Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เครื่องมือ 7 ชิ้น - Coggle Diagram
เครื่องมือ 7 ชิ้น
เครื่องมือที่4 ระบบสุขภาพชุมชน
การศึกษาระบบสุขภาพชุมชน
เห็น ‘โลกสุขภาพ’ ของชาวบ้าน
เห็นความหลากหลายของวัฒนธรรมสุขภาพที่ดำรงอยู่
เข้าใจวัฒนธรรมความเชื่อวิธีปฏิบัติและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของท้องถิ่น
เห็นปัญหา ศักยภาพ และทุนทางสังคมด้านสุขภาพของชุมชน
เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำให้ชุมชนเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นตน
แนวทางการศึกษาระบบสุขภาพชุมชน
พูดคุย สัมภาษณ์และสังเกตผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยหรือปัญหาสุขภาพหลายๆราย เช่น หมอ พื้นบ้าน ผู้ป่วย ญาติ พระ คนเฒ่าคนแก่ ชื่อโรคท้องถิ่น วัฒนธรรมสุขภาพ พฤติกรรม ความเชื่อ พฤติกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ
ท า Mind Mapping โดยเริ่มจากแกนกลาง คือ ระบบสุขภาพชุมชน จากนั้นแตกกิ่งออกเป็นปัจจัยหลัก แล้วแยกย่อยเป็นรูปธรรมที่พบเห็นในชุมชน
บันทึกเหตุการณ์ความเจ็บป่วย (Illness Episode Record: IER) ติดตามสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มป่วยจน สิ้นสุดการรักษา ช่วยให้เห็นภาพความหลากหลายของการเยียวยาโรคในชุมชน
ลงรายละเอียดที่ทำให้การทำงานเป็นไปได้ เช่น ชื่อคนสำคัญๆ ข้าวของ เช่นหน่อไม้ อาหาร สมุนไพร เวลาฤดูกาล สถานที่ เหตุการณ์ที่ส าคัญ
วิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลจากระบบสุขภาพที่ได้ จะมีความเชื่อมโยงกับเครื่องมืออื่นๆ ดังนั้นควรน าข้อมูลที่ได้ไปเพิ่มเติมใน เครื่องมืออื่นๆให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น ป่าสมุนไพร หมอพื้นบ้าน แหล่งอาหารธรรมชาติ กลุ่มหมอสมุนไพร ระบบความสัมพันธ์กับลูกศิษย์หรือหมออนามัย
นำข้อมูลมาวิเคราะห์แยกเป็นระบบสุขภาพที่เป็นปัจจัยเชิงบวก เชิงลบ และปัจจัยกลางๆ (ทำร่วมกับ ชุมชน เพื่อที่ชุมชนจะได้ทบทวนสิ่งที่มีอยู่ ท าให้เห็นปัญหา ศักยภาพ และทุนทางสังคม)
เครื่องมือที่7 ประวัติชีวิต
ความหมาย
ประวัติชีวิตบอกแง่มุมต่างๆของชีวิต ที่ถ่ายทอดผ่านเรื่องเล่า สะท้อนคุณสมบัติ บุคลิกภาพ นิสัยและความ นึกคิด ทำให้เราเข้าใจตัวตนและชีวิตของคนนั้นๆ และยังขยายสู่ความเข้าใจสังคมและชุมชน ยุคสมัยที่ บุคคลนั้นมีชีวิตอยู่
เรื่องราวของบุคคลที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาเป็น เรื่องราว ที่มีมากกว่า ข้อมูล หรือข้อเท็จจริงเช่นวันเดือนปีเกิด การศึกษา การทำงาน
หลักการสำคัญ
เน้นเรื่องราว (story) มากกว่าข้อเท็จจริง (fact) เป็นข้อๆการจะได้เรื่องราวนั้นจึงต้องเป็นทั้งผู้ถามและ ผู้ฟังที่ดี
เขียนเรื่องเล่าหรือ timeline หรือผสมผสานโดยเขียนเรื่องน่าสนใจลงบน timeline
เรียนรู้มิติความเป็นมนุษย์ในงานชุมชน ไม่ได้มุ่งให้ได้ข้อมูลครบถ้วน แต่มุ่งเข้าใจและซึมซับเรื่องราว ประสบการณ์ชีวิตของผู้คนในชุมชน
ประโยชน์ของประวัติชีวิต
ทำให้เราเห็นถึงศักยภาพและทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในชุมชน
ช่วยเติมมิติของความเป็นมนุษย์ให้กับงานชุมชน ช่วยให้งานมีความหมาย และช่วยให้คนทำงานเห็นคุณค่า ของงานที่ทำ
ช่วยสะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของชุมชนได้เป็นอย่างดี
เรื่องราวของบุคคลที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาเป็น เรื่องราว ที่มีมากกว่า ข้อมูล หรือข้อเท็จจริงเช่นวันเดือนปีเกิด การศึกษา การทำงาน
ช่วยให้เราเห็นว่าค่านิยมและวัฒนธรรมท้องถิ่นซึ่งเป็นเรื่องนามธรรมนั้น มีรูปธรรมการแสดงออกเป็น อย่างไร ค่านิยมหรือวัฒนธรรมเรื่องใดมีความสำคัญและมีผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อชีวิตของผู้คนอย่างไร
ช่วยให้เห็น เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงชีวิตได้ง่ายขึ้น
เครื่องมือที่3 โครงสร้างองค์กรชุมชน
วิธีการ
รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์หรือสังเกตปฏิสัมพันธ์ทางสังคมต่างๆ
ความสัมพันธ์ทางสังคม เช่น กลุ่มวัยรุ่น วัยแรงงาน คนเฒ่าคนแก่ กลุ่มพ่อบ้าน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเพื่อน กลุ่มเพศที่สาม ลักษณะทางชาติพันธุ์ เช่น ไทย ลาว เขมร มุสลิม ลักษณะร่วมทางศาสนา เช่น พุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์
ความสัมพันธ์ทางการเมือง เช่น โครงสร้างการปกครองท้องถิ่น กลุ่มผู้สมัครรับเลือกตั้งในระดับต่างๆ หัวคะแนน ฐานเสียง กลุ่มผลกระโยชน์ ความขัดแย้ง เวทีสาธารณะเช่น สภากาแฟ ลานโสเหล่
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ เช่น มีอาชีพอะไรบ้าง มีกลุ่มอาชีพต่างๆหรือไม่ สัมพันธ์กันอย่างไร มีกลุ่มหรือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจอะไรบ้างเช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มนายทุนเงินกู้ กลุ่มขายตรง ทรัพยากรต่างๆ
ทำแผนผัง โดยเริ่มจากผู้นำที่มีบทบาทสำคัญในชุมชน ทั้งทางการและไม่เป็นทางการ เขียนสัญลักษณ์ตัว บุคคลแทนผู้นำ จากนั้นระบุตัวบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้นำเขียนสัญลักษณ์ตัวบุคคลแทนผู้ใกล้ชิดทุก คน จากนั้นโยงเส้นเชื่อมระหว่างบุคคลแสดงถึงความสัมพันธ์ที่มีอยู่
ประโยชน์
เห็นได้ชัดเจนถึงมิติความสัมพันธ์ในชุมชน เช่น ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ การเข้าใจว่าคนกลุ่มไหน หรือ ตระกูลไหนมีบทบาทต่อชุมชนเชิงการเมือง เศรษฐกิจและสังคม และมีความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรหรือขัดแย้ง กับคนกลุ่มไหนบ้าง
เห็นศักยภาพที่มีอยู่ผ่านเครือข่ายความสัมพันธ์ซึ่งจัดว่าเป็น ‘ทุนทางสังคม’ ไม่เห็นชุมชนเป็นภาชนะว่าง แต่มีระบบโครงสร้างความสัมพันธ์ที่สามารถขับเคลื่อนประเด็นต่างๆในชุมชนได้
ประเด็นสำคัญ
เห็นความสัมพันธ์เห็นโครงสร้าง
รายชื่อองค์กรในกระดาษอาจเป็นภาพลวงตา
บทบาทหน้าที่และอำนาจเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้าง
โครงสร้างองค์กรชุมชนคือศักยภาพของชุมชน
เครื่องมือที่2 ผังเครือญาติ
ความหมาย
การแสดงระบบความสัมพันธ์ในเชิงเครือญาติ โดยใช้สัญลักษณ์แทนตัวบุคคลและเส้น แสดงความสัมพันธ์ทั้งทางสายเลือด (consanguinity) และความสัมพันธ์จากการแต่งงาน (affinity)
ความสัมพันธ์ที่เป็นรากฐานที่สุดของชีวิตครอบครัวและจะมีความเกี่ยวข้องกันไปตลอดชีวิต
เครื่องมือง่ายๆที่ทำให้เรารู้จักคนในชุมชนได้ดี เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้สร้างความสัมพันธ์และความคุ้นเคยกับคนใน ชุมชนในเวลาอันรวดเร็ว
การทำแผนผัง
การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผังเครือญาติ โดยเก็บและสอบถามจากผู้ให้ข้อมูลหลัก หรือ Key informant ที่รู้ เรื่องนั้นดีๆ
สอบถามเกี่ยวกับลูกหลานและการแต่งงานระหว่างตระกูลด้วย การจด นามสกุลเดิมของฝ่ายหญิงจึงมีความสำคัญเพราะจะช่วยให้เชื่อมโยงไปยังครอบครัวเดิมได้
การอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวของรักร่วมเพศ อาจต้องใช้การเขียนคำอธิบายเพิ่มเติมในแผนผังเพื่อให้ เข้าใจง่ายขึ้น
ประโยชน์
ช่วยให้เข้าใจโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ ที่แม้จะมีความซับซ้อน หลายตระกูล หลายรุ่นก็ยัง สามารถสืบสาวเชื่อมโยงกันเป็นแผนผังที่เข้าใจง่าย
ท าให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์เครือญาติสามารถถ่ายทอดและเรียนรู้กันได้ผ่านรูปแบบ สัญลักษณ์ง่ายๆ
ใช้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ และโรคทางพันธุกรรม เกี่ยวกับ เครือข่ายทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีและความสนิทสนมคุ้นเคยระหว่างเจ้าหน้าที่กับชาวบ้านได้อย่างรวดเร็ว
เครื่องมือที่5 ปฏิทินชุมชน
ตารางกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชนในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งรวบรวมเหตุการณ์และปรากฏการณ์ใน ชีวิตประจ าวันของชุมชนในรอบปี รอบเดือน หรือช่วงระยะเวลาหนึ่ง
ประโยชน์
ทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน
ทำให้เข้าใจแบบแผนกิจกรรม เหตุการณ์ ของชุมชนที่เกิดขึ้น และสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม
ทำให้สามารถวางแผนการทำงานกับชุมชนได้ดีขึ้น
วิธีการศึกษาและบันทึกปฏิทินชุมชน
รวบรวมข้อมูลด้านอาชีพ เช่น อาชีพของคนในชุมชนนั้นที่ทำในชมชนนั้นเอง อาชีพของคนที่อื่นที่มาท ามา หากินในชุมชนนั้น เช่น แรงงานอพยพจากประเทศเพื่อนบ้าน อาชีพที่คนในชุมชนไปหากินที่อื่น เช่น ไป ตัดอ้อย ไปรับจ้างลงเรือประมง ฯลฯ
ให้จำแนกกิจกรรมเพื่อเป็นปฏิทินชุมชน 2 ลักษณะ คือ ปฏิทินด้านเศรษฐกิจ และ ปฏิทินด้านวัฒนธรรม
สอบถามข้อมูลกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรม เช่น งานบุญตามประเพณีต่างๆ แล้วค่อยสอบถามข้อมูลด้าน กิจกรรมอื่นๆของสังคม เช่น โรงเรียนปิดเทอม ลูกเสือเข้าค่าย ฤดูโยกย้ายข้าราชการ เป็นต้น
เครื่องมือที่6 ประวัติศาสตร์ชุมชน
ความหมาย
เรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ผ่านมาของชุมชนในช่วงเวลาหนึ่ง บอกเล่าจากมุมมองของชุมชนเอง อาจ แตกต่างจากที่รัฐหรือนักวิชาการเขียน
ผสมผสานข้อเท็จจริง จินตนาการ และความทรงจำของท้องถิ่น ถูกสืบทอดผ่านเรื่องเล่า ตำนาน สถานที่ บันทึก ขนบ แบบแผนการปฏิบัติต่างๆของชุมชน
สำคัญต่ออัตลักษณ์ ความนึกคิด ทัศนะ ท่าทีของชุมชน (อาจกล่าวได้ว่า ชุมชนเป็นผลผลิตของ ประวัติศาสตร์)
ประโยชน์จากการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน
ช่วยลดอคติหรือภาพลักษณ์แบบเหมารวม เช่นเข้าใจสาเหตุที่ชุมชนไม่เข้าร่วมกิจกรรม
การศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนเหมือนกับการได้เข้าใจคนคนหนึ่งว่าเขามีความเป็นมาอย่างไร
ทำให้เราสามารถเลือกวิธีการทำงานกับชุมชนให้สอดคล้องกับประสบการณ์ ความคาดหวัง และศักยภาพ ของชุมชนได้ดีขึ้น
วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน
แบ่งค าถามเป็นหมวดหมู่ เช่น ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง สุขภาพ คำถามที่ ใช้ เช่น ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร กับใคร ผลกระทบคืออะไร
อาศัยการสอบถามหรือสัมภาษณ์ผู้รู้ในท้องถิ่น เริ่มจากหาผู้อาวุโส คนเฒ่าคนแก่ พระหรือนักบวช ผู้นำชุมชน เรียกบุคคลเหล่านี้ว่า ผู้ให้ข้อมูลหลัก
การเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติ หรือรู้ว่ามีเหตุการณ์ส าคัญๆอะไรเกิดขึ้นในภาพใหญ่ของประเทศจะช่วยให้ เราเข้าใจประวัติศาสตร์ท้องถิ่นดีขึ้น
เครื่องมือที่1 แผนที่เดินดิน
วิธีการ
ลงข้อมูลพื้นฐานในแผนที่ เช่น เลขที่บ้าน ชื่อ สถานที่สำคัญ
ลงพื้นที่เดินสeรวจ พูดคุย สัมภาษณ์และสังเกต หลีกเลี่ยงการใช้รถ
นำแผนที่ชุมชนที่มีอยู่แล้วมาประกอบ
เขียนอธิบายเพิ่มเติมรายละเอียดทางกายภาพของบ้านเรือน โดยโยงเข้ากับตำแหน่งในแผนที่ เช่น บ้านเก่า มีรั้ว ไม่มีคนอยู่
สังเกตกิจกรรมทางสังคม แล้วนำมาบันทึกในแผนที่ เช่น บ้านหลังนี้เลี้ยงไก่ชนมักจะมีกลุ่มผู้ชายใน หมู่บ้านมาชุมชนกันทุกวันพุธ
โยงความสัมพันธ์ทางสังคมในชุมชน ใช้ลูกศรพร้อมอธิบายโยงเชื่อมระหว่างครอบครัวหรือพื้นที่ที่มี ความสัมพันธ์กัน เช่น บ้านที่เป็นญาติกัน กลุ่มไก่ชน เครือข่ายผู้นำชุมชน
ท าระบบสัญลักษณ์พร้อมคำอธิบาย เช่น ใช้ สี ธง กากบาท ตามจุดที่สำคัญ ตัวอย่างแผนที่เดินดิน
ประโยชน์
ทำให้เห็นภาพรวมของชุมชนได้อย่างครบถ้วนที่สุด
ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่จำนวนมากในระยะเวลาที่สั้นที่สุด
ทำให้เห็นกลุ่มเป้าหมายที่จะทำงานต่อได้อย่างครอบคลุมทั่วถึง
ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะได้มาจากการสังเกตด้วยตัวเอง
ช่วยในการเริ่มต้นความสัมพันธ์และสร้างความคุ้นเคยกับสมาชิกในชุมชนได้เป็นอย่างดี