Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะไม่สุขสบายระหว่างตั้งครรภ์, ผื่นตั้งครรภ์ Pruritic urticarial papules…
ภาวะไม่สุขสบายระหว่างตั้งครรภ์
ไตรมาสที่1
คลื่นไส้อาเจียน Morning sickness
สาเหตุ
-การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย
-การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ส่งผลให้อาหารไปสู่กระเพราะช้า ทำให้ท้องว่าอยากอาเจียน
-ความวิตกกังวล เช่น กลัวการคลอดหรือปัญหาครอบครัว หรือไม่พร้อมที่จะตั้งครรภ์
ระยะเวลา
เกิดช่วงอายุครรภ์ประมาณ 6-8 สัปดาห์และเมื่ออายุครรภ์ครรภ์ได้ประมาณ 12-16 สัปดาห์อาการนี้ก็จะหายไป
คำเเนะนำ
รับประทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆ อาจแบ่งเป็น 5 หรือ 6 มื้อ แทนการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ 3 มื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้ท้องว่าง
รับประทานวิตามินรวมบำรุงขณะตั้งครรภ์เสมอ ช่วยให้อาการแพ้ท้องรุนแรงน้อยลง แต่อย่ารับประทานวิตามินขณะท้องว่างเพราะจะทำให้อาการคลื่นไส้ อาเจียนแย่ลง
หลีกเลี่ยงกลิ่นที่ทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน
หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดและอาหารมัน
เมื่อรู้สึกคลื่นไส้ ให้รับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เช่น ข้าว กล้วย ซุปไก่ เจลาติน
ขณะมีอาการคลื่นไส้ ให้จิบน้ำเย็น น้ำชาอ่อนๆ เพื่อบรรเทาอาการ
ปวดเมื่อยตามร่างกาย
pains and aches
สาเหตุุ
การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน โปรเจสเตอโรน
อาการแสดง
อยากพักผ่อนเพลียได้ง่ายไปจนถึงอาการปวดเมื่อยตามตัว
คำแนะนำ
พักผ่อนวันละ 8-10ชั่วโมงหรือหาเวลางีบหลับในระหว่างวัน
ระยะเวลา
ช่วง3เดือนเเรก
ปัสสาวะบ่อย
(Urinary Frequency and Urgency)
สาเหตุ
มดลูกกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ
อาการแสดง
ปวดปัสสาวะบ่อยและถี่
คำแนะนำ
1.แนะนำให้ดื่มน้ำมากในตอนกลางวันและดื่มน้ำน้อยในตอนกลางคืน
2.แนะนำให้งดดื่มเครื่องดื่มจาพวก ชา กาแฟ
3.แนะนำไม่ให้กลั้นปั สสาวะโดยไม่จำเป็นเพื่อป้องกันurinary stasis
ระยะเวลา
ตลอดช่วงไตรมาสเเรก
เต้านมคัดตึง
Breast tenderness
คำแนะนำ
1.แนะนำให้สวมชั้นในที่เหมาะสมกับเต้านมที่ขยายใหญ่ขึ้น
2.กระตุ้นให้ผู้รับบริการหาโอกาสพูดคุยกับสามีถึงการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายที่เกิดขน
3.ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเต้านมเบาๆ
อาการแสดง
ปวดเจ็บบริเวณเต้านม คัดตึง คล้ายช่วงมีประจำเดือน
สาเหตุ
ฮอร์โมน Estrogenทำให้ต่อมต่างๆของร่างกายขยายใหญ่ขึ้นเพื่อเตรียมสร้างน้ำนมหลังคลอด
ระยะเวลา
ตลอดการตั้งครรภ์
แสบร้อนกลางยอดอก
Heartburn
สาเหตุ
ฮอร์โมนProgesteroneจะลดการทำงานทำให้ให้กล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะอาหารไหลย้อยกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร
อาการแสดง
จุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ เรอเปรี้ยวกลืนลำบาก แสบในกกระเพราะอาหาร รู้สึกปวดทรวงอกโดยเฉพาะเวลางอตัว นอนราบและหลังรับประทานอาหาร
คำแนะนำ
1.แนะนำให้รับประทานอาหารที่อ่อน ย่อยง่าย งดอาหารรสจัด รับประทานอาหารครั้งละน้อยแต่ทานบ่อยครั้ง
2.แนะนำให้จำกัดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่ทาให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
3.เมื่อรู้สึกมีอาการร้อนในอก ให้ดื่มนมอุ่นหรือน้ำอุ่นเพื่อเจือจางกรด ถ้าไม่ดีขึ้นให้ไปพบแพทย์
ระยะเวลา
อายุครรภ์ 6 สัปดาห์
ท้องผูก
constipation
สาเหตุ
จากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้นในระยะนี้ส่งผลให้การบีบตัวของลำไส้ใหญ่ลดลง และขับถ่ายน้อยลงด้วย มดลูกขยายใหญ่ขึ้น
ไปกดเบียดกระเพาะและลำไส้ จึงทำให้ช่องภายในลำไส้แคบลง
อาการแสดง
ท้องผูก อุจจาระเป็นก้อนแข็ง
คำแนะนำ
1.เพิ่มปริมาณใยอาหาร ซึ่งจะช่วยเพิ่มเนื้ออุจจาระ และทำให้อุจจาระนิ่ม
ช่วยทำให้การบีบตัวของลำไส้เป็นปกติมากขึ้น
2.ดื่มน้ำมากๆ เพราะน้ำช่วยให้ใยอาหารทำงานได้ดีขึ้นนควรดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน เช่น น้ำเปล่า น้ำผลไม้ ซุป นมถั่วเหลือง
3.ทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวของร่างกาย กิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายระดับเบาจนถึงปานกลาง
จะช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ทำงานเป็นปกติ
ระยะเวลา
อายุครรภ์3เดือนขึ้นไปจนกระทั่งคลอด
อ่อนเพลีย
(Fatigue)
สาเหตุ
โปรเจสเตอโรนมีระดับเพิ่มขึ้น
หัวใจทำงานมากขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือไปเลี้ยงทารก
อาการเเสดง
เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียเหมือนไม่มีแรง
คำแนะนำ
1.นอนพักผ่อนวันละ 8-10 ชั่วโมงหรืองีบระหว่างวัน
2.เลี่ยงการทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก
3.รับประทานอาหารให้ครบ5หมู่
ระยะเวลา
ช่วง3เดือนแรกของการตั้งครรภ์
น้ำลายมาก
(Excessive salivation or ptyalism)
สาเหตุ
รับประทานอาหารประเภทแป้งมากจึงกระตุ้นต่อมน้ำลายให้ทำงานเพิ่มมากขึ้น
อาการแสดง
น้ำลายออกมาเเละมีกลิ่นเหม็น
คำแนะนำ
1.ไม่รับประทานอาหารที่มีแป้งมาก
2.บ้วนปากบ่อยๆเพื่อรักษาความสะอาดของปากและฟัน
3.ดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ
4.เคี้ยวหมากฝรั่ง
ระยะเวลา
อายุครรภ์5สัปดาหืและจะหายเมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์
อารมณ์แปรปรวน
(Mood swing)
อาการแสดง
อารมณ์ขึ้นๆลงๆหงุดหงิดง่าย ขี้รำคาญ เอาแต่ใจตัวเอง ขี้น้อยใจ
คำแนะนำ
1.คนรอบข้างต้องเข้าใจสาเหตุและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลง
2.ผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น ฟังเพลง ดูทีวี
3.คนรอบข้างให้ความรัก ความเข้าใจ คอยรับฟังปัญหา
สาเหตุ
ระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นจากปกติอย่างรวดเร็ว
ความไม่สุขสบายจากอาการแพ้ท้อง
ระยะเวลา
อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป
ไตรมาสที่ 2
ตกขาว
Vaginal discharge
คำแนะนำ
1.แนะนาให้ดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ให้สะอาดและแห้ง
2.ไม่ควรสวนล้างช่องคลอดหรือใช้นิ้วสอดเข้าไปทำความสะอาดอวัยวะภายใน
อาการแสดง
ตกขาวเป็นมูกขาวขุ่นและมีกลิ่นเหม็น คัน
ถ้าเกิดจากการติดเชื้อโรคจะมีอาการแสบเวลาปัสสาวะ
จะต้องรักษาให้หายก่อนคลอด
สาเหตุ
ฮอร์โมนเอสโตรเจนกระตุ้นให้ผลิตมูกมากขึ้น
การติดเชื้อในช่องคลอดจะทำให้ตกขาวผิดปกติ เช่น สี กลิ่น
ระยะเวลา
อายุครรภ์ 7สัปดาห์ขึ้นไป
ริดสีดวงทวารหนัก
Hemorrhoids
อาการแสดง
ก้อนเลือดอุดตันบริเวณทวารหนักปวดแสบและมีเลือดออกปนเวลาอุจจาระ
คำแนะนำ
1.รับประทานอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้
2.ดื่มน้ำมากๆ ประมาณวันละ 2,000-3,000ml
3.ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา
สาเหตุ
-มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นจะไปกดหลอดเลือดดำในช่องท้องทำให้หลอดเลือดดำส่วนปลาย เช่น บริเวณเท้า ขาและก้นมีการไหลกลับของเลือดเข้าสู่หัวใจยากขึ้นจึงทำให้เกิดการคั่งของเลือด
-การสร้างฮอร์โมนหลายชนิดซึ่งฮอร์โมนต่างๆนี้ส่วนมากจะทำให้หลอดเลือดขยายและเกิดการคั่งของเลือดมากขึ้น
ระยะเวลา
อายุครรภ์ 16-24 สัปดาห์
หน้าท้องขยาย
อาการแสดง
เกิดรอยแตกลาย
คำแนะนำ
1.ใช้โลชั่นหรือครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของสารเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง เช่น โกโก้บัตเตอร์จากธรรมชาติโดยควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองความปลอดภัยจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือและปรึกษาแพทย์ก่อนการเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์ใดๆ ทุกครั้ง
สาเหตุ
มดลูกขยายตัวเพื่อองรับตัวของทารกในครรภ์
ระยะเวลา
อายุครรภ์21สัปดาห์ขึ้นไป
สีผิวเปลี่ยน สิวขึ้น มีฝ้า
อาการแสดง
สิว ฝ้า กระ โดยเฉพาะบริเวณหน้าผากและแก้มบริเวณลานหัวนมมีสีเข้มขึ้นซึ่งอาการเหล่านี้ไม่เป็นอันตราย และจะค่อย ๆ หายไปหลังจากการคลอดบุตร
คำแนะนำ
1.หมั่นบำรุงผิวอยู่เสมอเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่นให้ผิวหนัง
2.รักษาผิวให้สะอาดเสมอ
3.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ร้อนและเผ็ด
4.ควรปรึกษาแพทย์แทนการใช้ยาที่ซื้อจากร้านขายยาซึ่งทำให้ปัญหาสิวแย่ลง
ยารักษาโรคสิวบางชนิดอาจนำไปสู่ความผิดปกติของทารกในครรภ์
สาเหตุ
การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในระหว่างตั้งครรภ์ melanocyte ที่สร้าง melanin pigment เพิ่มขึ้น จากการกระตุ้นของ estrogen และ melanocyte stimulation hormone
ระยะเวลา
อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ขึ้นไป
เหงือกบวม/อักเสบ
Gingivitis
อาการแสดง
ทำให้มีเลือด-ออกเวลามีสิ่งของไปโดน และทำความสะอาดได้ยากขึ้น ทั้งนี้ ก้อนเนื้อที่ว่าจะมีขนาดค่อย ๆ เล็กลงและหายไปหลังคลอด
คำแนะนำ
1.หมั่นดูแลสุขอนามัยในช่องปากอย่างสม่ำเสมอ
คือแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
2.ใช้น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์
เพื่อช่วยลดการกัดกร่อนจากกรดหลังรับประทานอาหารหรือ ภายหลังอาเจียน
3.ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน
เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ในซอกฟันที่แปรงเข้าไม่ถึง
4.กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเพิ่มอาหารที่มีโปรตีน
แคลเซียม และฟอสฟอรัสมากๆ เช่น นม ไข่ ปลาเล็กปลาน้อย รวมทั้งผักผลไม้
สาเหตุ
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่าง การตั้งครรภ์ที่เรียกว่า Pyogenic Granuloma (pregnancy tumor) เกิดขึ้นได้เป็นปกติในหญิงตั้งครรภ์ ไม่ส่งผลร้ายแรง
ระยะเวลา
อายุครรภ์15สัปดาห์ขึ้นไป
คัดจมูก เลือดกำเดาไหล
Nasal Stuffiness and Epitasis
อาการเเสดง
คัดจมูก มีเลือดกำเดาไหล
คำแนะนำ
1.เมื่อมีอาการคัดจมูกให้ใช้น้ำเกลือล้างจมูก
2.เมื่อมีเลือดกำเดาไหล ให้นั่งหรือยืนหัวตรงเพราะการทำเช่นนี้จะช่วยลดความดันในหลอดเลือดภายในจมูกช่วยให้เลือดไหลออกช้าลง
3.ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้บีบปีกจมูกเข้าหากัน ทำค้างไว้10นาที
4.ใช้เจลปะคบเย็นที่ด้านหลังคอหรือหน้าผาก
5.อย่านอนหรือเอนศีรษะลง เพราะอาจทำให้กลืนเลือดลงคอเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
สาเหตุ
การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนทำให้หลอดเลือดขยายตัว ปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นจะไปช่วยเพิ่มแรงกด แรงดันต่อหลอดเลือด หลอดเลือดในจมูกเป็นส่วนที่มีความบอบบางทำให้เส้นเลือดแตกได้ง่าย
เวียนศีรษะ
dizziness
อาการแสดง
เวียนศรีษะ หน้ามืด
คำแนะนำ
1.พยายามไม่เคลื่อนไหวร่างกาย ก้มเงย หรือลุกนั่งเร็วเกินไป เพราะอาจทำให้วิงเวียน หน้ามืด จนเกิดอุบัติเหตุได้
2.หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี เกิดการเกร็งกล้ามเนื้อ จนมีอาการเวียนหัวและอ่อนแรงได้
3.ควรอยู่ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเท อุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป
4.หลีกเลี่ยงการทานอาหารไขมันสูง เพราะจะทำให้รู้สึกเวียนศีรษะ และคลื่นไส้ยิ่งกว่าเดิม
5.ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ และควบคุมให้ความดันโลหิตเป็นปกติ
สาเหตุ
ความดันโลหิตต่ำลง เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรนที่หลั่งออกมามากในระยะแรกของการตั้งครรภ์ไปขยายผนังหลอดเลือด ทำให้ความดันเลือดต่ำลงได้ รวมถึงเลือดปริมาณมากจะไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณมดลูก ทำให้ส่วนอื่นๆ ของร่างกายมีเลือดไปเลี้ยงน้อยลง จนทำให้มีอาการเวียนหัว
ระยะเวลา
ดีขึ้นจากช่วง3เดือนเเรก
ไตรมาสที่ 3
บวม
อาการแสดง
แสดง บวมบริเวณข้อเท้าและเท้าหากต้องยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน อาจมีบวมบริเวณนิ้วมือ ใบหน้าร่วมด้วย
คำแนะนำ
1.นอนตะแคงซ้ายเพื่อช่วยลดน้ำหนักที่กดทับกระดูกสันหลังและหลอดเลือดเวนาคาวา
2.ยกขาสูงทุกครั้งที่ทำได้ หากอยู่ที่ทำงานก็ควรหาอะไรมาหนุนขาเอาไว้
3.หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง
4.เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เหยียดขาโดยให้ส้นเท้าลงก่อนและค่อยๆเหยียดปลายเท้าตามด้วยขยับนิ้วเท้าเพื่อให้เลือดไหวเวียนดีขึ้น
5.ควรเลือกรองเท้าที่สวมใส่สบายสามารถรององรับการขยายตัวของเท้า ไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูงและไม่ควรต่ำเกินไปควรใส่ประมาณ0.5นิ้ว
สาเหตุ
ขนาดมดลูกที่ใหญ่ขึ้นทำให้กระดูกเชิงกรานกดทับเส้นเลือดใหญ่ เวนาคาวา ซึ่งอยู่ทางด้านขวาของร่างกายทำให้ไม่สามารถส่งเลือดจากบริเวณหลังช่วงล่างกลับไปที่หัวใจได้สะดวก
หายใจลำบาก
อาการแสดง
รู้สึกอึดอัด หายใจได้สั้นๆ
สาเหตุ
มดลูกขยายใหญ่ขึ้นและกดไปที่กระบังลมที่ทำหน้าที่ขยายเนื้อที่ของปอด ทำให้เนื้อที่ในปอดแคบลงทำให้คุณแม่รู้สึกได้ว่าหายใจไม่เต็มอิ่ม เนื่องจากปอดขยายไม่เต็มที่
คำแนะนำ
1.นั่งท่าตรง หลังและไหล่ตรง
จะทำให้ปอดมีช่องว่างมากขึ้นเล็กน้อยคุณแม่จะหายใจได้ดีขึ้น
2.นอนหลับในท่าตะแคงซ้าย
ฝึกการหายใจ หายใจเข้าช้าๆยาวๆ หายใจออกช้าๆยาวๆ
4.ยกมือขึ้นเหนือศีรษะ
จะช่วยลดแรงกดดันที่ช่องอก ทำให้คุณหายใจสะดวกขึ้น
ระยะเวลา
ระยะท้ายๆของกรตั้งครรภ์
มือชา (Carpal Tunnel Syndrome)
สาเหตุ
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนของแม่ตั้งครรภ์ส่งผลให้ของเหลวคั่งในร่างกายทำให้เส้นประสาทถูกกดทับ
อาการแสดง
ชาเป็นเหน็บและเจ็บที่นิ้วหรือข้อมือที่บวมส่วนใหญ่จะรู้สึกชาบริเวณนิ้วหัวแม่มือมากกว่าด้านนิ้วก้อยโดยอาจเป็นเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง
คำแนะนำ
1.เวลานอนวางมือบนหมอนเพื่อลดอาการคั่งน้ำ ลดอาการบวม
พยายามพักมือไม่ทำอะไรนานเกินไป เลี่ยงหยิบของที่มีน้ำหนักมาก
2.แช่มือในน้ำอุ่นเพื่อให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
3.หากมีอาการชาให้สะบัดมือเป็นจังหวะจะทำให้อาการชาดีขึ้น
4.หากจำเป็นต้องใช้มือในการทำงานนานๆเช่น การพิมพ์งาน ทำงานบ้าน
ควรมีการพักมือเป็นระยะหรืออาจให้สามีช่วย
ตะคริว
cramp
อาการแสดง
ปวดน่อง ต้นขา คลำดูรู้สึกแข็งเป็นก้อน ถ้าขยับเขยื้อนจะทำให้
ปวดและแข็งมากขึ้น
คำแนะนำ
1.แนะนำให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ ไม่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆเกินไป
2.กินอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอทุกวัน นม ปลาตัวเล็กๆ ที่รับประทานได้ทั้งตัว
ผักใบเขียว งาดำ ถั่วแดงหลวง และถ้าเป็นช่วงกลางคืนบ่อยๆให้ดื่มนมมากขึ้น
3.ในช่วงก่อนนอน และใช้หมอนรองขาจากที่นอนให้ส่วนปลายเท้าสูงขึ้น
ไม่ควรนวดแรงๆ บริเวณที่เป็น อาจจะทําให้เจ็บมากขึ้นได้
สาเหตุ
มีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำเพราะทารกต้องนำไปใช้สร้างกระดูกและฟัน
การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวกจากน้ำหนักของมดลูกไปกดทับทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก มีการคั่งของเลือด กล้ามเนื้อบริเวณน่องก็เลยขาดออกซิเจน ทำให้เกิดอาการปวดเกร็งขึ้นมา
ปวดหลัง
อาการ
ปวดหลัง บั้นเอว
คำแนะนำ
1.แนะนาให้หลีกเลี่ยงการทางานหนักและพักผ่อนในท่านอนตะแคง
2.แนะนำไม่ให้ใส่รองเท้าส้นสูง
3.ให้ยืนหรือนั่งในท่าหลังตรง
4.นวดบริเวณหลัง
สาเหตุ
ยืนหรือเดินนานๆหรืออยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง ยกของหนักเกินไป
ระยะะเวลา
ช่วง3เดือนสุดท้ายก่อนคลอด
เส้นเลือดขอด
Varicose veins
อาการแสดง
ปวดและบวมที่ขา มีเส้นเลือดโป่งพอง มีสีเขียว
คำแนะนำ
1.ยกเท้าสูงขึ้น5-10 นาที หรือเปลี่ยนท่าทาง เช่น เดินไปมา ไม่ยืนอยุ่กับที่
2.นวดเพื่อลดอาการปวดเมื่อย โดยนั่งบนเก้าอี้และยกขาข้างหนึ่งขึ้นมาพาดบนเข่า อีกข้างหนึ่ง ใช้มือจับบีบน่องจนทั่วน่อง
3พันElastic bandage หรือผ้ายืด
เพื่อให้กล้ามเนื้อกระชับและลดอาการปวด
สาเหตุ
ทารกในครรภ์จะมีร่างกายโตขึ้น เป็นผลให้ทารกไปกดทับเส้นเลือดบริเวณหน้าท้อง หลัง และต้นขา จึงทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี เลือดที่จะถูกส่งไปยังหัวใจไหลเวียนได้ยาก ทำให้เลือดคั่งค้างอยู่ในเส้นเลือดฝอยบริเวณขา เมื่อสะสมมากๆ เข้าก็จะกลายเป็นเส้นเลือดขอด
ระยะเวลา
อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ขึ้นไป
ปวดใต้หว่างขา
อาการเเสดง
ปวดร้าวหว่างขาถึงอวัยวะเพศ
คำแนะนำ
1.เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆแต่ช้าๆ
3.ถ้าหากรู้สึกเจ็บจี๊ดให้นั่งพักก่อนแต่ถ้าหากปวดถี่ๆ ท้องตึงแข็งน้ำเดินร่วมด้วยต้องรีบไปโรงพยาบาลซึ่งอาการทั้งหมดคือสัญญาณเตือนคลอด
2.ไม่ควรยืนนาๆเพราะเลือดส่วนอวัยวะล่างๆจะไหลเวียนไม่สะดวก อาจทำให้เลือดคั่งอาจทำให้บวมและปวดร้าวได้
สาเหตุ
ทารกเคลื่อนเข้ามากระดูกเชิงกราน
เจ็บครรภ์เตือน
False Labor
คำแนะนำ
1.เมื่อมีอาการเจ็บครรภ์เตือนถี่มากกว่าปกติ แนะนำให้คุณแม่พักผ่อน
ด้วยการนอนหรือนอนตะเเคงซ้าย งดกิจกรรมที่ต้องออกแรหรือตื่นเต้น
2.หายใจเข้าออกลึกๆเพื่อให้ลูกได้รับออกซิเจน
อย่างเพียงพอและคุณแม่ผ่อนคลายลดการหดเกร็งของมดลูก
3.ไม่กลั้นปัสสาวะ ควรเข้าห้องน้ำเลยทันทีที่มีปวดปัสสาวะ
การมีปัสสาวะขังในกระเพาะปัสสาวะปริมาณมากจะไปดันกับผนังมดลูกทำให้หดรัดตัวถี่ขึ้น
อาการเเสดง
เจ็บสม่ำเสมอ เจ็บแค่บริเวณท้องน้อย เจ็บไม่ถี่ หายไปเมื่อพัก
สาเหตุ
ทารกดิ้นแรง
แม่ทำงานหนัก
มดลูกหัดรัดตัวตามปกติ
เจ็บครรภ์จริง
True labor pain
อาการแสดง
อาการแข็งตัวของมดลูกเพิ่มขึ้น เจ็บนานขึ้นและถี่ขึ้น แม้ว่าจะเปลี่ยนอิริยาบถ หรือนอนพักอาการปวดก็ไม่ดีขึ้น
อาจมีมูกเลือด น้ำเดิน เจ็บถี่ขึ้น สม่ำเสมอ
คำแนะนำ
หากมีมูกเลือด น้ำเดิน เเละเจ็บถี่ขึ้นให้รีบไปโรงพยาบาลได้เลยไม่ต้องรอ
เมื่ออายุครรภ์ 35 สัปดาห์ขึ้นไปควรมีการเตรียมความพร้อมไว้เสมอ จัดกระเป๋าสัมพาระในการไปคลอดให้พร้อมเพรียง
สาเหตุ
มดลูกหดรัดตัวเพื่อเข้าสู่ระยะคลอด
ผื่นตั้งครรภ์ Pruritic urticarial papules and plaques of pregnancy (PUPPP)
อาการแสดง
ผื่นมีหลายลักษณะเช่นผื่นนูนแดงคล้ายลมพิษ หรือ เป็นตุ่มน้ำขนาดประมาณ 1 – 2 มม. พบมากบริเวณหน้าท้องโดยเฉพาะที่เป็นรอยแตกลาย โดยเว้นรอบสะดือ แล้วจึงกระจายไปที่ ต้นขา ก้น หน้าอก และแขน โดยทั่วไปมีอาการคันมาก ผื่นชนิดนี้ขึ้นนานประมาณ6สัปดาห์และหายได้เองหลังคลอดภายใน 1- 2สัปดาห์ ไม่มีอันตรายต่อมารดาและทารกในครรภ์แต่อย่างใด
คำแนะนำ
แนะนำให้คุณแม่ทาครีมบำรุงผิวนวดท้องหลังอาบน้ำเป็นประจำเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนังช่วยลดอาการคันได้หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นและสบู่ที่ทำให้ผิวแห้ง พยายามสวมเสื้อผ้าฝ้ายหรือเส้นใยธรรมชาติที่อ่อนโยนต่อผิวและระบายความร้อนได้ดี
สาเหตุ
เกิดจากผนังท้องขยายมากทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและคอลลาเจนกระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบ
นางสาว รุ่งทิวา ปักษาจันทร์ เลขที่ 99 ชั้นปีที่ 2 รหัสนักศึกษา 612401102