Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา, นางสาวน้ำทิพย์ ยอดช้าง 60204091 Sec.7…
การประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษา
บทนำ
กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 มี นโยบายปฏิรูประบบการ ประเมินและประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และประกาศมาตรฐาน การศึกษาระดับ ปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษาพิเศษ พ.ศ. 2561 สำหรับให้สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางดำเนินงานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และเตรียมการสำหรับการประเมินคุณภาพภายนอก
ขั้นตอนและแนวทางการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ขั้นการดำเนินงาน
การตรวจสอบผลการดำนินงานตามมาตรฐานการศึกษา (C)
การดำเนินการตามแผน (D)
การนำผลการประเมินคุณภาพภายในมาปรับปรุง (A)
การวางแผนการปฏิบัติงาน (P)
ขั้นการจัดทำรายงานผลการประเมิน
การเตรียมการ
การดำเนินงาน
การจัดทำรายงานผลการประเมิน
ขั้นการเตรียมการ
การเตรียมความพร้อม ของบุคลากรทุกคน
การแต่งตั้งคณะกรรมการหรือ คณะทำงานด้านการประเมินคุณภาพภายใน ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
การประเมินคุณภาพภายใน
คุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้
กลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ กลุ่มผู้เรียนที่มีความเสี่ยง กลุ่มผู้เรียนที่มีปัญหาในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน กลุ่มผู้เรียนที่มีคุณลักษณะยังไม่เป็นไปตามที่พึงประสงค์เพราะข้อมูลจากการประเมินเหล่านี้จะสะท้อนให้ เห็นว่าการจัดการศึกษาของสถานศึกษาประสบผลสำเร็จตามที่กำหนดไว้หรือไม่ อันนำไปสู่ การปรับปรุงการบริหารจัดการต่อไป
คุณภาพการศึกษาด้านการบริหารจัดการของสถานศึกษา
สถานศึกษาสามารถดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาที่สถานศึกษากำหนดไว้แล้วใน ทุกมาตรฐานด้วยวิธีการที่หลากหลายและเหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการประเมิน เช่น ใช้การ สังเกต การสัมภาษณ์ การตรวจสอบจากเอกสารหรือขอ้มูลเชิงประจักษ์ เป็นต้น
บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน
ระดับสำนักงานพนื้ที่การศึกษา
ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และแนะนำสถานศึกษา เพื่อให้การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ติดตามผลการดำเนินงาน ปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตาม ข้อเสนอแนะของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report : SAR) พร้อมกับประเด็นที่ต้องการให้มีการประเมินผลและติดตามตรวจสอบ
ให้ความร่วมมือกับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในการ จัดให้บุคคลหรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจากสำนักงาน เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก
ศึกษาวิเคราะห์ รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ตลอดจนให้คำปรึกษา ช่วยเหลือและแนะนำสถานศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อาจมอบหมายบุคคลที่ไม่ได้เป็นผู้ประเมินเข้าร่วมสังเกตรับฟัง หรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมในการประเมินคุณภาพภายนอกด้วยก็ได้
ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ส่งเสริม สนับสนุน ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ ต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
วิเคราะห์ และสรุปผล ตามข้อเสนอแนะของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (สมศ.) เพื่อเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กำหนดนโยบายด้านการศึกษา กำหนดมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย และระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการประกันคุณภาพการศึกษา
ให้ความร่วมมือกับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในการจัดให้บุคคลหรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจากสำนักงาน เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก
ระดับสถานศึกษา
จัดให้มีระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในเพื่อเป็นกลไกในการควบคุม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
การจัดให้มีระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
สถานศึกษาแต่ละแห่งให้ความร่วมมือกับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เพื่อปรับปรุงและพฒันาคุณภาพการศึกษา
แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ระบบและกลไกในการควบคุม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของ สถานศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด สถานศึกษาและ/หรือหน่วยงานต้นสังกัด ต้องดำเนินการให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
หลักการสำคัญของการประเมินคุณภาพ ภายในของสถานศึกษา
ดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามข้อ 1) ต้องทำให้การประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการและการทำงานของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา โดยสถานศึกษาต้องวางแผนพัฒนาการ จัดการศึกษาของสถานศึกษาและแผนปฏิบัติการท่ีชัดเจน มีการทำตามแผน มีการตรวจสอบประเมินผล และ พัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
การประเมินคุณภาพภายในเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็น ผู้บริหาร ครู อาจารย์ และบุคลากรอื่น ๆ ในสถานศึกษาโดยในการดำเนินงานจะต้องให้ผู้ทที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหาร ครู ผู้เรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน เขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานอื่น
1) จุดมุ่งหมายของการประเมินคุณภาพภายใน คือ การที่สถานศึกษาร่วมกันพัฒนา ปรับปรุงคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาโดยมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายใน
2.เพื่อนำผลการประเมินคุณภาพภายในมาใช้เป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจวางแผนพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการศึกษา
3.เพื่อพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
1.เพื่อตรวจสอบคุณภาพและผลการปฏิบัติงานของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและมาตรฐานสถานศึกษา
4.เพื่อนำข้อมูลผลการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาไปจัดทำรายงานประจำปี
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษากับการ
ประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา
มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
เป็นการจัดระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และ พันธกิจอย่างชัดเจน สามารถดำเนินงานพัฒนาวชิาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบ ด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาในทุกกลุ่มเป้าหมาย
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา สร้างโอกาสให้ผู้เรียนมสี่วนร่วมในการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคดิและปฏิบัติจริงมี การบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
ผลการเรียนรู้ที่เป็นคุณภาพของผู้เรียนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ประกอบด้วย ความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ การคิดประเภทต่างๆ การ สร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตาม หลักสูตร การมีความรู้ ทักษะ
พื้นฐานและเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ และด้านคุณลักษณะอันพึง ประสงค์
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวชิาการของผู้เรียน
1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงคข์องผู้เรียน
มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ พ.ศ. 2561
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
กระบวนการบริหารและการจัดการคุณภาพของสถานศึกษา มีการกำหนดเป้าหมาย วสิัยทัศน์ และพันธกิจอย่างชัดเจน สามารถดำเนินงานพัฒนาวิชาการ ที่เน้นคุณภาพผู้เรียนทุก กลุ่มเป้าหมายอย่างรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาในทุกกลุ่มเป้าหมาย จัดทำแผนพัฒนา คุณภาพการจัดการศึกษา
มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคล ตามที่ระบุไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลที่สอดคล้องกับหลักสูตรของสถานศึกษา สร้างโอกาส ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริงตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคล
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
ผลการพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ที่แสดงออกถึงความรู้ ความสามารถ ทักษะ ตามที่ระบุไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล หรือ แผนการให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว
มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ
2.3 ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์
2.4 จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อยา่งปลอดภัย และเพียงพอ
2.2 จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน
2.5 ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์
2.1 มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของ
ท้องถิ่น
2.6 มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
3.1. จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ
3.2 สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข
3.3 จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยที่เหมาะสมกับวัย
3.4 ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการ เด็กไปปรับปรุง
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก
1.2 มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้
1.3 มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
1.1 มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้
1.4 มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้
แนวทางการประเมินคุณภาพภายใน
การประเมินตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการหรือ คณะทำงานประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยมีเครื่องมือการประเมินตามมาตรฐานตัวบ่งชี้ที่มีคุณภาพ นำผลการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษาไปใช้และพัฒนา
การรายงานผลการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา สถานศึกษาสรุปผลการประเมินและเขียนรายงานผลการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษา เพื่อนำไปวางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป
การปฏิบัติงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยสถานศึกษากำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่เกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพของสถานศึกษาที่พึงประสงค์ เป็นการส่งเสริม กำกับดูแล ระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การสรุปและรายงานการประเมิน คุณภาพภายใน
วัตถุประสงค์ของการรายงาน
เพื่อให้สถานศึกษานำผลการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบผลการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษาและให้การสนับสนุนรวมทั้งมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป
เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษาได้ทราบถึงสภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
สาระสำคัญที่ควรปรากฏในรายงาน
วิธีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ผลการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
สาระสำคัญของการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ข้อเสนอแนะเพ่อืการพัฒนาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
นางสาวน้ำทิพย์ ยอดช้าง 60204091 Sec.7