Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Brain abscess, case, โดยเริ่มจากการติดเชื้อในอวัยวะท่ีอยู่ไกลออกไป เช่น…
Brain abscess
การพยาบาล
-
3.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารนํ้า และอาหารอย่างเพียงพอ ตามความต้องการของร่างกาย พึงระลึกเสมอว่าถ้าโภชนาการดีโรคจะหายเร็วขึ้น ประเมินการขาดนํ้า ขาดอาหารอย่างต่อเนื่อง
1.ตรวจสอบสัญญานชีพ และอาการทางระบบประสาททุก 1-4 ชั่วโมง ตามอาการของผู้ป่วย รายงานแพทย์เมื่อมีความดันในกะโหลกเพิ่ม
4.ดูแลให้ได้รับความสุขสบายทางร่างกาย เช่น นอนศีรษะสูง บรรเทาอาการปวดศีรษะ ดูแลสุขวิทยาของช่องปาก ผิวหนัง การขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
5.ป้องกันความพิการและภาวะแทรกซ้อน ป้องกันอันตรายจากการชัก ผู้ป่วยที่มีการรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหวบกพร่อง พยาบาลต้องทำโปรแกรมฟื้นฟูสมองด้วยวิธีต่างๆ อาทิ การให้ฟังวิทยุ ข่าวสาร ดูรูปภาพของบุคคลในครอบครัว กระตุ้นความทรงจำเก่าๆ และนำผู้ป่วยออกกำลังกล้ามเนื้อตามองศาการเคลื่อนไหว และควรให้ญาติมีส่วนร่วมในโครงการฟื้นฟูสมองอย่างเต็มที่
6.เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้ซักถามข้อสงสัยมีโอกาสก็ได้วางแผนการพยาบาลร่วมกัน ผู้ป่วยคงจะมีโอกาสดีขึ้น และสามารถกลับไปสู่ชุมชนได้เร็วขึ้น
-
-
การวินิจฉัย
- การซักประวัติ คล้ายกับประวัติในผู้ป่วยที่เป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยที่เป็นฝีในสมอง อาจมีประวัติของการติดเชื้อที่พบ คือ ปวดศีรษะตลอดเวลา หรือปวดเป็นบางครั้งบางคราว
- การตรวจร่างกาย วัดสัญญาณชีพ จะมีไข้ อาเจียน คอแข็ง ตรวจระดับความรู้ สติอาจมีอาการสับสน การตรวจ Kernig’s sign จะพบให้ผลบวก (ไม่สามารถจะเหยียดขาออกได้ เพราะเจ็บปวดมาก) ตรวจ Brudzinski’s sign (เมื่อก้มคอจะมีสะโพกและเข่างอด้วย)
- อาการต่างๆ ที่ตรวจพบ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของสมองที่เป็นฝี เช่น ที่สมองใหญ่กลีบหน้า จะมีอาการง่วงงง ปลุกตื่น การตัดสินใจผิดพลาด บางครั้งชัก ถ้าเป็นค่อนไปตรงกลางจะมีอัมพาต ครึ่งซีก พูดไม่ได้ ส่วนที่กลีบขมับ บอกชื่อสิ่งของไม่ได้ไม่สามารถอ่านเขียนหรือเข้าใจภาษา จะพูดได้คล่อง แต่ไม่รู้ว่าพูดอะไร ฝีหนองที่พาริเอตัลทำให้การรับรู้การทรงตัวสูญเสีย มีการชักเฉพาะจุด ตาบอดครึ่งซีก นับเลขไม่ได้ เขียนไม่ได้ ฝีที่สมองเล็กจะปวดศีรษะแถวท้ายทอย คอแข็ง การประสานงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ตากระตุก สั่นเมื่อตั้งใจทำงาน พูดไม่ชัด มี ความดันกะโหลกเพิ่ม อาเจียน
4.การตรวจพิเศษ โดยการเอกซเรย์กะโหลกดูการสึกกร่อนของกะโหลก การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง การเอซเรย์คอมพิวเตอร์ดูขนาดและตำแหน่งของฝีการตรวจด้วย MRI ยิ่งได้ผลดียิ่งขึ้น ส่วนการตรวจอื่นๆ ได้แก่การตรวจเลือดหา ESR และอื่นๆ การเจาะหลังพบว่าน้ำใน ไขสันหลังใส มีเซลล์เม็ดเลือดขาวประมาณ 25-300 เซลล์/ไมโครลิตร ค่าโปรตีนปกติ นํ้าตาลตํ่า หรือลดลงอย่างมาก ความดันนํ้าหล่อสมองจะสูง
สาเหตุ
-
-
Direct penetrating route
-
Cerebrospinal fluid, CSF)
ความหมาย
การอักเสบติดเชื้อในเนื้อสมอง และมีการรวมตัวกันของ infected material ทำให้เกิดโพรงหนองขึ้น ภายในเนื้อสมอง
พยาธิ
ประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยฝีในสมอง เชื้อจะเข้าทางกะโหลกที่แตก (เกิดกระดูกพรุน อักเสบเป็นหนอง) หรือจากรอยแผลผ่าตัดประมาณร้อยละ 40 เป็นการติดเชื้อทุติยภูมิจากโพรงอากาศอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ( otitis media ) ในเด็กมาสตอยด์อักเสบเชื้อจะเข้าสู่สมองทางโพรงอากาศและกระดูกพรุนอักเสบ จะกินทะลุถึงเยื่อหุ้มสมองชั้นนอกกระจายไปตามหลอดเลือดดำ ทำให้หลอดเลือดดำอักเสบ (pial vein และ dural sinus ) ทำให้เนื้อสมองขาดเลือดและ ตาย แล้วร่างกายก็จะมีปฏิกิริยาตอบสนองเฉพาะที่ (สมองอักเสบเป็นจุดๆ) ทำให้บวม มีเลือดคั่ง เนื้อสมองอ่อนนุ่มมากขึ้นมีเลือดออกเป็นจุดๆ ผลของการอักเสบจะมี exudate ทั้งเนื้อสมองที่ตาย และเม็ดเลือดขาวที่มากำจัดจุลินทรีย์ต่างก็ตายจะไหลมารวมกัน ร่างกายจะมีกลไก การซ่อมแซมร่วมด้วย โดยเพิ่มไฟโบรบลาสท์จากหลอดเลือดฝอยเป็นเยื่อแกรนูเลชั่น ซึ่งต่อมาจะมีเยื่อคอลลาเจนงอกขึ้นมาเสริมความแข็งแรงฟอร์มเป็นถุงหุ้ม exudate นั้น ให้อยู่กับที่ซึ่งจะเกิดภายใน 2-3 วัน ของการอักเสบ อย่างไรก็ตามการเกิดถุงหุ้มฝีนี้ใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 วัน พบว่ามีการเรียงตัว 3 ชั้น คือ ตรงกลางสุดเป็นเม็ดเลือดขาวที่ตายแล้ว ถัดมาเป็นถุงซึ่งทำจากใยคอลลาเจน ชั้นนอกสุดเป็นเซลล์คํ้าจุนที่งอกเพิ่มขึ้นจำนวนมาก เพื่อตอบสนองต่อการบาดเจ็บ อย่างไรก็ตาม ขบวนการซ่อมแซมจะเสร็จสมบูรณ์ใช้เวลา 2 สัปดาห์ (ลิมโฟซัยต์มาชุมนุม และเปลี่ยนเป็นพลาสมาเซลล์ทำปฏิกิริยากับแอนติเจน) และฝีมักจะมีหลายแห่งอย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับทางเข้า เช่น เชื้อที่มาจากหูจะเข้าสู่สมองใหญ่กลีบหน้าและขมับ ถ้าเชื้อลุกลามมาตามกระแส เลือด มักจะสะสมอยู่ในหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองแขนงกลาง
-
-
โดยเริ่มจากการติดเชื้อในอวัยวะท่ีอยู่ไกลออกไป เช่น การติดเชื้อในปอด ช่องท้อง หรือระบบทางเดินปัสสาวะ (pulmonary, abdominal, or genitourinary infection) จากนั้น เกิดภาวะติดเชื้อ ในกระแสเลือด (bacteremia) เชื้อแพร่ต่อมายังสมอง
-
-
-