่วย
ทำงานร่วมกับแพทย์และพยาบาลในการให้คำปรึกษาแนะนำด้านอาหารกับผู้ป่วย
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable diseases) กลุ่มโรค NCDs เป็นโรคที่เราสร้างขึ้นเองล้วนๆจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น - โรคเบาหวาน - โรคถุงลมโป่งพอง - โรคหลอดเลือด -โรคมะเร็ง - โรคความดัดโลหิตสูง - โรคอ้วนลงพุง
โรคเบาหวาน
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
เรียนรู้และนับคาร์บกับอาหารแลกเปลี่ยน การนัยคาร์บ หมายถึง การนับปริมาณสารอาารคาร์โบไฮเดรทในอาหารที่กินเข้าไปทำให้มีผลต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
เลือกกินเนื้อสัตว์อย่างฉลาด
กินโปรตีน 0.8 กรัม/นน.ตัว เพื่อรักษามวลกล้ามเนื้อ
กินเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ และมีแคลเซียยม เหล็ก สังกะสี เช่น ปลา
หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่ไขมันสูง เช่น หมูสามชั้น กุนเชียง หนังหมู หมูยอ ไส้กรอก
รู้จักเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ - เลือกคาร์โบไฮเดรตชนิดดี ได้แก่ ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวโพดขนมปังโฮลวีท โฮลเกรน สปาเก็ตตี้ วุ้นเส้น มักกะโรนี ถั่ว ธัญพืช
เลือกกินชนิดไขมันที่ช่วยลดคอเรสเตอรอลที่ไม่ดี ได้แก่ น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันถั่วลิสง วันหนึ่งกินไม่เกิน 6 ช้อนชา
กินอาหารที่มีแอนตี้ออกซิเดนซ์ เช่น ผักผลไม้ 5 สี ผักมื้อละ 2 ทัพพี ผลไม้มื้อละ 1 ส่วน
กินอาหารที่มีจุลินทรีย์สุขภาพ เช่น โยเกิร์ตสูตรไขมันต่ำ น้ำตาลน้อย
4.รู้จักเลือก รู้จักลด และงดอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพ
ลดและงดคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดี เช่น น้ำตาล เครื่องดื่มรสหวาน
ลดและงดไขมันที่ได้จากผลิตภัรฑ์สัตว์และไขมันทรานซ์ เช่น หมูสามชั้น หนังหมู/ไก่
ลดอาหารหมักดองและอาหารเค็มจัด
กินโดยควบคุมปริมาณอาหารจากพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน
โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ
เกิดจากหลอดเลือดตีบตัน หรือหลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งเกิดจากการสะสมของไขมัน โปรตีน และแร่ธาตุในผนังหลอดเลือดจนเกิดการตีบตันและแคบ
อาหารที่ทำให้ระดับไขมันในเลือดสูง
อาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัว พบมากในอาหารและน้ำมันจากพืชบางชนิด
ผลิตภัณฑ์จำพวกนม เช่น นมครบส่วน เนยแข็ง เนย ไอศกรีม
เนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เบคอน กุนเชียงและไส้กรอก
ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว
น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว
อาหารที่มีไขมันทรานส์ พบได้ในอาหารที่มีการใช้น้ำมันที่มีการเติมไฮโรเจนลงในน้ำมันทีทีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น เนยเทียม หรือเนยขาว ได้แก่ ขนมอบต่างๆเบเกอรี่ คุกกี้ แครกเกอร์ ขนม
อาหารที่มีคอเลสเตอรอล พบได้ในผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์เท่านั้น ได้แก่ - ไข่แดงเนื้อสัตว์ที่ไขมันสูงและผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันสูง
เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ
สัตว์ปีก เช่น ไก่ เป็ด
สัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือก เช่น หอย กุ้ง ปู
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วย
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไขมันสัตว์ หนังเป็ด/ไก่ สมองสัตว์ เครื่องในสัตว์ ตับ ไตสมอง
หลีกเลี่ยงอาาหรที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น เครื่องในสัตว์ ไข่แดง หอยนางลม ปลาหมึก กุ้ง
งดน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาร์ม
หลีกเลี่ยงอาหารทอดและผลิตภัณฑ์เบเกอรี่
หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำจากไข่แดง และไขมันอิ่มตัว เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง
ใช้น้ำมันในการปรุงอาหารแต่พอควร
ดื่มนมประเภทไขมันต่ำ หรือไม่มีไขมัน - ลดการกินอาหารเค็มและอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง
กินผักผลไม้เป็นประจำ เพื่อให้ได้วิตามินซีและเบต้าแคโรทิน
หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา กาแฟ และงดการสูบบุหรี่
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
พักผ่อนให้เพียงพอ ควบคุมความเครียด
ควบคุมไขมันในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ ควรคำนึง - ควบคุมระดับโคเลสเตอรอลในเลือดให้น้อยกว่า 200 มลก./ดซล.
ควบคุมไตกรีเซอไรด์ในเลือให้ต่ำกว่า 150 มลก.ต่อดซล.
ลดปริมาณไขมันให้น้อยลง ไม่ควรเกินร้อยละ 30 ขอลพลังงานทั้งหมด
ลดปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวลง งดไขมันจากสัตว์
กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ควรเป็นไขมันจากถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำข้าว
โรคมะเร็ง
โภชนบำบัดโรคมะเร็ง
การให้อาหารแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถกินอาหารได้ตามปกติ เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็งบริเวณศรีษะ ลำคอ หลอดอาหาร หรือกระเพาะอาหาร ต้องรับอาหารทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารหรือหลอดเลือด enteral nutrition คือการให้อาหารในรูปของเหลวให้แก่ผู้ป่วยทางสายยางที่ต่อเข้ากับกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก
Parenteral Nutrition (การให้สารอาหารทางเส้นเลือด) Parenteral Nutrition เป็นการให้สารอาหารแก่ผู้ป่วยผ่านทางระบบเลือด
ผู้ป่วยมีปัญหาเม็ดเลือดขาวต่ำ
ยาเคมีบำบัด-ฉายแสง อาจทำให้เม็ดเลือดขาวลดลงในช่วงได้รับยา การกินอาหารเพื่อป้องกันไม่ให้เม็ดเลือดขาวต่ำ กินอาหารที่มีโปรตีนสูง ในวันหนึ่งควรกินโปรตีนประมาณ 50-80 กรัม โดยปริมาณขึ้นกับน้ำหนักตัวว่ามากหรือน้อย
ผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะจะช่วยให้อุจจาระนิ่ม - กินธัญพืชที่ขัดสีน้อย เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังมัลติเกรน
หากมีปัญหาเรื่องการเคี้ยวอาหาร อาจนำผลไม้ที่ไม่หวานจัด เช่น มะละกอ ฝรั่ง แอบเปิ้ล ดื่มวันละ 1 แก้ว
กองทุนวิจัยมะเร็งโลก (WCRF) แนะนำว่าไม่ควรใช้อาหารเสริมในการป้องกันมะเร็ง แต่ควรกินอาหารตามปกติให้หลากหลาย และมีสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง - อาหารที่มีไขมันมากและมีคอเลสเตอรอลสูง อาจเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก
สารก่อมะเร็ง เนื้อสัตว์ที่ย่างจนไหม้ ทอดในน้ำมันร้อนจัดและใช้น้ำมันทอดซ้ำ สารก่อมะเร็งในอาหารหมักดอง เช่น ปลาร้า อาหารที่ใช้สารฟอกขาว เช่น ถั่วงอก ขิงฝอย ฯลฯ
-สารก่อมะเร็งในสิ่งแวดล้อม ได้อก่ มลพิษในอากาศ เช่น ก๊าซพิษ ควันบุหรี่ ฯลฯ
ยาและเครื่องสำอางบางชนิด ยาคุมกำเนิดบางชนิด
แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคมะเร็ง
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เช่น ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์ นม ไข่ ผัก ผลไม้
รับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย คอเลสเตอรอลต่ำ
รับประทานอาหารที่มีโปรตีนให้เพียงพอ จากเนื้อสัตว์นม ข่
รับประทานข้าวกล้องและถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ
รับประทานอาหารสด ใหม่ สุก สะอาด
หลีกเลี่ยงอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ
ดื่มน้ำสะอาด วันละ 8-10 แก้ว
พักผ่อนใ้เพียงพอ งดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์ และงดบุหรี่
ปัญหาการกิน
1.กินครั้งละน้อย แต่บ่อยขึ้นเป็น 5-6 มื้อ
กินอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์
ไข่ กินได้ทั้งไข่แดง ไข่ขาว วันละ 1-2 ฟอง
นม เลือกนมวัวไขมันไขมันต่ำ
สามารถปรุงรสด้วยมะนาวหรือผักสมุนไพร
กินอาหารแช่เย็น เช่น ไอศกรีม หรืออมน้ำแข็ง
อาหารที่ควรเลี่ยง
อาหารเผ็ด
อาหารที่เพิ่งปรุงรสเสร็จกำลังร้อนจัด
อาหารหรือผลไม้เปรี้ยวจัด
อาหารที่มีลักษณะแข็งที่จะทำให้เจ็บเวลาเคี้ยว
โรคความดันโลหิตสูง
ความดันในหลอดเลือดขณะที่หัวใจคลายตัวความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100-140 มิลลิเมตรปรอท ในช่วงหัวใจบีบ และ 60-90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย แต่ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจะมีแรงดันโลหิตสูงตลอดเวลา เท่ากับหรือสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
1. ควบคุมน้ำหนัก
พบว่าคนทีนนใเกินจะเป็นโรคนี้สูงมากกว่าคนปกติถึง 50%
2. ลดการบริโภคโซเดียม
เกลือ อาหารรสเค็ม
ลดความเค็มในอาหาร
หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารหมักดอง เช่น ไข่เค็ม ปลาร้า ผักดอง
ลดการปรุงเครื่องปรุงในอาหาร เช่น ผงปรุงรส น้ำปลา ซีอิ้ว
หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ผ่านกระบวนการแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม หมูยอ กุนเชียง ปลาเค็ม
ลดความถี่และปริมาณการกินอาหารที่มีน้ำจิ้ม เช่น น้ำจิ้มไก่ น้ำจิ้มสุกกี้
หลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่สารกันเสีย
ปรุงอาหารด้วยเครื่องเทศหรือสมุนไพร
งดหรือลดอาหารที่มีไขมันมาก
งดบุหรี่หรือเครื่องแอลกอฮอล์
ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
โรคอ้วน
หมายถึง โรคที่เกิดจากร่างกายมีการสะสมเนื้อเยื่อไขมันมากกว่าเกณฑ์ปกติ
รับประทานอย่างไรถึงได้อ้วน
พลังงานที่ได้รับมากกว่า พลังงานที่ใช้ไป = น้ำหนักตัวเพิ่ม 2000 > 1500 = 500 (พลังงานส่วนเกิน)
พลังงานที่ได้รับ น้อยกว่า พลังงานที่ใช้ไป = น้ำหนักตัวลดลง 1500 < 2000 = -500 (พลังงานส่วนขาด)
โภชนศึกษาโรคอ้วน
ควบคุมพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน
ลดการรับประทานอาหารกลุ่มพลังงานสูง ข้าวแป้ง ไขมัน
เลือกบริโภคอาหารที่มีพลังงานต่ำ ไขมันต่ำ หวานน้อย
เลือกดื่มน้ำอัดลมที่ไม่มีน้ำตาล เช่น ซีโร่
จานอาหารสุขภาพ
เป็นหลักการกำหนดสัดส่วนอาหารในอัตราส่วน 2:1:1 โดยการแบ่งอาหารในจานออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 1 ส่วน ควรเลือกเป็นประเภทไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง โปรตีน 1 ส่วน เน้นกลุ่มไขมันต่ำ เช่น อกไก่ ผัก 2 ส่วน ควรเลือกผักให้หลากสี ผลไม้หวานน้อย 1 ส่วน 1 กำมือ เช่น ส้ม แอปเปิ้ล ฝรั่ง นม 1-2 แก้ว/วัน ควรเลือกดื่มนมไขมันต่ำ
ธงโภชนาการ
ชั้นที่ 1 ชั้นบนสุด เป็นข้าวแป้ง ควรบริโภคมากที่สุด ประกอบด้วยอาหารประเภทข้าวเผือก มัน ขนมปัง ธัญพืช ชั้นที่ 2 ผักและผลไม้ ควรได้รับผัก4-6 ทัพพีต่อวัน และผลไม้ 3-5 ส่วนต่อวัน ชั้นที่ 3 เนื้อสัตว์และนม เนื้อสัตว์ 6-12 ช้อนกินข้าวต่อวัน ชั้นที่ 4 ชั้นล่างสุด น้ำมัน น้ำตาล เกลือ ควรบริโภคแต่น้อยเท่าที่จำเป็น
อาหารบำบัดโรคหรืออาหารเฉพาะโรค
อาหารลดโซเดียม
มิได้หมายความให้ลดเพียงเกลือและน้ำปลา แต่ลดปริมาณโซเดียมที่มีอยู่ในอาหาร หลีกเลี่ยงเครื่องปรุงรสและอาหารที่มีโซเดียม เช่น ผงชูรส ซอสปรุงต่างๆ อาหารกระป๋อง อาหารแปรรูป
อาหารลดไขมัน
นมที่ไขมันสูงเปลี่ยนนมไขมันต่ำหรือนมขาดมันเนย เนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง ได้แก่ หมูติดมัน หมูสามชั้น เปลี่ยนเป็นหมูเนื้อแดง ไม่ติดมัน หรืออกไก่ไม่มีหนังติด
อาหารลดโคเลสเตอรอล
เนื้อสัตว์ที่มีโคเลสเตอรอลสูง ได้แก่ หนังเป็ด หนังไก่ หมูสามชั้น ขาหมู ไข่แดง ไข่ปลา เครื่องในสัตว์
อาหารดัดแปลงโปรตีน
อาหารที่มีโปรตีนสูง ให้แก่ผู้ป่วยที่มีการสูญเสียโปรตีนและจำเปผ้นต้องได้รับการชดเชย เช่น ผู้ป่วยโรคไตและทำการล้างไตหรือผู้ป่วยที่ถูกไฟไหม้
อาหารที่มีโปรตีนต่ำ
ให้ผู้ป่วยโรคไตที่ไม่มีการล้างไตเพื่อลดปริมาณของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญโปรตีน
อาหารดัดแปลงพลังงาน
*อาหารพลังงานต่ำ
เพื่อให้แก่ผู้ป่วยหรือมีน้ำหนักมากกว่าปกติและจำเป็นต้องลดน้ำหนัก
อาหารพลังงาสูง
ให้แก่ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน เพื่อให้น้ำหนักตัวเพิ่ม
อาหารโรคเบาหวาน
สั่งให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่นะดับใกล้เคียงกับภาวะปกติของคนทั่วไป รักษาน้ำหนักตัวของผู้ป่วยและป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น
อาหารทางสายให้อาหาร
สูตรอาหารปั่นผสม
สูตรนี้เตรียมมาจากอาหาร 5 หมู่ เลือกวัถุดิบมาจากอาหารแต่ละหมู่ มีทั้งผัก ผลไม้เนื้อสัตว์ น้ำตาลและไขมัน นำมาทำให้สุกและปั่นผสมเข้าด้วยกัน
การให้อาหารทารทางหลอดเลือดดำ
ช่วยผู้ป่วยได้รับสารอาหารเพื่ออยู่รอดของชีวิต และสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อได้
ให้อาหารทางหลอดเลือดดำแบบบางส่วน
ให้อาหารทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย ไม่ครบตามความต้องการหรือได้สารอาหารบางชนิดเท่่านั้น
ให้อาหารทางหลอดเลือดดำแบบสมบูรร์
การให้อาหารทางเส้นเลือดดำใหญ่ ได้สารอาหารครบทั้งปริมาณและชนิดของอาหาร
Parenteral Formula
สารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำ ได้แก่ Carbohydrate, Protein, Fat, Vitamin, เกลือแร่และน้ำ
ถ้ากินได้น้อย น้ำหนักลดให้กิน อาหารทางการแพทย์ สามารถดื่มแทนอาหารปกติหรือดื่มเสริมอาหารปกติ
พลังงาน สำหรับผู้หญิงที่ 1500-1600 กิโลแคลอรี่ พลังงาน สำหรับผู็ชายที่ 1800-2000 กิโลแคลอรี่