Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการสูงอายุเชิงชีวภาพ (Biologic theory of aging), นางสาวจิราภรณ์…
ทฤษฎีการสูงอายุเชิงชีวภาพ (Biologic theory of aging)
การสูงอายุ เกิดจากการเสื่อมของเซลล์และอวัยวะ
ตามกาลเวลา (Stochastic theory)
ทฤษฎีการเชื่อมตามขวาง (Cross-linking Theory)
เชื่อว่า การสูงอายุเกิดจากการเชื่อมตามขวางของ Collagen และ Elastin ส่งผลให้คุณสมบัติของเซลล์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งพบมากในผิวหนัง เอ็น กระดูก กล้ามเนื้อ หลอดเลือด และหัวใจ
ปัญหาที่เกิดตามทฤษฎี
ผิวแห้งแตกง่าย
โรคข้อติดแข็ง
โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบตัว
แนวทางการพยาบาล
แนะนำให้ผู้ป่วยทาครีมบำรุงผิว เพื่อป้องกันผิวแห้งแตกง่าย
ปกป้องตัวเองจากสภาวะแวดล้อม เช่น หลีกเลี่ยงแสงแดดและการอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศที่เย็นจัด
กระตุ้นให้ผู้ป่วยออกกำลังกายยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อป้องกันข้อติดแข็ง
รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเรสเทอรอลใน
ปริมาณต่ำ หลีกเลี่ยงหรือลดอาหารประเภทเครื่องในสัตว์
น้ำมันหมู หนังสัตว์ ไข่แดง ปลาหมึก กุ้ง และหอยนางรม
รวมทั้งรับประทานอาหารที่มีกากใยอาหาร เช่น ผักและผลไม้
ให้มากขึ้น
ทฤษฎีอนุมูลอิสระ (Free radical Theory)
เชื่อว่า การสูงอายุเกิดจากปฏิกิริยารุนแรง
ของอนุมูลอิสระที่จับคู่ภายในเซลล์ ทำให้
โครงสร้างโมเลกุลของเซลล์เสียหาย
เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างที่ผิดปกติ
ปัญหาที่เกิดตามทฤษฎี
โรคมะเร็ง
แนวทางการพยาบาล
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบ
ของวิตามิน C และ E เช่น มะละกอ ส้ม ฝรั่ง
และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ซึ่งเป็นสาร Antioxidant
จะมีส่วนช่วยยับยั้งการทำงานหรือการสร้าง
อนุมูลอิสระได้
ทฤษฎีการเสื่อมโทรม (Wear and Tear Theory)
เชื่อว่า การเสื่อมของเซลล์ในร่างกายเกิดจากการใช้งานหนัก
หรือใช้งานต่อเนื่องยาวนาน การใช้งานที่เกิดขึ้นทำให้เซลล์
เกิดความเครียด ร่วมกับขาดความระมัดระวังในการใช้งาน
ร่างกาย เช่น DLP → โรคหลอดเลือดที่เกิดจากการสะสมของ
ไขมัน ทำให้ผนังหลอดเลือดเสื่อม, น้ำหนักมาก → ข้อเข่าเสื่อม โดยเซลล์จะพยายามซ่อมแซมตนเองจนกระทั่ง
ไม่สามารถซ่อมแซมได้
ปัญหาที่เกิดตามทฤษฎี
โรคไขมันในเลือดสูง
โรคข้อเข่าเสื่อม
แนวทางการพยาบาล
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จำพวกผัก ผลไม้ ให้มากขึ้น และเน้นอาหารจำพวกเนื้อปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เนื่องจากโอเมก้า 3 ในปลาช่วยลดการอักเสบซ่อนเร้น และมีไขมันที่ดีต่อสุขภาพ
ลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์
งดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ เป็นต้น รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ น้ำอัดลม เป็นต้น
การปรับเปลี่ยนท่าทางหรืออิริยาบถในชีวิตประจำวัน เพื่อลด
การบาดเจ็บและแรงเค้นซ้ำๆ ต่อข้อเข่า หลีกเลี่ยงการนั่งคุกเข่า
การขัดสมาธิ การนั่งพับเพียบ เพราะการนั่งในท่าที่งอเข่ามากๆ
จะทำให้เพิ่มแรงดันภายในข้อเข่า
หลีกเลี่ยงการเดินขึ้น-ลง บันได เนื่องจากจะทำให้เกิดแรงกดต่อข้อเข่า หากจำเป็นควรเดินเกาะราวบันได
แนะนำให้ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมากลดน้ำหนัก โดยการออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น ออกกำลังกายในน้ำ การปั่นจักรยานอยู่กับที่ เป็นต้น เพราะจะลดแรงกดบริเวณข้อเข่าได้
ทฤษฎีการสะสม (Accumulative Theory)
เชื่อว่า การสูงอายุเกิดจากการสะสมสารที่เป็นอันตรายต่อการทำหน้าที่ของเซลล์
คือ Lipofuscin ซึ่งเป็นรงควัตถุที่มีส่วนประกอบของโปรตีนและไขมัน
โดย Lipofuscin จะขัดขวางการทำงานของ golgibodies, mitochondria
และทำให้การจำลอง DNA ผิดไป
ปัญหาที่เกิดตามทฤษฎี
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
ผิวตกกระ (age spot)
แนวทางการพยาบาล
งดสูบบุหรี่ และไม่อยู่ใกล้กับบุคคลที่สูบบุหรี่ เพราะอาจจะได้รับเอาควันบุหรี่ด้วย
หลีกเลี่ยงการเผชิญกับแสงแดดในเวลา 10 : 00 นาฬิกา – 14 : 00 นาฬิกา
ลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด
เพิ่มประสิทธิภาพของระบบต้านอนุมูลอิสระ โดยการแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีวิตามินอี
เช่น อาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำมันที่สกัดจากพืช มะเขือเทศ มะม่วง กีวี เมล็ดอัลมอนด์
ผักใบเขียว เป็นต้น เพราะสามารถยับยั้งปฏิกิริยา lipid peroxidation ชะลอการสะสมของ lipofuscin
ทฤษฎีภูมิคุ้มกัน (Immunological Theory)
เชื่อว่า เมื่ออายุเพิ่มขึ้น T lymphocyte จะลดลง
มีผลให้ภูมิต้านทานโรคต่ำลง เชื้อโรคจึงสามารถเข้าสู่
ร่างกายได้ง่าย และมีโอกาสเกิดการทำลายเซลล์ปกติ
ของร่างกาย (autoimmune disease) ได้
ปัญหาที่เกิดตามทฤษฎี
โรครูมาตอยด์
โรคภูมิแพ้ตนเอง (SLE)
แนวทางการพยาบาล
แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและบรรเทา การกดของข้อต่อ
แนะนำให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 7-8 ชั่วโมง สารมารถช่วยลดการอักเสบและความเมื่อยล้า
หลีกเลี่ยงการเผชิญกับแสงแดด และไม่อยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด
ให้การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล ( Hygiene practice or hygiene care) ในส่วนที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำเองได้
รับประทานอาหารที่สุก สะอาด เนื่องจากผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ทั้งจากตัวโรคเองและจากการได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
ทฤษฎีระบบประสาท-ต่อมไร้ท่อ (Neuroendocrine Theory)
เชื่อว่า เมื่ออายุเพิ่มขึ้นการหลั่งฮอร์โมนจาก pituitary, thyroid, adrenal นานกว่าปกติ ทำให้ระบบสั่งการของสมองทำงานผิดปกติ เซลล์จะทำหน้าที่ในการตอบสนองลดลง
ปัญหาที่เกิดตามทฤษฎี
โรคเบาหวาน
น้ำหนักสมองลดลง
แนวทางการพยาบาล
กระตุ้นการสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง เช่น
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงอาหารหวานจัด
และเค็มจัด
เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
เข้าใจการตอบสนองช้ากว่าปกติ
การสูงอายุ เกิดจากการกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้วโดยยีนส์ (Gene)
ทฤษฎีพันธุกรรมหรือทฤษฎีนาฬิกาชีวภาพ (Genetic/biological clock Theory)
เชื่อว่า การสูงอายุถูกควบคุมด้วยพันธุกรรมโดยกลไกภายใน เรียกว่า Genetic clock มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่ออายุมากขึ้น
ปัญหาที่เกิดตามทฤษฎี
เซลล์จะเสื่อมเมื่อถึงเวลากำหนด
ทฤษฎีโปรแกรม (Programmed Theory)
เชื่อว่า ผลจากการสะสมของการทำงานที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมของเซลล์
จะนำไปสู่การสูญเสียการทำหน้าที่ของเซลล์ในอวัยวะเนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่ง
ส่งต่อให้เกิดกระบวนการ “ปรากฏการณ์ผู้สูงอายุ (Aging phenomenon)”
และเซลล์เมื่อมีการแบ่งตัวจะสามารถทำได้จนถึงระดับหนึ่ง เหมือนมี
การกำหนดโปรแกรมไว้ในเซลล์ตั้งแต่ต้นว่าเมื่อไรเซลล์จึงจะตาย เช่นกัน
อายุของคนหรือสิ่งมีชีวิตจะถูกกำหนดไว้ตามแต่ละชนิดประเภทของ
สิ่งมีชีวิตนั้นๆ
ปัญหาที่เกิดตามทฤษฎี
เซลล์จะเสื่อมเมื่อถึงเวลากำหนด
ทฤษฎีความผิดพลาด (Error Theory)
เชื่อว่า เกิดจากการสะสมความผิดพลาดในการผลิตโปรตีนทดแทน
ทำให้โปรตีนที่สร้างขึ้นใหม่ไม่สามารถซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอได้ตามปกติ
และเพิ่มความผิดปกติขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น จนในที่สุดเซลล์ไม่สามารถทำงานได้และตายตามมา
ปัญหาที่เกิดตามทฤษฎี
เซลล์ตายเร็วกว่าปกติ
แนวทางการพยาบาล
งดสูบบุหรี่หรือสารเสพติด
งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า
เบียร์ ไวน์ เป็นต้น
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น อาหารประเภทปิ้งย่าง ทอด และอาหารจังก์ฟู้ด
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสจัด เช่น เค็มจัด หวานจัด เป็นต้น
หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดโดยตรง
หรือการเผชิญกับอากาศร้อนเป็นเวลานาน
นางสาวจิราภรณ์ โกสายา เลขที่ 17 ห้อง A