Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจครรภ์และการประเมินปัญหาจากการตรวจครรภ์ - Coggle Diagram
การตรวจครรภ์และการประเมินปัญหาจากการตรวจครรภ์
การดู(Inspection)
ประเมินขนาดของท้อง(size)
ดูรูปร่างของท้อง(shape)
ดูผิวหนังและการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง
ดูลักษณะและขนาดของมดลูก
สังเกตบริเวณเหนือหัวหน่าว
ดูรอยต่ิอกระดูกหัวหน่าวว่านูนขึ้นหรือไม่
การคลำ(Palpation)
การคาดคะเนอายุครรภ์จากระดับความสูงมดลูก
ระดับสะดือเป็น 20 สัปดาห์ แบ่งระยะระหว่างสดือกับขอบบนรอยต่อกระดูกหัวหน่าวเป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน และแบ่งสะดือถึงกระดูกลิ้นปี่เป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน แต่ละระยะอายุครรภ์ 4 สัปดาห์
การวัดความสูงของยอดมดลูกเป็นเซนติเมตร
ใช้เทปวัดความยาวของยอดมดลูกตามแนวหน้าท้อง จากขอบบนของกระดูกหัวหน่าวถึงส่วนยอดของมดลูก โดยค่าที่วัดได้ 1 เซนติเมตรเท่ากับอายุครรภ์ 1 สัปดาห์ แม่นยำเมื่ออายุครรภ์ 20-32 สัปดาห์
การตรวจด้วย Leopold's maneuver
First Leopold Handgrip
การคลำบริเวณยอดมดลูก เพื่อทราบระยะของการตั้งครรภ์และดูความสัมพันธ์กับระยะขาดประจำเดือน เพื่อหาส่วนของเด็กที่อยู่ที่ยอดมดลูก อาจพบว่าเป็นศีรษะหรือก้นก็ได้
ผู้ตรวจหันไปทางศีรษะมารดา มือหนึ่งแตะบริเวณยอดมดลูก อีกมือหนึ่งแตะที่ลิ้นปี่ แล้วดูระดับของยอดมดลูกว่าเป็นสัดส่วนเท่าไดกับระยะรหว่างสะดือถึงขอบบนกระดูกหัวหน่าว
Second Leopold Handgrip
คลำหาส่วนหลังของเด็กว่าอยู่ด้านใดของลำตัวแม่ ผู้ตรวจหันหน้าทางศีรษะแม่ ใช้ฝ่ามือทั้งสองทาบบนผนังท้องแม่ ตรวจหา large part และ small part แล้วควรสังเกตตำแหน่งของหลังเด็กด้วยว่าอยู่ส่วนใดของแม่
Third Leopold Handgrip
เพื่อตรวจหาส่วนนำและระดับของส่วนนำของเด็ก
ผู้ตรวจหันหน้าไปทางศีรษะแม่ ฝ่ามือขวาจับส่วนของเด็กบริเวณหัวหน่าวให้อยู่ในอุ้งมือ และดูส่วนนำว่าเป็นศีรษะหรือก้น ตรวจหาระดับส่วนนำว่าลงในอุ้งเชิงกรานหรือยัง โดยใช้มือขวากางนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ จับส่วนนำอยู่ในอุ้งมือ ถ้าโยกส่วนนำได้แสดงว่าส่วนนำลอยอยู่ ถ้าโยกไม่ได้แต่ยังคลอนอยู่แสดงว่าส่วนนำผ่านเชิงกรานไม่หมด แต่ถ้าไม่สามารถโยกได้แสดงว่าส่วนนำผ่านเชิงกรานแล้ว
Fourth Leopold Handgrip
ผู้ตรวจหันหน้าไปทางปลายเท้าของมารดา ส่วนปลายนิ้วสัมผัสที่ด้านข้างของส่วนนำที่บริเวณขาหนีบทั้ง 2 ข้าง ใช้สันฝ่ามือเคลื่อนไปตาม 2 ข้างหารอยต่อกระดูกหัวหน่าวถ้าปลายนิ้วสอบเข้าหากันแสดงว่าศีรษะเด็กยังไม่ผ่านเชิงกราน ถ้าปลายนิ้วไม่สอบเข้าหากันแสดงว่าศีรษะเด็กอยู่ในอุ้งเชิงกรานแล้ว
การคลำไหล่หน้าเพื่อหาท่าของเด็ก
ใช้ปลายนิ้วมือคำที่หน้าท้องเหนือกระดูกหัวหน่าวจากบริเณส่วนนำของเด็กขึ้นไปหาบริเวณสะดือ
การตรวจภาวะที่ศีรษะเด็กเกยกับขอบบนของรอยต่อกระดูกหัวหน่าว
วางมือข้างหนึ่งบนกระดูกหัวหน่าว อีกข้างวางบริเวณท้องน้อยเหนือกระดูกหัวหน่าวและจับศีรษะเด็กกดลงช่องเชิงกราน ถ้าอยู่ระดับเดียวกันอาจคลอดเองได้
การคลำที่บริเวณมดลูกส่วนบนและส่วนล่างพร้อมกัน
เพื่อเปรียบเทียบลักษณะของส่วนนำว่าเป็นศีรษะหรือก้น โดยใช้นิ้วหัวแม่มือทั้ง 2 ข้าง ข้างหนึ่งจับบริเวณยอดมดลูก อีกข้างจับส่วนนำที่หัวหน่าวของเด็ก โดยให้ส่วนของเด็กอยู่ในอุ้งมือ
การฟัง(Auscultion)
ลักษณะเสียงหัวใจทารกในครรภ์เป็นเสียงคู่ ดังตุบ ตับ แต่ละคู่ที่ฟังได้คือเสียงหัวใจเด็กเต้น 1 ครั้ง แต่ละครั้งระยะห่างกันเล็กน้อน อัตราการเต้นของหัวใจปกติระหว่าง 120-160 ครั้ง/นาที
เสียงที่อาจได้ยินจากการตรวจครรภ์
Funic souffle เสียงจากการที่เลือดไหลผ่านภายในเส้นเลือดของสายสะดือไม่สะดวก
Uterine souffle เป็นเสียงที่ได้ยินขณะเลือดไหลผ่านหลอดเลือดของมดลูกลักษณะเสียงฟู่
การระบุท่าทางของทารกในครรภ์
ร่างกายทารก
ส่วนศีรษะ
ขม่อม คือ บริเวณรอยต่อของกระดูกมาบรรจบกัน ขม่อมที่สำคัญได้แก่ ขม่อมหน้าและขม่อมใหญ่
ความยาวของศีรษะ
Biparietal(BP) เป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุด
Bitemporal (BT) เป็นส่วนที่กว้างที่สุด
Suboccipito-frontal(SOF)
Occipito-mental(OM)
Suboccipito-bregmatic(SOB)
Suboccipito-mental(SOM)
Occipito-frontal(OF)
Submento-bregmatic(SMB)
ส่วนตัวทารก
เด็กในครรภ์มารดาจะอยู่ในลักษณะงอทุกส่วน (Fetal ovoid) คือ หัวก้ม หลังงอ แขนและขางอทุกข้อต่อ แกนยาวลำตัวมี 2 ขั้ว คือ Cephalic Pole และ Caudal PoleหรือBreech
แนว(Lie)
Longitudinal lie (แนวยาว) ความยาวลำตัวเด็กอยู่ในแนวเดียวกับทางคลอด
Tranverse lie (แนวขวาง) ตัวเด็กจะขวางกับทางคลอด
Oblique lie (แนวเฉียง) แยวลำตัวเด็กอยู่เฉียงกับแนวลำตัวหรือช่องคลอด
ทรง (Attitude or fetal Attitude)
Flexion attitude เด็กอยู่ในลักษณะงอทุกส่วนของร่างกาย ศีรษะก้ม คางชิดลิ้นปี่ หลังงอ แขนขา ศอกและเข่างอ ืถกส่วนแนบชิดลำตัว
Deflexion attitude เด็กเงยศีรษะได้ 3 แบบ
ส่วนนำ(Presentation) คือ ส่วนต่ำที่สุดของเด้กที่อยู่ในส่วนล่างของทางคลิดหรือใกล้ปากมดลูกมากที่สุด
ศีรษะ(Cephalic)
Vertex presentation ศีรษะอยู่ในท่า Deflexion I
Bregma presentation ศีรษะอยู่ในท่า Deflexion II
Brow presrntation ศีรษะเด็กก้มเต็มที่
Face presensation ศีรษะอยู่ในท่า Deflexion III
ก้น (Breech presentation)
Frank breech ต้นขาเด็กจะพับแนบอยู่กับหน้าท้อง เข่าทั้ง 2 ข้างพาดบริเวณหน้าอกหรือท้องของเด็ก
Complete breech เด็ดอยู่ในม่าขัดสมาธิ มือกอดอก หรือท่างอสะโพกและงอเข่าทั้ง 2 ข้าง
Presentation อื่นๆ
Compound presensation ส่วนนำของเด้กมีมากกว่าหนึ่งส่วน เช่น ศีรษะกับมือ
Funic presensation มีสายสพดือลงไปต่ำกว่าส่วนนำและถุงน้ำยังไม่แตก ถ้าถุงน้ำแตกแล้วเรียกว่า Prolapsrd Cord Parietal bone presensation
จุดนำ (Denomination)
Vertex presentation จุดนำคือ Oociput (O)
Bregma presentation จุดนำคือ Occiput (O)
Brow presentation จุดนำคือ Frontal (F)
Face presentation จุดนำคือ Mentum (M)
Breech presentation จุดนำคือ Sacrum (S)
Shoulder presentation จุดนำคือ Scapula (Sc) หรือ Acromion (Ac)
ท่าของเดก (Position) คือ ลักษณะของเด้กโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่าง denominator กับส่วนช่องเชิงกรานของแม่
ข้างหน้า (Anterior ใช้อักษรย่อ A)
ข้างหลัง (Posterior ใช้อักษรย่อ P)
ข้างซ้าย (Left transvere ใช้อักษรย่อ LT)
ข้างซ้ายส่วนหน้า (Left anterior ใช้อักษรย่อ LA)
ข้างซ้ายส่วนหลัง (Left posterior ใช้อักษรย่อ LP)
ข้างขวา (Righr transvere ใช้อักษรย่อ RT)
ข้างขวาส่วนหลัง (Right posterior ใช้อักษรย่อ RP)
ข้างขวาส่วนหน้า (Right anterior ใช้อักษรย่อ RA)
การบันทึกผลการตรวจครรภ์
จะต้องบันทึกการรับฝากครรภ์และการทำคลิดทุกรายในสมุดบันทึกการผดุงครรภ์ตามแบบของสภาการพยาบาล