Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infection หรือ UTI) - Coggle…
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infection หรือ UTI)
ความหมาย
หมายถึงเกิดการอักเสบของระบบทางเดินปัสสาวะอันมี สาเหตุจากการติดเชื้อ หมายรวมถึงการติดเชื้อตั้งแต่ท่อปัสสาวะ ไปจนถึงไต โดยสาเหตุส่วนมากเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจไม่มี อาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ไปจนถึงอาการรุนแรงนำไปสู่การ ติดเชื้อในกระแสเลือดได้
สาเหตุ
นิ่วหรือการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ ทำให้เชื้อเจริญ เติบโตง่ายและ ความดันที่สูงขึ้นในไตจะทำให้ papillaและ medulla ขาดเลือด และมีโอกาสติดเชื้อเพิ่มขึ้น
Vesico-ureteral reflux (VUR) ในผู้ใหญ่ปกติ vesicoureteral valve จะปิดกั้นไม่ให้ปัสสาวะไหลย้อนเป็นกลไก ป้องกันการเกิด VUR โดย ureter จะฝังตัวในแนวเฉียงที่กระเพาะ ปัสสาวะ ดังนั้นเวลาปัสสาวะ ส่วนที่อยู่ภายในผนัง (intravesical part) จะถูกผนังกระเพาะปัสสาวะกด ทำให้ปัสสาวะไม่ไหลย้อนกลับ เมื่อมีการติดเชื้อจะทำให้ reflux เป็นรุนแรงขึ้น VUR ก่อให้เกิด UTI ได้
Incomplete emptying of bladder ปัสสาวะที่ค้างจะ เป็นตัวเพาะเชื้อโรคที่ดี และมักเป็น mixed organisms สามารถพบ ภาวะนี้ได้ร่วมกับต่อมลูกหมากโต urethral valves strictures, severe bladder prolapse, poliomyelitis และ diabetic neuropathy
4.พฤติกรรม ปัจจัยสำคัญของการเกิด UTI ในสตรีวัยรุ่น คือ ความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์ในระยะ 1 เดือนก่อนหน้านี้ โดยโอกาส เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ใน 48 ชั่วโมงแรกหลังมีเพศสัมพันธ์ ประวัติ UTI ในอดีตของผู้ป่วยเอง การใช้ผ้าอนามัย ชนิดสอด (tampon) เครื่องดื่มบางประเภทที่มีผลต่อดุลกรดด่าง ในช่องคลอด พฤติกรรมชอบกลั้นปัสสาวะ
พยาธิสภาพ
เมื่อมีการติดเชื้อขึ้นในระบบทางเดินปัสสาวะ เชื้อจะเข้าไป ในบริเวณท่อไตซึ่งจะกระตุ้นท่อไตให้บีบตัว เชื้อบางชนิด เช่น E.coli จะหลั่ง endotoxin ซึ่งมีผลต่อ α- adrenergic nerve ในกล้าม เนื้อเรียบ ทำให้การทำงานของท่อไตลดลงและมีการขยายตัวของ ท่อไต ก่อให้เกิดภาวะ physiologic obstruction และเกิด intrarenal reflux ได้ง่ายขึ้น ทำให้เชื้อจับกับ receptor ที่บริเวณ collecting duct และ proximal tubules ทำให้เกิด acute pyelonephritis ตามมา นอกจากนี้แบคทีเรียที่ไปถึงเนื้อไตจะก่อให้เกิดการอักเสบ ตามมา โดย medulla จะติดเชื้อง่ายกว่า cortex เพราะมีเลือด มาเลี้ยงน้อยกว่า ร่วมกับมีภาวะ medullary hypertonicity ส่งผลให้มี การกระตุ้น acute phase reactants, complement และ lymphokines กระตุ้น นิวโตรฟิลมาทำลายแบคทีเรีย ทำให้เกิด superoxide และเกิดการทำลายเนื้อไตตามมา
อาการและอาการแสดง
Lower UTI
ผู้ป ่วยจะมีอาการปัสสาวะบ่อย แสบขัด หรือมีปัสสาวะ เป็นเลือด อาการอาจคล้ายกับการติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธุ์เช่น vaginitis หรือ cervicitis ถ้ามีประวัติ cystitis ในอดีตจะช่วยสนับสนุน ว่าผู้ป่วยน่าจะเป็น UTI มากกว่า และการติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธุ์ มักจะมีอาการ ตกขาว คันช่องคลอด ร่วมด้วย
Upper UTI
มีอาการเจ็บชายโครง ร่วมกับมีไข้หรือไม่ก็ได้ ในกลุ่มอาการ รุนแรงอาจมีอาการ sepsis จนกระทั่งถึงช็อกได้ อาจพบเชื้อหลายชนิด ในผู้ป่วยที่มี ileal conduit, neurogenic bladder หรือ vesicocolic fistula, chronic renal abscess หรือใส่สายสวนปัสสาวะคานานๆ
การวินิจฉัย
โดยการตรวจพบแบคทีเรียในปัสสาวะ และการเพาะเชื้อให้ ผลบวก
โดยการตรวจพบแบคทีเรียในปัสการพบเพียงเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะมากกว่า 5 ตัว/ hpf(pyuria) บอกถึงการอักเสบ หรือ ติดเชื้อ (พบ bacteriuria โดย ไม่มี pyuria ได้ถึงร้อยละ 30-50 สาวะ และการเพาะเชื้อให้ ผลบวก
วิธีตรวจที่ดีที่สุดคือ นำปัสสาวะใส่ counting chamber ถ้าผู้ป่วยมี significant bacteriuria ควรจะมีเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะมากกว่า 10 ตัว ต่อลบ.มม. หรือมีแบคทีเรีย 1-2 ตัว ต่อ high power field ในปัสสาวะที่ยังไม่ได้ปั่น หรือมากกว่า 20 ตัว ในปัสสาวะที่ปั่นแล้ว ซึ่งจะเทียบเท่ากับผลเพาะเชื้อได้มากกว่า 105 cfu/mL
นอกจากนี้ยังมีการตรวจหาเม็ดเลือดขาวโดยวิธีอื่นได้แก่ nitrite test และ leukocyte esterase วิธี nitrite test เป็นวิธีที่ ง่ายและสะดวก ใช้หลักการที่แบคทีเรียสามารถเปลี่ยน nitrate ให้ เป็น nitrite ได้ และเมื่อนำมาทดสอบกับ Greiss reagent จะพบว่า มีการเปลี่ยนสี ข้อจำกัดคือไม่ค่อยได้ผลกับเชื้อกรัมบวกแต่จะได้ผลกับเชื้อ Enterobacteriaceae มากกว่า
ส่วน วิธี leukocyte esterase test ซึ่งเป็นการทดสอบหาเอนไซม์ในเม็ด เลือดขาว จะมีความไวและความจำเพาะมากกว่า nitrite test แต่อาจ เกิดผลบวกลวงได้เช่นกัน ถ้ามี proteinuria หรือได้รับยาปฏิชีวนะกลุ่ม gentamicin หรือ cephalexin และอาจเกิดผลลบลวงได้ในกรณีที่มี น้ำตาลในปัสสาวะหรือปัสสาวะมีความเข้มข้นสูง หรือได้รับยากลุ่ม cephalexin, tetracycline หรือปนเปื้อน vaginal debris
สามารถย้อมสีแกรมพบเชื้อแบคทีเรียได้ จะสัมพันธ์กับการ เพาะเชื้อมากกว่า 104 cfu /mL ซึ่งถือว่ามี significant bacteriuria และน่าจะเป็น UTI จริง
การตรวจทางรังสีวิทยา
Plain KUB สำหรับวินิจฉัยโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
Ultrasound ใช้สำหรับวินิจฉัยโรคนิ่วและ/หรือภาวะ ที่มีการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ ในกรณีที่อัลตราซาวน์ไม่พบ สิ่งผิดปกติแต่ยังสงสัยภาวะการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะอยู่ อาจต้องทำ voiding cystourethrography ต่อ
Intravenous pyelogram (IVP) ใช้ในกรณีสงสัย การอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ ควรหลีกเลี่ยงในกรณีที่มีการติดเชื้ออยู่ เพราะจะได้ภาพที่ไม่ชัด และอาจเกิดพิษจากสีที่ฉีดได้ง่าย ห้ามทำ IVP ในผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์หรือไตวาย
Cystoscope ใช้ในผู้ป่วยที่เป็น recurrent UTI เพื่อ ตรวจสภาพพยาธิวิทยาในกระเพาะปัสสาวะ รวมทั้งตรวจดูว่ามีการ ตีบแคบของท่อปัสสาวะหรือไม
Voiding cystourethrography (VCU) ใช้ในการ วินิจฉัย vesioureteral reflux ซึ่งพบได้ร้อยละ 40 ของเด็กที่มี recurrent UTI แต่จะมีที่ใช้น้อยมากในผู้ใหญ่ ยกเว้นหลังผ่าตัด ปลูกไตที่มี recurrent UTI
CT scan ใช้เพื่อตรวจหาภาวะแทรกซ้อน บริเวณ pararenal, perirenal space และ retroperitoneum ได้ดี โดยจะ ไวกว่าอัลตราซาวน์ ในกรณีที่รอยโรคขนาดเล็กกว่า 2 ซม.
Urethrocystoscopy และ ureterorenoscopy
การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์
การป้องกันการติดเชื้อซ้ำ
หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น การอั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ
ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ (วันละ 8-12 แก้ว) เพื่อให้ปัสสาวะออกในปริมาณที่เหมาะสม
เข้ารับการรักษาโรคที่มีผลทำให้การไหลของปัสสาวะผิดปกติ เช่น โรคต่อมลูกหมากโต นิ่วในทางเดิน ปัสสาวะ เนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ และการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ เป็นต้น
ผู้ที่ยังคงมีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อยๆ มากกว่า 2 ครั้งใน 6 เดือนหรือมากกว่า 3 ครั้งใน 1 ปี แม้ จะได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปัสสาวะ และแก้ไขความผิดปกติของการไหลของปัสสาวะ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว แพทย์อาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะแบบกินเพื่อป้องกันการติดเชื้อเป็นระยะ เวลานาน