Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการสูงอายุเชิงจิตสังคม (Psychosocial theory of aging) - Coggle Diagram
ทฤษฎีการสูงอายุเชิงจิตสังคม (Psychosocial theory of aging)
ทฤษฎีการถดถอย (Disengagement theory)
ความสูงอายุเป็นกระบวนการถดถอยออกจากการดำเนินชีวิตในสังคม ยอมรับว่าตนเองมีความสามารถลดลง มีการแยกตัวเองออกมาและปล่อยวางเป็นอิสระ
แนวทางการพยาบาล สนับสนุนให้ทำในสิ่งที่ชอบ
ทฤษฎีกิจกรรม (Activity theory)
ผู้สูงอายุยังคงทำกิจกรรมเหมือนเมื่อก่อน เช่น ก่อนเกษียณเป็นครู เกษียณแล้วก็ยังเป็นครุสอนหนังสือ
กิจกรรมทางสังคมมีผลต่ออัตมโนทัศน์ของผู้สูงอายุและการได้ทำกิจกรรมมีความสุข ผู้สูงอายุจะไม่หยุดทำกิจกรรมทางสังคม โดยผู้สูงอายุจะเลือกทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
แนวทางการพยาบาล สนับสนุนให้ผู้สูงอายุยอมรับการเปลี่ยนแปลงตามวัย กระตุ้นให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Continuity theory)
ผู้สูงอายุเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น เช่น ตอนเป็นสาวชอบอยู่เงียบๆ พอแก่ขึ้นก็จะอยู่บ้านไม่ค่อยยุ่งกับใคร
การคงไว้ซึ่งแบบแผนพฤติกรรมเดิม จะส่งเสริมให้ผู้สูงอายุปรับตัวได้ดีเมื่อต้องเผชิญกับความสูงอายุ
ทฤษฎีของ Erikson's
แบ่งช่วงชิวิตออกเป็น 8 ช่วง ถ้าประสบความสำเร็จจะมีความมั่นคง แต่ถ้าไม่ประสบความสำเร็จจะเหงาท้อแท้หมดหวัง
ทฤษฎีของ (Peck's)
แบ่งออกเป็นตอนต้นและตอนปลาย ผู้สูงอายุหลังเกษียณถ้ายังทำงานจะมีความภูมิใจในตนเอง
ทฤษฎีของบูเลอร์ (Course of human life theory)
ได้อธิบายว่าผู้สูงอายุแต่ละคนจะมีเป้าหมายชีวิตแตกต่างกัน ซึ่งทุกคนจะใช้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ที่ล้มเหลวหรือผิดพลาดในอดีต จะนำมาปรับปรุงแก้ไขในปัจจุบัน โดยผ่านกระบวนการทบทวนชีวิต เพื่อนำมาปรับปรุงหรือคงไว้ทำให้ผู้สูงอายุบรรลุเป้าหมายในชีวิตได้
นางสาวกาญจนา ลาวัล เลขที่ 60 ห้อง A
ทฤษฎีความต้องการพื้นฐานของมาสโลว์ (Maslow's steory)
ได้อธิบายว่าแต่ละบุคคลมีลำดับขั้นตอนความต้องการไม่เหมือนกัน ความต้องการพื้นฐานได้แก่ ความต้องการด้านร่างกาย ความรัก ความมีคุณค่าในตนเองและการยอมรับจากผู้อื่น ดั้งนั้นผู้สูงอายุต้องการมีความอิสระ และการยอมรับของคนทั่วไป