Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาววะไม่สุขสบายในระยะตั้งครรภ์ ในไตรมาสที่ 3 - Coggle Diagram
ภาววะไม่สุขสบายในระยะตั้งครรภ์ ในไตรมาสที่ 3
ตะคริว (Cramp)
สาเหตุ
มดลูกที่โตขึ้นกดทับเส้นประสาทและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงขา
อาการอ่อนเพลีย หรือใช้กล้ามเนื้อขามาก
ขาดแคลเซียม วิตามินบีรวม โปแตสเซียม หรือเกลือแร ที่มีส่วนช่วยในการหดคลายของกล้ามเนื้อ
อาการ
อาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อขา เท้า และน่องอย่างรุนแรงจน
รู้สึกเจ็บและปวดมาก บริเวณที่เป็นตะคริว
คำแนะนำ
เมื่อเป็นตะคริวที่ขาหรือน่อง คือ เหยียดขา ให้ตรง กดเข่าให้แนบกับพื้นแล้วดันปลายเท้าเข้าหาล าตัวค้างไว้จนอาการปวดดีขึ้น ทำซ้ำอีก 2-3 ครั้งอาการปวดเกร็งจะหายไป
อาบน้ำอุ่น นอนห่มผ้า ไม่นอนให้พัดลมเป่าบริเวณปลายเท้า เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดให้มาเลี้ยงขาดีขึ้น
กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และกินแคลเซียมให้เพียงพอ กินอาหารที่มีแคลเซียมสูงเช่น ปลาเล็กปลาน้อย และดื่มนมทุกวัน
เจ็บชายโครง
อาการ
จุกแน่นบริเวณชายโครง
คล้ายๆกับลูกน้อยเตะหรือถีบอย่างแรง
สาเหตุ
มดลูกขยายใหญ่ขึ้น ทำให้กะบังลมซึ่งอยู่ระดับชายโครงทั้งสองข้างถูกดันให้สูงขึ้นจึงรู้สึกแน่นอึดอัด และเจ็บชายโครง
ลูกน้อยโตขึ้นจะดิ้น เตะ ถีบ กระทุ้งตัวแรงขึ้น
คำแนะนำ
นั่งตัวตรง ยืดตัว จะทำให้อาการเจ็บชายโครงน้อยลง
สวมเสื้อผ้าหลวมสบาย
ทำกายบริหาร โดยยกแขนข้างหนึ่งชูขึ้นเหนือศีรษะช้าๆ พร้อมกับสูดลมหายใจลึกๆ ค่อยๆ ลดแขนลงพร้อมกับผ่อนลมหายใจออก ทำสลับแขนซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง
ปวดหลัง (Back pain)
อาการ
ปวดหลังบริเวณบั้นเอว
ปวดมากในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด
ปวดหลังส่วนล่างต่ำกว่าเอวและร้าวลงไปที่สะโพก ขา
หัวเข่า หรือเท้าข้างใดข้างหนึ่ง
สาเหตุ
จากการแอ่นหลัง การแอ่นหลังจะทำให้กล้ามเนื้อ
หลังตึงตัวและทำงานหนักจึงเป็นสาเหตุทำให้กระดูกสันหลังแอ่น และเกิดอาการปวดหลังตามมา
ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สูงขึ้นในระยะตั้งครรภ์ทำให้เอ็นและข้อต่อกระดูกสันหลัง ข้อสะโพก และกระดูกเชิงกราน หย่อนตัว จึงทำให้กล้ามเนื้อหลังตึงตัวมากขึ้นเพื่อพยุงน้ าหนักของมดลูกไว
จากทารกกดทับข้อต่อกระดูกเชิงกราน และเกิดจากการขยับเคลื่อนของข้อต่อที่หย่อนตัว ในขณะที่มีการพลิกตัว
คำแนะนำ
อยู่ในท่าที่เหมาะสม
ขณะนั่งควรมีหมอนรองรับความโค้งบริเวณบั้นเอวควรนอนท่าตะแคงและใช้หมอนหนุนรองที่ ใต้ข้อเข่าท้อง และคอ
ตะแคงตัวแล้วใช้มือหรือ
ข้อศอกยันตัวก่อนลุกขึ้นหรือล้มตัวลงนอน
หากต้องยืนเป็นเวลานานควรหาเก้าอี้เตี้ยๆ มารองรับ
เท้าข้างใดข้างหนึ่งเพื่อให้กล้ามเนื้อหย่อนตัว
ไม่ยกของหนัก และหากจ าเป็นต้องยกของ ให้ย่อเข่าแล้วใช้กล้ามเนื้อต้นขาทั้ง
สองข้างดันตัวขึ้นยืน ห้ามเกร็งกล้ามเนื้อท้องและหลัง
นอนบนฟูกหรือที่นอนที่ไม่อ่อนนุ่มจนเกินไป
เลือกรองเท้าส้นเตี้ยที่สวมสบาย ไม่เกินครึ่งนิ้ว
ออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อแข็งแรง โดยยืนเอาหลังแนบฝาผนังจะช่วยป้องกันและผ่อนคลายอาการปวดหลัง
การบริหารกายที่ช่วยลดอาการปวดหลังและทำให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรง
คุณแม่นอนหงายชันเข่า
มือทั้งสองข้างวางใกล้ลำตัวหรือประสานไว้ใต้ศีรษะ
หายใจเข้าพร้อมกับแขม่วท้อง
เกร็งหลังบริเวณบั้นเอวกดกับพื้นมากที่สุด อาจพบว่าก้นจะยกขึ้นเล็กน้อย
หายใจออกพร้อมกับคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เข้าสู่ท่าปกติดังเดิม
ทำเช่นนี้สลับกันช้าๆ ประมาณ 10 ครั้ง
ปวดหัวเหน่าและเชิงกราน (Pelvic pain)
อาการ
มักเจ็บ มีข้อเคล็ดขณะลุกเดินหรือขยับตัวเปลี่ยนท่านอน
รู้สึกราวกับว่ากระดูกหัวเหน่าและข้อต่อกระดูกเชิงกรานจะขยับแยก
ออกจากกันได้
สาเหตุ
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สูงมาก ทำให้เอ็นและข้อต่อกระดูกสะโพก กระดูก
หัวเหน่า และกระดูกเชิงกรานหย่อน หลวม และยืดหยุ่นมากขึ้น
ทารกกลับเอาศีรษะลงข้างล่าง และกดตรงกระดูกข้อต่อกระดูกหัวเหน่า
อาการเจ็บแปลบที่หัวเหน่าอาจเกิดจากศีรษะลูกน้อยไปชนหรือกดบนกระเพาะ
ปัสสาวะที่มีน้ำปัสสาวะอยู่เต็ม
คำแนะนำ
ออกกำลังกาย เพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณข้อต่อแข็งแรง
นั่งเอนตัวไปข้างหน้า อย่าให้น้ำหนักกดบริเวณอุ้งเชิงกรานมากเกินไป
ไม่นอนบนที่นอนที่แข็งจนเกินไป ควรนอนตะแคงกอดหมอนข้าง หรือวางหมอนนิ่มๆ ระหว่างหัวเข่าทั้งสองข้างและใต้ท้อง
ไม่กลั้นปัสสาวะ และปัสสาวะก่อนเข้านอน
หายใจลำบาก(Dyspnea)
อาการ
อาการอึดอัด
หายใจไม่สะดวก
หายใจตื้นไม่เต็มอิ่ม
หายใจลึกและยาวกว่าปกติ
สาเหตุ
มดลูกที่โตขึ้นไปดันกระบังลม ทำให้หายใจลำบาก เพราะปอดขยายตัวได้ไม่เต็มที่
ฮอร์โมนที่สร้างขณะตั้งครรภ์ท าให้หลอดเลือดฝอยของทางเดินหายใจบวม
กล้ามเนื้อปอดและหลอดลมคลายตัวทำให้หายใจเอาลมเข้าปอดได้ไม่เต็มที่
ปฏิยาของ Progesterone ต่อศูนย์ควบคุมการหายใจ
ระดับ PCO2 ลดลง
เครียดหรือกังวล
คำแนะนำ
บริหารร่างกายโดยยกมือทั้ง 2 ข้างขึ้นเหนือศีรษะหายใจเข้าช้าๆ วางมือลงพร้อมหายใจออกช้าๆ หรือ กางแขนออกแล้วยกมือขึ้นแตะกันเหนือศีรษะ หายใจเข้าช้าๆ จากนั้นกางแขนออกช้าๆ พร้อมหายใจออก จะทำให้ช่องออกยืดออกกว้างขึ้น
ไม่นอนหงายเป็นเวลานาน ใช้หมอนหนุนศีรษะและหลังส่วนบน หรือนอนตะแคงซ้ายเพื่อไม่ให้หลอดเลือดดำบริเวณหลังถูกกด
หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีคนแออัด
เส้นเลือดขอด (Vericose Veins)
อาการ
เป็นนปมขอดหรือหลอดเลือดโป่งพองขดไปมาและเจ็บปวดมาก
มักพบบริเวณตาตุ่ม น่อง ข้อพับ ขึ้นมาจนถึงโคนขา
สาเหตุ
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้ผนังหลอดเลือดหย่อนตัวมากกว่าปกติ
มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นกดทับหลอดเลือดดำใหญ่ ทำให้ความดันในหลอดเลือดบริเวณขาเพิ่มขึ้น เนื่องจากเลือดไหลกลับสู่หัวใจไม่สะดวก ส่งผลให้หลอดเลือดบริเวณโคนขา น่องเท้า โป่งพอง
การนั่ง ยืน หรือเดินทั้งวัน
คำแนะนำ
หลีกเลี่ยงการยืน หรือเดินนานๆ ไม่นั่งไขว้ห้าง และ
ควรหาเวลานั่งพักยกเท้าพาดเท้ากับเก้าอี้เพื่อให้เลือดไหลเวียนกลับสู่หัวใจดีขึ้น
สวมกางเกงพยุงครรภ์ และหลีกเลี่ยงการรัดส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยเฉพาะ
หน้าท้อง เพราะจะทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี
บริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอในท่านอนยกขาสูงหรือพิงผนังห้องวันละ 3 ครั้ง
บีบนวดกล้ามเนื้อขา ยกเว้นบริเวณที่เป็นเส้นเลือดขอด เพื่อช่วยให้โลหิต
ไหลเวียนดีขึ้น
ใช้หมอนหนุนเท้าให้สูงเล็กน้อยขณะนอน เพื่อไม่ให้เลือดไหลไปกองที่เท้า ช่วย
บรรเทาอาการของเส้นเลือดขอด
อาการครรภ์
เจ็บครรภ์จริง(True labor pain)
มีการเปิดของมดลูก
เจ็บร้าวไปหลังลงหน้าขา
พักแล้วอาการเจ็บยังไม่หาย
อาการเจ็บสม่ำเสมอ ค่อยๆถี่ขึ้น
ความรุนเเรงของอาการเจ็บท้องเพิ่มมากขึ้น เจ็บท้องนานขึ้น
มีมุกเลือดไหลออกจากช่องคลอด มีน้ำคร่ำร่ั่ว
เจ็บครรภ์เตือน(False labor pain)
อาการเจ็บเกิดขั้นไม่สมำ่เสมอ
ลักษณะการเจ็บมักเจ็บท้องบริเวณท้องน้อย
ระยะห่างของอาการปวดเจ็บครรภ์ไม่ถี่ หรือระยะเวลาการเจ็บไม่สมำเสมอ
อาการเจ็บเท่าเดิม ไม่เจ็บมากขึ้น
ไม่มีการเปิดของมดลูก
ไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย
ถุงน้ำคร่ำรั่ว
มูดเลือดออก
อาการเจ็บสามารถหายได้เองเมื่อพัก