Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะไม่สุขสบายในหญิงตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
ภาวะไม่สุขสบายในหญิงตั้งครรภ์
ไตรมาสที่ 1 (1-12 wks.หรือ 3 เดือนแรก)
เลือดออกทางช่องคลอด
หรือเลือดล้างหน้าเด็ก
(Implantation bleeding)
25 %ของหญิงตั้งครรภ์มีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อยโดยอาจพบเลือดออกทางช่องคลอดปริมาณไม่มากในช่วง 6-12 วันแรกหลังจากที่ตั้งครรภ์ ปริมาณน้อยกว่าประจำเดือนและจะเป็นเพียงไม่กี่ชั่วโมงถึงไม่กี่วันก็หาย
เกิดจากไข่ที่ไปผสมกับอสุจิฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกจะมีการทำลายผนังเยื่อบุมดลูกทำให้มีเลือดออกแบบ Spotting
คำแนะนำ-ถ้าหากมีเลือดออกปริมาณมาก ปวดเกร็งช่องท้องให้ปรึกษาแพทย์อาจเป็นสัญญาณของการแท้ง (Abortion),
การตั้งครรภ์นอกมดลูก(Ectopic pregnancy)และครรภ์ไข่ปลาอุก(Molar pregnancy)
ท้องผูก (Constipation)
การถ่ายอุจจาระออกยากต้องใช้แรงเบ่งมาก,ถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติ
การบีบตัวของกล้ามเนื้อเพื่อดันให้อาหารไปยังลำไส้ทำงานช้าลงเนื่องจากระดับฮอร์โมน Progesterone ที่สูงขึ้น นอกจากนี้การได้รับธาตุเหล็กเพิ่มจากวิตามินเสริมระหว่างตั้งครรภ์จะทำให้มีอาการท้องผูกและเกิดแก๊สขึ้น
คำแนะนำ-เพิ่มปริมาณใยอาหารซึ่งจะช่วยเพิ่มเนื้ออุจจาระและทำให้อุจจาระนิ่มช่วยทำให้การบีบตัวของลำไส้เป็นปกติมากขึ้น เช่น ผลไม้ ผัก เมล็ดถั่ว ถั่วเลนนิล ถั่วเปลือกแข็ง ขนมปังโฮลวีท ข้าวกล้อง น้ำลูกพรุน ลูกพรุน
-ดื่มน้ำมากๆเพราะน้ำช่วยให้ใยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้ว/วัน
-ทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย ระดับเบา-ปานกลาง จะช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ทำงานปกติและลดอาการท้องผูก พยายามเดิน ว่ายน้ำและออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสตรีตั้งครรภ์ประมาณ 20-30 นาที และไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์
มีอาการท้องอืด(Flatulence) หรืออาจมีริดสีดวงทวาร(Hemorrhoids)ร่วมด้วย hemorrhoids เป็นโรคที่มีเส้นเลือดดำบริเวณช่องทวารหนักโป่งพองซึ่งอาจทำให้คันมากหรือรู้สึกเจ็บเวลาขับถ่าย
ปัสสาวะบ่อย
(Urinary frequency)
อาการปัสสาวะบ่อย โดยจะค่อยๆดีขึ้นเมื่อมดลูกพ้นเชิงกรานไปแล้ว
เกิดจากมดลูกที่มีขนาดโตขึ้นทำให้กระเพาะปัสสาวะถูกบดเบียดอาจเกิด Pyelonephritis จากการที่ฮอร์โมนProgesterone มากขึ้นทำให้ไตมีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้ท่อไตขยายใหญ่ยาวและขดงอมากขึ้น เกิดน้ำคั่งในไตและท่อไต ท่อไตถูกกดทำให้ปัสสาวะคั่งค้างและไหลช้าลง ไตและท่อไตข้างขวาถูกกดเบียดมากกว่าข้างซ้าย
คำแนะนำ - ถึงแม้ปัสสาวะบ่อยก็อย่าหยุดดื่มน้ำ เพราะร่างกายต้องการน้ำแต่ให้ลดปริมาณคาเฟอีน เพราะคาเฟอีนจะกระตุ้นกระเพาะปัสสาวะได้โดยเฉพาะช่วงเวลาก่อนนอนเมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะให้ไปปัสสาวะให้เร็วที่สุด ไม่ต้องกลั้นไว้
-ดูแลทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้ง
แสบร้อนกลางอก
(Heart burn)
ร่างกายจะมีการผลิตฮอร์โมน Progesterone มากขึ้นทำให้การคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบรวมถึงกล้ามเนื้อหูรูดที่หลอดอาหารส่วนล่าง (Esophageal sprinter)ซึ่งปกติจะมีหน้าที่ช่วยให้อาหารและกรดยังคงถูกเก็บไว้ในกระเพาะอาหาร เมื่อกล้ามเนื้อนี้คลายตัวลงจะทำให้กรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารขึ้นมาได้
อาการแสบร้อนกลางอก
คำแนะนำ-ให้รับประทานอาหารให้บ่อยครั้ง แต่ปริมาณน้อยลง
-ไม่นอนราบลงทันทีภายหลังรับประทานอาหาร
-หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง รสเผ็ด และผลไม่ที่เป็นกรด เช่น มะนาว
-นอนหัวสูง
คลื่นไส้และ อาเจียน
(Nausea and vomitting)
ในหญิงตั้งครรภ์บางรายอาจจะมีอาการเพียงเล็กน้อยหรือบางรายไม่สามารถเริ่มต้นทำกิจกรรมได้หากไม่ได้อาเจียน ส่วนใหญ่อาการจะเป็นมากในช่วงเช้า(Morning sickness)หรือเรียกว่าอาการแพ้ท้อง
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย
คำแนะนำ-ในการบรรเทาอาการคลื่นไส้ให้ลองรับประทานแครกเกอร์หรือดื่มน้ำผลไม้ เช่น น้ำแอปเปิ้ล หรือน้ำขิงเพื่อบรรเทาอาการก่อนที่จะลุกจากที่นอน
-หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้รู้สึกไม่สบายท้อง
-ถ้ายังคงมีอาการรุนแรงจะส่งผลต่อปริมาณสารอาหารที่จะไปสู่ทารก ดังนั้นให้ปรึกษาแพทย์หากไม่สามารถหยุดอาเจียนได้
น้ำหนักเพิ่ม
(weight gain)
ควรมีน้ำหนักเพิ่มประมาณ 1-2 Kg.(ตัวเลขที่ควรเพิ่มเป็นตัวเลขอื่นได้ถ้าก่อนตั้งครรภ์มีน้ำหนักน้อยกว่าหรือมากกว่าเกณฑ์)
หญิงตั้งครรภ์ต้องการพลังงานเพิ่มเพียง 150 kcal/วัน เท่านั้น
คำแนะนำ-เพิ่มการรับประทานผัก ผลไม้ นม ขนมปังธัญพืชไม่ขัดสี เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เป็นส่วนประกอบของมื้ออาหาร
อารมณ์แปรปรวน
(Emotional Lability)
อาการอ่อนเพลียและการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายจะทำให้อารมณ์แปรปรวน
อาการเบื่อหน่าย หวาดกลัว ตื่นเต้น กังวล เครียด
คำแนะนำ-สร้างความมั่นใจและยอมรับการตั้งครรภ์
-คนในครอบครัวมีส่วนร่วมโดยการรรับฟังอย่างเข้าใจ
เจ็บคัดตึงเต้านม
(Breast Discomfort)
เต้านมจะขยายขนาดขึเนเรื่อยๆมีอาการคัดตึงเต้านม อาจเหมือนอาการช่วงก่อนประจำเดือนมา
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและที่ขนาดหน้าอกใหญ่เร็วเนื่องจากต่อมน้ำนมมีขนาดใหญ่ขึ้นและปริมาณเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงเต้านมก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
คำแนะนำ-หากมีอาการปวดมากให้รับประทานยาแก้ปวดพาราเซลตามอลเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดได้
-ประคบเต้านมด้วยน้ำเย็นสลับกับน้ำอุ่น
-ใส่ยกทรงที่มีขนาดใหญ่ไม่รัด และเสื้อผ้าก็ควรสวมใส่สบายไม่รัดรูป
ไตรมาสที่ 2 (13-28 wks.)
ปวดหลัง
(ฺBackache)
ขณะตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกเนื่องจากผลของฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นทำให้ข้อต่อกระดูกเชิงกรานและเอ็นยึดข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนล่างหย่อนตัว ทำให้กระดูกเชิงกรานขยายและนุ่ม นอกจากนี้ยังพบว่า เมื่ออายุครรภ์เพิ่มขึ้น มดลูกมีขนาดโตขึ้น กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณหน้าท้องจะขยายตัวและยืดออกมาก ทำให้แรงตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง น้ำหนักของมดลูกที่เพิ่มขึ้นจะถ่วงไปข้างหน้า ทำให้จุดศุนย์ถ่วงในการทรงตัวของร่างกายเปลี่ยนไปหลังจึงต้องแอ่นมากขึ้น เพื่อรักษาสมดุลของการทรงตัวไว้ ทำให้กล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อขาตึงตัว เกิดอาการปวดหลัวตามมา
1.มีอาการปวดบริเวณกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอวซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้มากที่สุด
2.มีอาการปวดลึกๆบริเวณกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอวลงไปถึงกระเบนเหน็บ อาการปวดจะแผ่ไปยังสะโพก และเข่า จะปวดมากขึ้นเมื่ออยู่ในท่าเดียวนานๆหรือเมื่อมีการเคลื่อนไหวสะโพกหรือกระดูกสันหลัง
คำแนะนำ-นอนพัก จะช่วยให้หลังได้พักและลดแรงกดบนหมอนรองกระดูกสันหลัง
-อยู่ในท่าที่เหมาะสม ให้หลังอยู่ในแนวตรงเสมอ ไม่ว่าจะอยู่ในท่า นั่ง ยืน เดิน เปลี่ยนท่าบ่อยๆหลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนนานๆ
-ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน ว่ายน้ำ ถีบจักรยานอยู่กับที่ จะช่วยให้กระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อหน้าท้องเเข็งแรง การทรงตัวดี และลดการปวดหลัง
-รับประทานที่เหมาะสมและเพียงพอโดยพยายามควบคุมไม่ให้น้ำหนักเพิ่มมากเกินไป เพราะหากอ้วนมากพุงจะขึ้น หลังก็จะแอ่นมากขึ้น กล้ามเนื้อหน้าท้องจะ
อ่อนกำลัง ทำให้เกิดแรงกดที่ข้อต่อของกระดูก
เลือดออกตามไรฟัน
(ulemorrhagia)
อาการ-เหงือกบวมแดงเล็กน้อย จนถึงเลือดออกง่ายและเจ็บปวด
ประมาณครึ่งหนึ่งของหญิงตั้งครรภ์จะมีอาการเหงือกบวม เหงือกอักเสบ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายจะทำให้เลือดไหลเวียนไปที่เหงือกเพิ่มมากขึ้น ทำให้เหงือกมีความไวต่อการเกิดบาดแผลเล็กๆ และมีเลือดออกง่ายขึ้น
คำแนะนำ-โดยปกติแล้วเหงือกจะกลับมามีสุขภาพแข็งแรงเหมือนเดิมเมื่อคลอดลูกแล้ว ในช่วงเวลาระหว่างตั้งครรภ์นี้ แนะนำให้ใช้แปรงสีฟันขนอ่อนนุ่ม และใช้ไหมขัดฟันอย่างนุ่มนวล โดยไม่ละเลยสุขภาพในช่องปากไป
เต้านมขยายขนาดขึ้น
การที่เต้านมขยายใหญ่ขึ้นเนื่องจากมีเนื้อเยื่อไขมันและเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงเต้านมเพิ่มมากขึ้น เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของต่อมน้ำนมและท่อน้ำนม และที่หัวนมมีสีเข้มขึ้นเกิดจากการไหลเวียนของโลหิตที่มากขึ้นในบริเวณหน้าอก
อาการเจ็บคัดตึงเต้านมส่วนใหญ่ที่พบในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ควรค่อยดีขึ้นในช่วงนี้ แต่ขนาดของหน้าอกจะยังขยายขนาดขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการให้นมบุตรในอนาคต หน้าอกอาจจะโตขึ้นราว 4-6 นิ้ว ขนาดหัวนมอาจจจะโตขึ้น หัวนมที่มีสีชมพูหรือสีน้ำตาลจะเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้น
คำแนะนำ-ใส่ยกทรงที่มีขนาดใหญ่ขึ้น 1-3 ไซต์ หรือใส่ยกทรงที่สวมใส่สบาย ไม่รัด
คัดจมูกและเลือดกำเดาไหล
(Decongestants and Epistaxis)
อาการคัดจมูก และทำให้นอนกรนในช่วงกลางคืน และอาจจะมีเลือดกำเดาไหล
การตั้งครรภ์ มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หลอดเลือดในจมูกขยายตัวได้จะทำให้เนื้อเยื่อในจมูกบวมขึ้น ทำให้มีอาการคัดจมูก และทำให้นอนกรนในช่วงกลางคืน และปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นจะไปช่วยเพิ่มแรงกด แรงดันต่อหลอดเลือด ซึ่งเป็นส่วนที่มีความบอบบางเหล่านั้นทำให้เส้นเลือดแตกได้ง่าย นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เลือดกำเดาไหล
คำแนะนำ-หากมีเลือดกำเดาไหลบ่อยในช่วงที่ตั้งครรภ์ คุณแม่ควรไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงว่าเลือดเดาไหลบ่อยๆ เกิดจากอะไร เพื่อที่จะได้รักษาได้อย่างถูกจุด หากมีอาการผิดปกติควรไปพบคุณหมอ เช่น เลือดไม่หยุดหลังจากผ่านไป 30 นาที มีปริมาณเลือดไหลเป็นจำนวนมาก มีปัญหาในการหายใจเพราะเลือดไหล การที่เลือดออกทำให้เกิดความเหนื่อยล้า มึนหรือวิงเวียนศีรษะ ตัวซีด ผิวซีดซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่เลือดไหล มีอาการเจ็บหน้าอก
-ก่อนที่จะใช้ยาบรรเทาอาการคัดจมูก (decongestant) ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ สำหรับน้ำเกลือหยอดจมูกหรือวิธีธรรมชาติอื่นๆ อาจมีความปลอดภัยมากกว่าในการบรรเทาอาการคัดจมูกระหว่างตั้งครรภ์ คุณอาจทดลองใช้เครื่องสร้างความชื้นในอากาศเพื่อช่วยบรรเทาอาการได้
-หากมีอาการเลือดกำเดาไหล การหยุดเลือดกำเดา ให้ยกตัวของคุณตั้งตรง (อย่าเอียงไปทางด้านหลัง) และใช้แรงบีบที่รูจมูกทั้งสองข้างเป็นเวลาไม่กี่นาทีจนกว่าเลือดจะหยุด
รู้สึกเด็กดิ้นครั้งแรก
(Quickening)
ลูกดิ้น เป็นการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ที่ทำให้ว่าที่คุณแม่สามารถรู้สึกได้ว่าเด็กกำลังขยับเขยื้อนร่างกายอยู่
สาเหตุที่ทำให้ทารกในครรภ์ขยับตัวนั้นอาจมาจากการเคลื่อนไหวของทารกและอากัปกิริยาต่าง ๆ เช่น การสะอึก การได้รับสารอาหารและออกซิเจน บางครั้งอาจเป็นการสื่อสารที่ทารกต้องการตอบสนองกับมารดา
คำแนะนำ-การดิ้นของทารก ไม่ใช่เป็นเพียงสัญญาณที่ทำให้ว่าที่คุณแม่และครอบครัวรู้สึกตื่นเต้นกับทารกตัวน้อยเท่านั้น แต่ยังมีส่วนสำคัญในการบ่งบอกถึงสุขภาพของทารก ดังนั้นทางที่ดีที่สุดก็คือคุณแม่ควรหมั่นนับและสังเกตการดิ้นของทารก พร้อมกับจดบันทึกความเปลี่ยนแปลงไว้อยู่เสมอเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเป็นอันตรายต่อทั้งแม่และทารกในครรภ์ที่กำลังจะลืมตาดูโลกได้อย่างทันท่วงที
-สำหรับการสังเกตความถี่ของการดิ้นของทารก จะต้องทำในช่วงเวลาที่เด็กมักจะขยับตัวมากที่สุด โดยเมื่อถึงช่วงเวลานั้นให้ว่าที่คุณแม่นั่งหรือเอนหลังลงกับเก้าอี้ที่นั่งสบาย จากนั้นให้ลองนับจำนวนการดิ้นของทารกที่รู้สึกได้ ซึ่งไม่ควรต่ำกว่า 10 ครั้ง ต่อเวลา 2 ชั่วโมง หากน้อยกว่านี้ควรลองนับใหม่อีกครั้งหนึ่งในวันเดียวกัน และถ้ายังไม่ถึง 10 ครั้งอีกก็ควรปรึกษาแพทย์
การเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนัง
อาจสังเกตเห็นเส้นบางๆ สีม่วงแดงเป็นเส้นๆ อยู่บนหน้าท้อง เต้านม หรือต้นขา เกิดฝ้าบนใบหน้า
หญิงตั้งครรภ์มักสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนังของตนเองเนื่องจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปมีการเปลี่ยนแปลง melanocyte stimulating hormone and estrogen progesterone coasma gravidarum/mask of pregnancy จะมีการเพิ่มขึ้นของเม็ดสีเมลานิน (melanin) ทำให้เกิดจุดสีน้ำตาลบนใบหน้า หรือฝ้าสีน้ำตาล เราเรียกว่า mask of pregnancy และถ้าเป็นที่หน้าท้องเรียก linea nigraและอาจเกิด Striae gravidarum จากการขยายและแตกของ connective tissue ผลจาก Estrogen corticosteroid และเส้นบางๆ สีม่วงแดงเป็นเส้นๆ อยู่บนหน้าท้อง เต้านม หรือต้นขา ซึ่งผิวหนังลายที่เกิดขึ้นเหล่านี้เกิดขึ้นจากผิวหนังขยายเพื่อรองรับท้องที่โตขึ้น
คำแนะนำ-ทุกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่ผิวหนังควรค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปภายหลังการคลอดลูกแล้ว ในระหว่างนี้คุณสามารถใช้เครื่องสำอางเพื่อปกปิดฝ้าเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ในช่วงเวลานี้ผิวหนังจะไวต่อแสงแดดมากกว่าปกติ ดังนั้นก่อนออกแดด ให้ทาครีมกันแดดที่กันได้ทั้งยูวีเอ และยูวีบี (UVA/UVB) ที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป ก่อนออกนอกบ้าน และจำกัดเวลาที่สัมผัสแสงแดด โดยเฉพาะช่วง 10 โมงเช้า ถึง บ่าย 2 สวมเสื้อผ้าแขนยาว กางเกงขายาว หมวกปีกกว้าง และแว่นกันแดด
-ใช้มอยเจอร์ไรเซอร์จะช่วยให้ผิวหนังนุ่มขึ้นและลดอาการคันได้
มองเห็นเส้นเลือดฝอย spider vein และเส้นเลือดขอด
-ระหว่างการตั้งครรภ์ ระบบไหลเวียนเลือดจะส่งเลือดไปยังทารกที่กำลังเติบโตเพิ่มขึ้น โดยเลือดส่วนเกินจะทำให้เห็นเป็นเส้นเลือดฝอยรวมกันเป็นกลุ่มสีแดง มองเห็นที่ผิวหนัง หรือเรียกว่า spider veins โดยเส้นเลือด spider veins นี้จะค่อยๆ หายไปเมื่อคลอดลูกแล้ว
-แรงกดที่ขาที่มาจากการเติบโตของทารกจะลดการไหลเวียนของเลือดที่ส่วนล่างของร่างกายลดลง ทำให้เส้นเลือดที่ขาบวมและมองเห็นเป็นสีน้ำเงินหรือสีม่วงที่เส้นเลือด เราเรียกว่า เส้นเลือดขอด
คำแนะนำ-แม้ว่าคุณจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดเส้นเลือดขอดได้ แต่คุณสามารถป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงได้ โดยการเคลื่อนไหวร่างกายตลอดวัน และยกขาวางไว้บนเก้าอี้เมื่อต้องนั่งเป็นเวลานาน เส้นเลือดขอดจะดีขึ้นภายใน 3 เดือนหลังจากคลอดลูกแล้ว
ผนังของหลอดเลือดดำชั้นใต้ผิวหนังโป่งพอง รู้สึกเจ็บมากขึ้นเมื่อเดินหรือยืนนานๆ
น้ำหนักเพิ่ม
(weight gain)
อาการแพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน มักจะดีขึ้นหลังสิ้นสุดไตรมาสแรก ซึ่งจะทำให้เริ่มมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น
ในไตรมาสที่ 2 จะต้องการปริมาณพลังงานเพิ่ม 300-500 แคลอรี่ต่อวัน
น้ำหนักตัวควรเพิ่มประมาณ 0.22-0.45 กิโลกรัมต่อสัปดาห์(ตัวเลขที่ควรเพิ่มเป็นตัวเลขอื่นได้ถ้าก่อนตั้งครรภ์มีน้ำหนักน้อยกว่าหรือมากกว่าเกณฑ์)
คำแนะนำ-แม้ว่าอาหารจะดูน่ารับประทานมากขึ้น แต่ให้ตระหนักถึงปริมาณอาหารที่รับประทานด้วย ให้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และมีประโยชน์
ไตรมาสที่ 3 (29-40 wks.)
การเปลี่ยนแปลงในร่างกาย
ปวดหลัง
น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ทำให้เกิดแรงกดไปที่หลัง ทำให้รู้สึกเจ็บและปวดได้ คุณยังอาจรู้สึกถึงความสบายตัวที่บริเวณกระดูกเชิงกรานและสะโพก เพราะว่าเส้นเอ็นบริเวณนั้นมีการคลายตัวเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดลูก
1.มีอาการปวดบริเวณกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอวซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้มากที่สุด
2.มีอาการปวดลึกๆบริเวณกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอวลงไปถึงกระเบนเหน็บ อาการปวดจะแผ่ไปยังสะโพก และเข่า จะปวดมากขึ้นเมื่ออยู่ในท่าเดียวนานๆหรือเมื่อมีการเคลื่อนไหวสะโพกหรือกระดูกสันหลัง
คำแนะนำ-ในการลดแรงกดไปที่หลังของคุณ แนะนำให้ฝึกท่าทางของร่างกายให้เหมาะสม โดยการนั่งหลังตรงและนั่งบนเก้าอี้ที่รองรับส่วนหลังได้เป็นอย่างดี
-การนอนหลับตอนกลางคืน ให้นอนตะแคงข้างโดยให้วางหมอนไว้ระหว่างขา
-สวมรองเท้าส้นเตี้ย สวมใส่สบาย และรองรับน้ำหนักตัวได้เป็นอย่างดี
-ในการบรรเทาอาการปวดหลัง ให้ใช้การประคบร้อน
-ให้สอบถามแพทย์ก่อนว่าคุณสามารถรับประทานยาแก้ปวดพาราเซตามอลได้หรือไม่
เลือดออกทางช่องคลอด
เลือดออกทางช่องคลอด บางครั้งอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะร้ายแรง ได้แก่ ภาวะรกเกาะต่ำ (placenta previa), ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (placental abruption) คือรกแยกตัวออกจากผนังมดลูก หรือ การคลอดก่อนกำหนด (preterm labor)
คำแนะนำ-ให้ไปพบแพทย์ทันทีที่พบว่ามีเลือดออกทางช่องคลอด
เจ็บครรภ์หลอก
(Braxton-Hicks Contractions)
เจ็บครรภ์หลอก (Braxton-Hicks Contractions)
เป็นการเตรียมพร้อมของมดลูกสำหรับการคลอดจริงที่กำลังจะมาถึงในอนาคต อาการเจ็บครรภ์หลอก หรือ Braxton-Hicks Contractions มักจะไม่แรงเท่ากับการบีบตัวของมดลูกขณะคลอดจริง เพียงแต่อาจจะรู้สึกหลายครั้ง
คำแนะนำ-ให้สังเกตุอาการเจ็บครรภ์จริงกับเจ็บครรภ์หลอกโดยสิ่งที่แตกต่างที่สำคัญคือ การคลอดจริงจะรู้สึกถึงแรงบีบตัวที่มากกว่า และมากถึงเรื่อยๆ หากคุณมีอาการหน้าแดง และหายใจไม่ออกภายหลังอาการบีบตัวนี้ หรือเป็นอย่างต่อเนื่อง เป็นประจำ แนะนำให้ไปพบแพทย์
หน้าอกขยายใหญ่ขึ้น
เมื่อสิ้นสุดการตั้งครรภ์ หน้าอกจะใหญ่ขึ้นประมาณ 0.90 กิโลกรัม
คำแนะนำ-ในช่วงนี้ให้สวมใส่ยกทรงที่รองรับหน้าอกได้เป็นอย่างดี หากใกล้วันครบกำหนดคลอด คุณอาจเริ่มสังเกตเห็นของเหลวสีเหลืองออกมาจากหัวนมของคุณ เราเรียกของเหลวนี้ว่า น้ำนมเหลือง (colostrum) ซึ่งเป็นแหล่งของสารอาหารสำหรับทารกในช่วงไม่กี่วันแรกหลังคลอด
ร่างกายเริ่มมีการสร้าง Colostrum หรือน้ำนมแม่ที่หลั่งในช่วงแรกๆออกมา โดย Colostrum จะเป็นน้ำนมที่มีสีเหลืองข้น เต็มไปด้วยแร่ธาตุที่สำคัญ รวมทั้งสารภูมิต้านทานสำหรับทารกแรกเกิด
ตกขาว
(Leukorrhea)
ลักษณะของการตกขาวปกติจะมีสีขาวขุ่นหรือครีม
ร่างกายมีการสร้างของเหลวออกมา เพื่อหล่อลื่นปากช่องคลอดตลอดเวลา และหญิงตั้งครรภ์ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนมากขึ้น จึงทำให้เกิดตกขาวมากขึ้นตามไปด้วย
คำแนะนำ-อาจเห็นตกขาวทางช่องคลอดในช่วงไตรมาสที่สามนี้ หากตกขาวที่เกิดขึ้นที่ช่วงนี้มีมากเกินไปจนซึมผ่านกางเกงในของคุณ แนะนำให้ไปพบแพทย์ เมื่อใกล้วันครบกำหนดคลอด คุณอาจเห็นตกขาวเหนียว, ใส, หรือมีเลือดปนมากับตกขาว ซึ่งสิ่งที่เห็นนี่คือมูกปากมดลูกที่หลุดออกมา ซึ่งเป็นสัญญาณของปากมดลูกที่คลายตัวเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด หากคุณพบน้ำคร่ำไหลอย่างกะทันหัน นั่นหมายความว่าน้ำคร่ำแตกแล้ว (ประมาณ 8 % ของหญิงตั้งครรภ์จะมีน้ำคร่ำแตกก่อนที่มีจะมีการบีบตัวเกิดขึ้น) หากพบว่าน้ำคร่ำแตก ให้ไปพบแพทย์ทันทีให้ไวที่สุด
อาการอ่อนเพลีย
(debility)
แม้ว่าในช่วงไตรมาสที่สองจะรู้สึกดีขึ้น รู้สึกมีเรี่ยวแรง แต่อาการอ่อนเพลียจะกลับมาอีกครั้งในช่วงไตรมาสที่สามนี้เอง
น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น การตื่นกลางดึกหลายครั้งเพื่อไปเข้าห้องน้ำ และการจัดการกับความวิตกกังวลในการเตรียมตัวสำหรับทารกที่กำลังจะเกิด สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อระดับพลังงานของหญิงตั้งครรภ์ ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย
คำแนะนำ-แนะนำให้รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายรู้สึกมีพละกำลังมากขึ้น หากคุณรู้สึกอ่อนเพลีย แนะนำให้ลองงีบหลักสักครู่หนึ่ง หรืออย่างน้อยให้นั่งลง และผ่อนคลายซักครู่หนึ่ง
ปัสสาวะบ่อย
(Urinary frequency)
อาจจะพบปัสสาวะเล็ดราดขณะไอ จาม หัวเราะ หรือออกกำลังกายได้
ในตอนนี้ทารกจะตัวใหญ่ขึ้นมาก โดยทารกอาจจะมีการกลับหัวลงมาที่บริเวณกระเพาะปัสสาวะของคุณ แรงกดที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้รู้สึกอยากเข้าห้องน้ำบ่อยครั้งขึ้น โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน
คำแนะนำ-สำหรับการลดแรงกดที่เกิดขึ้นและป้องกันไม่ให้ปัสสาวะเล็ดราด แนะนำให้เข้าห้องน้ำทุกครั้งที่รู้สึกปวดปัสสาวะและปัสสาวะให้สุดในแต่ละครั้งที่ปัสสาวะ ให้หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำทันทีก่อนนอน เพื่อลดโอกาสการเข้าห้องน้ำกลางดึก สวมใส่ผ้าอนามัยเพื่อดูดซับปัสสาวะเล็ดราดที่อาจเกิดขึ้น หากคุณรู้สึกเจ็บ แสบ
ขณะปัสสาวะ แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นอาการของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้
หายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก
หรือหายใจไม่อิ่ม (Dyspnea หรือ Shortness of Breath)
เมื่อมดลูกขยายตัวขึ้น จะขยายขึ้นด้านบน จนกว่าจะอยู่ใต้ต่อกระดูกซี่โครง ทำให้พื้นที่ว่างสำหรับปอดนั้นลดลง ทำให้เกิดความดันเพิ่มขึ้นที่ปอด ทำให้หายใจลำบาก
หายใจถี่ เมื่อยล้าง่าย หายใจผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ
คำแนะนำ-การออกกำลังกายสามารถช่วยเรื่องการหายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบากได้ คุณยังสามารถทดลองนอนหนุนหัวและหัวไหล่ไว้ใต้หมอนขณะนอนหลับเพื่อช่วยเรื่องนี้ได้
บวม
(Swelling)
อาจสังเกตเห็นข้อเท้าและใบหน้าของคุณบวมขึ้น อาจรู้สึกว่าหรือแหวนของคุณคับแน่นขึ้น
ร่างกายกักเก็บน้ำในเนื้อเยื่อทำให้มีปริมาณของเหลวในร่างกายเพิ่มขึ้น อีกทั้งสารเคมีในกระแสเลือดที่เปลี่ยนไปก็ทำให้ร่างกายดูดซึมของเหลวในปริมาณที่มากขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ขนาดของมดลูกที่ใหญ่ขึ้นก็ทำให้กระดูกเชิงกรานกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ที่ชื่อว่าเวนาคาว(vena cava) ซึ่งอยู่ทางด้านขวาของร่างกาย ทำให้ไม่สามารถส่งเลือดบริเวณหลังช่วงล่างกลับไปที่หัวใจได้สะดวก
คำแนะนำ-ในการลดอาการบวม ให้วางเท้าบนเก้าอี้ หรือกล่อง ตลอดเวลาที่คุณนั่ง และนอนยกขาสูงขณะนอนหลับ ถ้าคุณมีอาการบวมอย่างกะทันหัน ให้ไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนอันตรายขณะตั้งครรภ์
น้ำหนักขึ้น
(weight gain)
น้ำหนักตัวที่ควรเพิ่มในช่วงไตรมาสที่สามคือ 0.2 – 0.45 กิโลกรัม ต่อสัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการตั้งครรภ์ ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 11.3 – 15.8 กิโลกรัม (แพทย์อาจแนะนำปริมาณน้ำหนักที่ควรเพิ่มระหว่างตั้งครรภ์มากหรือน้อยกว่านี้ ถ้าก่อนหน้าตั้งครรภ์คุณมีน้ำหนักตัวน้อยหรือมากกว่ามาตรฐาน)
น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์จะมาจากน้ำหนักทารก, น้ำหนักรก, น้ำหนักของน้ำคร่ำ, เลือดและของเหลวในร่างกายที่เพิ่มมากขึ้น, และเนื้อเยื่อเต้านมที่เพิ่มขึ้น
คำแนะนำ-หากดูเหมือนว่าทารกจะมีขนาดตัวที่เล็กหรือใหญ่เกินไป โดยการสังเกตจากหน้าท้องของคุณ แพทย์จะตรวจอัลตราซาวด์เพื่อดูว่าการเติบโตของทารกในครรภ์เป็นไปอย่างเหมาะสมหรือไม่