Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สิทธิมนุษยชนและสิทธิผู้ป่วย, นางสาวศิรินันท์ อินต๊ะวิเศษ เลขที่87…
สิทธิมนุษยชนและสิทธิผู้ป่วย
1.สิทธิมนุษยชน
ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน มีสิทธิ เสรีภาพ ทางความคิด บุคคล เท่าเทียมกัน
สิทธิมนุษยชนของไทย พ.ศ.2550
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ส่วนที่ 9 สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการของรัฐ
• มาตรา 51 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
• บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการทางสาธารณสุขจากรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
• บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและทันต่อเหตุการณ์
หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ส่วนที่ 4 แนวนโยบายด้านการสาธารณสุข
• มาตรา 82 รัฐจะต้องจัดส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาพที่ยั่งยืนของประชาชน รวมทั้งจัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างถั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพและจัดการบริการสาธารณสุข โดยผู้มีหน้าที่ให้บริการดังกล่าวซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรม ย่อมได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
หมวด 1 บททั่วไป
• มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับการคุ้มครอง
• มาตรา 5 ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใดย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน
• มาตรา 6 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
2.สิทธิผู้ป่วย ตามคำประกาศสิทธิผู้ป่วย 5 องค์กรวิชาชีพ
คำประกาศสิทธิผู้ป่วย
5.PTมีสิทธิทราบชื่อ-สกุล ข้อมูลของผู้ให้บริการ
6.PTมีสิทธิขอเปลี่ยนผู้ให้บริการและสถานบริการได้
4.PTที่อยู่ในภาวะฉุกเฉิน ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ต้องได้รับการรักษาทันทีโดยไม่ร้องขอ
7.PTมีสิทธิปกปิดข้อมูลส่วนตัว ยกเว้นได้รับการยินยอม และปฏอิบัติตามกฏหมาย
8.PTมีสิทธิปฎิเสธหรือเข้าร่วมในการทดลองงานวิจัย ต้องได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน
9.PTมีสิทธิทราบข้อมูลการรักษาของตน (ต้องไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น)
3.PTมีสิทธิทราบข้อมูลในการรักษาอย่างเพียงพอ ชัดเจน
2..PTทุกคนได้รับบริการโดยไม่เลือกปฎิบัติ
10.เด็กอายุต่ำกว่า18ปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือจิตไม่สามารถด้วยตนเองได้ ต้องให้ผู้ปกครองรับทราบ
1.PTทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน
ข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย
3.ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ให้แจ้งผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ
4.ความร่วมมือและปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสถานพยาบาล
2.ให้ข้อมูลด้านสุขภาพและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ทางการแพทย์ที่เป็นจริงและครบถ้วนแก่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพในกระบวนการรักษาพยาบาล
5.ปฏิบัติต่อผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ป่วยรายอื่น รวมทั้งผู้ที่มาเยี่ยมเยียน ด้วยความสุขภาพให้เกียรติและไม่กระทำสิ่งที่รบกวนผู้อื่น
1.สอบถามเพื่อทำความเข้าใจข้อมูลและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนลงนามให้ความยินยอม หรือไม่ยินยอมรับการตรวจวินิจฉัยหรือการรักษาพยาบาล
6.แจ้งสิทธิการรักษาพยาบาลพร้อมหลักฐานที่ตนมีให้เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลที่เกี่ยวข้องทราบ
7.ผู้ป่วยพึงรับทราบข้อเท็จจริงทางการแพทย์ ดังต่อไปนี้
7.1 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานและจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายกำหนดและมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการถูกกล่าวหาโดยไม่เป็นธรรม
7.2 การแพทย์ในที่นี้หมายถึง การแพทย์แผนปัจจุบันซึ่งได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ โดยองค์ความรู้ในขณะนั้นว่ามีประโยชน์มากกว่าโทษสำหรับผู้ป่วย
7.3 การแพทย์ไม่สามารถให้การวินิจฉัย ป้องกัน หรือรักษาให้หายได้ทุกโรคหรือทุกสภาวะ
7.4 การรักษาพยาบาลทุกชนิดมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลอันไม่พึงประสงค์ได้ นอกจากนี้ เหตุสุดวิสัยอาจเกิดขึ้นได้ แม้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพจะใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอ ตามภาวะนิสัยและพฤติกรรมในการรักษาพยาบาลนั้น ๆ แล้ว
7.5 การตรวจเพื่อการคัดกรอง วินิจฉัย และติดตามการรักษาโรค อาจให้ผลที่คาดเคลื่อนได้ด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยีที่ใช้ และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่ไม่สามรถควบคุมได้ตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน
7.6 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพมีสิทธิใช้ดุลยพินิจในการการเลือกกระบวนการรักษาพยาบาลตามหลักวิชาการทางการแพทย์ ตามความสามารถและข้อจำกัด ตามภาวะวิสัยและพฤติกรรมที่มีอยู่ รวมทั้งการปรึกษาหรือส่งต่อโดยคำนึงถึงสิทธิและประโยชน์โดยรวมของผู้ป่วย
7.7 เพื่อประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วย ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอาจให้คำแนะนำหรือส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาตามความเหมาะสม ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องไม่อยู่ในสภาวะฉุกเฉินอันจำเป็นเร่งด่วนและเป็นอันตรายต่อชีวิต
7.8 การปกปิดข้อมูลด้านสุขภาพ และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ทางการแพทย์ของผู้ป่วยต่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ อาจส่งผลเสียต่อกระบวนการรักษาพยาบาล
7.9 ห้องฉุกเฉินของสถานพยาบาล ใช้สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินอันจำเป็นเร่งด่วนและเป็นอันตรายต่อชีวิต
3.สิทธิพยาบาล
สิทธิพยาบาล
หมายถึง อำนาจอันชอบธรรมที่พยาบาลสามารถใช้อ้างใช้ยันต่อผู้อื่นได้หรือความชอบธรรมที่ผู้พยาบาลจะพึงได้รับเพื่อคุ้มครองหรือรักษาผลประโยชน์ อันพึงมีพึงได้ของพยาบาล โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นได้ กล่าวถึงสิทธิของพยาบาลไว้ดังนี้
.
.
พยาบาลแต่ละคนมีความรับผิดชอบที่จะเปลี่ยนแปลงหรือปรับตัวหรือถอนตัวออกจากสถานการณ์ เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกขัดแย้งต่อความรู้ความสามารถและความเชื่อของตนเอง
สถาบันหรือหน่วยงานที่พยาบาลปฏิบัติงานอยู่จะต้องจัดสรรวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับใช้เพื่อบริการสุขภาพอนามัยได้อย่างเพียงพอแก่ผู้รับบริการ
พยาบาลมีสิทธิและรับผิดชอบที่จะร่วมมือกับสถาบันหรือหน่วยงานที่ตนอยู่ในการที่จะเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้สามารถให้บริการทางสุขภาพอนามัยได้ดียิ่งๆ ขึ้น
หน่วยงานหรือสถาบันที่พยาบาลปฏิบัติงานอยู่ต้องให้ความเคารพเชื่อถือต่อความรู้ ความสามารถ ค่านิยม และบุคลิกส่วนตัวของพยาบาลแต่ละบุคคล ในการปฏิบัติหน้าที่
พยาบาลมีสิทธิที่จะสร้างรูปแบบความสัมพันธ์กับผู้ป่วยตามที่เห็นสมควร โดยการวางแผนการให้การพยาบาลและการปฏิบัติการพยาบาลที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายตามหลักของวิชาชีพ ขณะเดียวกันก็มีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับ เชื่อถือ ความเคารพและรางวัลตามที่สมควรจะได้
พยาบาลมีสิทธิที่จะเข้าใจและยอมรับความรู้สึกของตนเอง ความรู้สึกของแต่ละบุคคลเป็นเรื่องภาพในจิตใจของบุคคลที่เกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึกมั่นใจ การไม่เข้าใจต่อความรู้สึกของตนอาจนำไปสู่การปฏิเสธตนเองและการชาเย็น ถ้าพยาบาลแต่ละคนตระหนักและเข้าใจถึงความรู้สึกของตนเองแล้วย่อมสามารถที่จะควบคุมความรู้สึกของตนเองได้
พยาบาลมีสิทธิที่จะดำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและการแสดงออกของตนเอง หมายถึง การมีสิทธิที่จะรับฟัง ซักถาม สงสัยข้อผิดพลาด หรือไม่ตอบในกรณีของการที่จะต้องใช้เหตุผลเลือกตัดสินใจทางจริยธรรม พยาบาลมีสิทธิที่จะได้รับคำแนะนำช่วยเหลือร่วมมือจากผู้อื่น มีสิทธิที่จะให้ผู้อื่นช่วยเหลือรับรู้และปัดเป่าความหวาดกลัว คับข้องใจของตนเองได้เช่นเดียวกับผู้อื่น
พยาบาลมีสิทธิที่จะพ้นจากสภาพการทำงานที่มีผลต่อการบั่นทอนสุขภาพอนามัยที่ดีของตนในฐานะของปุถุชนเช่นเดียวกับผู้อื่น พยาบาลย่อมมีความเข้มแข็งและความอ่อนแอ ในกรณีของสภาพการทำงานที่ก่อให้เกิดความตึงเครียด วิตกกังวล หรือความคับข้องใจต่อปัญหาศีลธรรมบางประการที่หาข้อยุติไม่ได้ พยาบาลย่อมมีสิทธิที่จะปลีกตัวหรือถอนตัวจากเหตุการณ์นั้น ทั้งนี้เพราะการให้การพยาบาลอย่างมีคุณภาพต้องอาศัยพยาบาลที่อยู่ในสภาวะที่ดี (well being) ของตัวบุคคลผู้เป็นพยาบาล พยาบาลผู้ที่สุขภาพกายและจิตใจไม่สมบูรณ์ย่อมไม่อาจให้บริการที่มีคุณภาพแก่บุคคลอื่น
พยาบาลแต่ละคนมีความรับผิดชอบที่จะต้องให้รายละเอียดแก่สถาบันหรือหน่วยงานที่ตนปฏิบัติงานอยู่เกี่ยวกับวุฒิทางการศึกษา ทั้งในอดีตและปัจจุบัน และในอนาคต ประสบการณ์ความสามารถทางคลินิกและความเชื่อทางศีลธรรมของตนที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน
นางสาวศิรินันท์ อินต๊ะวิเศษ เลขที่87 รหัส613101088