Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
องค์ประกอบ และกระบวนการบริหาร - Coggle Diagram
องค์ประกอบ
และกระบวนการบริหาร
การบริหาร คือ กลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่วางแผนการจัดองค์การ จัดคนเข้าทำงานสั่งการและควบคุมการทำงานให้กิจกรรมขององค์การดำเนินไปตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอยู่บนพื้นฐานของปัจจัยในการบริหาร (Factor of Management)
ความสำคัญและภาระหน้าที่ของการบริหารจัดการ
ผู้บริหารทุกองค์การต่างเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการระบบย่อย ๒ ระบบ
๑. ระบบงาน ซึ่งก็คือทรัพยากรที่ไม่มีชีวิต ได้แก่ ทรัพย์สิน เงินทุน เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์
๒. ระบบคน ก็คือ มนุษย์หรือทรัพยากรบุคคล ที่เป็นผู้ปฏิบัติงานโดยใช้ทรัพยากรต่างๆ หรือสิ่งของ
เพื่อที่จะก่อให้เกิดผลสำเร็จให้กับองค์การ
องค์ประกอบของการบริหาร (Management Component)
มีองค์ประกอบ ๓ ประการ
๒. มีปัจจัยในการบริหาร (Factor of Management)
โดยทั่วไปแล้วปัจจัยในการบริหารที่เป็นพื้นฐานมี ๕ ประการ คือ
วัสดุอุปกรณ์ (Materials)
เทคนิควิธี (Method)
เงิน หรือ งบประมาณ (Money)
เครื่องมือ (Machine)
คน หรือ บุคลากร (Man)
๑. มีเป้าหมาย (Goal) หรือวัตถุประสงค์ที่แน่นอนในการบริหารองค์การ
ผู้บริหารจะต้องมีการกำหนดทิศทางหรือวัตถุประสงค์ของการทำงานไว้ชัดเจน
๓. ลักษณะของการบริหาร (Management Style) การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และทั้งศิลป์ที่ผู้บริหารจะต้องนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อองค์กร จนมีคำกล่าวที่ว่า
“ที่ใดมีผู้นำที่ดี ที่นั่นก็จะมีความสำเร็จ”
กระบวนการบริหารจัดการ (Management Process)
เฮนรี่ ฟาโย (Henri Fayol) POCCC
C คือ Commanding หมายถึง การบังคับบัญชา
C คือ Co-ordinating หมายถึง การประสานงาน
O คือ Organizing หมายถึง การจัดการองค์การ
C คือ Controlling หมายถึง การควบคุม
P คือ Planning หมายถึง การวางแผน
ลูเธอร์ กูลลิค (Luther Gulick) "POSDCoRB"
S คือ Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน
D คือ Directing หมายถึง การสั่งการ
O คือ Organizing หมายถึง การจัดองค์การ
Co คือ Co-ordination หมายถึง การประสานงาน
P คือ Planning หมายถึง การวางแผน
R คือ Reporting หมายถึง การรายงาน
B คือ Budgeting หมายถึง การจัดทำงบประมาณ
ฮาลอร์ดดี
คูลย์ (Haroled D.Knootz)
จำแนกหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติของนักบริหารเอาไว้เป็นกระบวนการ ดังนี้
๑. กระบวนการวางแผน (Planning)
๓. การวางแผน (Planning)
๔. การดำเนินงานตามแผน (Execution of the plan)
๒. การรวบรวมข้อมูล (Collecting data)
๕. การติดตามและปรับปรุงแผน (Monitoring of the plan)
๑. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Setting the objective)
๒. การจัดองค์การ (Organizing)
กระบวนการจัดองค์การ
๓. ชี้แจงให้บุคลากรทราบสายการบังคับบัญชา
๔. มอบหมายการทำงาน
๒. จัดทำแผนภูมิสายการบังคับบัญชาประจำหน่วยงาน
๕. จัดแบ่งประเภทผู้รับบริการออกเป็นประเภทต่าง ๆ
๑. จัดวิเคราะห์งานเพื่อกำหนดโครงสร้างองค์การ
๖. มอบหมายงานแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาตามความรู้ ความสามารถอย่างเหมาะสม
องค์ประกอบโครงสร้างองค์กรมี ๓ ประการ คือ
๒. การสร้างแบบมาตรฐาน หมายถึง การที่องค์การใดองค์การหนึ่งกำหนดมาตรฐาน
หรือกฎระเบียบต่าง ๆ
๓. การรวมศูนย์อำนาจ
หมายถึงการรวมอำนาจการตัดสินใจไว้ที่ศูนย์กลางแห่งอำนาจภายในองค์การเพื่อให้การตัดสินใจ สั่งการต่าง ๆ
๑. ความซับซ้อน ซึ่งหมายรวมไปถึงการจำแนกแยกแยะงานหรือภารกิจต่าง
ๆให้ชัดเจน หรือแบ่งงานกันทำ
๓. การอำนวยการ (Directing)
กระบวนการอำนวยการ
๒. จัดลำดับความสำคัญของงานก่อนหลัง
๓. มอบอำนาจหน้าที่กระจายหรือรวมอำนาจการบริหาร
ออกคำสั่งด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร
๑. จัดให้มีการประสานงาน ในสายงานการปกครอง บังคับบัญชา
๔. การพิจารณาใช้คนให้เหมาะกับงาน
รูปแบบการสั่งการ
๔. แบบอาสาสมัคร (Volunteer)
เป็นการสั่งงานที่นอกเหนือจากหน้าที่จะต้องปฏิบัติเป็นงานที่อาศัยความเต็มใจ
๓. แบบเสนอแนะ (Suggest)
เป็นการสั่งงานในลักษณะที่ส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความคิดริเริ่มในการทำงาน
๒. แบบขอร้อง (Request)
เป็นการสั่งงานที่มีลักษณะโน้มเอียงไปทางขอความช่วยเหลือ
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับมอบหมายงานได้มีโอกาสใช้ดุลยพินิจในการทำงานบ้าง
๑. แบบออกคำสั่งโดยตรงหรือการออกคำสั่ง (Demand or Direct)
เป็นการสั่งการต้องการให้ผู้รับคำสั่งปฏิบัติทันที มักใช้ในกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
๔. การประสานงาน Co (Co-ordination)
การประสานงาน อาจกระทำได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ
๑. การประสานงานอย่างเป็นทางการ หมายถึง การประสานงานแบบมีพิธีรีตรองที่ต้องปฏิบัติ เช่น
มีหนังสือติดต่อหรือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร หรือเสนอรายงานเป็นลำดับชั้น
๒. การประสานงานอย่างไม่เป็นทางการ หมายถึง การประสานงานแบบไม่มีพิธีรีตองเพียงแต่ทำความตกลงให้ทราบถึงการที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามจังหวะเวลาเดียวกัน และด้วยจุดประสงค์เดียวกัน
วิธีประสานงาน
๑. การประสานงานภายในองค์การ
๑.๑ การประสานงานในทีมสุขภาพ
๑.๒ การประสานงานในทีมการพยาบาล
๒. การประสานงานนอกองค์การ
ปัจจัยที่จะช่วยให้เกิดการประสานงานที่ดี
๓. ความสามารถของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกันมีการติดต่อสื่อสารที่ดี
๔. มีการประชุมพบปะหารือกันอยู่เสมอ
๒. มีความรู้สึกและเจตคติที่ดีต่อกันและต่องาน
๕.ผู้บริหารหรือหัวหน้างานต้องเป็นผู้ที่เห็นคุณค่าของการประสานงานและเป็นผู้มองการณ์ไกล
๑. มีแผนงานที่ดี มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่แน่นอน
๕. การควบคุม (Controlling)
ลักษณะการควบคุมงาน
การควบคุมภายใน คือ การควบคุมการปฏิบัติงานที่จัดให้มีในหน่วยงานนั้นๆ
โดยอาศัยเทคนิค เครื่องมือ และวิธีการต่าง
การควบคุมภายนอก คือ วิธีการที่อยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของหน่วยงาน
แต่เป็นการควบคุมโดยผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับผลจากการดำเนินงานของหน่วยงาน
ขั้นตอนการควบคุมงาน
๒. กำหนดเกณฑ์และมาตรฐานในการควบคุมงาน
๓. เปรียบเทียบผลงานกับเกณฑ์และมาตรฐานที่กำหนดไว้
๑.กำหนดเป้าหมายของการควบคุมงาน
๔. ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง
ประโยชน์การควบคุมงาน
๒. ประสิทธิภาพการทำงานและการทำงานให้ประสบผลสำเร็จตามแผนงาน
๓. เกิดการค้นหาเทคนิคการควบคุมงานที่เหมาะสม น่าเชื่อถือ ใช้ประโยชน์ได้จริง
๑. ช่วยใช้ผู้ปฏิบัติงานมีความตื่นตัว มีความรู้ความเข้าใจในการทำงาน มีความรับผิดชอบ
หน้าที่ของผู้บริหารสามารถนำมารวมกันได้เป็นหน้าที่ ๓
ประการ ดังนี้
๒. หน้าที่ในการพัฒนา หน้าที่ในการพัฒนางานหน่วยงาน และองค์การที่ตนรับผิดชอบ
๓. หน้าที่ในการแก้ปัญหา หน้าที่ในการแก้ปัญหาของงานหน่วยงาน และองค์การที่ตนรับผิดชอบ
๑. หน้าที่ในการบริหาร หน้าที่ในการบริหารงานหน่วยงาน และองค์การที่ตนรับผิดชอบ